กัมพูชา: มนต์เสน่ห์อาณาจักรขอมอันยิ่งใหญ่


ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

เราเข้าประเทศกัมพูชาทางอำเภออรัญประเทศ จ.สระแก้วครับ

ค่าวีซ่า 800 บาท อยู่ได้ 3 เดือนครับ

เช้าๆ จะคึกคักมากครับ เพราะชาวกัมพูชาต่างเข้ามาทำงานที่ตลาดโรงเกลือมากมาย

รถเข็นมากมายนับพันคันต่างรอที่จะเข้าประเทศไทย เพื่อขนสินค้าเกษตรเข้ามาจำหน่ายในฝั่งไทยครับ

บ่อนคาสิโน มีมากมายที่ปอยเปต ตรงข้าม อ.อรัญประเทศ

ลูกเกือบทั้งหมดเป็นคนไทยที่ชอบเล่นพนัน

รถโดยสารจากปอยเปตไปยังกรุงพนมเปญครับ

ถนนเส้นนี้ผ่านจังหวัดเสียมเรียบด้วยครับ 150 กิโลเมตร

 เกือบตลอดสายเป็นถนนลูกรัง ใช้เวลาเดินทางประมาณเกือบ 5 ชั่วโมง

ซึ่งนานมาก หากเปรียบเทียบกับการเดินทางในประเทศเรา ตลอดเส้นทางจะเด้งดึ๊งดั๊งตลอดเหมือนในเธคครับ

ไกด็เลยบอกว่ามากัมพูชามีคำพูดติดปากว่า "ประหยัดกะบาล" แปลว่า ระวังศรีษะ

รูปหนุมาน ที่ก่อสร้างเพิ่งเสร็จกลางสี่แยกในจังหวัดแห่งนึ่งครับ ระหว่างทางไปเสียมเรียบ

น่าแปลกว่าที่กัมพูชามักมีป้ายบอกชื่อพรรคการเมืองเต็มไปหมด

ผมถามไกด์ว่า เพราะอะไรคนกัมพูชาจึงติดคัตเอาท์พรรคการเมือง เขาบอกว่า แสดงว่าบ้านนั้นเป็นตัวแทนพรรค

หรือหัวคะแนนบ้านเรานั่นเอง แต่ผมมองว่า อาจมาจากความไม่แน่นอนของบ้านเมือง

จึงทำให้คนอยากใกล้ชิดนักการเมือง เพื่อความมั่นคงของตนเอง

เวลาเที่ยงพอดีครับ นักเรียนภาคเช้ากำลังเลิกเรียนพอดี

ส่วนภาคบ่ายจะเป็นอีกชั้นหนึ่งเรียน เหมือนกับ ป.ต้น เรียนภาคเช้า ส่วนภาคบ่ายเป็น ป.ปลาย

การจัดการเรียนการสอนได้รับอิทธิพลจากฝรั่งเศส

เขานิยมปั่นจักรยานกันครับ ถนนใกล้เข้าจังหวัดเสียมเรียบ 20 กม.สุดท้ายจะดีหน่อยครับ

บ้านเรามีเบียร์ช้าง เบียร์สิงห์ ที่บอกว่า เป็นเบียร์ไทย

ที่กัมพูชามีอังกอร์เบียร์ เป็นเบียร์สัญชาติกัมพูชา โฆษณากันหราทีเดียว

และใช้วัยรุ่นเท่านั้นเป็นพรีเซ็นเตอร์ แต่บ้านเราการโฆษณาค่อนข้างระเบียบจัด

ชายคนนี้กำลังขนไก่ไปจำหน่ายครับ

เต็มรถทีเดียว ขนได้ไง

ระหว่างทางก็พบชาวนากำลังเกี่ยวข้าวครับ

คงเป็นการลงแขกเหมือนบ้านเรา

ที่ภาคใต้เรียกว่า "ยกเริน" หรือ ยกบ้านบ้าน เป็นการช่วยกันลงแรงยกบ้าน

ไปตั้งในที่แห่งใหม่ ย้ายบ้านโดยไม่ต้องแกะออกเป็นชิ้นๆ แต่ยกไปทั้งหลังเลย

ทางเข้าปราสาทบายน แห่งเมืองนครธมครับ

ทางเข้าด้านหนึ่งเป็นเหล่าปีศาจ ด้านหนึ่งเป็นเหล่าเทวดากำลังชักกะเย่อนกันอยู่ครับ

เหมือนเป็นการประลองกำลังกันของเหล่าธรรมะกับอธรรม

สร้างขึ้นเป็นวัดประจำสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7-8 ก่อสร้างในราวปี พ.ศ. 1200 ในช่วงราว 2 ศตวรรษ นับเป็นศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีความซับซ้อนทั้งในแง่โครงสร้างและความหมาย

เนื่องจากผ่านความเปลี่ยนแปลงด้านศาสนาและความเชื่อมาตั้งแต่คราวนับถือเทพเจ้าฮินดู และพุทธศาสนา อาคารมีลักษณะพิเศษ

เนื่องจากส่วนของหอเป็นรูปหน้าหันสี่ทิศ จำนวน 49 หอ ปัจจุบันคงเหลือเพียง 37 หอ ลักษณะโดยทั่วไปจะมี 4 หน้า 4 ทิศ แต่บางหออาจมี 3 หรือ 2 แต่บริเวณศูนย์กลางของกลุ่มอาคาร จะมีหลายหน้า ซึ่งนักท่องเที่ยวมักจะพยายามนับว่ามีกี่หน้า (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

สภาพปัจจุบันค่อนข้างโทรมมากขึ้นครับ

อาจเป็นเพราะผ่านการเวลา และศึกสงครามมามากมาย

ใบหน้าที่ตั้งตระหง่านอยู่บนปราสาทบายน

เป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู สังเกตให้ดีจะมีรอยยิ้ม เรียกว่า ยิ้มแบบบายน

ยักษ์หน้าทางเข้าปราสาทบายนจะตาโปนๆ

ภาพฝาผนังที่ปราสาทบายนครับ เป็นภาพการทำมาหากินของชาวขอมเมื่อพันปีที่แล้ว

นอกจากเราจะทึ่งในความเก่งของการนำหินศิลาแลงมาสร้างปราสาทได้งดงาม ยิ่งใหญ่แล้ว

เรายังทึ่งในความสามารถการแกะสลักบนแผ่นหินด้วยว่าทำได้งดงาม และสื่อความหมายชัดเจน

จำไม่ได้แล้วครับว่าเป็นภาพอะไร

หลักกิโลเมตร บนถนนชาล์ส เดอ โกล ที่มุ่งสู่นครวัดนครธม ครับ

หลังจากเข้ามาแล้ว เราก็จะเห็นเส้นทางสู่นครวัดอันยิ่งใหญ่ครับ

นี่คือสวรรค์ตามความเชื่อศาสนาฮินดี ส่วนสะพานนี้ เรียกว่า สะพานสายรุ้ง

เป็นสะพานเชื่อมโลกมนุษย์ ข้ามมหาสมุทร เพื่อมุ่งสู่สวรรค์

ด้านนอกจะมีคลองล้อมรอบนครวัด เปรียบเสมือนมหาสมุทร

ฝรั่งเรียก อังกอร์วัด

ปราสาทนครวัดมีขนาดใหญ่มากถึง 200,000 ตารางเมตร ตัวปราสาทสูง 60 เมตร ยาว 100 เมตร และกว้าง 80 เมตร มีแผนผังที่ถือว่าเป็นวิวัฒนาการขั้นสุดยอดของปราสาทขอม มีปราสาท 5 หลังตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติของศูนย์กลางจักรวาล มีกำแพงด้านนอกยาวด้านละ 1.5 กิโลเมตร มีคูน้ำล้อมรอบตามแบบ มหาสมุทรบนสวรรค์ที่ล้อมรอบเขาพระสุเมรุ

ใช้หินรวม 600,000 ลูกบาศก์เมตร ใช้แรงงานช้างกว่า 40,000 เชือก และแรงงานคนนับแสนขนหินและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลน ชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้าง

ปราสาทนครวัด มีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน ใช้เวลาสร้างร่วม 100 ปี ใช้ช่างแกะสลัก 5,000 คน และใช้เวลาถึง 40 ปี

หอสูง 60 กว่าเมตรศูนย์กลางของกลุ่มปราสาท อันเปรียบเสมือนศูนย์กลางของจักรวาลนั้น มีทางเดินขึ้นที่ชันมาก (ราว 50 องศา) แต่ก็กลับเป็นจุดสำคัญที่นักท่องเที่ยวทุกเพศทุกวัยจะต้องปีนขึ้นไปและไต่ลงมา ที่จุดบนสุดของหอนี้จะมองเห็นวิวที่สวยสุดของปราสาทนครวัด
(ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

มุมหนึ่งเราเห็นยอดนครวัด 3 ยอด แต่เดินไปอีกหน่อยก็เห็น 4 ยอด 5 ยอดบ้าง

แต่เมื่อเข้ามาด้านในเราเห็น 10 ยอดครับ เพราะอีก 5 ยอดจะสะท้อนในน้ำนั่นเอง

นครวัด ตั้งอยู่ที่เมืองเสียมเรียบในประเทศกัมพูชา สร้างในรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ในพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นศาสนสถานประจำนครของพระองค์ เมื่อสมัยแรกนั้น

นครวัดได้ถูกสร้างเป็นเทวสถานในศาสนาฮินดู ลัทธิไวษณพนิกาย แต่ต่อมาในสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้เปลี่ยนให้เป็นวัดในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ในปัจจุบันปราสาทนครวัดนับเป็นสิ่งก่อสร้างสัญลักษณ์ของประเทศกัมพูชา และได้รับลงทะเบียนเป็นมรดกโลกภายใต้ชื่อ เมืองพระนคร (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

ภาพสิงโตครับหน้าบรรไดทางขึ้นนครวัดครับ

ผมตั้งข้อสังเกตว่าเหมือนสปริ้งที่ปิระมิด ประเทศอิยิปต์

ไม่แน่ใจว่าได้รับอิทธิพลมาจากความเชื่อเดียวกันหรือไม่ หรือเป็นความบังเอิญ

ภาพฝาผนังแสดงให้เห็นถึงการจัดกระบวนทัพก่อนออกรบ

ขณะเดียวกันเราก็เห็นการรบพุ่งกันในสมัยโบราณ

ภาพฝากผนังที่แสดงภาพของเหล่าเทวดา บนสวรรค์

นี่เป็นภาพฝากผนังอีกด้านหนึ่งของนครวัด หรือ เรียกว่า บรมพิษณุโลก

เป็นภาพแม่ทัพหญิงจากเสียมกุ๊ก ยกทัพมาตีอาณาจักรขอม

เข้าใจว่าเป็นกองทัพจากอาณาจักรละโว้

ภาพนางอัปสร หรือ อัปสรา จิตรกรรมฝาผนังที่นครวัดอันเลื่องชื่อ

เขาแซวว่า เขมรนั้นมีเซล่ามูนกันมาพันปีแล้ว ก่อนญี่ปุ่นอีก สังเกตจากศรีษะของนางอัปสรา เหมือนเซล่ามูนมากๆ

นางอัปสราเป็นผู้ที่ให้ความบันเทิงแก่พระวิษณุ แต่งกายไม่ซ้ำกันเลยครับ

มีนางอัปสรามากถึง 1,635 ภาพ ซึ่งภาพแกะสลักที่นี่มีอิทธิพลต่อการร่ายรำของกัมพูชาอย่างมาก

นี่เป็นบาราย หรือ เขื่อนโบราณที่ใช้ประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน

ว่ากันว่า การใช้กำลังคนสร้างนครวัดนั้น มีแรงงานนับล้านคนทีเดียว แต่ละวันต้องผลิตอาหาร

เลี้ยงแรงงานมหาศาล ดังนั้นกษัตริย์จึงต้องคิดหาวิธีควบคุมผลผลิตทางการเกษตรให้มั่นคงและแน่นอน

จึงต้องสร้างเขื่อน หรืออ่างเก็บน้ำ เพื่อควบคุมน้ำเพื่อการเกษตร บารายสร้างโดยใช้แรงงานคนครับ

เขาบอกว่า ถ้าไม่มีบาราย ไม่มีโตนเลสาบ (ทะเลสาบ) เขมร ก็ไม่มีนครวัด

บารายสร้างขึ้นในอาณาจักรขอม อยู่ทางตะวันตกของนครธม มีขนาดกว้าง 2.2 กิโลเมตร ยาว 8 กิโลเมตร ลึกโดยเฉลี่ย 7 เมตร มีพื้นที่ 1,760 เฮกเตอร์ จุน้ำได้ราว 123 ล้านลูกบาศก์ลิตร ใจกลางของบาราย มีเกาะเล็กๆ ตั้งอยู่ เรียกว่า แม่บุญตะวันตกสร้างในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 1 ซึ่งยังคงมีน้ำขังอยู่จนถึงทุกวันนี้ สามารถใช้เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และพื้นที่พักผ่อนของชาวเสียมเรียบ ต่างจากบารายตะวันออกที่ปัจจุบันตื้นเขินไปแล้ว (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย)

แหล่งซื้อของฝากที่เสีบมเรียบครับ

สินค้าที่เป็นพระพุทธรูปมากมายให้เช่าครับ

แต่ดูเหมือนจะเป็นเครื่องประดับมากกว่าครับ

นี่เป็นสินค้าที่ระลึกครับ เป็นการแกะสลักจากหินกรนิตที่ยังสืบเนื่องมาจนปัจจุบัน

ไม่แน่ว่าช่างที่แกะรูปเหล่านี้ในปัจจุบัน อาจมีบรรพบุรุษที่แกะสลักรูปต่างๆ ในนครวัดนครธมก็ได้

กลับจากเขมรงวดนี้รู้สึกว่า เราใกล้ชิดกันมากขึ้น

เพราะภาษา การเขียน นาฎศิลป์ วัฒนธรรมของเขมรกับไทย ใกล้กันมากทีเดียวครับ

คำสำคัญ (Tags): #angkor wat
หมายเลขบันทึก: 156254เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 18:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับอาจารย์ Phirakan

เข้ามาท่องเที่ยวและศึกษาประเทศกัมพูชา กับอาจารย์ครับ

  • พ.ศ.1720 อาณาจักรเขมรอ่อนแอลง จึงทำให้พวกจามปาเข้ายึดทำลายเมืองหลวงยโศธรปุระของอาณาจักรขอมได้
  • ในพุทธศวรรษที่17 พระเจ้าชัยวรมันที่7 ได้ยกกำลังเข้าสู้รบจนมีชัยชนะพวกจาม และสู้รบกับพวกดาบเวียด
  • ในยุคนี้นับเป็นสมัยที่อาณาจักรเขมรได้สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้กลับคืนมา
  • พระเจ้าชัยวรมันที่7 จึงสร้างเมืองพระนคร(นครธม) และปราสาทบายนขึ้นแทนเมืองยโศธรปุระที่ถูกพวกจามทำลาย

ขอบคุณครับ

เข้าใจว่า หลังอาณาจักรขอมเริ่มเปลี่ยนจากศาสนาฮินดู สถานที่เหล่านี้ก็กลายเป็นที่อยู่ของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา

งานศึกษาเกี่ยวกับอาณาจักรขอมฝรั่งเศสเจ้าอาณานิคมได้ศึกษาไว้ค่อนข้างมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท