หลักการทางฟิสิกส์ของ "สังคมความรู้" - 1


แนวคิดในการลดอาการโรค "ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง" ระดับมหภาค

เรื่องนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับฟิสิกส์ ว่าด้วยหลักการในการทำ "เลเซอร์"

เลเซอร์ เป็นแสงที่มีพลังงานเข้มข้น และเป็นระเบียบสูง สามารถนำไปใช้ประโยชน์หลากหลาย แม้กาลครั้งหนึ่ง ในยุคเริ่มต้น เลเซอร์จะถูกถากถางว่า เป็นการค้นพบ ที่ยังไม่รู้ว่าจะไปประยุกต์ใช้ทำอะไรดี

แนวคิดพื้นฐานในการทำให้เกิดเลเซอร์ อย่างคร่าว ๆ คือ การทำให้เกิด population inversion

คือ ทำให้โมเลกุลส่วนใหญ่ อยู่ในภาวะพลังงานสูง ที่เรียกว่า excited state โดยส่วนน้อย อยู่ในภาวะพลังงานต่ำเรี่ยพื้น

ถ้าเกิดภาวะเช่นว่า เรียก population inversion ซึ่งอาจเกิดการคายพลังงานออกมาในรูปแบบของแสงเลเซอร์

พูดง่าย แต่ทำไม่ได้ ถ้าไม่รู้วิธี

เพราะมีแนวคิดที่เรียกว่า Boltzman distribution ค้ำคออยู่  เป็นกฎเหล็ก ที่บอกว่า เมื่อไหร่ก็ตาม ที่เราใส่พลังงานเข้าไปในระบบ เมื่อเกิดสมดุล ประชากรส่วนใหญ่ จะ "จนเรี่ยดิน" คือ อยู่ที่ ground state และมีเพียงหยิบมือเดียว ที่ "รวยล้น" ในภาวะ excited state

Boltzman distribution ก็เป็นรูปแบบหนึ่งของ power law ในการครอบครองทรัพยากร ที่เรารู้จักกันดีในกฎ 80/20 ของพาเรโต (Pareto's law)

ดังเราจะเห็นว่า มีคนจำนวนน้อย ครอบครองทรัพย์สิน/ที่ดิน ของโลก (เป็นบทวิเคราะห์ของ Merrill Lynch ออกมาในชื่อ World Wealth Report 2007 Download ได้จาก ที่นี่)

  • มีคนรวยเพียง 9.5 ล้านคน ครอบครองทรัพย์สิน 1 ใน 4 ของโลก
  • 9.5 ล้านคน เทียบได้ราว 0.2 % ของประชากรโลก เท่านั้นเอง

น่าสงสัยว่า การวิจัยในประเทศไทย ก็ลู่เข้าสู่ภาวะนี้ด้วยหรือไม่ ?  คือ แบ่งสรรทรัพยากร เงิน-ทุน-โอกาส ให้ไปกองที่คนหยิบมือ และปล่อยคนที่เหลือส่วนใหญ่ให้แห้งตายไปเอง ด้วยเหตุผลว่า "มันโง่ มันจึงคู่ควรแล้ว ที่จะอด"

น่าสงสัยว่า การศึกษาในประเทศไทย ก็ซ้ำปัญหาเดียวกันหรือไม่ (สอบโอลิมปิกได้เหรียญทอง แต่อีกมากมายไม่ได้รับการศึกษา ต้องออกกลางคัน หรือเรียนจบจริง แต่ยังอ่านหนังสือไม่ค่อยออก)   

ปรากฎการณ์ "ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง" เป็น power law ของการแบ่งสรร "สติ" และความรู้จัก"การเฉลียว" อย่างไม่เหมาะสม

 

แนวคิดเรื่อง population inversion ชี้ให้เห็นว่า เป็นไปได้ ที่จะอัดฉีดพลังงานเข้าไป ให้เกิด population inversion เพื่อนำไปสู่การเกิด laser แต่ไม่ใช่การ อัดฉีด แบบตรงไปตรงมา

ต้องมี "กลยุทธ" ครับ

อ่านต่อ: http://en.wikipedia.org/wiki/Population_inversion

จะลองพยายามแปล-เรียบเรียงใหม่

แต่บอกไว้ก่อน ฟิสิกส์ผมติด D มาแล้ว !

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 156464เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 23:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ อ.วิบุล

เอาอันนี้มาฝากค่ะ

ในห้องเรียนวิชาสังคมวิทยา ที่ศึกษาเด็กผู้ชาย 200 คน
ซึ่งส่วนใหญ่มาจากเมืองบัลติมอร์ในแมรี่แลนด์
ผลการศึกษาได้ข้อสรุปตรงกันว่า
เด็กผู้ชายทุกคน “ไม่มีโอกาสก้าวหน้า”

ยี่สิบห้าปีต่อมา...
ศาสตราจารย์ทางสังคมวิทยาอีกคนหนึ่ง ได้ทำการสำรวจ
เพื่อติดตามผลสิ่งที่ได้ศึกษาไป
และเขาสามารถติดต่อคนกลุ่มเดิมได้ถึง 180 คนจาก 200 คน
จากจำนวนนั้น 176 คน มีอาชีพเป็นหมอ นักกฎหมาย
นักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ ฯลฯ

คำถามก็คือว่า...
คนเหล่านี้ก้าวออกมาจากคำทำนายอนาคตของพวกเขาได้อย่างไร
ทุกคนต่างตอบเป็นเสียงเดียวกันว่า
“เพราะครูคนนี้....”

ศาสตราจารย์ได้พบครูคนนั้น และได้ถามว่า
เธอทำอะไร...จึงได้มีอิทธิพลต่อเด็กพวกนี้มากขนาดนี้
เธอเพียงแต่ยิ้มและพูดว่า...
ฉันเพียงแต่รักพวกเขา



หนังสือ : บางสิ่งบางอย่าง ช่วยสร้างรอยยิ้ม
( Something To Smile About )
เขียนโดย : Zig Ziglar
แปลโดย : สมใจ รักษาศรี

 

เอาที่ส่วนของครูก่อนนะคะ เพราะเป็นส่วนสำคัญ..

เบิร์ดรู้สึกว่าครูเราชอบเป็นครู..แต่ครูน่า่จะหัดเป็น เพื่อน ก่อนน่ะค่ะ ..เด็กๆเค้าถึงจะอยากเข้ามาคุยกับครูและครูก็จะได้ นำทางพวกเค้าได้อย่างถูกทาง เพราะเราเป็นเพื่อนร่วมทางกันนี่คะ

ส่วนการปฏิรูปการศึกษานั้นที่ผ่านมาคือการปฏิรูปโครงสร้างเป็นส่วนใหญ่น่ะค่ะ  ..เราเสียเงินทองไปมากมายเพื่อให้ลูกๆได้เรียนในระดับอุดมศึกษา ทั้งโรงเรียนดีๆ ทั้งกวดวิชาอย่างเอาเป็นเอาตายในทุกระดับชั้น.. แต่มีความจริงบางอย่างที่แฝงอยู่คือวิชาที่เรียนในชั้นปี 1 ในระดับอุดมศึกษาอ่อนกว่าวิชาที่เค้ากวดวิชากันมาซะอีก  เป็นความสูญเปล่า 2 ชั้นเลยนะคะอาจารย์  และกำลังสงสัยกันว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เด็กๆประมาทในการเรียนหรือเปล่าน่ะค่ะ

เราทราบกันดีว่าการศึกษาพื้นฐานคือระดับประถม ฯ มัธยม ฯ เป็นฐานการศึกษาที่สำคัญ แต่เรากลับให้ความสำคัญน้อยกว่าระดับอุดมศึกษาเยอะเลยนะคะอาจารย์

เหมือนเราต้อนเด็กเข้าสู่ลู่วิ่งโดยเป้าหมายอยู่ที่มหาวิทยาลัย ไม่ว่าระหว่างทางจะล้มลุกคลุกคลานอย่างไรก็ตาม หนูก็ต้องไปให้ถึง ..บางช่วงคุณครูต้องวิ่งแทน บางช่วงต้องดันก้น ฯลฯ พอเข้าไปสู่เขตชัยชนะแล้วทุกอย่างก็จบ..

เราสอนการอ่านจนเด็กๆอ่านออกเขียนได้มากมาย แต่น่าเศร้าคือพวกเค้ากลับไม่สามารถคัดเลือกได้เลยว่าเค้าควรจะอ่านอะไรบ้าง

เดี๋ยวมาคุยต่อนะคะ เพราะชอบทฤษฎีฟิสิกส์ที่อาจารย์เอามาฝากน่ะค่ะ..จะมาเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนนะคะ

ขอบพระคุณมากค่ะที่อาจารย์ เปิดสอนซ่อมวิชาที่เบิร์ดตกประจำ..ชอบจริงๆค่ะ ^ ^ 

 

 

 

 

 

น้องเบิร์ดครับ

เวลาผมมองเรื่องพวกนี้ จะมองเป็นสองระนาบไปพร้อมกัน

  • ระนาบล่าง เป็นระดับจุลภาค เป็นเรืิ่องของคน
  • ระดับบน เป็นระดับมหภาค เป็นเรื่องของระบบ

ตัวอย่าง

เรื่องนี้ ก็เช่นกัน

  • ครู เป็นระนาบ จุลภาค
  • แนวคิด นโยบาย เป็นระนาบ มหภาค
  • คุณเบิร์ดยกกรณีสุดยอดของจุลภาคมากล่าวถึง
  • ส่วนผม กำลังพยายามพูดเรื่อง มหภาค
  • เสริมกันครับ แต่เป็นคนละเรื่องกัน ^.^

 

 

 

สวัสดีคะ อ.วิบุล

มาอีกรอบค่ะเพราะเรียนอาจารย์ตั้งแต่ต้นว่าเรื่องนี้โง เลยเข้าเรียนถี่ยิบเลยค่ะ ^ ^ ..ให้อาจารย์เข็นลูกศิษย์คนนี้แบบพี่บางทรายเข็นครกขึ้นเขาเลย

 

คราวนี้มาระบบมหภาคกันนะคะเท่าที่เบิร์ดเห็นจากนโยบายของพรรคที่เป็นว่าที่รัฐบาล เมื่อเอามาผสมๆกันเห็นแบบนี้ค่ะ


บางพรรคเน้นเรื่องการเรียนฟรี 12 ปี ซึ่งจริงๆ ก็ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญแล้วนะคะอาจารย์ ฉะนั้นไม่ว่าพรรคไหนขึ้นมาก็จำเป็นที่ต้องฟรี แต่ประเด็นคือฟรีแล้วฟรีขนาดไหน อะไรบ้างที่ฟรี

แต่สิ่งที่เบิร์ดยังไม่เห็นคำตอบชัดๆ คือเรื่อง นโยบายเชิงคุณภาพ ในความเป้นจริงเรื่องของคุณภาพเชิงการศึกษา ก็มีการ ส่งเสริมกันมานาน แต่ก็เป็นเรื่องที่เราเจอปัญหามาตลอด ฉะนั้นก็ยังต้องปรับกันอยู่เรื่อยๆ แล้วก็ยังไม่นิ่ง

เมื่อถามว่า การศึกษาที่มีคุณภาพหน้าตาควรเป็นยังไง ส่วนนี้เป็นสิ่งที่พรรคการเมืองว่าที่รัฐบาลทั้งหลายยังนำเสนอไม่ชัดนะคะ แล้วอาจารย์เห็นว่าการศึกษาที่มีคุณภาพนี่ควรมีหน้าตายังไงบ้างคะ ?


มาอีกเรื่องค่ะ.. การศึกษาควรต้อง มองภาพกว้าง..จะมาเน้นการศึกษาแต่ในระบบมันอาจจะแคบไป เพราะในสังคมที่พัฒนาแล้ว จริงๆ การศึกษานอกระบบ สื่อ ก็เป็นฐานที่สำคัญ ยิ่งสังคมไทยคนอยู่นอกระบบการศึกษาเยอะนะคะ แล้วคนที่อยู่ในระบบมีไม่กี่เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นจะทำอย่างไรให้เป็นสังคมของการเรียนรู้ ?..ขอความกรุณาอาจารย์ช่วยไขปริศนานี้ด้วยเถอะค่ะ

ขอบคุณค่ะสำหรับการลงเรียนฟิสิกส์แบบตามอัธยาศัยที่อนุญาตใหู้้ผูุ้็เรียนแว้บเข้าแว้บออกได้ตามสบาย..ชอบจริงๆค่ะอาจารย์ ^ ^ 

เมื่อถามว่า การศึกษาที่มีคุณภาพหน้าตาควรเป็นยังไง ...

ผมเชื่อว่า...

(ความเชื่อ ส่วนตั๊ว ส่วนตัว ห้ามเลียนแบบ)

ควรเป็นสิ่งที่นักการเมืองที่ดูแลตรงนี้ ในช่วงเวลานี้ ในอนาคตกาลเบื้องหน้าอันไกลโพ้น เมื่อมีใครมาถาม ก็เพียงแต่ยิ้มและพูดว่า...


ฉันเพียงแต่รักพวกครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท