“ สุขภาวะชุมชน...ภัยเงียบหลังสึนามิ


สุขภาวะชุมชน
ข้อเสนอจากการประชุม 3 ปีสึนามิกับสถานการณ์ปัญหาและแนวทางการจัดการด้านจิตสังคม
เวทีเสวนาในหัวข้อ  สุขภาวะชุมชน...ภัยเงียบหลังสึนามิ    ชุมชนบ้านทุ่งหว้า จังหวัดพังงา
 สถานการณ์ปัญหาด้านสุขภาพจิต
สภาวะจิตปัจจุบันของคนในชุมชนพื้นที่ประสบภัย


1)  ความไม่มั่นใจในข่าวการเกิดภัยพิบัติทำให้เกิดการหวาดระแวง มีภาวะวิตกกังวลและกลัว
2)  คนในชุมชนยังคงมีมีภาวะเครียดและภาวะซึมเศร้าจากสถานการณ์ปัญหาต่างๆ  ที่สืบเนื่องจากเหตุภัยพิบัติ ( รายได้ไม่แน่นอน  ความไม่มั่นใจในอาชีพ  การโยกย้ายแหล่งทำกิน ปัญหาที่ดินทำกิน การศึกษา การขาดความสามัคคี  การตัดสินใจลงทุน
3)  คนในชุมชนยังคงมีปัญหาการปรับตัว การไม่สามารถยอมรับความจริงได้

4)  ผลกระทบจากกระบวนการทำงานขององค์กรที่ส่งผลต่อสุขภาพจิต เช่น
                1)  คนในชุมชนมีทัศนคติในทางลบต่อการรักษาทางจิตเวช
                2) ทัศนคติคนทำงานช่วยเหลือยังไม่มีความเข้าใจผู้ประสบภัย มองผู้ประสบภัยในด้านลบ
                3) การให้ความช่วยเหลือจากหน่วยงานองค์กร และมูลนิธิที่ไม่ระวังถึงผลที่ตามมา เช่น สร้างความขัดแย้งต่อคนในชุมชน

สรุปแนวทางการทำงานแก้ไขและพัฒนาด้านสุขภาพจิตในพื้นที่ประสบภัย


สิ่งที่ควรปฏิบัติ
1) สร้างแกนนำในชุมชน
2) สร้างความภาคภูมิใจให้สามารถช่วยเหลือตนเองได้
3) สร้างความร่วมมือของคนในชุมชน
4) มีความต่อเนื่องของการทำงาน
5) มีกระบวนการการทำกิจกรรมร่วมกันของคนในชุมชน
6) มุ่งเน้นความโปร่งใส ความทั่วถึงของการให้ความช่วยเหลือ
7) การสื่อสารข้อมูลให้กับชุมชน โดยมีแหล่งข้อมูลที่แน่นอน
สิ่งที่ไม่ควรปฏิบัติ
1) การทำงานที่ไม่ต่อเนื่อง
2) กระบวนการทำงานซ้ำซ้อน ซ้ำ ๆเป็นการตอกย้ำความรู้สึก
3) ไม่ควรมีทัศนคติในทางลบต่อชาวบ้าน เช่น มองว่าเป็นผู้ฉวยโอกาส


 ข้อเสนอต่อการทำงานด้านสุขภาพจิตในปีที่สี่ 1.        เปลี่ยนรูปแบบจากการให้เป็นร่วมคิด ร่วมทำ2.        ปรับเปลี่ยนทัศนคติในการมีส่วนร่วมของชุมชนมากกว่ามองในสิ่งตอบแทน3.        สำรวจข้อมูลในการให้ความช่วยเหลือและความต้องการของคนในชุมชน4.        ไม่มุ่งเน้นการทำงานที่เน้นเฉพาะเพียงผู้นำบุคคลเดียว5.        ควรมีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตดูแลคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง6.        หน่วยงานด้านสุขภาพจิตควรเข้ามาในรูปแบบของ เพื่อนมาเยี่ยมบ้าน เพราะเครื่องแบบทำให้คนกลัวไม่กล้ารักษาพยาบาล7.        ควรมีการอบรมเพื่อสร้างความเข้าใจในชุมชนในด้านต่างๆให้มี การเตรียมความพร้อมภัยพิบัติ 8.        มีวิธีการหรือกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง 9.        มีวิธีการที่ทำให้สามารถเข้าใจถึงจิตใจของผู้ที่ไม่สามารถระบายความรู้สึกเป็นคำพูดได้10.     มีแหล่งข่าวที่เป็นจริงเชื่อถือได้11.     ควรมีการอบรมในหมู่บ้านในทางด้านจิตใจและความเข้าใจ เพื่อสร้างความเข้มแข็งและสามัคคีกันของคนในชุมชน12.     ควรฟื้นฟูทั้งชุมชน โดยเชื่อมประสานระหว่างชุมชน ให้แลกเปลี่ยนสร้างกำลังใจให้ตนเอง

 
หมายเลขบันทึก: 158363เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2008 23:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท