ขาท่อนล่าง ยาวหน่อยน่าจะดี (มากไปไม่ดี)


เป็นที่ทราบกันดีว่า คนขายาวมีแนวโน้มจะดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามได้มากกว่าคนขาสั้น วันนี้มีข่าวผลการศึกษาพบว่า ขายาวขึ้นอีกหน่อยจะช่วยให้ดูดี ทีนี้ถ้าขายาวมากไปกลับดูไม่ดี (โอเว่อร์ / ไม่น่าดู)

<p>เป็นที่ทราบกันดีว่า คนขายาวมีแนวโน้มจะดึงดูดความสนใจของเพศตรงข้ามได้มากกว่าคนขาสั้น วันนี้มีข่าวผลการศึกษาพบว่า ขายาวขึ้นอีกหน่อยจะช่วยให้ดูดี ทีนี้ถ้าขายาวมากไปกลับดูไม่ดี (โอเว่อร์ / ไม่น่าดู)</p>

เรื่องนี้อาจารย์ดอกเตอร์จอร์จ ฟีลด์แมน นักจิตวิทยากล่าวว่า "คนเรามีแนวโน้มจะชอบอะไรที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย ทีนี้ถ้าอะไรมัน "เกินพอดี (outlandish)" มากไปย่อมจะดูไม่ดี (โอเว่อร์ / ไม่น่าดู)

...

ท่านอาจารย์ดอกเตอร์โบกูสลอว์ เปาโลสกี และคณะ แห่งมหาวิทยาลัยโวรคลอว์ โปแลนด์ ทำการศึกษาโดยการใช้เทคนิคดัดแปลงภาพถ่ายผู้ชาย และผู้หญิง 7 ภาพให้มีขาท่อนล่างยาวขึ้น 5, 10, 15%

หลังจากนั้นทดลองให้อาสาสมัครผู้ชายและผู้หญิง 218 คนดู และรายงานระดับความพึงพอใจ

...

ผลการทดลองพบว่า ภาพคนที่ขาท่อนล่างยาวขึ้นนิดหน่อย หรือประมาณ 5% ทำให้เพศตรงข้ามชื่นชอบมากขึ้น ทว่า... ภาพคนที่ขาท่อนล่างยาวขึ้นมาก หรือประมาณ 15% กลับทำให้เพศตรงข้ามชื่นชอบน้อยลง

ปรากฏการณ์นี้ตรงกับแนวโน้มที่ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมสวมรองเท้าส้นสูงเล็กน้อย เพื่อให้ดูดีขึ้น

...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า คนที่ขาสั้นมีความเสี่ยงต่อโรคตับในระยะยาวมากกว่าคนที่มีความยาวขามาตรฐาน

สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเป็นผลจากการที่เด็กในครรภ์มีการเจริญเติบโตส่วนหัวมากกว่าส่วนท้องในช่วงแรก ส่วนแขนและขาเป็นส่วนที่เจริญเติบโตมากในช่วงหลังคลอด

...

ความยาวของขาจึงอาจบ่งชี้ถึงสุขภาพวัยเด็กโดยรวมได้แก่ การได้รับอาหารเพียงพอ การนอนเพียงพอในวัยเด็ก

เรื่องขานี้ก็คล้ายๆ กับเรื่องอื่นๆ อีกหลายเรื่องในชีวิตที่ว่า "มากไปมักจะไม่พอ(ดี)" หรือ 'Too much is not enough.'

...

เรียนเสนอท่านผู้อ่าน(ผู้หญิง)ที่สวมรองเท้าส้นสูงว่า ควรเลือกรองเท้าที่ส้นไม่สูงจนเกินไป เนื่องจากจะทำให้ดูดีกว่าการสวมรองเท้าที่มีส้นสูงมาก

เรื่องนี้ดูจะตรงกับคำกล่าวของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีที่ว่า "ความงาม คือความพอดี"... อะไรที่เกินพอดีไปมักจะไม่งาม

...

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ที่มา                                                  

  • Thank BBC > Longer legs 'really are a draw' > [ Click ] > January 17, 2008. / J New Scientists.
  • ข้อมูลและการอ้างอิงในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านที่มีโรคประจำตัวควรปรึกษาหมอ พยาบาล เภสัชกร หรืออนามัยที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้
  • ขอขอบคุณอาจารย์ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ > 20 มกราคม 2551.

</span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span></span>

หมายเลขบันทึก: 160703เขียนเมื่อ 22 มกราคม 2008 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท