ดูหนัง The Warlords แล้วย้อนดูการศึกษา/วิจัย


ผมไปดูหนัง The Warlords (3 อหังการ์ เจ้าสุริยา) เมื่อคืนก่อน หลังทราบผลการเลือกตั้ง

ไปดูหนัง เพื่ออยากรู้ว่า หนัง กับ ชีวิตจริง อะไร น่ากลัวกว่า

หนังเรื่องนี้ แสดงถึงด้านที่โหด และมืดมิด ของคน

เรื่องไม่ซับซ้อน ชายสามคนสาบานเป็นพี่น้อง อยู่เป็นโจรไม่มีกิน ไปเป็นทหารรับจ้าง มีผู้หญิง (เมียพี่รอง) เป็นชนวนเหตุของการฆ่าฟันตอนจบ โดยพี่ใหญ่วางแผนฆ่าพี่รอง แล้วพี่ใหญ่ ก็โดนหักหลังจากเบื้องบนอีกต่อ

อารมณ์ของการถ่ายภาพ ก็เป็นแนว noir คือ มืดมัว หนักอึ้ง กดดัน

ใครขวัญอ่อนไม่ควรดูครับ เพราะฉากฆ่าฟันนี่ ดิบ เถื่อน จริง ๆ ประเภท "สลัดอวัยวะ" นี่ มีให้เห็นไม่หยุด 

เรื่องนี้ ดาราตีบทแตก

ตัวละครที่โดดเด่นสุด อาจเป็นเจ๊ต ลี ที่แสดงเป็นพี่ใหญ่

พี่ใหญ่ เป็นพวกสมอง แยกขาดจากอารมณ์ และมีสองบุคลิก (ไม่รู้ว่า เป็นจิตเภทไหม คือ double standard แบบมาตรฐานโลก) คือ มองเรื่องคนอื่นด้วยเหตุผล ด้วยการคาดคำนวณว่า ทำอย่างนี้ ๆ จะมี calculated risk ยังไง ในสถานการณ์หนึ่ง ฆ่าไม่ปราณี ในอีกสถานการณ์หนึ่ง ช่วยเหลืออย่างไม่คิดชีวิต เพื่อ minimize จำนวนคนตายรวม

แต่พอมาถึงเรื่องของตัวเอง (เรื่องผู้หญิง) เหตุผลที่ใช้กับคนอื่นเรื่องเดียวกันเป็นตุเป็นตะ โยนทิ้งเกลี้ยง

เป็นกระจกสะท้อนให้กลับมามองตัวเองได้ดี ว่า เอ๊ะ เราเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า คือ (ir)rationalization (สีข้าง สามารถใช้แทนอาวุธ โดยการถู) ที่คิดอย่าง พูดอย่าง ทำอีกอย่าง

ทั้งสาม อาสาศึก ตระเวนก่อสงครามไปทั่ว แต่พอหมดประโยชน์ เขาก็สอยทิ้ง

เป็นตัวอย่างของการฉลาดลึก ในเรื่องสงครามฆ่าฟัน

แต่โง่กว้าง ในเรื่องที่ใหญ่กว่าขึ้นไปอีกชั้น คือ อ่อนหัดทางการเมือง อ่านเกมส์ไม่ออกว่าตนเองถูกหลอกใช้ทั้งเรื่อง

ปลาใหญ่ กินปลาเล็ก เป็นทอด ๆๆ

ไทเฮา หลอกใช้ขันที (แต่ขันทีฉลาด เลยอยู่แบบซิมไบโอสิสได้ เป็นแบบ ฉลาดลึก และไม่โง่)

ขันที หลอกใช้พี่ใหญ่

พี่ใหญ่ หลอกใช้พี่รอง-น้องเล็กอีกที โดยใช้ความสัมพันธ์พี่น้องร่วมสาบาน

แม้หนังจะหนัก โหด แต่ดูหนังแล้ว ผมเฉย ๆ เพราะรู้ว่า นี่คือหนัง ความรู้สึกคือ surreal เป็นเรื่องหลุดจากความจริง

ผมอาจจะนิสัยเสีย ดูหนังแบบไม่อิน ดูแบบศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคนต่อคน และดู effect ว่า น่าตะลึงขนาดไหน ศึกษามุมกล้อง ตระหนักว่า "เป็นหนัง" ตลอดเวลา

แต่ออกจากโรง ฟังข่าวหน่อยเดียว แน๊...มือเท้า...ไหงอ่อนระทวยซะได้เนาะแฮะ

แสดงว่าข่าวน่ากลัว สยดสยองกว่าเยอะ ของจริงเลยล่ะ

 

กลับมาอ่านสองบล็อกนี้ ทำให้นึกถึงหนังที่เพิ่งดู และเลยฉุกคิดถึงวลี "ฉลาดลึก แต่โง่กว้าง" ของท่าน "คนไร้กรอบ" ขึ้นมา

 

P พอไหว พอไหว » ประเทศไทยรวย แต่ใช้เงินไม่เป็น (เรื่องวิจัย)

P ของขวัญจากวันวาน » คนไทยจบแค่ชั้นประถม ฯ ? (เรื่องการศึกษา)

 

โชะเลย..

สองบล็อกนี้ ดูเผิน ๆ เป็นคนละเรื่องกัน

ด้านหนึ่ง วิจัย

ด้านหนึ่ง การศึกษา

แต่แกนเรื่องไม่ต่างกันเลยครับ

โดยภาพรวม เป็นเรื่องเล่าถึง "การฉลาดลึก แต่โง่กว้าง" ในระดับประเทศ เหมือนในหนัง The Warlords เปี๊ยบ

ไม่ได้เกิดในคน ที่ฉลาดเรื่องจิ๊บจ๊อย โง่เรื่องใหญ่ (ฟังดูแล้วนึกถึงคำแซวเกี่ยวกับ "สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า ซะมี" เลยแฮะ)

แต่เกิดในสิ่งที่เราเรียกว่า "สังคม"

คือ เรากำลังมุ่งไปสู่การที่สร้างคนจำนวนน้อยให้กลายเป็นยอดมนุษย์ และคนจำนวนมาก ถูกทิ้งให้เป็นกากเดนอย่างไม่แยแส

..ด้วยการอัดฉีดให้กระจุกเล็ก ๆ แล้วปล่อยให้หย่อมใหญ่เฉาแห้งกรัง

ในเรื่องของการเรียน เรามีระบบประกันคุณภาพมากมาย แต่เด็กจำนวนมาก จบชั้นประถมปลาย อ่านหนังสือแทบไม่ออก ครู early retire เยอะจนต้องมีการติดเบรก

น่าคิดนะครับ ว่าทำไมคนที่ทำงาน ทำไมทำแล้วไม่มีความสุข ดิ้นรน early retire ?

คุณP เม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ตั้งคำถามตบท้ายในบล็อกที่ท่าน อ.ธวัชชัยพูดถึงเรื่องงานวิจัยว่า

"ในขณะที่เราสอบได้รางวัลติดโอลิมปิกทุกๆ ปี แต่มีนักเรียนเป็นแสนคนไม่สามารถเรียนได้จบประถมเป็นแสนคนในแต่ละปี"

ส่วนประเด็นที่ ดร.ธวัชชัยยกขึ้นมากล่าวถึง ก็คือ "นโยบายของประเทศเรา จะสร้างยอดมนุษย์เพียงหยิบมือ แล้วที่เหลือ อ่อนปวกเปียก หรือควรจะสร้างคนเก่งพอสมควร ให้มีเต็มประเทศ ?"

ทั้งสองเรื่อง เป็นปรากฎการณ์ที่ ประเทศทั้งประเทศ ฉลาดลึก และโง่กว้าง

นี่แหละครับ สยองขวัญของจริง ที่จริงแท้แน่นอน ไม่ใช่ surreal

กราดเกรี้ยวสยองขวัญ ใครว่าต้องหลั่งเลือดเสมอไป ?

 

หมายเลขบันทึก: 155915เขียนเมื่อ 25 ธันวาคม 2007 23:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 12:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับท่านอาจารย์

  • สบายดีไหมครับ
  • เพื่อมาืยืนยันว่าเป็นแสนจริงหรือเปล่า เลยเอาบทความเก่ามาฝากครับ
  • เด็กสองแสนคนหายไปไหน ใครตอบได้ช่วยบอกทีครับ (การศึกษา)

     
  • จากบทความคือสองแสนนะครับ แต่เวลาผ่านไป คงลดลงกว่าเดิมครับ
  • แล้วที่จบประถมมาแล้ว ยังมีที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้อีก ปีละกี่หมื่นครับ (ข้อมูลจากคนค้นคน) ให้ชวนคิดอีกครับผม อันนี้แค่นี้ก็ร่วมสยองแล้วล่ะครับ
  • ใครจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพร่วมกันครับ นี่คือความเป็นประเทศ ที่ไล่คนจน ไล่คนไ่ม่ได้เรียนเพราะเหตุผลต่างๆ ออกนอกประเทศไ่ม่ได้ครับ เพราะประเทศไทยไม่ใช่บริษัท ที่เราจะคัดคนได้ ไม่ครบคุณสมบัติออกจากบริษัทหรือไ่ม่รับเข้าบริษัทได้
  • แล้วที่อยู่ใต้สะพานลอย บนสะพานลอย และที่อื่นๆ ครับ
  • ที่พูดมานี่ไม่ใช่ดูถูกพี่น้องเหล่านั้นนะครับ แต่จะบอกว่า ประเทศไทยเรากระจายความช่วยเหลือทั่วถึงกันแค่ไหน
  • หากจะให้ชัดไปอีกหน่อย ผมยกบทความนี้มาอีกรอบนะครับ
  • แผนที่ปลา

  • แผนที่ปลา ตอน 2

  • สิ่งเหล่านี้ ใครควรจะตระหนัก หากไทยไม่ร่วมมือกันแล้วจะหวังให้ใครมาป้อนข้าวป้อนน้ำให้ไทยด้วยกันครับ
  • ขอบพระคุณมากครับ
  • สวัสดีปีใหม่ครับ

กราบสวัสดี อาจารย์อีกรอบครับ

  • ขอมาระบายอีกรอบเรื่อง early retire น่าจะมี lately retire แทนนะครับ
  • นโยบาย lately retire มีไว้เพื่อส่งเสริมให้คนที่มีศักยภาพของประเทศและเป็นตัวอย่างทั้ง กายใจและปัญญา และศรัทธาที่จะทำงานเพื่อประเทศชาติได้ทำงานต่อในด้านที่ท่านเหล่านั้นทำงานได้และศรัทธา
  • เพราะท่านยังมีศักยภาพมากๆ อย่างโปรเฟสเซอร์ผมก็ 67 ปีแล้ว ท่านยังฟิตมากครับ
  • สมองยังเยี่ยมยอด
  • ในเืมืองไทยก็เช่นกันครับ ไม่ได้บังคับให้ต้องทำ แต่เปิดโอกาสให้ร่วมมือช่วยเหลือประเทศครับ
  • ผมมองเรื่อง early retire เป็นนโยบายเห็นแก่ตัวตั้งแต่ได้ยินความหมายครับ ผมเสียใจมากที่ได้ยินและเห็นโครงการนี้ แต่ไม่เคยปลิปากบ่นกับใครในที่สาธารณะ วันนี้ขอบ่นแล้วกันนะครับ
  • ผมมีความเห็นว่า กว่าจะสร้างคนให้พร้อมที่จะถ่ายทอดได้นั้น เราใช้ทรัพยากร และหลักๆ คือ จิตสำนึกของคนด้วยครับ ที่พูดนี้ผมไ่ม่ได้จะว่าใครครับ แต่ฝากให้คิดครับ
  • ผมเชื่อเสมอว่า ก่อนตาย หากมีคราบเขม่าของความคิดหรือสิ่งดีๆ ติดไว้ที่เชิงตะกอนบ้าง คงเกิดประโยชน์กับรุ่นลูกหลานบ้างครับ
  • กราบขออภัยนะครับ หากร้อนไปนิดครับ แต่จริงใจต่อประเทศนี้จริงๆครับ
  • สุดท้ายขอให้อาจารย์มีความสุขครับผม 

คุณเม้ง สมพร ช่วยอารีย์ ครับ

  • แนวคิดเรื่อง early retire ที่มา ผมเชื่อว่าเกี่ยวพันกับเรื่องภาระและสถานะการเงินการคลังของประเทศ คือ ลดคนลง เพื่อลดค่าใช้จ่ายภาครัฐ
  • แต่มีนโยบายแล้ว สานต่อด้วยการกระทำอย่างไรนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือ ทำอย่างละมุนละม่อม หรือใช้วิธี หักดิบ
  • ผมมีความเชื่อว่า ถ้าคนทำงานมีความสุข ไม่มีใครอยาก early retire (ER) มีแต่จะอยาก lately retire เพราะคนเป็นสัตว์สังคมที่การทำงาน คือสิ่งแวดล้อมจำเป็นขั้นพื้นฐาน สำหรับการมีชีวิตอยู่อย่างเป็นปรกติสุข ดังตัวอย่างที่เรามักได้ยินบ่อย ๆ ว่า คนหลังเกษียณจำนวนหนึ่ง ปรับใจไม่ได้ เฉาตายแบบปุบปับ ในขณะที่คนที่ปรับตัวได้ คือคนที่หาอะไรมาทำให้ไม่ว่าง จะอยู่ได้อย่างปรกติสุข
  • ผมจึงมองว่า ฟากที่มีนโยบาย ERออกมา ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะเป็นเรื่องที่สถานการณ์บังคับ
  • แต่แปลกตรงฟากที่มีการขานรับด้วยการดิ้นรน ER นั่นแหละ ว่าทำไมจึงมี และมีมากผิดปรกติ และชวนให้ถามต่อว่า กำลังเกิดอะไรขึ้น ?
  • มาเริ่มเข้าใจบ้าง ตอนอ่านบล็อกของคุณครู P โคกเพชร ครับ

 

P  เบิร์ด

สวัสดีค่ะอ.วิบุล

เห็นโผเมื่อคืนแล้วไม่ทราบว่าจะนัวร์มากขึ้นหรือกลายเป็นไนท์แมร์นะคะ ...

 

สวัสดีครับ คุณเบิร์ด

  • ช่วงนี้ ผมงดดูข่าวชั่วคราว และฟังข่าวแค่แบบผ่าน ๆ แค่กันไม่ให้ตกข่าวที่สำคัญกว่า ไม่ได้สนใจตัวบุคคลเลยครับ
  • ใกล้ปีใหม่ เสริมสิริมงคลให้ชีวิต
  • คิดสิ่งดี ๆ และเลี่ยงความอัปมงคลให้ไกล ๆ จะทำให้สุขภาพจิตไม่เสียครับ

 

 

น้องเม้ง สมพร ช่วยอารีย์

สะท้อนถึงอะไร ?

  • ปัญหาการเงินครัวเรือน ต้องใช้แรงงานเด็ก ?
  • ปัญหาการเงินครัวเรือน ไม่มีปัญญาจ่ายค่าเรียน ? (ตาม พฤตินัย นะครับ ไม่ใช่ตาม นิตินัย)
  • ปัญหาของระบบที่เสือกไส "เด็กโง่" ออกไป ?
  • ปัญหาของหลักสูตรการศึกษาที่ไม่สะท้อนชีวิต ?
  • ....
  • ?
  • ไม่ทราบจริง ๆ ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท