AAR ประชุมภาคีภาคราชการ


ภาคีภาคราชการ

ได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมภาคีภาคราชการ ได้รับฟังการนำเสนอเรื่อง org culture on KM 6 step model ได้เห็นตัวแปรด้าน culture ของ Hofsted และเห็นผลการวิจัยว่าตัวใดส่งเสริม ตัวแปรใดเป็นอุปสรรค ตอนนี้อยากเห็นว่าเมื่อผลเป็นเช่นนี้ จะมีการดำเนินการอย่างไรเพื่อให้ org change เกิดได้อย่างยั่งยืน

เรื่องที่ 2 ก็คือการทำแผน KM ของ กพร ทำให้ได้เห็นแนวทางของแผน มีการนำเสนอการลองทำ ลองวางตามฟอร์มที่ให้กรอกทั้ง 14 ฟอร์ม อ.วิจจารณ์และ อ.ประพนธ์ชี้ว่า KM ที่ สคส คิดก็คือ KM for Learning organization และมีการพูดถึง KMIA ซึ่งเป็นรางวัลประกวดองค์การที่ทำ KM ได้ดี

หลายท่านได้ให้มุมมองในการดำเนินการที่ดี โดยส่วนตัวอยากให้คำจำกัดความอีกหนึ่งคำ ก็คือ คำว่า หยั่งรู้ (insight) นั่นคือต้องมีการหยั่งทราบความเป้นไปทั้งหมด บนพื้นฐานของข้อมูล ข่าวสาร และคาดหวังผลที่จะเกิดได้ทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับบุคคล กลุ่ม และองค์การ (อ.ประพนธ์ ได้เสนอไว้)

ถ้าการทำแผนเป็นไปแบบทำดูแล้วรู้กัน ก็จะเกิดการแก้ไขตามสถานการณ์ ข้อดีก็คือเข้าใจอย่างลึกซึ้ง แต่ถ้าหยั่งรู้ก่อนละ ทำให้ทำมีการวางแผนหลัก แผนรองที่ดีกว่าหรือไม่ ที่สำคัญ ใครควรที่จะรู้และหยั่งรู้ทั้งหมด

ภาคที่ 3 การนำเสนอของจังหวัดสมุทรสงคราม มีแนวทางที่ชัด น่าสนใจ หากแต่บรรยากาศจืดไป ทั้งๆ ที่เรื่องน่าสนใจมาก เป็นแบบอย่างการดำเนินการ KM ที่ดีทีเดียว

 

หมายเลขบันทึก: 15711เขียนเมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2006 12:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท