สมการความสุข


อ่าน ความสุขมองเชิงโครงสร้าง 1 ของคุณหมอ มสช แล้วชื่นใจ ที่มีการหยิบยกเรื่องความสุขมาเป็นประเด็นสุนทรียสนทนา

 

โดยส่วนตัวเองแล้ว ผมมองว่า สมการความสุข คงจะมีหน้าตาอย่างนี้ครับ

ความสุข = โครงสร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมเอื้อ + ปัจจัยส่วนตัวเอื้อ + สันตุฏฐีธรรม (การวางใจให้อยู่ในความสุขได้)

 

ทั้งสามส่วนต้องไปด้วยกัน จึงจะเติมเต็มศักยภาพมนุษย์ ทำให้คนทั้งสังคมมีความสุขได้

สันตุฏฐีธรรม ไม่ใช่ค่าคงที่ เป็นตัวที่สามารถตั้งระดับเองได้ตามใจชอบ

 

คนเราอยู่เฉย ๆ ก็หดหู่ได้ โดยไม่ต้องมีเหตุผล นั่นคือด้านมืดของจิตใจ

 

ในมุมกลับ ด้านบวกของจิตใจก็มีอยู่ คือ อยู่เฉย ๆ ก็มีความสุขได้โดยไม่ต้องมีเหตุผลเหมือนกัน

เป็นวิธี รู้สึก ที่ต้องหัด ต้องฝึกฝนอยู่เหมือนกัน

แต่ด้านบวกของจิตใจตรงนี้ คนไม่ค่อยใช้สิทธิกันเท่าที่ควร อาจจะคิดว่า ไม่ใช่หน้าที่

อาจนึกว่า ไม่เข้ากับกรอบทฤษฎีอันพึงเคารพของตัว

หรืออาจนึกไปว่า อยู่เฉย ๆ แล้วมีความสุข เป็นบาป

เอ..ผมก็ไม่รู้เหมือนกัน ว่าใครเขาจะคิดอะไร

อาจเป็นเพราะไม่เคย... 

ไม่แน่ว่า อาจเพราะไม่เคยสัมผัสกับด้านละเมียดละไมของชีวิต

ไม่แน่ว่า อาจเพราะไม่เคยสัมผัสด้านที่เจือจางเบาบางของชีวิต

ไม่แน่ว่า อาจเพราะไม่เคยสัมผัสกับอารมณ์ขันของชีวิต

ใจผมมองว่าสันตุฏฐีธรรมมีผลกระทบมาก ในเงื่อนไขว่า ต้องมีส่วนแรกและส่วนที่สองอยู่ด้วยเสมอ อย่างน้อยก็ระดับที่พอจะดับร้อนได้บ้าง 

คือถ้าสังคมลุกเป็นไฟ ก็คงทำใจเป็นสุขยาก หันไปทางไหนก็เห็นคนอื่นเป็นยักษ์เป็นมารไปหมด

อย่างเช่น...อิ่มหนำไร้งานทำ มันก็วางระเบิดเล่้น ฆ่าคนตัดคอเล่น ทำอะไรที่จรรโลงโลกไม่เป็นซะงั้น

หรือหากตัวเองไม่มีกิน ไม่มีที่อยู่ เป็นโรคร้ายรุมเร้า จะให้ทำใจเป็นสุข ก็คงทำได้ไม่ง่ายนัก แม้จะมีคนทำได้ แต่นั่นคงเป็นเพียงข้อยกเว้น

บางคนมุ่งแต่ประเด็นเอาตัวรอด ไม่แยแสสังคม แม้จะปากแข็งไม่ยอมรับ แต่มันอยู่ลึกลงในจิตใต้สำนึก (บางคนก็อยู่ในระดับจิตสำนึก พวกเล่นภาวนาคำว่า หาเงิน ทุกลมหายใจเข้าออก เป็นปานาสติแบบทุนนิยม) แต่ปากมักจะบอกว่า ตามทฤษฎีแล้ว ต้องเน้นสันตุฏฐีธรรม เพราะมันอิน-เทรนด์ (แต่จริง ๆ คนที่พูดรู้จักสันตุฏฐีธรรม จริงหรือเปล่า ผมไม่ค่อยแน่ใจ)

ตัวอย่างของสันตุฏฐีธรรม  เช่น การทำให้ร่างกายหลั่งเอ็นดอร์ฟินได้เอง โดยไม่ต้องอาศัยอะไรมาก เช่น เดินออกกำลังกาย เล่นดนตรี ฟังดนตรี รู้จักชื่นชมความงดงามเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน ฯลฯ

นาน ๆ จะมีการยกประเด็นแรกมากล่าวถึง ถือเป็นกุศลยิ่งแล้ว

ผมเองมองเห็นว่ามีประเด็นสำคัญแรกนี้อยู่ แต่ตัวเองไม่สุกงอมที่จะเรียงถ้อยร้อยเรื่อง จึงเมื่อได้อ่านแล้วรู้สึกโดนใจครับ

 

 

คำสำคัญ (Tags): #ความสุข#สังคม
หมายเลขบันทึก: 75463เขียนเมื่อ 31 มกราคม 2007 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอขอบคุณอาจารย์ wwibul...

  • "สันตุฏฐีธรรม (บาลี)" น่าจะคำเดียวกับ "สันโดษ (สันสกฤต)" = "พอใจในสิ่งที่มีหรือเป็น"...
  • ถ้ามีร่วมกับธัมมะหมวดอื่นๆ เช่น ความขยันหมั่นเพียร ความอดทน ฯลฯ แล้วดี

Package...

  • ท่านพระ ปอ.ปยุตโต (พระพรหมคุณาภรณ์) กล่าวไว้ว่า "ธัมมะในพระพุทธศาสนาแสดงไว้เป็น package (หมวดธรรม)"
  • ถ้าปรารถนาจะให้ชีวิตมีความสุข ความเจริญ... ควรน้อมรับธัมมะเข้ามาเป็นหมวดหมู่ เช่น พรหมวิหาร (เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา) เจริญให้สมดุลกัน

ขออธิบาย...

  • ขออธิบายไว้หน่อย... เดี๋ยวใครว่า สันโดษ = เกียจคร้าน นั่นไม่ใช่
  • สันโดษควรสมดุลกับความเพียร เช่น ที่เรายกมาเป็นเศรษฐกิจพอเพียง... นี่ก็เป็นเศรษฐกิจของคนขยัน + รู้จักพอเช่นกัน

ขอบคุณคุณหมอวัลลภ พรเรืองวงศ์ ...

  • นึก ๆ อยู่เหมือนกันว่าตัวเองจะเขียนได้ไม่ดีนัก เรื่องคำบาลี เพราะเป็น "คนดิบ"
  • พอดีคุณหมอมาเสริม...
  • คุณหมอหาโอกาสเขียนเรื่องว่าด้วยความสุขนะครับ ผมจะรออ่าน...
  • มัดมือมัดเท้า "หาม" ครับ...

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท