ร่างๆ


อ่านกันเล่นๆ อย่าคิดมาก เเต่ช่วยคอมเม้นท์เยอะๆ นะคะ

ความมั่นคงทางสุขภาพของ”คนต่างด้าว”ในระบบประกันสุขภาพไทย: จากหลักประกันสุขภาพเเบบสมัครใจถึงหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือที่เป็นที่รู้จักครั้งเเรกในนาม "บัตรทอง" หรือ 30 บาทรักษา(เกือบ) ทุกโรค นวัตกรรมใหม่ของความมั่นคงทางสุขภาพขั้นพื้นฐานของ "ประชาชนไทย" เปิดตัวขึ้นเมื่อ พ.ศ. ประชาชนไทยที่มีบัตรประจำตัวประชาชน สามารถไปขึ้นทะเบียนได้ ในพื้นที่ที่ตนเองมีภูมิลำเนา ทั้งในทะเบียนบ้าน เเละตามข้อเท็จจริง เช่นทะเบียนบ้านอยู่คนละจังหวัดเเละอาจขึ้นทะเบียนที่จังหวัดที่อาศัยอยู่จริงโดยเเสดงหลักฐานประกอบ หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นโครงการงบประมาณเเรกๆ ที่ใช้การคำนวณงบตามประชากร ที่ใดมีประชากรที่เข้าโครงการมาก ก็ได้รับงบมาก ที่ใดมีประชากรที่ลงทะเบียนน้อย งบที่สถานพยาบาลเเละระบบสาธารณสุขท้องที่ก็จะได้ลดลงตามส่วนของประชากร ตั้งเเต่เริ่มดำเนินการมาถึงพ.ศ. 2550 ผู้ใช้บริการจะต้องร่วมจ่าย 30 บาทให้สถานพยาบาล ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงให้ผู้ใช้บริการไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย คงใช้เเต่งบประมาณรายหัวที่รัฐให้เพียงอย่างเดียว

  ชื่อบอกอยู่ว่าเป็นหลักประกันสุขภาพ "ถ้วนหน้า" แต่หลักประกันนี้มีข้อกำหนดเรื่องผู้ที่มีสิทธิใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ประการเเรก ผู้ที่มีหลักประกันอื่นๆของรัฐ เเล้วเช่นประกันสังคม หรือสิทธิรักษาพยาบาลข้าราชการ จะไม่สามารถใช้สิทธิซ้ำซ้อนได้ ความถ้วนหน้านี้ใช้กับเฉพาะบุคคลสัญชาติไทยเท่านั้น นั่นคือต้องมีเลขบนบัตรประจำตัวประชาชนขึ้นต้นด้วย ส่วนคนต่างด้าวในประเทศไทยจะไม่ได้รับการคุ้มครองในเเบบเดียวกัน ยกเว้นเเรงงานต่างด้าวขึ้นทะเบียนเรียบร้อยเเล้ว ที่ก่อนขึ้นทะเบียนจะต้องตรวจสุขภาพ เเละซื้อสิทธิหลักประกันสุขภาพเเรงงานต่างด้าว

1. “ต่างด้าวในบ้านเกิด”: คนต่างด้าวที่มีสิทธิอาศัยแต่ไม่มีสัญชาติไทย กลุ่มชาติพันธุ์ คนบนพื้นที่สูง กลุ่มผู้อพยพที่ได้รับสิทธิอาศัย คนไทยพลัดถิ่น และคนไทยที่ตกหล่นทางทะเบียน

นโยบายนี้ฟังดูเเล้วครอบคลุมถ้วนหน้า ถ้าเรายังไม่ลืมว่าประชากรในประเทศไทยที่อาศัยกันอย่างถูกกฎหมายไม่ได้ประกอบด้วนคนสัญชาติไทยเพียงอย่างเดียว ยังมีประชากรต่างด้าวอาศัยอยู่ด้วยจำนวนหนึ่งโดยที่ประชากร "ต่างด้าว" นั้น ก็ไม่ได้มาจากต่างประเทศ เข้ามาทำงานเป็นอาจารย์สอนภาษาหรือประกอบวิชาชีพ หรือเป็นเเรงงานต่างด้าวอย่างเดียวเท่านั้น คนต่างด้าวหรือคนไม่มีสัญชาติไทยจำนวน    คน ประกอบไปด้วย

ตารางประชากร

ถ้ามองตามการจำเเนกทะเบียนราษฎร กลุ่มผู้ที่มีสัญชาติไทยจะอยู่ในทะเบียนราษฎรที่มีชื่อว่าทร.14 นอกจากนั้น คนสัญชาติไทยที่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน ไม่มีบัตรประชาชนไทย หรือขาดการติดต่อกับงานทะเบียนราษฎร เช่นคนเร่ร่อน  คนไร้บ้าน คนไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนใดๆ แม้เขาจะพูดภาษาไทย เกิดในประเทศไทย มีบิดาหรือมารดาเป็นคนไทย   ก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่ง ที่ไม่ได้รับการคุ้มครองภายใต้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และระบบทะเบียนราษฎรไม่ได้นับพวกเขาว่าเป็นคนสัญชาติไทย 

กลุ่มคนต่างด้าวหรือผู้ไม่มีสัญชาติไทยเหล่านี้ เช่น ประชากรส่วนใหญ่ของกลุ่มชาติพันธุ์ดั้งเดิม กลุ่มผู้อพยพที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย จนได้รับสิทธิอาศัยถาวร หรือผู้ที่ได้รับการสำรวจว่าอาศัยอยู่ในพื้นที่สูง ได้รับสิทธิอาศัยชั่วคราว ระหว่างรอรัฐกำหนดนโยบายที่แน่นอน คนที่ตกหล่นจากระบบทะเบียนราษฎร ไม่มีบัตรประชาชนหรือบัตรประจำตัว และกลุ่มชาติพันธุ์ที่ยังตกสำรวจ เป็นเหยื่อซ้ำซ้อนของความไม่มีสัญชาติ เพราะเป็นคนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ทำงานระดับเพียงแรงงาน หรืองานรับจ้างรายได้ต่ำ ต่อให้ดิ้นรนจนจบการศึกษาก็ไม่สามารถประกอบอาชีพตามวุฒิที่ได้รับตามกฎหมาย ประกอบกับมีข้อจำกัดด้านการเดินทาง  ต้องประกอบอาชีพที่มีรายได้น้อย ไม่มีความมั่นคงด้านสวัสดิการจากการทำงาน   ต่างกับคนต่างด้าวที่มีสัญชาติที่ถือหนังสือเดินทาง เข้ามาขอใบอนุญาตทำงานเข้ามาประกอบวิชาชีพเป็นเจ้าของกิจการหรือมนุษย์เงินเดือน ที่มีความมั่นคงในชีวิต มีหลักประกันสุขภาพทั้งที่ซื้อหาเองจากบริษัทประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพเอกชน ควบคู่กับระบบประกันสังคมที่มนุษยเงินเดือนในระบบทุกคนต้องมี 

ความเจ็บไข้ได้ป่วยไม่เลือกสถานะบุคคลเเละสัญชาติ      คนต่างด้าวที่ไม่มีระบบประกันสุขภาพรองรับ ซึ่งจะต้องรับภาระค่ารักษาพยาบาลเองเต็มจำนวนทุกครั้งที่รับบริการ จึงเกิดความกลัวว่า “ใช้บริการสุขภาพแล้วจะจน” ผู้ป่วยจึงมักไม่ไปใช้บริการสาธารณสุขเพื่อป้องกัน  ตรวจสุขภาพ หรือ รักษาโรคแต่เนิ่นๆ  มักอดทนรอจนอาการรุนแรง แล้วค่อยรักษา ทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูงขึ้น สิ้นเปลืองทรัพยากรของบุคคลและโรงพยาบาล และโอกาสในการกลับมามีสุขภาพดีเป็นปกติน้อยลง

ป้าเจรียง

นอกจากนี้ คนไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนบางกลุ่ม แม้จะรู้ว่าพ่อแม่เป็นคนไทย ตนเองเกิดในประเทศไทย แต่ตกหล่นจากทะเบียนราษฎร ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตนใดๆ ที่จะยืนยันความเป็นคนสัญชาติไทยได้ จำต้อง”สวมรอย” พึ่งระบบประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวสามสัญชาติ โดยเข้าไปจดทะเบียนว่าเป็นแรงงานที่มาจากประเทศลาว กัมพูชา หรือเมียนมาร์ เพื่อให้ได้บัตรประจำตัวคนไม่มีสัญชาติไทย  และได้สิทธิ์ซื้อหลักประกันสุขภาพสำหรับแรงงานต่างด้าว คนต่างด้าวบนพื้นที่ชายแดนหลายคนที่น่าจะมีสถานะบุคคลแต่กลับตกหล่นจากทะเบียนราษฎร ก็ใช้วิธีเดียวกัน คือไปจดทะเบียนว่าตนเองเป็นแรงงานต่างด้าว ทั้งๆ ที่ไม่ได้เป็น  การจดทะเบียนเป็นแรงงานต่างด้าวฯ ทั้งที่ไม่ได้เป็นจะกลายเป็นปัญหาเรื้อรังเมื่อต้องการพัฒนาสถานะบุคคลที่แท้จริงในอนาคต ทว่าเมื่ออยู่ในภาวะจำยอมก็ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเพื่อให้มีสถานะบุคคลและหลักประกันสุขภาพ

ตี๋

 

หมายเลขบันทึก: 156422เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2007 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

จ๊อบอธิบายดีนะ ..อ่านการอธิบายแบบกฎหมาย ก็เบื่อๆ หน่อยๆ อ่ะ..แบบนี้ เข้าใจง่ายดี --หลังจากงง งง นิดหน่อย เพราะมีคำอธิบายแบบกฎหมายติดหนึบในหัวเป็นทุนเดิม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท