นาร้าง - นาทรัพย์


            ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี(นายภาณุ  อุทัยรัตน์)  ได้พูดถึงข้อมูลที่น่าสนใจ เกี่ยวกับสถิติพื้นที่นาร้างในจังหวัดปัตตานี(ผ่านทางรายการผู้ว่าพบประชาชน ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อกลางเดือนตุลาคม 2550) ว่ามีนาร้างทั้งหมดประมาณ 30,000 ไร่ จากพื้นที่ 10 อำเภอ  และข้อมูลที่น่าตกใจอีกประการก็คือ ในพื้นที่อำเภอโคกโพธิ์ มีพื้นที่นาร้างประมาณ 9,000 ไร่  ท่านผู้ว่าฯ ได้นำแนวคิดไปสู่สำนักงานเกษตรจังหวัดและอำเภอ ตลอดจนนำนโยบายดังกล่าวเพื่อพลิกฟื้นนาร้างให้เป็นนาทรัพย์  ซึ่งหลังจากได้เตรียมการและนำเสนอนโยบายต่อระดับปฏิบัติแล้วทราบว่าท่านตั้ง เป้าว่าจะพลิกฟื้นนาร้างให้เป็นนาทรัพย์ให้ได้อย่างน้อย 8,888 ไร่  ซึ่งตัวเลข 8 ถือเป็นเลขมงคลเพื่อเทอดพระเกียรติ 80 พรรษา  และโครงการนี้จะเริ่มตั้งแต่ 5 ธันวาคม 2550 จนถึง 5 ธันวาคม 2551 รวมระยะเวลา 1 รอบปีพอดี  ตอนแรกเข้าใจว่าท่านจะพลิกนาร้างให้เป็นนาข้าวขึ้นมาอีกครั้ง  แต่เมื่อเช้าวันที่ 24 ม.ค. 51 ท่านกล่าวในรายการผู้ว่าพบประชาชน ทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย  ว่าการพลิกนาร้างให้เป็นนาทรัพย์ ไม่จำเป็นต้องให้กลับเป็นนาข้าว  ใครเห็นว่าจะให้เป็นสวนปาล์มก็ได้ จะทำเป็นสวนปาล์มก็ได้  เป็นต้น  แนวคิดดังกล่าวสอดคล้องกับแนวคิดและเหตุผลของการเปลี่ยนนาข้าวเป็นสวนยาง  ต่างกันตรงที่นาข้าวที่เปลี่ยนเป็นสวนยางไม่เคยเป็นนาร้างมาก่อน และเหตุผลที่เปลี่ยนเป็นสวนยางเพราะว่าปัจจัยที่ส่งเสริมให้การทำนาข้าวเปลี ่ยนไป  ปัจจุบันการทำนาข้าวไม่ง่ายเหมือนแต่ก่อน

             ในฐานะที่อยู่ในหมู่บ้านชนบทแห่งนี้มาตลอดชีวิต ช่วยพ่อทำนามาตั้งแต่เด็ก  ปัจจุบันก็ยังทำนาอยู่  แม้บางส่วนจะเปลี่ยนไปเป็นสวนยางบ้างแล้วก็ตาม  ก็พอจะมองเห็นปัญหาและสาเหตุแห่งความเปลี่ยนไปที่ทำให้เกิดนาร้าง ดังนี้

             ๑) การปล่อยน้ำจากระบบชลประทานแบบไม่มีจังหวะเวลา  ทำให้ทุ้งนาไม่เคยแห้งน้ำ  เป็นน้ำที่หล่อเลี้ยงวัชพืชคือกกและหญ้าให้เจริญเติบโตจนยากแก่การบุกเบิกให ้เป็นนาเช่นเดิม  มีคำกล่าวของชาวบ้านที่น่าสนใจว่า พื้นที่ชลประทาน ยิ่งน้ำดียิงมีนาร้าง 

            ๒) ชาวนาเปลี่ยนเครื่องมือจากแรงงานสัตว์ เช่นใช้ควายลากไถ เป็นรถไถเดินตาม  เปลี่ยนจากวัวเทียมเกวียนเป็นรถมอเตอร์ไซค์  เมื่อก่อนจูงควายแบกไถเดินตามคันนาได้  หรือจูงควายลุยพรุน้ำลึกข้ามไปได้   แต่ปัจจุบันเอารถไถเดินตามขับไปตามคันนาไม่ได้  ขับข้ามพรุลึกก็ไม่ได้  จำเป็นต้องทำคันนาให้กว้างเป็นถนนจึงจะเดินทางเข้าไปได้  หรือไม่งั้นก็ลุยข้ามคันนาไป  เมื่อถูกดำนาขวางก็ข้ามไม่ได้  หรือเมื่อเป็นที่พรุน้ำลึกก็ไม่สามารถไปได้เช่นกัน

             ๓)เมื่อมีน้ำท่วมนาตลอดปีจากการปล่อยน้ำของชลประทาน หนวยงานต่างๆ เช่น อ.บ.จ. , อ.บ.ต. , ชลประทาน ฯลฯ  เข้าขุดคลองระบายน้ำ  แต่เป็นการขุดในลักษณะล้อมพื้นที่  ทำให้การนำเครื่องจักรเข้าพื้นที่ทำได้ลำบาก เป็นอุปสรรคต่อการทำนา การเข้าพื้นที่ไม่สะดวก

             ๔) คลองสายที่ผ่านทุ่งนา  เดิมเคยเป็นคลองส่งน้ำ ซึ่งธรรมชาติของคลองส่งน้ำจะอยู่สูงกว่าระดับพื้นนา  เมื่อชาวบ้านจะใช้น้ำ เพียงเปิดท่อระบายน้ำ  น้ำก็จะไหลเข้านาโดยไม่ต้องสูบน้ำ  เป็นความหวังดีของหน่วยงานต่างๆ อีกเช่นเคย  เริ่มจากการขุดลอกคลองเอาต้นไม้ยืนต้นออกจากคันคลอง ผมพึ่งสังเกตเห็นเช่นกันว่า เมื่อก่อน สมัยที่คลองดังกล่าวมีำไม้ยืนต้นปกคลุมคลองร่มครึ้ม  ไม่เคยมีหญ้า ผักตบ หรือวัชพืชใดๆ ลอยอยู่ในคลองเลย  น้ำใสจะไหลลดเลี้ยวไปตามช่องระหว่างไม้ยืนต้น  แต่เมื่อไม้ยืนต้นบนคันคลองถูกขุดลอกออกไป  ผักตบและพืชน้ำต่างๆ ก็ขึ้นปกคลุมแทนที่  ผลที่ตามมาคือน้ำไม่ไหล  หน่วยงานต่างๆ ก็จะส่งแบคโฮเข้ามาขุดทั้งดินพื้นคลองและหญ้าออก  ท้ายที่สุดปัจจุบันพื้นคลองลึกกว่าระดับท้องนาแล้วก็ไม่สามารถเอาน้ำเข้านาไ ด้เหมือนแต่ก่อน  ซ้ำร้าย การขุดพื้นท้องคลองจนลึกกว่าพื้นฝายกั้นน้ำ ท้ายที่สุดน้ำก็ทะลุลอดใต้พื้นฝาย   ซึ่งก็กลายเป็นฝายที่ใช้งานไม่ได้  ยกระดับน้ำไม่ได้

           ๕) วัฒนธรรมการทำงานที่เปลี่ยนไป  เนื่องจากเด็กรุ่นใหม่เข้าโรงเรียนเพราะไม่ต้องการทำนา  พ่อแม่นั่นแหละสอนเองว่าถ้าเอ็งเรียนหนังสือสูงๆ  เอ็งจะได้ไม่ต้องทำนาเหมือนพ่อแม่  ความคิดว่าการทำนาเป็นอาชีพที่ต่ำต้อยถูกปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก    กระทั่งทั้งลูกชาวนาที่ี่เรียนจบระดับสูงและที่ได้เรียนเพียงเพื่อผ่านภาคบั งคับ  ต่างก็ไม่ยอมทำนา ปล่อยให้ที่นาของบรรพบุรุษที่ให้ไว้รกร้าง  โดยที่ตนเองยอมไปทำอาชีพรับจ้าง เช่น งานก่อสร้าง  ลูกจ้างรายวัน เป็นต้น  เคยมีชาวสวนยางคนหนึ่งพูดไว้อย่างน่าคิดในขณะที่ชาวสวนยางคนนั้นกำลังถางหญ้ าในสวนยาง และเพื่อนบ้านอีกคนกำลังทำงานรับจ้างก่อสร้างรายวัน แต่ทำงานในร่ม ว่า คอยดูนะ วันนี้ชาวสวนเหนื่อยกลางแดด  แต่อีก 5 ปีจะสบายเพราะเป็นเจ้าของสวน  แต่คนที่ยังทำงานรับจ้าง อีก 5 ปีก็จะยังต้องทำงานรับจ้างต่อไป  ซึ่งผู้เขียนเองก็เห็นจริงตามคำกล่าวนั้น

            แนวทางการแก้ปัญหาตามข้อ ๑ - ๔ น่าจะพอทำได้  แต่การปรับแก้ทัศนคติและค่านิยมในการทำงาน ดูจะไม่ง่าย    ยังมีเหตุปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดนาร้างอีก  วันหลังจะรวบรวมและมาบันทึกเพิ่ม  หรือท่านใดมีประสบการณ์ที่แตกต่างเล่าสู่กันฟังบ้างนะครับ

หมายเลขบันทึก: 161182เขียนเมื่อ 24 มกราคม 2008 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 11:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีครับ อาจารย์

  • ผมอยากทำนา แต่ไม่นาให้ทำ พ่อเอานาทำสวนยางไปแล้ว ก็เลยต้องลองยกร่องปลูกข้าวที่หน้าบ้าน ได้ข้าวหรือได้ซังก็รอลุ้นอยู่ครับ

สวัสดีครับพี่

        ขอบคุณมากๆ นะครับ สำหรับข้อมูลดีๆ และช่วยๆ กันกระตุกเรื่องนี้ครับ

ผมไปร่วมแจมกับบทความพี่ไว้ที่  531026 เมื่อ จ. 28 ม.ค. 2551 @ 20:04 เป็นเรื่องที่น่าคิดว่าต่อไปเราจะอยู่กันอย่างไรครับ แต่อะไรที่แปลกปลอมมากก็จะหายไปเองครับ ผมเชื่ออย่างนั้นว่าธรรมชาติจะช่วยพวกเราได้ในการทำความสะอาดหลายๆ อย่างที่หนักไปให้กลับมาดีและสะอาดขึ้นได้ครับ หากคนช่วยกันไม่ได้

         ต่อไปจะมีการปลูกอะไรมากกว่าปาล์ม มากกว่ายางครับ คืออะไรก็ได้ ขอให้ปั่นให้เป็นกระแสในประเทศ เราจะเป็นกระแสและปลูกกันเป็นกระแสแบบนี้เสมอ  ความสมดุลของราคาและการกระจายตัวของพืชในพื้นที่ต่างๆ ของบ้้านเราอาจจะผิดสมดุล วันหนึ่งเราจะรู้มากขึ้น จริงๆ จะทำอะไรในเมืองไทย ให้มีคนสนใจมากๆ ทำได้ง่ายๆ โดยให้ผลตอบแทนในด้านนั้นๆ มากๆ ก็จะมีคนหันมาร่วมกันทำมากมาย และตามไปลักษณะกฏธรรมชาติคือ ปลาใหญ่กินปลาเล็ก เป็นวงจรต่อๆ ไปครับ

        ผมอยากจะบอกอย่างหนึ่งว่า โลกนี้มันหลากหลายมากโดยเฉพาะทางชีวภาพ ประสบการณ์ทางการเกษตรที่ผมพอจะมีบอกว่า การทำพืชเชิงเดี่ยวนั้นไม่ใช่ความยั่งยืน แต่เราต้องทำให้ระบบนิเวศน์เกิด แม้ในทุ่งนาก็มีระบบนิเวศน์ ไม่ใช่เพียงแค่มีต้นกล้าต้นข้าวเท่านั้น ระบบจะจัดการระบบห่วงโซ่ภายในเอง ผู้เป็นมนุษย์เพียงแค่ของธรรมชาติกินเท่านั้น แต่มิใช่เป็นเจ้าของธรรมชาติ เรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมและเข้าใจเขาเข้าใจเรา เกื้อกูลพึ่งพาแบ่งปัน จะยั่งยืนเสมอ

ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ สำหรับบทความดีๆ   

       เพิ่มเติมอีกนิดครับ ผมเคยอ่านแผนนโยบายของพรรคการเมืองในการเพิ่มพื้นที่ปาล์มน้ำมันในทางใต้แล้ว ทำให้ผมอดห่วงไม่ได้ เพราะนั่นคือ จะมีการโค่นหรือไกล่เกลี่ยพื้นที่ใ้ห้เป็นสวนปาล์มกันอีกมากมายเป็นแสนไ่ร่

        แน่นอนว่าเราต้องขาดน้ำมันในอนาคตครับ ไ่ม่เกิน 30-40 ปีข้างหน้านี้แน่นอน การวางแผนเป็นเรื่องดี แต่ต้องสมดุลในนิเวศด้วย ไม่งั้นจะเป็นการรังแกสมุนไพรเจ้าถิ่น ต่อให้มีเงินขายปาล์มขายยางก็จริง แต่เราต้องเจอกับสภาพโรคภัยที่หนักหนายิ่งขึ้นด้วยเพราะิสิ่งแวดล้อมโดนทำลาย แล้วเราจะต้องปลูกปาล์มขายน้ำมัน หรือขายสิ่งเหล่านี้ในการซื้อยารักษาโรคอีกเท่าไหร่ในการรักษาคนของเรา

        แน่นอนว่าสมุนไพรให้ผลช้ากว่ายาโรงบาล แน่นอนว่าฉีดน้ำเกลือไม่หิวและไม่ต้องย่อยเหมือนกินข้าวเข้าไป แน่นอนว่าใส่ปุ๋ยเคมีเห็นผลไวกว่าปุ๋ยอินทรีย์ แต่นั่นคือตำตอบที่ดีแล้วหรือ...สำหรับพื้นที่ไทย?

ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ 

สวัสดีครับ

ขอเสริมนิดครับ   "นาร้าง - นาทรัพย์"  ดูเหมือนดีครับ แต่ต้องจำแนกวิเคราะห์ความน่าจะเป็น  การเสริมสร้างให้นาร้างเพื่อรองรับระบอบทุนก็ใช่ว่าจะดี   เป็นการสร้างความสมดุลที่ผิดเพี้ยนไปจากนิเวศ  ภาพลวงตาที่มีอยู่ต่อเนื่อง  โดยไม่คิดสภาวะโลก  การหนุนเนื่องระบอบทุนที่ทำลายสภาพสิ่งแวดล้อมโลกก็ต้องใคร่ครวญให้ดีครับ  

ตอบคุณบ้านสวนพอเพียง ผมว่าการทำนาแบบยกร่องไม่ค่อยเป็นธรรมชาติเท่าไหร่นะครับ  แต่ถ้ามีคนคิดแหวกแนวอาจได้นวัตกรรมใหม่นะครับ

 

 ตอบคุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ผมตามไปอ่านแล้วครับ  ได้เห็นทัศนะที่แตกต่าง / หลากหลาย  ขอบคุณนะครับ  การได้ลงมือทำเอง และทำอย่างรู้จริง  ผมเชื่อว่าจะเกิดการพัฒนา  สภาพนาร้างที่พูดถึง  มันมีอยู่จริง  และถ้าไม่มีกลยุทธ์อะไรมากระตุ้นก็จะคงอยู่ต่อไป  คือคงสภาพความเป็นนาร้างครับ  การกระตุ้นให้พ้นสภาพจากนาร้าง  ไม่ว่าจะให้เป็นนาข้าวเหมือนเดิม  หรือจะให้เป็นนายางอย่างที่คุณเม้งว่า  หรือแม้กระทั่งจะให้เป็นนาปาล์มก็เหอะ  ทุกประเด็นดีกว่าการเป็นนาร้างทั้งสิ้น จะมีสัดส่วนระหว่างข้อดีและข้อเสียอย่างไร  อย่างไหนคุ้มกว่ากันเป็นเรื่องของเหตุผลเฉพาะรายครับ

 

      ผมไม่เคยปฏิเสธเทคโนโลยี  แต่เราต้องพินิจพิเคราะห์ให้ได้ว่า เทคโนโลยีที่เหมาะสม คือระดับไหน  การปฏิเสธปุ๋ยเคมีอย่างสิ้นเชิงก็ใช่ว่าจะดีทุกอย่างเพราะ ปุ๋ยเคมีก็มีประโยชน์หากใช้ร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์  แต่ทุกวันนี้มีการใช้ปุ๋ยเคมีล้วนๆ และทำการเกษตรแบบทำลาย และฝืนธรรมชาติ  หายนะจึงตามมาครับ  สวนยางปีที่ ๒-๓ ที่หญ้ารก พยายามใช้ยาฆ่าหญ้า(พืชใบเลี้ยงเดี่ยว)  ผลที่ออกมาก็คือหญ้าดอกขาว(พืชใบเลี้ยงคู่ - แถวบ้านผมเรียกสาบแร้งสาบกา) เลยเต็มสวนยางให้กำจัดยาก  สวนยางของผมจึงใช้วิธีไถเฉพาะในแถวยางให้หญ้ากลบเป็นปุ๋ยพืชสด และใส่ปุ๋ยเคมี  ถ้าตัดหญ้าให้เตียนมากผิวดินก็จะแห้งและถูกชะล้าง หน้าดินเสื่อมโทรม  สวนยางผมเลยมองคล้ายๆ ป่ายางมากกว่า  แต่ก็เติบโตดีนี่ครับ ตามธรรมชาติเมื่อต้นยางโตจนใบสานกัน  ก็จะเกิดร่มเงาจนไม้พื้นล่างเปลี่ยนไปเองแหละครับ

 

          นาที่เปลี่ยนเป็นสวนยางก็เช่นเดียวกัน  ถ้ารู้ว่ารากของต้นยางพารา ต้องการการระบายน้ำได้ดี  ก็ต้องปรับปรุงพื้นที่ให้ระบายน้ำให้ออกได้ดีก่อน คือต้องลดระดับน้ำให้ต่ำกว่าสันร่องอย่างน้อย ๑ เมตรครับ  ถ้าน้ำแช่รากต้นกล้ายาง รับรองยางไม่เจริญครับ  เหมือนภาพที่คุณเ้ม้งเอามาลงไว้นั่นแหละครับ  อีกอย่างคือต้องรู้จริงว่า การปลูกยางต้องดูแลลำต้นในช่วง ๓ ปีแรก ไม่ให้แตกแขนง/กิ่งในระยะ ๓ เมตรจากพื้น  ไม่งั้นต้นยางก็จะไม่เหมาะแก่การกรีดและรุงรังครับ

 ตอบคุณสิทธิรักษ์

ก่อนที่จะลงมือทำ  ผมทำนามาตั้งแต่อายุ ๗-๘ ขวบครับ  ประสบการณ์การทำนาประมาณ ๔๐ ปีครับ   สัมผัสกับสวนยางบนควน เชิงเขา และที่สูงมาพอๆ กัน  พึ่งมาเห็นเพื่อนบ้านเขาแปลงนาข้าวเป็นสวนยางเมื่อประมาณ ๑๐ กว่าปีที่ผ่านมา  ขณะนั้นก็คิดเหมือนกับที่ทุกคนคิดนั่นแหละ  ผมยืนยันจะยังทำนาอยู่  ปัจจุปันเลยศึกษาอย่างจริงจังเรื่องการแปลงนาข้าวสวนยาง  และทดลองทำไป ๑ แปลง  ประมาณ ๒ ไร่  ทุกวันนี้ได้ผลผลิตไม่มากครับ  วันละประมาณ ๒๐๐ บาท  ถ้าเปรียบเทียบกับนาข้าว จะต้องขายข้าวเปลือก ๒ ถังครับถึงจะได้ ราคาดังกล่าว  และอย่าไปเปรียบเทียบกับยางที่สูงครับ เพราะที่ปลูกนี้คือที่ลุ่ม   ปัจจุบันกรีดยาง ไม่เหนื่อยเหมือนการทำนานะครับ  ทำตอนเช้า สายๆ ก็เสร็จ   ไม่พูดถึงกินยางแทนข้าวไม่ได้นะครับ

       ที่ร่ายยาวมาทั้งหมดเพื่อให้เห็นว่าถ้าพิจารณาด้วยเหตุด้วยผล และทำอย่างมีเหตุผล ไม่ทำตามกระแสก็สามารถบรรลุเป้าหมายได้  ผมเชื่อในทฤษฎีการเรียนรู้ที่ว่า Learning by Doing ครับ

สวัสดีครับพี่

        ขอบคุณมากๆ เลยครับสำหรับข้อมูล จริงๆ แล้วการใช้ร่วมกันระหว่างเคมีและอินทรีย์นั้นคือเจอกันครึ่งทาง ทางสายกลางเลยหล่ะครับให้ผลดีทีุ่สุดตามที่เค้าวิจัยกันครับ เพราะว่าท้ายที่สุดแล้วรากพืชนั้นก็นำปุ๋ยเข้ารากได้ในรูปแบบของไอออน ซึ่งก็คือเคมีนั่นเอง เหมือนการให้น้ำเกลือกับคน เทียบกับการกินข้าวเ้ข้าไปเป็นแบบการให้ปุ๋ยอินทรีย์เช่นกัน แต่ด้วยปัญหาที่เคมีนั้นสูญหายได้ง่าย ส่วนอินทรีย์จะค่อยๆ ย่อยสลาย ทำให้เกิดผลไอออนอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นไม้มีกินตลอดเวลา 

        อย่างปุ๋ยในเตรต พวก NO3- พวกนี้ ที่มามันก็มาจากธรรมชาติชุดเดียวกัน เพียงแต่ว่า ในกระสอบมันแรงกว่าในใบไม้ที่ทับถมกัน คนเลยนิยมมองว่ามันคือยาวิเศษที่จะทำให้พืชโตงามใบเขียวสวยโตเร็ว คนก็ตาลุก ส่วนจากใบไม้ที่ทับถมเข้มข้นน้อยกว่า ก็แน่นอน ต้องได้ผลช้ากว่าแน่นอนครับ ดังนั้นจะหาจุดสมดุลตรงไหนที่ทำให้เกิดความยั่งยืน หากจะใส่ทั้งกระสอบ แทนที่จะให้ผลดีก็เป็นการฆ่าสิ่งมีชีวิตในดิน เผลอๆ ก็ฆ่าสัตว์และพืชตัวที่ต้องการด้วยครับ  เหมือนใช้ยูเรียผิดความเข้มข้นรดแปลงผักบุ้งครับ

        ใบยางปีที่แล้วเป็นปุ๋ยในปีนี้ เมื่อพุ่มยางสานถึงกัน พืชที่ผิวดินเจอแสงน้อยก็ตายก็เป็นปุ๋ยคืนให้ดินต่อไป ใบยางปีที่แล้วก็เริ่มยุ่ยให้เป็นปุ๋ยทับถมและใบยางปีนี้ก็จะเป็นปุ๋ยให้ปีต่อๆ ไปเช่นกัน ดินที่ไม่มีปุ๋ยก็เหมือนดินทรายนั่นหล่ะครับ  ดินที่ไม่มีน้ำก็เหมือนดินที่ฝังเกลือไว้ในดิน

       พี่ก็ทราบดีว่าในที่นาเราๆ นั้นมีแมลงทั้งสองฝ่ายคือฝ่ายที่เป็นภัยต่อสิ่งที่เราปลูกและฝ่ายที่เป็นประโยชน์ต่อพืชที่เราปลูก ซึ่งแมลงนั้นจะมีโทษและคุณได้ในตัวเดียวกันตามแต่ละพื้นที่ด้วย เสมือนกับวัชพืชที่มีทั้งคุณและโทษขึ้นกับพื้นที่เช่นกัน ท้ายที่สุดแล้วกกและข้าวก็อยู่ร่วมกันได้ครับ เพียงแต่ตัวไหนจะเด่นหรือด้อยในพื้นที่นาเท่าั้ันั้นเอง การไม่ทำนาก็คือเปิดโอกาสให้พืชอื่นขึ้นได้ เพราะถือว่านั่นคือโอกาสของเค้าในการครอบครองพื้นที่ ไม่ใช่พื้นที่ของเราเลยครับ แต่เป็นพื้นที่ของต้นกกเหล่านั้น เพราะเค้าใช้พื้นที่มากกว่าเราและดูแลพื้นที่มากกว่าเราด้วย เพราะเค้ามีการคืนและให้กับดินได้โดยตรง ส่วนเราทำหน้าที่แค่อำนวยและเก็บเกี่ยวหรือทำลายเท่านั้น

          ท้ายที่สุดเพียงจะบอกว่า ความรู้อยู่ในธรรมชาติ ทำลายธรรมชาติขาดความรู้ สิ่งเหล่านี้เกิดเพราะสิ่งนั้นมีสิ่งนั้นเหมาะ  แถวๆบ้านผมที่นครฯ ตอนนี้หญ้าดอกขาวเพียบเช่นกันครับ แม่บอกว่าไม่ว่าตรงไหนเจอทั้งนั้น แสดงว่ากระแสลมมีบทบาทมากๆ เลย ตอนนี้กระแสลมเปลี่ยน กระแสน้ำเปลี่ยนทิศ มีผลให้เกิดการนำพาพัดพาสิ่งเหล่านี้ ไปวางให้นำไปสู่การขยายพันธุ์ ท้ายที่สุดแล้วเราจะไปติดกับดักของนายทุนขายยาปราบหญ้าดอกขาวหรือไม่ก็ว่ากันครับ รับรองว่าคงสนุกแน่ๆ ครับ แล้วพืชพวกนี้มันจบปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งด้วยซิครับ คือ ไม่ต้องสอนและให้ปุ๋ยเลย มันโตได้เองของมันด้วยและเก่งด้วยซิครับ นี่หล่ะครับ ความแข็งแรงทางพันธุกรรมแบบการเลือกทางธรรมชาติ

           ขอบคุณพี่มากๆ นะครับ
 

สวัสดีครับอาจารย์

ผมเองปฏิเสธปุ๋ยเคมีโดยสิ้นเชิงครับ ผมไม่ให้พ่อแม่ซื้อเข้าบ้านเลย  เพราะผมยึดหลักใส่ปุ๋ยให้ดิน ไม่ใช่ใส่ปุ๋ยให้ต้นไม้ หรือเลี้ยงดินให้ดินเลี้ยงพืช

อีกอย่างต้นไม้ต้องการธาตุอาหารถึง 96 ชนิด การที่ให้ต้นไม้กินอยู่แค่ 3 ชนิดก็ไม่เป็นผลดีกับต้นไม้แน่นอน

ต้นยางที่บ้านจะโตช้าซักหน่อยก็ไม่เป็นไร  ยิ่งตอนนี้ราคาปุ๋ยแพงมาก ไม่รู้แพงกับอะไรนักหนาทั้งๆ ที่ส่วนประกอบในปุ๋ยส่วนใหญ่ก็ดินหินทรายเอามาบด แล้วฉีดน้ำหัวแม่ปุ๋ย (N-P-K)

ตอนนี้ผมซื้อขี้ไก่แกลบมาทำปุ๋ยเอง ทำปุ๋ยผงโดยหมักด้วยจุลินทรีย์

ขี้ไก่กระสอบละ 25 บาท   สวนยาง 2 ไร่ ผมใส่ 12 กระสอบ

25X12 = 300 บ. บวกค่ากากน้ำตาลอีกนิดหน่อย

ปุ๋ยเคมี 50 กิโลกรัมต่อไร่(ไม่แน่ใจว่าจำถูกมั๊ย) ตอนนี้อย่างแพงก็กระสอบละ1,000 บาท 2 กระสอบก็ 2,000 บ. ต่อ 1 ครั้ง

ใส่เคมี 1 ครั้ง ผมใส่ขี้ไก่ได้ เกือบ 7 ครั้ง ราคาต่างกันเห็นๆ

ตอนนี้ในบางพื้นที่จะเกิดปัญหาที่คล้ายๆ กับที่เคยเกิดกับพื้นที่ภาคกลาง กรณีชาวนาปลูกข้าวกับคนเลี้ยงกุ้ง ความต้องการใช้น้ำจะไม่เหมือนกัน

เหมืองส่งน้ำที่เคยส่งน้ำเข้านา แต่เดิมก็จะช่วยกันดูแล เมื่อนาบางแปลงเปลี่ยนเป็นสวนยางก็ไม่ต้องการเหมืองส่งน้ำ บางครั้งถึงกับปิดเหมือง นาด้านท้ายเหมืองก็เป็นปัญหาขาดน้ำ ทำนายากขึ้นทุกปี

คุณโสครับ ยางเปิดกรีดแล้วโดยทั่วไปแล้วก็ใส่ปุ๋ยเคมีปีละ 2 กิโลกรัมต่อต้น แบ่งใส่ 2 ครั้ง  ตกต้นละ 30-40 บาทต่อต้นต่อปี กับราคาปุ๋ยขณะนี้ หมายความว่าจะคืนทุนที่ 10 วันกรีด ด้วยราคายางที่ 75 บาท/กก. เมื่อกรีดเอง

ผมเคยเห็นมีการนำเอาทลายปาล์มจากโรงงานปาล์มมาหมักเป็นปุ๋ยในสวนยางเหมือนกัน คือกรณีอยู่ไม่ใกลจากโรงงานปาล์ม ก็ให้เขาขนมาทิ้งในสวนยางเรา แล้วเราก็เอาน้ำหมักไปราด ก็ไม่เลว

    แนวคิดของบ้านสวนพอเพียง ผมเห็นด้วยครับ  ปุ๋ยคอกอย่างขี้ไก่นี่สุดยอดเลยครับ แล้วเป็นผลดีต่อต้นไม้ที่สุด  ผมเคยทดลองให้ปุ๋ต้นมะพร้าว 3 วิธี ตั้งแต่เริ่มปลูกจนครบ 3 ปี พบว่า 1) ใส่ปุ๋ยเคมีอย่างเดียว  2)ใส่ขี้ไก่อย่างเดียว  3) สุม/กองหญ้าใบไม้อย่างเดียว  พบว่าใส่ขี้ไก่ต้นมะพร้าวเติบโตดีที่สุดครับ  และให้ผลต่อเนื่องระยะยาว  ภาษาชาวบ้านเรียกเค็มนาน แ ต่ใส่ใกล้ลำต้นมากไม่ดีครับ ต้นตายเลยแหละ  ส่วนต้นที่ใส่ปุ๋ยเคมี เมื่อหยุดใส่ก็ชะงักการเติบโต  ส่วนการกองใบหญ้าใบไม้ที่โคน  ระยะแรกไม่งาม แต่ระยะหลังจาก 3 ปี ก็ดีขึ้น  ที่ไม่ได้ทำก็คือ ถ้าสุม/กองหญ้าใบไม้ใส่ขี้ไก่บวกกับปุ๋ยเคมีน่าจะดีที่สุด

   เกี่ยวกับปุ๋ยแพง  แก้อย่างไรก็ยากครับ  ทั้งที่เราเป็นเมืองเกษตรกรรม  แต่โครงการโรงงานปุ๋ยไปไม่ถึงไหน  เราต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศ อนิจจา ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 กระสอบละเกือบแปดร้อย  สูตร 15-15-15 กระสอบละ1050 บาท  เลิกใช้ก็เลิกเถอะครับ  Demand ลดลง  ราคาก็จะลดลงมาเอง

    เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นแนวคิดที่เอามาใช้ได้เสมอ ปุ๋ยคอกเป็นอาหารพืชที่ยอดเยี่ยมที่สุดครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท