เมื่อฉันไปเป็นวิทยากรกลุ่ม KM


knowledge sharing

วันที่ 18 มกราคม 2551

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมให้บุคลากรในคณะฯให้มีความรู้เรื่อง มีผู้สนใจมากมายค่ะ

                        

 

รศ สุรพล วีระศิริ พูดเรื่อง การจัดการความรู้จากแนวคิดสู่การปฏิบัติในคณะแพทยศาสตร์ ขอนแก่น รวมทั้งการจัดทำแผนการจัดการความรู้

หลังจากนั้นมีการเชิญ

กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติของกลุ่มธุรการก้าวหน้า

กลุ่มชุมชนนักปฏิบัติที่ดูแลเด็กระยะสุดท้าย

 

                          

                           คุณเกศนี บุณยวัฒนางกุร  พูดเรื่อง CoP ผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย

มาเล่าเรื่อง การดำเนินงานของกลุ่ม และผลลัพธ์ของการทำงานในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา 

ทั้ง 2 กลุ่มนำเสนอได้ประทับใจมาก

ตอนบ่าย...ให้ผู้เข้าอบรมเข้ากลุ่มแลกเปลียนเรียนรู้กันค่ะ มี 5 กลุ่ม

กลุ่มที่ดิฉันต้องดูแล เป็นพยาบาลมาจากหลายหอผู้ป่วย

 

                       

 

หลังจากกลุ่มเลือกประธาน เลือกเลขาฯ เลือกคนจดบันทึกแล้ว

เลือกเรื่องที่จะคุยกันในวันนี้ กลุ่มเลือกคุยกันเรื่อง.. ความคลาดเคลื่อนในการให้ยา

เป้าหมายเพื่อ  ให้ยาถูกต้อง

กลุ่มได้ผลัดกันเล่าเรื่อง.....  

วิธีป้องกันการให้ยาผิดพลาด

แก้ได้ด้วย...

การตรวจสอบก่อนให้ยาซึ่งกันและกัน Double Check ก่อนที่จะนำยาไปให้คนไข้

ย้ำคิดย้ำทำ

พยาบาลต้องมีความรู้

ถ้าไม่แน่ใจให้ถามพี่พยาบาลอาวุโส ถามแพทย์ เภสัชฯและ

มีการเขียนใน Med record ให้ชัดเจน

ซึ่งแต่ละคนก็มีเทคนิกที่น่าสนใจมากค่ะ

กลุ่ม...พูดได้ประเด็นเดียว คงจะมีการนัดคุยประเด็นอื่นๆในโอกาสต่อไป

 

หมายเลขบันทึก: 160043เขียนเมื่อ 18 มกราคม 2008 20:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

ปกติเวลาที่คุยกันแบบนี้ จะได้เพียงประเด็นว่าน่าจะทำอะไรบ้าง อย่างเช่นไม่แน่ใจให้ถาม ให้ดับเบิ้ลเช็ค    ทีมยังต้องมีช่องทางที่จะไปร่วมกันคิดต่อครับ  ที่โรงพยาบาลผม บางวอร์ดจะมีการ "เรื่องเล่าเช้านี้"  นำประเด็นที่ได้จากการพูดคุยกันไปคุยต่อ

มีวอร์ดหนึ่ง เมื่อคุยกันแล้วต้องการที่จะให้บริการพระภิกษุ ด้วยพฤติกรรมบริการแบบพุทธบริษัทพึงแสดงต่อพระภิกษุ (เดิมบริการด้วยมาตรฐานเดียว คือบริการพระแบบเดียวกับคนธรรมดา)  เขาก็ต้องไปหาเวลาคุยกันต่อและขยายผลครับ  จึงจะเกิดเป็นการปฏิบัติ

update เร็ว แวะเข้ามาอ่านค่ะ

สวัสดีค่ะนายพทย์สาโรจน์

ขอบคุณที่ให้แนวคิดที่ดีค่ะ

กลุ่มต้องไปคุยต่อและเขียนเป็นคลังความรู้ไว้ เพื่อลงใน WEB KM คณะแพทยศาสตร์ เพื่อให้คนอื่นสามารถมาแลกเปี่ยนเรียนรู้เพิ่มได้

สำหรับการพูดคุยกัน เรามี Pre-conferrence กันทุกเช้า

เราก็นำเรื่อง  การป้องกันการให้ยาผิดพลาด มาคุยกันและหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยกันค่ะ

มีการตรวจสอบกันและกัน

นอกจากนี้ในประเด็นอื่นๆแล้ว

เรายังมีกรรมการดูแลเรื่อง  ยาประจำหอผู้ป่วย ที่คอย Audit เพื่อประเมินเรื่องยาในทุกมิติ

และจะมีผู้ตรวจการนอกเวลา  มาตรวจสอบหอผู้ป่วยอื่นๆ และมีการให้คะแนน และเสนอปัญหาให้หัวหน้าพยาบาลทุกวันค่ะ

ตอนนี้ได้ผลประเมินแล้ว  แต่ละหอผู้ป่วยจะต้องนำไป CQI ต่อค่ะ

P

สวัสดี

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านค่ะ

พี่จะรออ่าน สรุป CoP เด็กระยะสุดท้ายนะคะ

ครูอ้อย ก็แวะมาอ่าน ค่ะ

เรื่อง KM ในโรงเรียน ก็กำลังดำเนินการอยู่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

P

สวัสดีค่ะครูอ้อย

ขอบคุณค่ะที่แวะมาอ่าน

KM ในโรงเรียนทำอย่างไรบ้างคะ

จะได้แลกเปลี่ยนกันค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.อุบล

  • ในเรื่องของแนวคิด เป็นเรื่องที่ไม่ลำบากนักนะคะ
  • แต่เรื่องลงปฏิบัติเนี่ย ทำไมไม่ค่อยมีใครสานต่อก็ไม่ทราบค่ะ มีคำแนะนำมั้ยคะว่าต้องทำอย่างไร
  • ขอบคุณค่ะ

P

สวัสดีค่ะป้าแดง

แนวคิดเป็นเรื่องไม่ยากค่ะ

การปฏิบัติ จะต้องอยู่ที่การนิเทศของหัวหน้าตึกค่ะ ที่จะติดตามดู

ที่ตึก จะมีวิธีจัดการคือ

มีระบบในการให้ยา มีการทบทวนอยู่เสมอ ยาใหม่ที่มีเรามีเภสัชฯมาร่วม conference กัน

ให้น้องพยาบาลที่รับผิดชอบ Audit ระบบยาทั้งหมด โดยประเมิน 2 สัปดาห์ต่อครั้ง

เมื่อได้ผลการประเมิน ก็จะนำมาแจ้งในการประชุมตอนเช้าก่อนทำงาน

ตอนนี้กำลังปรับระบบการตรวจสอบ โดยให้มีแบบประเมินระบบการให้ยา

ได้ผลยังไง  จะมาเล่าให้ป้าแดงฟังนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

- น่าชื่นชมนะค่ะ  

P

สวัสดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้องพยาบาลเรา เขาเก่งกันค่ะ

ถ้าเรารู้จักดึงศักยภาพน้องออกมาใช้ได้

งานจะออกมาดีค่ะ

และเป็นผลงานของน้องด้วยค่ะ

ชื่นชมค่ะ ที่เรามีพยาบาลเก่งๆ คอยดูแลคนไข้ด้วยความเอาใจใส่อย่างมีคุณภาพ ... ทำให้คนไข้อุ่นใจที่ได้ฝากชีวิตไว้ค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์แป๋ว

ขอบคุณค่ะที่เข้ามาทักทาย

การบริหารให้น้องๆพยาบาลเก่ง พีหัวหน้าตึก ต้องหมั่นดูแลและนิเทศค่ะ

เพื่อเธอจะได้ดูแลคนไข้อย่างมีคุณภาพด้วยค่ะ

อ่านงานของพี่แล้ว  ดีนะค่ะที่มี APN ทำงานให้คนอื่นเห็น  แล้วจะเข้ามาอ่านบ่อย ๆ ค่ะ

กำลังจะทำ CQI เรื่องความคลาดเคลื่อนทางยา ไม่ทราบว่าพอจะมีแนวในการป้องกันเกี่ยวกับการจัดแจกยาผิดเพื่อลดความคลาดเคลื่อนทางยาบ้างไหมคะ ขอขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

แวะมาชมกิจกรรมKMด้วยคนนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท