การเกิด และการตาย ในมุมมองของพุทธศาสนา


แท้ที่จริงแล้วไม่มีการเกิดและการตาย

ในช่วงเวลาที่ข้าพเจ้าสนใจใฝ่รู้ในวิชาของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับเรื่องของการเกิดและการตายนั้น  ข้าพเจ้าพบว่าการตายในความคิดเห็นทางการแพทย์กับการตายในทางพุทธศาสนานั้นมีความต่างกันอยู่มากทีเดียว  โดยเฉพาะเรื่องการตายครั้งใหญ่ของเราทั้งหลาย  (ไม่นับเรื่องการเกิด การตายในส่วนย่อยๆ ของร่างกายเช่นที่เซลล์ผิวหนัง หรือลำไส้ )

 การเกิดในทางพุทธศาสนานั้นเริ่มต้นเมื่อ มีการรวมตัวของเซลล์ต้นกำเนิดทางกายภาพในครรภ์มารดา โดยมีครึ่งหนึ่งนั้นมาจากพ่อ อีกครึ่งหนึ่งนั้นมาจากแม่  พร้อมกับมีปฎิสนธิจิตมารวมด้วย เกิดเป็น รูปและนาม หรือกาย และจิต  จากนั้นมีการเจริญเติบโตต่อเนื่องในครรภ์ พอครบเก้าเดือนก็ออกมาลืมตาดูโลก  ได้ชื่อได้นามสกุล ได้สมมุติบัญญัติต่างๆในทางโลก  จากนั้นก็เจริญเติบโต  เข้าโรงเรียน จบการศึกษา ออกมามีงานทำ แต่งงาน แล้วก็มีลูก มีหลาน มิช้ามินานก็แก่เฒ่า เจ็บป่วย  แล้วก็ถึงการตายครั้งใหญ่

การตายในทางพุทธก็คือ วันที่รูป หรือกายเราคงอยู่ไม่ได้แล้ว ทุกอย่างไม่ทำงาน จิตสุดท้ายของคนผู้นั้นจะแปรเปลี่ยนเป็นจุติจิต ละจากร่างหรือกายเดิมที่ใช้การใช้งานไม่ได้แล้ว กลายเป็นปฎิสนธิจิตเพื่อรวมกับเซลล์ต้นกำเนิดใหม่ในภพภูมิใหม่ต่อไป     ดังนั้นในทางพุทธศาสนาแล้ว การตายไม่ได้หมายถึงการจบสิ้นของทุกสิ่งทุกอย่าง  แถมอาจจะเหมือนที่นักวิทยาศาสตร์ว่า สสารไม่มีวันสูญหายไปจากโลก เราต่างแปรเปลี่ยนไปเป็นอย่างอื่นอะไรทำนองนั้น  และชาวพุทธเองก็มักจะคุ้นเคยดีกับคำว่า เวียนว่ายตายเกิด  ทว่าบางครั้งเราก็ไม่คิดว่ามันจะมีจริง  เพราะในความคิดเห็นทางการแพทย์ ตายก็คือตาย สมองหยุดทำงาน หัวใจไม่เต้น  แล้วทุกอย่างก็จบลงแค่นั้น    

  เนื่องจากวิชาชีพของข้าพเจ้านั้น ก็ได้พบเห็นการเกิดการตายมามากมาย และมีมุมมองเรื่องของการเกิดและการตายแบบวิทยาศาสตร์  แต่หลังจากมาเรียนวิชาของพระพุทธเจ้าข้าพเจ้าก็พบว่า สิ่งที่เข้าใจมาทั้งหมดเรื่องการเกิดและการตายนั้น    อาจจำเป็นต้องทำความเข้าใจใหม่ทั้งหมด 

และการที่ได้ฟังธรรมบรรยายของหลวงปู่ติชในวันสุดท้ายของงานภาวนาสู่ศานติสมานฉันท์ ก็ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจเรื่องการเกิดและการตายได้ดีขึ้น แถมท่านยังกล่าวในตอนท้ายอีกว่า อันที่จริงแล้วไม่มีการเกิดและการตายอย่างแท้จริง   ........ 

  

คำสำคัญ (Tags): #การตาย#การเกิด
หมายเลขบันทึก: 160830เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2008 22:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ท่านพุธทาส บอกว่าคนเรา เิกิด-ตาย, เกิด-ตาย, วันละหลายร้อยหลายพันครั้ง (ถ้าเราไม่มีสติ มาควบคุมตัวเอง)

 ใช่ค่ะพี่เตือน  ท่านว่า กายเรามีเกิดดับ แถมจิตก็มีเกิดดับอยู่ตลอดเวลา
 เกิด ตาย กันอยู่อย่างนั้น  แต่เราต่างไม่รู้ 

ฝ่ายชอบค้าน...มาแล้วครับ 

"...การเกิดและการตายนั้น  ข้าพเจ้าพบว่าการตายในความคิดเห็นทางการแพทย์กับการตายในทางพุทธศาสนานั้นมีความต่างกันอยู่มากทีเดียว ..."

พระพุทธศาสนา  เพียงแต่เสนอว่ามีการตายในมุมมองใหม่อีกมุมหนึ่งของบุคคลที่มีคุณธรรมอีกระดับหนึ่งให้รู้ โดยไม่ได้ปฏิเสธการเกิดตายที่คนส่วนใหญ่เข้าใจแต่อย่างใด สรุปคือ การตายมี ๒ อย่าง

 ถ้าเราเชื่อว่า "แท้ที่จริงแล้วไม่มีการเกิดและการตาย" ก็อีกเรื่องหนึ่งซึ่งไม่ต้องอธิบาย เพราะผู้อธิบายเองก็ไม่มี ผู้เชื่อเองก็ไม่มี... นั่นมันอะไรกัน..  มันก็แค่นั่นเอง...

คุณเอกชนกล่าวถูกต้องแล้วค่ะ

การตายมี 2 อย่าง และอาจจะมากกว่าสองอย่าง  ต่างมุมมองกัน  แล้วแต่เราจะมองมุมไหน มีความคิดเห็นอย่างไร

ส่วนแท้ที่จริงแล้วไม่มีการเกิดและการตาย  อันนี้ท่านว่ามาอีกทีค่ะ รับฟังมา และกำลังพิจารณาอยู่  ตามเหตุผลที่ควรจะเป็นไปได้    และไม่มีฝ่ายค้านและฝ่ายชอบค้านค่ะ  ทุกคนมีมุมมองอิสระ และมีเหตุผลของตนเองอยู่แล้ว

ทุกความคิดเห็น จึงไม่มีถูก และไม่มีผิด   และคนที่จะรู้ว่าการเกิดและการตายที่แท้จริงเป็นอย่างไร  ก็ต้องเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์  ของการเกิดและการตายนั้น

 ขอบคุณ ที่เข้ามาพูดคุยและให้ความรู้ค่ะ

ดีครับ...

"ทุกความคิดเห็น จึงไม่มีถูก และไม่มีผิด   และคนที่จะรู้ว่าการเกิดและการตายที่แท้จริงเป็นอย่างไร  ก็ต้องเป็นคนที่อยู่ในเหตุการณ์  ของการเกิดและการตายนั้น"

-เมื่อเรายอมรับมีถูกและผิดแล้ว สิ่งที่ตรงข้ามกันก็จะเป็นสิ่งเดียวกันไม่ได้ เช่น คุณมีตังอยู่ 5 บาท(เป็นความจริง) สิ่งที่ไม่เป็นจริงคือ คุณไม่มีตังเลย, คุณไม่มีตัง 5 บาท, คุณมีตังเกิน 5 บาท ฯลฯ (ความจริง ความถูกต้องมีได้อย่างเดียว)

-การที่จะรู้หรือไม่รู้อะไรมีเหตุปัจจัยของมันเอง เรื่องในอดีต เรื่องในปัจจุบัน และเรื่องในอนาคต ก็สามารถรู้ได้ทั้งนั้น ถ้ามีเหตุปัจจัยมากพอที่จะให้รู้ได้  เรื่องนามธรรม  เรื่องวัตถุก็เช่นกัน

คุณเอกชน กล่าวได้ลึกซึ้งและคมคายมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ 

สำหรับประสบการณ์ของข้าพเจ้านั้น เมื่อข้าพเจ้าได้อ่านอะไรที่น่าสนใจ หรือได้ฟังคำสอนอะไรมา ข้าพเจ้าจะไม่เชื่อในทันที จะถามตัวเองทุกครั้งว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงหรือ? แล้วคำถามนั้นจะค้างคาอยู่ในสมองของข้าพเจ้าจนกว่าข้พเจ้าจะได้คำตอบด้วยตัวของตัวเอง เหมือนคำที่ท่านพุทธาสกล่าวเสมอว่า อ๋อมันเป็นเช่นนั้นเอง แต่คำตอบมันไม่ได้ผ่านเข้ามาแบบไม่มีที่มาที่ไปนะ มันต้องผ่านขบวนการ ถือศีล - ทำสมาธิ -ภาวนา ข้าพเจ้าลองปฏิบัติเช่นนี้ และได้คำตอบเช่นนี้ ข้าพเจ้าก็จะเชื่อเช่นนี้

คุณ jkrr

สงสัยเราจะเป็นเหมือนกันค่ะ  ในส่วนลึกจะเป็นคนที่เชื่ออะไรยาก

เพราะติดกับความคิดแบบวิทยาศาสตร์มาก  บางครั้งต้องพยายามหาข้ออธิบายแบบวิทยาศาสตร์มาเทียบเคียงให้ได้  และมักมีคำถามที่ค้างคาในสมองอยู่เป็นประจำเช่น  จริงหรือที่ท่านว่า  ทำไมถึงเป็นแบบนั้นล่ะ ? 

การได้เรียนรู้เรื่องพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ทำให้รู้ว่า บางคำตอบ ต้องใช้เวลาพิจารณาในขณะที่จิตมีความสงบมากๆ     การปฎิบัติธรรม ทำให้มุมมองของชีวิตเปลี่ยนไปมากทีเดียว  และมีอยู่หลายครั้งที่ ได้คำตอบว่า อ๋อ มันเป็นเช่นนั้นเอง  แต่จะเกิดขึ้นได้ก็หลังจากผ่านขบวนการที่คุณ ikrr ว่า ไปสักระยะหนึ่ง เช่นกัน  

โผล่หน้ามาทักทาย...สวัสดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท