บัวชูฝัก
นาย เศกสรร ครูเศก แสงจินดาวงศ์เมือง (สายวงศ์คำ)

รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน


ท่ารำของตัวยักษ์ที่แสดงถึงความเจ้าชู้ กรุ้มกริ่ม แต่ในขณะเดียวกัน ยังเข้มแข็งดุดันตามลักษณะประเภทของตัวยักษ์

รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน <p>        </p><p>                       เพื่อให้ต่อเนื่องในการนำเสนอ รำฉุยฉาย วันนี้ขอนำเสนอที่ถือว่าเป็นที่สุดของการรำของผู้แสดงโขนฝ่ายยักษ์ เพราะผู้ที่จะรำชุดนี้ได้จะต้องถือว่าเป็นที่ครูอาจารย์ไว้วางใจในการให้ร่ายรำในชุดนี้ คือ รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวน</p><p align="center"></p><p>              “รำฉุยฉายทศกัณฐ์ลงสวนเป็นลีลาท่ารำฉุยฉายของตัวยักษ์ โดยมีที่มาจากโขนเรืองรามเกียรติ์ เรื่องมีอยู่ว่า ทศกัณฐ์ พญายักษ์แห่งกรุงลงกา ทำอุบายไปลักพานางสีดามเหสีของพระรามมาไว้ในอุทยานท้ายกรุงลงกา  ทศกัณฐ์หลงใหลในรูปโฉมนางสีดามาก ในคืนหนึ่งจึงเดินทางมายังอุทยานเพื่อเกี้ยวพานาง ทศกัณฐ์แต่งกายอย่างวิจิตรงดงาม มีผ้าห้อยไหล่สองข้าง มือถือพัดด้ามจิ้วจันทน์ กระบวนท่ารำมีลักษณะที่แฝงไว้ด้วยความกรุ้มกริ่ม เจ้าชู้ ตามสำนวนที่ว่า "เจ้าชู้ยักษ์"           </p><p>                     บทฉุยฉายและลีลาท่ารำนี้ เชื่อกันว่า กำเนิดขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เพราะไม่ปรากฎบทที่ใช้การแสดงมาก่อน และลีลาท่ารำที่ปรากฎอยู่สืบทอดมาจากครูอาจารย์ที่เป็นนาฏศิลปินจากกรมมหรสพ ในรัชกาลที่ ๖ กระบวนลีลาท่ารำชุดนี้ นายอร่าม อินทรนัฏ อดีตผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลป์ (โขนยักษ์) กล่าวไว้ว่า ท่านได้รับการถ่ายทอดจากคุณหญิงนัฏกานุรักษ์ (เทศ สุวรรณภารต) ซึ่งเป็นลีลาท่ารำของตัวยักษ์ที่แสดงถึงความเจ้าชู้ กรุ้มกริ่ม แต่ในขณะเดียวกัน ยังเข้มแข็งดุดันตามลักษณะประเภทของตัวยักษ์  ดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง โดยมีบทร้องดังนี้</p><p>
                      ปี่พาทย์ทำเพลงรัว
           ร้องฉุยฉาย
</p><p>       ฉุยฉายเอย                         </p><p>จะไปไหนหน่อยเจ้าก็ลอยชาย</p><p>
เยื้องย่างเจ้าช่างกราย                 
</p><p>หล่อนไม่เคยพบชายนักเลงเจ้าชู้</p><p>
จะเข้าไปเกี้ยวแม่ทรามสงวน </p>

  เจ้าช่างกระบวนหนักหนาอยู่

<p>
        ฉุยฉายเอย                       </p></span></strong></font><p>  จะไปไหนนิดเจ้าก็กรีดกราย</p><p>
เยื้องย่างเจ้าช่างกราย                 </p>

หล่อนมิเคยพบชายนักเลงเก่งแท้

<p>
จะเข้าไปเกี้ยวแม่ทราบสงวน    </p>

เจ้าช่างกระบวนเสียจริงเจียวแม่

<p>
                               ร้องแม่ศรี</p></font></span></strong><p>
        ยักษีเอย                            </p>
<p>ยักษีโสภณ</p><p>
เจ้าช่างแต่งตน                          </p>

เลิศล้นหนักหนา

<p>
ห้อยไหล่แดงฉาด                    </p>

งามบาดนัยนา

<p>
ช่างงามสง่า                              </p>

จริงยักษีเอย

</font></span></strong><p>
        ยักษีเอย                          </p>
<p> ยักษีทศศีร์</p><p>
วางท่าจรลี                               </p>

ท่วงทีองอาจ

<p>
มุ่งใจใฝ่หา                              </p>

สีดานงนาฏ

<p>
แล้วรีบยุรยาตร                      </p>

 เข้าอุทยานเอย
                       

</font></span></strong><p>ปี่พาทย์ทำเพลงเร็ว-ลา</p>
                          ผู้แสดงแต่งยืนเครื่องยักษ์สีเขียว สวมศีรษะทศกัณฐ์ (นิยมใช้สีทองในความหมายของหน้าตาที่เบิกบานผ่องใส มีผ้าห้อยไหล่สีแดงถือพัดด้ามจิ้วจันทน์ มีพวงมาลัยคล้องข้อมือขวา)การแสดงชุดนี้ใช้เวลาแสดงประมาณ ๘ - ๑๐ นาที
 



ความเห็น (10)

ทศกัณฐ์ลงสวน

นึกว่าจะลงไปเก็บผักค่ะ อิอิอิ

ที่แท้ก็มาชมชวนนี่เอง

อยากดูของจริง ค่ะ น่าสนุกดี

สวัสดีค่ะ

 เป็นที่มาของ เจ้าชู้ยักษ์หรือเปล่าคะ ที่จริงนางสีดา คือลูกของทศกัณฑ์ ใช่ไหมคะ ชักจะลืมๆเรื่องราวเสียแล้ว ขอบคุณที่ทบทวนให้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

 ห่างหายไปนานพึ่งว่างเว้นจากการงาน   ก็เข้ามาอ่านบันทึกอาจารย์    ได้ทั้งความรู้และมีความสุขที่ได้อ่านบันทึกเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมไทย   ถึงแม้ว่าจะเป็นคนละภาคก็ตาม   ก็มีความสวยงามเหมืนกันที่แตกต่าง

สวัสดีค่ะน้องบัวชูฝัก

  • เงียบๆนะค่ะคุณน้อง.....ไม่ห่วงแฟนๆที่เฝ้าคอยชมการแสดงหรือไงจ๊ะ?..
  • คิดถึงค่ะ
  •  สวัสดีค่ะ  ตามสาวข้างบนมา
  • มาเยี่ยมอีกคนค่ะ
  • เงียบทั้งสองคนเลยเนอะ  อิอิ

สวัสดีค่ะ

หายไปนานเหมือนกัน  วันนี้มาขอรับความบันเทิงตา บันเทิงใจจากบล็อกคุณครูนะคะ

  • สวัสดีครับคุณครูดวงพรP
  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจที่ได้ตลอดมา
  • ขอบคุณมากครับ

ผมชอบมากครับ

โขนเป็นสิ่งที่รักของผมเลย

ขอบคุณมากน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท