การจัดกิจกรรมสำหรับเด็กที่อยู่ รพ. ด้วยโรคเรื้อรัง


ขอนำอีเมล์ที่ผมให้คำปรึกษาแก่คุณหมอท่านหนึ่งที่อุทิศตนเองทำกิจกรรมบำบัดให้กับกลุ่มเด็กที่เจ็บป่วยเรื้อรังและต้องรักษาตัวใน รพ. แห่งหนึ่ง ด้วยระยะเวลานาน และ รพ. นี้ยังไม่มีนักกิจกรรมบำบัดไปช่วยจัดกิจกรรมรักษาแก่เด็กกลุ่มนี้

From: XXXXXXXXXXXXXXX
To: [email protected]
Subject: RE: [gotoknow.org] You've received a contact mail
Date: Fri, 25 Jan 2008 19:41:34 +0700

เรียน อ.ป๊อป ที่นับถือ
    หายไปนาน ขอแจ้งความคืบหน้าของโครงการค่ะ ตอนนี้ได้เริ่มโครงการไปบ้างแล้ว โดยครั้งแรกพี่จัดละครหุ่นเงามาให้เด็กๆได้ดูกัน ส่วนครั้งต่อมาพอดีใกล้วันลอยกระทง เด็กๆเลยได้ทำกระทงกัน ครั้งต่อมาก็ทำหมวกรูปสัตว์กันหลังจากฟังนิทานเรื่องสัตว์ แล้วระบายสีตามรูปภาพ แต่ตอนนี้เริ่มปัญหานิดหน่อยตรงที่ช่วงนี้ไม่มีเด็กมาทำกิจกรรมเลย เนื่องจากเด็กไม่ยอมลุกจากเตียง บางทีไม่มีเพื่อนก็ไม่อยากไป ตอนนี้เลยไม่ได้ทำกิจกรรมมาเดือนกว่าๆแล้วค่ะ กำลังคิดว่าจะทำยังไงดี จะทำงานศิลปะที่เตียงดีหรือเปล่า แต่อาสาสมัครยังไม่มีเลยมีพี่กับเพื่อนแค่2คน ทำไม่ไหว อาจารย์ว่าควรจะทำยังไงดีค่ะ แต่ตอนนี้พอดีมีหมอเด็กมาชวนร่วมกลุ่มดูแลสุขภาพเด็กที่ติดเชื้อHIV มีประมาณ30คนอายุ7-12ปี ก็เลยว่าจะทำศิลปะกับเด็กกลุมนี้ด้วย อาจารย์มีข้อเสนอแนะอะไรก็เสนอแนะได้นะค่ะ คราวนี้มารายงานความคืบหน้าของกิจกรรมว่ายังทำอยู่ค่ะ
                                                                                            ขอบคุณค่ะ
                                                                                     ทญ. XXXXXXX

RE: [gotoknow.org] You've received a contact mail‏

From: Supalak khemthong ([email protected])
Sent: Sat 1/26/08 3:23 AM
To: XXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXXX

เรียน คุณหมอXXXX ที่นับถือ
 
ขอชื่นชมที่โครงการของคุณหมอในการแนะนำกิจกรรมยามว่างให้กับเด็กๆ แต่อาจจะวางแผนการจัดกิจกรรมเพื่อกลายเป็นกิจกรรมบำบัดทางจิตสังคม ในกรณีนี้น่าจะมีเป้าหมายให้เด็กๆที่เจ็บป่วยเรื้อรัง ได้ทำกิจกรรมยามว่าง และลดสภาวะเบื่อและซึมเศร้ากับการใช้ชีวิตภายในโรงพยาบาลเป็นเวลานาน
 
หากวิเคราะห์การปรับตัวทางจิตสังคม เมื่อได้ลองทำกิจกรรมกลุ่มต่างๆ เด็กๆเหล่านี้จะรู้สึกสนุกและหายเบื่อในระยะการปรับตัวชั่วคราว ไม่เกิน 1 เดือนหากเป็นกิจกรรมกลุ่มอย่างเดียว เท่าที่เห็นจากตัวอย่างมีทั้ง Passive & Interactive Parcipation คือ เน้นการจัดกิจกรรมที่ให้เด็กดูละคร ฟังนิทาน และเล่นทำกิจกรรมในเหตุการณ์ต่างๆ วิธีปรับกิจกรรมบำบัด ได้แก่ ลองจัดกิจกรรมเดี่ยวสลับกับกิจกรรมกลุ่มแบบ Cooperative Play  อาจจะพิจารณาจัดตารางสลับวันหรือความต้องการของเด็กๆ เป็นสำคัญ ลองสำรวจถามความรู้สึกและความต้องการของเด็กๆ ดูซิครับ จะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์และสังเคราะห์กิจกรรมใหม่
 
สำหรับทีมงานที่มีอยู่ 2 คน แนะนำว่าจัดตารางเวลาของการจัดกิจกรรมที่แน่นอนและไม่จำเป็นต้องนำกลุ่มพร้อมกันทั้ง 2 คน ตัวอย่างเช่น วันจันทร์ คุณหมอนำกลุ่มแต่ใช้เด็กๆที่อยู่ในกลุ่มช่วยเหลือกันและกัน เท่าที่จะทำได้ ที่สำคัญน่าจะคัดเลือกกลุ่มที่มีความสามารถทำกิจกรรมเป็นผู้ช่วยคุณหมอและช่วยเด็กที่มีความสามารถทำกิจกรรมน้อยกว่า เด็กๆทุกคนเลือกเข้ากลุ่มได้แบบจำกัดจำนวน เช่น วันจันทร์จะมีกลุ่ม 3 คน วันอังคารจะหยุดเตรียมกลุ่มสำหรับผู้นำกลุ่มวันจันทร์ แต่มีผู้นำกลุ่มอีกท่านจัดวันอังคารกับกลุ่มใหม่อีก 3 คน และบางครังกรณีที่เด็กบางคนไม่ต้องการทำกิจกรรมกลุ่ม คงต้องมีกิจกรรมเดี่ยวแบบมีรูปแบบง่ายๆและสร้างความภูมิใจให้กับเด็กคนนั้นได้ (สามารถทำกิจกรรมได้ทุกที่ บนเตียง หรือ ในห้อง หรือ กลางแจ้ง) เป็นต้น ตรงนี้ต้องค่อยๆ วางแผนและจัดการตารางให้ชัดเจนจะได้ไม่เหนื่อยครับ จริงๆ แล้วตรงนี้จึงเป็นเหตุผลสำคัญที่ต้องมีนักกิจกรรมบำบัดเข้าไปช่วยเหลือการจัดกลุ่มครับ
 
หากคุณหมอสนใจจะหาอาสาสมัคร คงต้องดูจำนวนเด็กที่สนใจจัดทำกิจกรรมว่ามีเท่าไร และต้องการอาสาสมัครกี่ท่าน ผลสามารถนำเรื่องเข้าเวปของนักกิจกรรมบำบัดได้ หรือคุณหมอลองเข้าเวปกิจกรรมนักศึกษาต่างๆ ก็เป็นอีกทางหนึ่งครับ แต่ต้องบอกก่อนว่า การทำกิจกรรมจากอาสาสมัครจะเป็นกลุ่มใหญ่และทำให้เด็กปรับตัวได้ชั่วคราวเช่นกัน
 
 
ที่น่าวิเคราะห์คือ คุณหมอพยายามนำศิลปะเป็นสื่อ แต่ต้องทำความเข้าใจว่า ศิลปะบำบัด เน้นการทำศิลปะแบบอิสระในเด็กที่มีแรงจูงใจต่างๆ กันได้ ส่วนกิจกรรมบำบัดที่มีศิลปะเป็นสื่อ ต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมเบื้องต้นตามความต้องการและแรงจูงใจของเด็กแต่ละคนไป

ขอปรบมือให้คุณหมอและทีมที่ช่วยดูแลเด็กที่ติดเชื้อ HIV สำหรับกลุ่มนี้น่าจะมีปัญหาทางร่างกายด้วย ดังนั้น Leisure Management ควรมีการจัดลำดับของการให้กิจกรรมยามว่างแบบ เคลื่อนไหวทางร่างกายด้วยดนตรี เล่นเกมส์ เล่นกีฬา ผสมผสานกับพัฒนาทักษะทางจิตสังคมด้วยศิลปะ กิจกรรมกลุ่มในชุมชนโรงพยาบาลที่เด็กมีส่วนร่วม กิจกรรมครอบครัวมาทำกิจกรรมกลุ่มกับเด็กๆ เป็นต้น
 
หากมีสิ่งใดให้ช่วยเหลือ ยินดีมากครับ
 
อ.ป๊อป
 
ปล ผมขออนุญาตินำข้อมูลนี้ไปโพสใน http://gotoknow.org/blog/otpop เพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้สนใจครับ
 



หมายเลขบันทึก: 161474เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2008 10:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 23:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มีข้อคำถามค่ะ

นอกจากการนำศิลปะไปใช้ในเด็กแล้ว...ไม่แน่ใจว่ามีการนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในโรงพยาบาลมากน้อยแค่ไหน

ซึ่งดิฉันมองว่าเป็นสิ่งที่น่าจะเกิดขึ้น...แต่ติดตรงที่ว่าไม่ทราบว่าควรเริ่มต้นที่อะไร  หรือควรจะทำอย่างไรก่อน

จึงเรียนมาเพื่อปรึกษาในที่นี้เลย....หากจะช่วยให้ความกระจ่างก็ขอบพระคุณอย่างมากค่ะ

ขอบคุณครับคุณ Vicky

ปกตินักกิจกรรมบำบัดต้องประเมินความสามารถทางร่างกายและจิตสังคมว่ามีการประกอบกิจกรรมดำเนินชีวิตอย่างไร เมื่อมาพักฟื้นใน รพ. ด้วยโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยมีความต้องการในการประกอบกิจกรรมดำเนินชีวิตด้านใด เช่น กิจกรรมการเล่น กิจกรรมการเรียน กิจกรรมการทำงาน และกิจกรรมยามว่าง

เมื่อวิเคราะห์ความสามารถและความต้องการของผู้ป่วย นักกิจกรรมบำบัดจึงวางแผนและสังเคราะห์ขั้นตอนของสื่อการรักษา เช่น รูปแบบของกิจกรรมยามว่างแบบสร้างสรรค์และใช้สื่อทางศิลปะ ที่สำคัญหากผู้ป่วยเริ่มต้นคิดรูปแบบศิลปะที่จะนำมาประกอบการทำกิจกรรมบำบัด ก็ต้องค่อยๆสร้างโอกาสการเรียนรู้และเบี่ยงเบนความวิตกกังวลจากโรคเรื้อรัง และนำมาสู่การรับรู้ที่จะประกอบกิจกรรมการดำเนินชีวิตอื่นๆ อย่างมีความสุข พร้อมๆ กับการปรับตัวต่ออาการเจ็ปป่วยเรื้อรัง

หากหน่วยงานของ รพ. ไม่มีนักกิจกรรมบำบัด คงต้องค่อยๆ วิเคราะห์ความสามารถและความต้องการของผู้ป่วยหลายครั้ง อาจเริ่มจากการสังเกตทำงานศิลปะ การสื่อสาร การทำกิจกรรมอื่นๆ เป็นต้น

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท