วางแผนการทำงานของทีมวิจัยโครงการวิจัยนำร่องฯ พัทลุง


การหารือทีมวิจัยโครงการวิจัยนำร่องขับเลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมและการจัดการสวัสดิการเชิงพื้นที่ จังหวัดพัทลุง วันที่ 28 ธค 50 

จากทีมวิจัยหลักที่เลือกไว้จำนวน 18 คน ดังนี้

รายชื่อผู้เข้าร่วมวิจัย 

1.        นางสาวสุธีรา  นุ้ยจันทร์         สนง.พมจ.พัทลุง

2.        นายประวิง  หนูแจ่ม               องค์การบริหารส่วนตำบลป่าพะยอม

3.        นายนิวัติ  อินทรสมบัติ           องค์การบริหารส่วนจังหวัด

4.        นางสารภี  บุญยก                    สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพัทลุง

5.        นายสุนทร  คงทองสังข์          สนง.สาธารณสุขจังหวัด

6.        นางจิระภา  หนูชัย                  สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดพัทลุง7.        นางสาวศรอนงค์ สงสัมพันธ์  สำนักงานเหล่ากาชาดจังหวัดพัทลุง

8.        นายอุทัย  บุญดำ                      เครือข่ายสินธุ์แพรทอง

9.        นายประยูร  ชูทอง                  เครือข่ายชุมพลสัมพันธ์

10.     นายคล่องพล  มูลเมฆ             ศจพ.ปชช11.     นายไพโรจน์  ราชเทพ           ศพจ.ปชช

12.     นายสอ  เสมือนใจ                  ศพจ.ปชช13.     นายสมพงษ์  เหมียนผ่อง       ศพจ.ปชช

14.     นายวิเชียร  มณีรัตนโชติ         ศพจ.ปชช15.     นายแก้ว  สังข์ชู                       ศพจ.ปชช

16.     พท.คุณาสิน  หอยนกคง         องค์การบริหารส่วนตำบลเขาเจียก

17.     นายสินิจ  บุญพัฒน์                                สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง

18.     นางอุบล  ทองสลับล้วน          สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดพัทลุง

 ผู้เข้าร่วมประชุมวันนี้ ทีมวิจัยมากันเกือบครบ พร้อมด้วย คุณภีม  คุณเทพรัตน์(โต)  เนื้อหาการหารือดังนี้

 การหารือของทีมวิจัย

คุณสุธีรา  ภาพของจังหวัดพัทลุงในการขับเคลื่อนกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการในงบประมาณปี 2550  คณะอนุกรรมการบริหารกองทุนฯ พิจารณาอนุมัติโครงการจำนวน 10 โครงการ ประกอบด้วย สวัสดิการเชิงพื้นที่สำหรับพื้นที่นำร่อง 9 โครงการ เป็นงบประมาณ  495,500 บาท  โครงการเชิงประเด็น 1 โครงการ  งบประมาณ 200,000 บาท  สำหรับการจัดกองทุนฯในปีงบประมาณ 2551 พัทลุงได้รับงบประมาณเชิงประเด็น จำนวน  750,000 บาท  เชิงพื้นที่  จำนวน  2.06 ล้านบาท   

น้าแก้ว  ให้ข้อสังเกตของข้อจำกัดในเงื่อนไขการเลือกพื้นที่สนับสนุนซึ่งต้องเป็นองค์กรสาธารณะที่ตั้งมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี  นอกจากนี้ในระดับพื้นที่ยังมีปัญหาคนทำงานไม่ต่อเนื่อง คนที่เขียนโครงการพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว กังวลว่าคนที่ทำงานต่อจะทำได้หรือไม่  หรืออีกปัญหาคือการขึ้นโครงการไม่มีการสื่อสารกันระหว่างประชาชนกับ อบต.  สิ่งที่ประชาชนเสนอ อบต ไม่เห็นชอบ  แต่ผู้เสนอโครงการคือ อบต. เมื่อโครงการที่ อบต.เสนอผ่านแล้ว ไม่มีการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบ

เทพรัตน์  ให้ข้อคิดเห็นว่าเนื่องจากเราเป็นทีมวิจัย จึงต้องเอาโจทย์นี้เป็นคำถามลงพื้นที่ ไปหาคำตอบ มองงานวิจัยเป็นฐานพัฒนาต่อ ภาพของจังหวัดพัทลุง นอกจาก 5 พื้นที่นำร่องแล้ว ต้องมีการถอดบทเรียน  ต้องเห็นภาพทั้งจังหวัดก่อนว่ามีรูปแบบอะไรบ้าง วิธีการจัดการอย่างไรบ้าง เพื่อนำเสนอต่อ 5 พื้นที่   

คุณภีม  ให้ข้อเสนอว่าในเชิงการมอบหมายโครงสร้างของ พมจ. จังหวัด สำคัญคือกองเลขาของคณะอนุกรรมการฯ ควรมีผู้รับผิดชอบโดยตรง ทั้งคลุกคลีพื้นที่ ติดตาม ประเมินการทำงาน เพื่อสนับสนุนให้คณะอนุกรรมการฯเข้มแข็ง  การทำงานเกิดความยั่งยืนเพราะต่อไปงบประมาณเรื่องนี้คงได้มาทุกปี  ดังนั้นกองเลขาฯต้องทำงานเชิงรุก พร้อมทั้งกระตุ้น ให้ข้อมูลแก่คณะอนุกรรมการฯ  นักวิจัยชุดนี้ไม่ใช่ผู้ที่ขับเคลื่อนตลอดไป แต่ต้องมาทำกระบวนการให้ คณะอนุฯและกองเลขาฯ เข้มแข็ง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบงานนี้ตลอดไป                ดังนั้นโครงสร้างจึงควรมีการตั้งคณะทำงานโดยคณะอนุกรรมการฯ ทำหน้าที่แต่งตั้งทีมงาน 3 ทีม คือควรมี 1) คณะทำงานประชาสัมพันธ์  สร้างความเข้าใจ  2) คณะทำงานกลั่นกรองอนุมัติโครงการ  พัฒนาโครงการ ช่วยให้องค์กรชุมชนมีโครงการที่ดีที่สุด  3) คณะทำงานติดตามสนับสนุนและประเมินผล งานวิจัยครั้งนี้คือการหาบทเรียนเพื่อมาเสนอสิ่งที่ดีกว่า  เพื่อเสนอแก่คณะอนุกรรมการฯ เป้าหมายจะต้องทำให้คณะอนุกรรมการฯกับกองเลขาฯ เข้าใจและตั้งชุดทำงานทั้ง 3 ชุดดังกล่าว งานวิจัยนี้เป็นแบบจัดการความรู้  นอกจากทีมเข้าไปหาความรู้แล้ว ต้องสร้างกระบวนการให้ผู้รับผิดชอบหลักไปแสวงหาความรู้และนำความรู้มาใช้  

ข้อสรุปของทีมวิจัย

ลำดับแรกหาข้อมูลพื้นฐานขององค์กรที่จัดสวัสดิการทั้งหมดในจังหวัดพัทลุง หลังจากนั้นมาเลือกพื้นที่ที่ทีมวิจัยจะเข้าไปศึกษา โดยคุณเทพรัตน์ จันทพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบรวบรวม และวิเคราะห์แบ่งประเภทรูปแบบเบื้องต้น จากนั้นในวันที่ 18 ม.ค. 51  ทีมวิจัยประชุมวิเคราะห์ข้อมูลองค์กรอีกครั้ง  ขณะเดียวกันคณะทำงานอีก 3 ชุด ที่เสนอเป็นข้อคิดเห็นไว้ก็ทำงานของตนเองไปตามหน้าที่  คณะอนุกรรมการฯควรประชุม 2 เดือน/ครั้ง และทีมวิจัยเข้าร่วมเพื่อให้ข้อมูลด้วย             

   กำหนดให้รวบรวมข้อมูลเสร็จวันที่ 10 ม.ค.  และนัดประชุมครั้งต่อไป 18 มค. 51   

หมายเลขบันทึก: 156426เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 17:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 มิถุนายน 2012 22:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

โจทย์ของน้าแก้วน่าสนใจ

ข้อเสนอของอ.ภีมก็น่าสนใจค่ะ   ขอเสนอเพิ่มเติมว่า "คณะทำงานประชาสัมพันธ์"  เพื่อสร้างความเข้าใจนั้น  น่าจะเป็น "คณะทำงานประชาสัมพันธ์และสร้างการมีส่วนร่วม"   อะไรทำนองนี้ ....เพราะคิดว่าโจทย์ที่น้าแก้วพูดถึงนั้นเป็นความสัมพันธ์สองทาง

"นักวิจัยชุดนี้ไม่ใช่ผู้ที่ขับเคลื่อนตลอดไป แต่ต้องมาทำกระบวนการให้ คณะอนุฯและกองเลขาฯ เข้มแข็ง ซึ่งเป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบงานนี้ตลอดไป .........             งานวิจัยนี้เป็นแบบจัดการความรู้  นอกจากทีมเข้าไปหาความรู้แล้ว ต้องสร้างกระบวนการให้ผู้รับผิดชอบหลักไปแสวงหาความรู้และนำความรู้มาใช้"  

บทเรียนนี้ดีค่ะ..

ขอบคุณอาจารย์ปัทคะ สำหรับข้อคิดเห็น

ดูเหมือนว่าอาจารย์จะ countdown เสร็จแล้วมานั่งทำงานต่อหรือเปล่าคะ (ดูจากเวลาที่เข้ามาอ่าน) ยังขยันเหมือนเดิมทั้งปีเก่าและปีใหม่เลยนะคะ

สวัสดีปีใหม่คะ

 

ทำอย่างไรให้ทีมวิจัยพื้นที่ได้เข้ามาใช้ช่องทางนี้สื่อสารกัน และเนื่องจากมีโครงสร้างนี้อยู่ในทุกจังหวัด ทำอย่างไรให้พมจ.และอนุกรรมการบริหารกองทุนได้ใช้เป็นเวทีเรียนรู้จากกันและกันบ้าง การพบปะกันในกทม.แต่ละครั้งทั้ง76จังหวัดน่าจะใช้งบประมาณมหาศาล ถ้าได้ใช้ช่องทางนี้ด้วยคงช่วยให้งานขับเคลื่อนพรบ.กองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมซึ่งถือเป็นกรอบหลักในการจัดสวัสดิการสังคมของประเทศและเงินกองทุน500ล้านบาทในปีนี้ได้รับการจัดสรรเพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนสวัสดิการสังคมอย่างมีประสิทธิผลสูงสุด

งานจัดการความรู้สนใจช่องทางสื่อสารค่อนข้างมาก เชื่อว่าโครงสร้างส่วนนี้ของเรามีความพร้อมมาก แต่ไม่มีการใช้เท่าที่ควร จะทำอย่างไร?

ไหนๆน้องรัชก็เขียนงานแล้ว  เสนอว่า ลองส่งงานเป็น attached file ทางอีเมล์   แล้วลิงค์มาที่ blog ด้วย ให้สมาชิกเข้ามาอ่านและแสดงความคิดเห็น  ไม่ทราบว่า พอจะได้การไหม

สำหรับทีมงานที่ยังไม่คุ้นกับบล็อก  ในระยะแรก  การจัดการความรู้ผ่าน email จะเกิดขึ้นง่ายกว่าไหมคะ  แล้วค่อยๆขยับมาบล็อก

ที่จริงบล็อกอาจารย์ภีมเองก็มีคนอ่านเยอะ  แต่อาจารย์ภีมเงียบไป   อย่างน้อยส่งข่าวสั้นๆ  link มาที่บล็อกน้องรัชก็ยังได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท