APHN Diploma of Palliative Care ๒๘: พิธีกรรม..ภาพรวม


   ชั่วโมงสุดท้าย เป็นขั้นตอนสรุปในภาพรวมของ intensive course ทั้งหมด ครั้งนี้เป็นครั้งสำคัญ เนื่องจากนักเรียนจะได้เจอหน้ากันครบถ้วนแบบนี้เป็นครั้งสุดท้าย Katrina จึงใช้คำว่า เป็น ritual session หรือเป็นพิธีกรรมเล็กๆ โดยให้การบ้านไว้ก่อนว่า ให้แต่ละคนเตรียมสิ่งของมาคนละหนึ่งอย่าง เพื่อเป็นสัญญลักษณ์ สื่อถึงการมาร่วมฝึกอบรม APHN palliative care course นี้
    พอถืงเวลา ทุกคนจะเอาเก้าอี้ของตนเองมาเรียงเป็นวงอยู่กลางห้อง ทั้งของผู้สอนและนักเรียนอย่างไม่มีช่องว่างหรือแถวสอง แล้วแต่ละคนก็จะเอาสิ่งของที่เตรียมมาออกมาวางบนผืนผ้ากลางวง อธิบายเล่าความในใจโยงของสิ่งนั้นกับการอบรมครั้งนี้


 

    สังเกตดูในภาพนะครับ ของนั้นมีทั้ง รูปภาพที่เขียนว่า persistence ขนมกรุบกรอบ ขนมในใบตองสาน เม็ดอมระงับกลิ่นปาก ลูกแอปเปิลพลาสติก เทียนเล่มน้อย โทรศัพท์มือถือ กระดาษสีในถุง ชาหนึ่งถ้วย ลิปสติค แผนที่สิ่งคโปร์ เอกสารประกอบการฝึกอบรม ตุ้มหูรูปไม้กางเขน หมวกไหมพรม กระปุกใส่ของ กระเป๋าสตางค์ สร้อยข้อมือลูกปัด ยอดอ่อนใบไม้ แล้วก็กระดาษพับเป็นดอกบัว
    แต่ละคนสามารถโยงสัญญลักษณ์..สิ่งของของตนเองกับการอบรมครั้งนี้ได้อย่างน่าทึ่ง แน่นอนครับ มันมีทั้งส่วนของความคิดที่ผ่านการประมวลอย่างลึกซึ้ง และมีทั้งส่วนของความรู้สึกที่ทำให้หลายคนปล่อยโฮออกมา

    ผมใช้กระดาษขาวที่มีรอยพับคร่าวๆนิดหน่อย อธิบายถึงตัวผมที่มีประสบการณ์ด้านนี้มาบ้าง เหมือนรอยย่น เอ้ย รอยพับบนกระดาษแผ่นนั้น แล้วก็ค่อยๆ พับกระดาษนั้น เอามุมทั้งสี่มาบรรจบกัน แล้วทำซ้ำหลายรอบ เหมือนผู้เข้าอบรมได้มาพบปะ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ เรียนรู้ร่วมกัน ก่อนจะพลิกกระดาษที่พับขึ้น ดึงปลายกระดาษออกมาเป็นกลีบของดอกบัวสีขาว เหมือนความรู้ที่ผลิบาน แล้วปิดท้ายด้วยว่า ดอกบัวสีขาว บัวที่พ้นน้ำ ในนัยทางพระพุทธศาสนา หมายถึงมนุษย์ที่สามารถเรียนรู้ สั่งสอนได้

    สิ่งที่ผมได้เรียนอีกเรื่องจากกิจกรรมนี้ คือ ผมยิ่งรู้สึกว่าผมเป็นคนประเภทเรียนรู้ผ่านการมองเห็นจริงๆ (visual) เพราะถ้าให้ผมจำว่าใครพูดอะไรผมจะจำไม่ได้ แต่วันที่ผมเขียนบันทึกนี้ ผมจำเรียงลำดับได้แม่นว่าใครเอาอะไรมาบ้าง แล้วจึงสามารถโยงต่อได้ด้วยว่า ใครพูดว่าอย่างไร อย่างไม่ตกหล่น

๒๓ ตุลาคม ๒๕๕๐

APHN Diploma of Palliative Care ๒๗: Wit; อีกแล้วครับท่าน  >>

หมายเลขบันทึก: 160338เขียนเมื่อ 20 มกราคม 2008 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
 ยินดีกับอาจารย์ครับ ว่าจบ course ความผูกพัน+ควาหมายในใจยังเด่นชัดแม้ไม่ต้องบรรยาย
 P  น้องโรจน์ครับ
  • ยังครับ ยังไม่จบ ยังมี practicum อีก ๓ เดือน ต้องส่งงานอีกเพียบครับ แต่จะไม่ได้เจอหน้าเพื่อนร่วมรุ่นแล้ว  เพราะต่างแยกย้ายกันไป practicum คนละที่
 อ.จ.คะ
พอใกล้จบทีไร มักมีเรื่องซึ้งๆทุกทีนะคะ เพราะ เรียนด้วยกัน ทำงานด้วยกัน มีกิจกรรมร่วมกันมานานพอควร
 จริงๆ ผมก็อยากเข้า course นี้ แต่ ไม่มี โอกาส ยังไงคงเรียนรู้จากประสบการณ์ทำงานไปก่อนครับ

P  พี่ศศินันท์ครับ

  • หลายคนร้องกันจนหูตาเปียก ตอนนี้ก็ยังติดต่อกันทางmail ครับ
  • อายุก็มากๆ ทำงานทำการกันมาแล้วทั้งนั้น แต่พอได้กลับมาเรียนอีกที มันดูเหมือนได้ย้อนเวลากลับไปสมัยยังเด็กๆอีกครั้ง รู้สึกกระชุ่มกระชวยเป็นพิเศษกันทั้งนั้นครับ ช่วงที่ไปเรียนกัน

P  น้องโรจน์ครับ

  • ผมเห็นด้วยครับ ความรู้จากประสบการณ์สำคัญกว่า และควรมีไว้พอสมควรก่อนจะไปเรียน เพราะเราจะได้เข้าใจปัญหา เปรียบเทียบกับของคนอื่นได้ลึกซึ้งขึ้น
  • ประโยชน์หลักของการไปเรียนอีกเรื่อง คือ เครือข่ายและเพื่อนครับ
  • ปีหน้า ตาสกล กับ พี่มด อาจารย์ศรีเวียง จากขอนแก่น จะไปเรียนครับ
เรียน อาจารย์P ท่าทางสนุก ทราบจากท่าน อ. ศรีเวียง หลักสูตร palliative ของ APHN ที่สิงคโปร์ เมืองไทยมีจบแล้ว 2 ท่าน คือ อาจารย์เต็มศักดิ์ กับ อ. ลักษมี และกำลังเรียนตอนนี้ คือ อ. ศรีเวียง กับ อ. สกล อยากเรียนค่ะ แต่ไม่มีตังค์

คุณหมอ นำเสนอ ด้วย กระดาษ รอยพับ และดอกบัว เริ่มจากเรียบง่าย

และ ครีเอท มากคะ

ให้ 10 คะแนนเต็ม

ประกาศ ประกาศ ใครพบหมอเติมศักดิ์บ้าง คิดถึง ไปต่างประเทศ แถวๆๆ Australia มา มาเล่าเสียดีๆๆ อยากอ่านๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

Sorry A. Khajit, I'm not quite keen telling the story in English. Will do that when I'm back home in July.

ได้เรียนรู้มากคะ จะเข้ามาอ่านอีกบ่อยๆคะ

กลับมาดูต้นเรื่องพิธีกรรม

อาจารย์ มด ให้กุ้งดำเนินการในการอบรม BCCPN ทุกรุ่นหลังจบคอร์ส

น้ำหูน้ำตาแตกไป ตามๆ กันค่ะอาจารย์เต็ม ขอบคุณต้นฉบับนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท