ตามรอยการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจภายใต้ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)


โลกกำลังจะกลายเป็นตลาดหนึ่งเดียวที่ไม่มีอุปสรรคจากเขตแดนของประเทศต่างๆ

 
 บทนำ          โลกาภิวัตน์ได้ส่งผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อสภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกการกำหนดนโยบายทางเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละประเทศแม้จะมีอิสระในการเลือกระบบเศรษฐกิจของตนเอง แต่ประเทศต่างๆ เหล่านั้นก็ไม่อาจดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สวนกระแสโลกาภิวัตน์ได้อีกต่อไป หลายประเทศเริ่มปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจของตน เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์มากขึ้น ดังตัวอย่างของสาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เริ่มเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจมาสู่ระบบทุนนิยมที่พึ่งพาตลาด ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของคาร์ล มาร์กซ์(Karl Heinrich Marx) นักปรัชญา และนักเศรษฐศาสตร์การเมืองผู้เลื่องชื่อ ได้กล่าวไว้ในหนังสือแถลงการณ์ของชาวคอมมิวนิสต์ (The Communist Manifesto) เมื่อ ค.ศ. 1848 ที่ว่าโลกกำลังจะกลายเป็นตลาดหนึ่งเดียวที่ไม่มีอุปสรรคจากเขตแดนของประเทศต่างๆ[1] ระบบเศรษฐกิจและการค้าของโลกได้อนุวัตรให้เห็นแล้วว่าแนวคิดนี้กำลังจะเป็นจริงแล้วในอนาคตอันใกล้นี้  ฉันทามติวอชิงตันคืออีกหนึ่งตัวอย่างที่ชัดเจนต่อความพยายามที่จะสร้างประชาคมเศรษฐกิจโลก และทำให้ระบบการค้าทั่วทั้งโลกเป็นตลาดเดียวกัน  ฉันทามติวอชิงตัน (Washington Consensus)[2]ฉันทามติวอชิงตัน หรือ Washington Consensus เปนวลีที่ถูกบัญญัติ ขึ้นในป ค.ศ. 1989
(พ.ศ. 2532) โดยจอหน วิลเลียมสัน (
John Williamson) นักเศรษฐศาสตรแหงสถาบันเพื่อการเศรษฐศาสตรระหวางประเทศ (The Institute for International Economics) ตั้งอยู ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา

จอหน วิลเลียมสัน (John Williamson)คําวา ฉันทามติวอชิงตันใชอธิบายนโยบายรวมทางเศรษฐกิจของสถาบันและองคการ
ระหวางประเทศที่ตั้งอยู ณ กรุงวอชิงตันในขณะนั้น อาทิ กองทุนการเงินระหวางประเทศ (
International Monetary Fund -IMF) ธนาคารโลก (World Bank) และ กระทรวงการคลังแหงสหรัฐอเมริกา โดยบุคคลในสํานักคิดเดียวกันกับจอหน วิลเลียมสัน เชื่อวานโยบายตางๆ ภายใตฉันทามติฉบับนี้ จะเปนกุญแจสําคัญที่ทําใหประเทศแถบละติน อเมริกาฟนตัวจากวิกฤติการณทางการเงินในชวงทศวรรษ 1980 และในทายที่สุดฉันทามติวอชิงตันกลายเปนแนวทางหลัก (Main stream) ในด้านเศรษฐกิจระหวางประเทศอันรวมไปถึงการลมสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในสหภาพโชเวียต และการเปดเสรีทางการคาการลงทุนในกิจการสาธารณูปโภค
 นโยบายภายใตฉันทามติวอชิงตันรังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ ได้สรุปสาระสำคัญของฉันทามติแห่งวอชิงตัน[3] ประกอบดวย 10 นโยบายที่มุงเนนการขยายบทบาทของกลไกตลาด และลดบทบาทในการแทรกแซงทางเศรษฐกิจของรัฐ ซึ่งปรากฏในบทความ "What Washington Means By Policy Reform" อันเป็นกำเนิดของฉันทามติวอชิงตัน ซึ่งเสนอต่อที่ประชุมการสัมมนาทางวิชาการเรื่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในละตินอเมริกา จัดโดยสถาบันเพื่อการเศรษฐศาสตรระหวางประเทศในเดือนพฤศจิกายน 2532 ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา บทความฉบับนี้ต่อมาได้ถูกตีพิมพ์ในหนังสือของ John Willamson (ed.), Latin American Adjustment : How Much Has Happened? (Washington,D.C. : Institute for International Economics, 1990) อันไดแก่นโยบายชุดที่ 1 ว่าด้วยวินัยทางการคลัง (Fiscal Discipline) วิลเลียมสันใช้คำว่า "วินัยทางการคลัง" ในความหมายอย่างกว้าง โดยเน้นการลดการขาดดุลทางการคลัง (Fiscal Deficit) มิได้ใช้ในความหมายอย่างแคบ ซึ่งเจาะจงให้หมายถึงการ ใช้งบประมาณสมดุล (Balanced Budget) อันเป็นแนวนโยบาย งบประมาณที่กองทุนการเงินระหว่างประเทศ พยายามกดดันให้ ประเทศในโลกที่สามดำเนินการ ประเทศในละตินอเมริกาและ ประเทศอื่นๆ ในโลกที่สามมักจะ มีการใช้จ่ายเกินตัว การใช้งบประมาณขาดดุล นอกจากจะสร้างแรงกดดันของเงินเฟ้อ และบั่นทอนฐานะความมั่นคงทางการคลังแล้ว ยังทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัด (Current Ac-count) ขาดดุลอีกด้วย การลดการขาดดุลทางการคลัง
จะก่อให้เกิดผลในทางตรงกันข้าม นอกจากฐานะการคลังมีความมั่นคงมากขึ้นและแรงกดดันเงินเฟ้อลดลงแล้ว ดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุลน้อยลงอีกด้วย
นโยบายชุดที่ 2 ว่าด้วยการจัดลำดับความสำคัญของรายจ่ายรัฐบาล ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับของจอห์น วิลเลียม สัน เสนอให้กำหนดแนวนโยบายงบประมาณที่สำคัญ 2 ประการ กล่าวคือ1)  รัฐบาลควรยกเลิกหรือลดการให้เงินอุดหนุน (Subsidy) เพราะการให้เงินอุดหนุนเกื้อกูลให้ความไร้ประสิทธิภาพดำรงอยู่ นอกจากนี้การให้เงินอุดหนุนยังบิดเบือนความได้ เปรียบเชิงเปรียบเทียบ (Comparative Advantage) อีกด้วย2) รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการจัดสรร งบประมาณด้านการศึกษาและการสาธารณสุข รวมตลอดจนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (Infrastructure) การใช้จ่ายด้านการศึกษาและการสาธารณสุขมีผลต่อการสะสมทุนมนุษย์ (Human Capital) ส่วนการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจจะมีผลเกื้อกูลการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมนโยบายชุดที่ 3 ว่าด้วยการปฏิรูปภาษีอากร (Tax Reform) ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอแนว ทางการปฏิรูปภาษีอากร 2 ประการ กล่าวคือ1) การปฏิรูประบบภาษีอากรควรเน้นการขยายฐานภาษี (Tax Base) มากกว่าการปรับอัตราภาษี (Tax Rate) การขยายฐานภาษีจะช่วยให้รัฐบาลมีรายได้เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากบุคคลธรรมดา นิติบุคคล และกิจกรรมทางเศรษฐกิจจำนวนมากมิได้อยู่ในความครอบคลุมของฐานภาษี การปรับอัตราภาษีมีผลกระทบต่อโครงสร้างสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจ โดยที่การขึ้นภาษีในอัตราสูงอาจเป็นสิ่งจูงใจให้มีการหลบเลี่ยงภาษี (Tax Evasion)2) อัตราภาษีส่วนเปลี่ยนแปลง (Marginal Tax Rate) ควรกำหนดให้อยู่ในอัตราต่ำ การเก็บอัตราภาษีส่วนเปลี่ยนแปลงในอัตราสูงมีผลลิดรอนสิ่งจูงใจทางเศรษฐกิจนโยบายชุดที่ 4 ว่าด้วยอัตราดอกเบี้ย ฉันทามติแห่งวอชิง ตันฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอแนวนโยบายอัตราดอกเบี้ย 2 ประการ กล่าวคือ1) อัตราดอกเบี้ยควรปล่อยให้เป็นเรื่องของกลไกตลาดการเงินภายในประเทศ รัฐบาลไม่ควรควบคุมอัตราดอกเบี้ย2) หากจะมีการกำหนดนโยบายอัตราดอกเบี้ย รัฐบาลควรดำเนินการให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real Interest Rate) มีค่าเป็นบวก ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง หมาย ถึงอัตราดอกเบี้ยในนาม (Nominal Interest Rate) หักด้วยอัตราเงินเฟ้อ หากอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบ นอกจากจะบั่นทอนสิ่งจูงใจในการออมแล้ว ยังอาจเป็นเหตุให้เงินทุนเคลื่อนย้ายออกนอกประเทศอีกด้วย ในกรณีตรงกันข้าม การที่อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าเป็นบวก ย่อมมีผลในการให้สิ่งจูงใจในการออม และยับยั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนออกนอกประเทศนโยบายชุดที่ 5 ว่าด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอให้ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่เกื้อกูลการแข่งขัน (Competitive Exchange Rate) ซึ่งวิลเลียมสันหมายถึง อัตราแลกเปลี่ยนที่เกื้อกูลการส่งออกนโยบายชุดที่ 6 ว่าด้วยการเปิดเสรีด้านการค้าระหว่างประเทศ (Trade Liberalization) ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอแนวนโยบายการค้าเสรี 2 ประการ กล่าวคือ1) การทำลายกำแพงภาษีศุลกากร (Tariff Barriers) ด้วยการลดอากรขาเข้าให้อยู่ในระดับที่ต่ำที่สุดเท่า ที่จะเป็นไปได้ ทั้งนี้เพื่อให้การค้าระหว่างประเทศเผชิญกับอุปสรรค ด้านภาษีศุลกากรน้อยที่สุด โดยที่การขยายตัวของการค้าระหว่างประเทศจะชักนำให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ2) รัฐบาลไม่ควรเก็บอากรขาเข้าจากสินค้า ขั้นกลาง (Intermediate Goods) ที่ใช้ไปในการผลิตเพื่อการส่งออก การเก็บอากรขาเข้าจากสินค้าขั้นกลางกระทบต่อต้นทุนการผลิต การที่ต้นทุนการผลิตอยู่ในระดับสูงย่อมบั่นทอน ฐานะการแข่งขันในตลาดโลก การเลิกเก็บอากรขาเข้าจากสินค้า
ขั้นกลางจะช่วยเสริมฐานะการแข่งขันดังกล่าวนี้
นโยบายชุดที่ 7 ว่าด้วยการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment) ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอให้รัฐบาลกำหนดนโยบายส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดยหวังผลประโยชน์สำคัญอย่างน้อย 2 ด้าน ด้านหนึ่งได้แก่ การไหลเข้าของเงินทุนจากต่างประเทศ (Capital Inflow) อีกด้านหนึ่ง ได้แก่ การถ่ายโอนเทคโนโลยีและทักษะระหว่างประเทศนโยบายชุดที่ 8 ว่าด้วยการถ่ายโอนการผลิตจากภาครัฐบาลไปสู่ภาคเอกชน (Privatization) ฉันทามติแห่งวอชิงตันฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอให้ลดบทบาทของรัฐบาลในด้านการผลิต สินค้าและบริการต่างๆ โดยตรง โดยการถ่ายโอนหน้าที่การผลิตไปให้ภาคเอกชน ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการดำเนินนโยบายดังกล่าว นี้ นอกจากจะช่วยลดขนาดและบทบาทของรัฐบาลแล้ว ยังอาจช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประกอบการอีกด้วย เหตุผลที่วิลเลียมสันมองการณ์ในด้านดีจากนโยบายการถ่ายโอนการผลิตไปสู่ภาคเอกชน ก็คือ วิสาหกิจเอกชนมีความเป็นเจ้าของ (Ownership) และความรับผิด (Accountability) ชัดเจนมากกว่ารัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารรัฐวิสาหกิจ แม้โดยนิตินัยมีส่วนเป็นเจ้าของรัฐวิสาหกิจ แต่โดยพฤตินัยมิได้สำนึกถึงความเป็นเจ้าของดังกล่าว การบริหารจัดการจึงมิได้ทุ่มเทและรับผิดมากเท่าผู้เป็นเจ้าของในวิสาหกิจเอกชนนโยบายชุดที่ 9 ว่าด้วยการลดการควบคุมและการกำกับ (Deregulation) ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอให้รัฐบาลลดการควบคุมและการกำกับระบบเศรษฐกิจและกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทั้งนี้โดยให้เหตุผลว่า การควบคุมและการกำกับมากเกินไป นอกจากจะต้องเสียต้นทุนสูง โดยที่อาจไม่คุ้มกับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้แล้ว ยังเกื้อกูลการฉ้อราษฎร์บังหลวง และเปิดช่องให้ผู้มีอำนาจใช้อำนาจในทางฉ้อฉล เพื่อผลประโยชน์ส่วนบุคคลอีกด้วย ในประการสำคัญ ผู้ประกอบ วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก ซึ่งเป็นจักรกลสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจในโลกที่สาม โดยทั่วไปแล้วไม่สามารถเข้าถึงผู้มีอำนาจ ในขณะที่กลุ่มทุนขนาดใหญ่สามารถหลุดพ้นจากกระบวนการควบคุมและกำกับของรัฐบาลได้ ทั้งนี้โดยอาศัยประโยชน์จากความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์นโยบายชุดที่ 10 ว่าด้วยกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน (Property Rights) ฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน เสนอให้กำหนดกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ชัดเจน (Property Rights Assignment) ความไม่ชัดเจนในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน นอกจากจะก่อให้เกิดความไม่ชัดเจนในความเป็นเจ้าของแล้ว ยังสร้างความไม่ชัดเจนในความรับผิดอีกด้วย ความไม่ชัดเจนในกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ความหย่อนยานในการบังคับใช้กฎหมาย และความไร้ประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรม ทำลายสิ่งจูงใจในการออมและในการสะสมทรัพย์สิน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการเติบโตของระบบทุนนิยมฉันทามติแห่งวอชิงตัน ฉบับจอห์น วิลเลียมสัน ประกอบ ด้วยนโยบาย 10 ชุด ดังที่กล่าวข้างต้นนี้ เพียงชั่วเวลาทศวรรษเศษ ฉันทามติแห่งวอชิงตันก็แปรสภาพเป็นนโยบายเศรษฐกิจโลก (Global Economic Policy) และเป็นประเด็นแห่งวิวาทะทั้งในวงวิชาการและในทางการเมือง แต่อย่างไรก็ตาม
ฉันทามติแห่งวอชิงตันในทศวรรษ 2540 ก็ได้รับการตีความหรือการนำไปใช้งานแตกต่างจากฉบับที่จอห์น วิลเลียมสัน นำเสนอ ในปี พ.ศ. 2532 เป็นอันมาก[4] จนมีผู้กล่าวไว้ว่าแม้ชุดนโยบายจากวอชิงตัน จะมีสถานะเป็นฉันทามติในยุทธศาสตร์การพัฒนากระแสหลักของโลก ในหมู่ผู้ดำเนินนโยบาย แต่ "ฉันทามติแห่งวอชิงตัน" กลับมีสถานะเป็นข้อถกเถียงในวงวิชาการเศรษฐศาสตร์ จนอาจกล่าวได้ว่า "ไม่มีฉันทามติในฉันทามติแห่งวอชิงตัน" ในวงวิชาการ
[5]
ฉันทามติวอชิงตันจึงตกเปนเปาของการวิพากษวิจารณอยางสูงจากบุคคลหรือกลุมบุคคลที่สนับสนุนลัทธิชาตินิยมทางเศรษฐกิจ (Economic Nationalism) และจากกลุมผูตอตานลัทธิทุนนิยม (Anti-capitalism) กลุมบุคคลเหลานี้มองวา ฉันทามติวอชิงตันมีความสัมพันธอยางใกลชิดยิ่งกับแนวคิดเสรีนิยมใหม (Neo-liberalism or Market Fundamentalism) อันเปนแนวคิดที่
กระตุนและสนับสนุนตลาดเสรี (
Free-market) ลดทอนการแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจจากภาครัฐ และสนับสนุนใหวิสาหกิจทั้งหลายที่ดําเนินการโดยรัฐแปรรูปไปเปนของเอกชน (Privatization) อีกทั้งยังผลักดันใหเกิดการขยายตัวของบรรษัทขามชาติ(Multi-national corporation) อีกดวย กลุมผูไมสนับสนุนเชื่อมั่นวาผลของการดําเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจภายใตนโยบายดังกลาวจะนําพาเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนาไปสูหายนะในทายที่สุด
ประเด็นของผูที่ปฏิเสธฉันทามติวอชิงตันประเทศในกลุมละตินอเมริกาบางประเทศ อาทิ อารเจนตินา เวเนซูเอลา คิวบา และเอกวาดอร เปนกลุมประเทศที่คัดคานการปฏิบัติตามเงื่อนไขของฉันทามติวอชิงตันโดยตางก็อางวากลุมประเทศพัฒนาแลวยัดเยียดนโยบาย 10 ประการภายใตฉันทามติวอชิงตันผานทางกฎเกณฑขององคการระหวางประเทศ อาทิเชน ธนาคารโลก องคการการคาโลกและกองทุนการเงินระหวางประเทศ ซ้ำยังผานทางแรงกดดันทางการเมืองและระบบศักดินาขามชาติ นอกจากนี้ ยังอางวาฉันทามติวอชิงตันมิไดกอใหเกิดความเจริญทางเศรษฐกิจหากแตกอใหเกิดหนี้สิน และความลมเหลวทางการเงินของประเทศในกลุมละติน
อเมริกา เนื่องจากนโยบายการสงเสริมการคาเสรี ภายใตฉันทามติวอชิงตันกอใหเกิดการเคลื่อนย้ายขามแดนอยางเสรีเฉพาะตัวสินคาเทานั้น หากแตมิไดกอใหเกิดความเคลื่อนไหวย้ายเสรีของแรงงานตามไป
ดวย จากขอบกพรองดังกลาว จึงกอใหเกิดสภาวการณที่สินคาไดรับการผลิตดวยแรงงานราคาถูกในประเทศยากจน ตอมาสินคานั้นถูกลําเลียงไปขายยังประเทศที่มีความแขงแกรงทางเศรษฐกิจ
อันเปนประเทศเจาของเงินทุน โดยผูนําเขาสินคาจะขายสินคาในราคาที่สูงกวาตนทุนหลายเทา
ขอเสียของระบบดังกลาวไดแก ประการแรก กลุมผูใชแรงงานในประเทศดอยพัฒนา หรือประเทศกําลังพัฒนาก็ยังคงสถานะทางเศรษฐกิจที่ยากจนเชนเดิม เนื่องจากไดรับคาจางในราคาถูก ประการที่สอง เจาของเงินทุนก็ยิ่งสามารถตักตวงกําไรจากสวนตางระหวางราคาขายของสินคากับตนทุนและทําใหเกิดการขยายตัวของบริษัทขามชาติ บนความไมเปนธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ ประการที่สาม
ผูบริโภคในประเทศพัฒนาแลวยังคงตองบริโภคสินคานําเขาในราคาที่สูงอยูเชนเดิม ประการที่สี่ กลุมผูใชแรงงานในประเทศพัฒนาแลวอันเปนกลุมแรงงานราคาแพงตองเผชิญกับสภาวะการวางงาน
นอกจากนี้ฝายคานยังมีความเห็นวา นโยบายการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ การปฏิรูปทางภาษี และการที่รัฐปลอยใหเอกชนดําเนินธุรกรรมทางเศรษฐกิจโดยไมมีการกํากับดูแล เปนนโยบายการเปดเสรี
สุดโตงอันจะกอใหเกิดประโยชนแกประเทศที่มีความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจเปนทุนเดิมอยูแลวเทานั้น แตไมสามารถนํามาปรับใชกับประเทศกําลังพัฒนาไดในทันที เนื่องจากประเทศเหลานี้ยัง จําเปนตองอาศัยการแทรกแซงของรัฐเพื่อสรางสนามแขงขันที่เทาเทียมกันระหวางกลุมผูมีเงินทุนหนากับกลุมผูที่เริ่มกอตั้งธุรกิจ
 ประเด็นของผูสนับสนุนฉันทามติวอชิงตันในขณะที่มีผูออกมาประกาศตัวเปนฝายคานแนวความคิดของจอหน วิลเลียมสัน อยางชัดเจน
ก็มีหลายฝายที่ออกมาปกปองและสนับสนุนฉันทามติวอชิงตัน อาทิเชน ประเทศชิลี เปรู อุรุกวัย และบราซิล โดยกลุมผูสนับสนุนกลาววา นับแตประเทศของตนดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจตามแบบฉันทามติวอชิงตัน ประเทศของตนมีอัตราเงินเฟอคงที่อยูในระดับต่ำที่สุดในรอบหลายทศวรรษที่ผานมา แรงงานที่ทํางานในโรงงานที่ถือครองโดยบริษัทขามชาติไดรับเงินเดือนที่มากกวาที่เคยเปนอยู กอปรกับมีสภาพการจางงานที่ดีกวาเดิม สภาพการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมมีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุดเปนประวัติการณ แมจะยังมีความยากจนและความไมเทาเทียมในสังคมใหเห็นอยูบางก็ตาม
หากทําการศึกษาพัฒนาการทางเศรษฐกิจของประเทศชิลี บราซิล เอลซาวาดอรและอุรุกวัย
จะพบวาประเทศเหลานี้เปนตัวอยางความสําเร็จของฉันทามติวอชิงตัน เนื่องจากมีการแสดงสัญญาณในเชิงบวกของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ แมจะมีการเจริญเติบโตในอัตราที่ชาไปบาง แตระดับความยากจนของประเทศเหลานั้นก็ลดลง
ขอสังเกตอีกประการหนึ่งที่ฝายผูสนับสนุนฉันทามติวอชิงตันชี้ใหเห็นคือ แมประเทศที่ไมเห็น
ดวยกับกับฉันทามติฉบับดังกลาว จะหันไปใชวิธีอื่นในการดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจ แตในทางปฏิบัติประเทศเหลานี้ก็มิได ดําเนินนโยบายที่มีเนื้อหาสาระแตกตางไปจากฉันทามติวอชิงตันมากนัก อีกทั้งเมื่อสถานะทางการเงินของประเทศเหลานั้นมีความมั่นคงมากขึ้น ประเทศเหลานั้นก็กลับยืนยันที่จะดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจตามเดิม จุดนี้สะทอนใหเห็นวา ปจจุบันยังไมมีนโยบายทางเศรษฐกิจใดที่ดีไปกวา
10 นโยบายตามฉันทามติวอชิงตันฉันทามติวอชิงตันลมเหลวจริงหรือหลังจากที่หลายฝายออกมาวิพากษวิจารณแนวคิดของจอหน วิลเลียมสัน เจาของแนวคิดการรวมนโยบาย 10 ประการไวภายใตฉันทามติวอชิงตัน วิลเลียมสันก็มิอาจนิ่งดูดาย และออกมาปกปองแนวคิดของตน ดังนี้หลักที่สําคัญที่สุดของฉันทามติวอชิงตัน คือ การมีวินัยในการดําเนินเศรษฐกิจแบบตลาด และการเปดเสรีสูตลาดโลก อยางนอยที่สุดใหมีการปรับใชหลักนี้กับการคาและการลงทุนโดยตรงจากตางประเทศ (Foreign direct investment -FDI) อันเปนแนวทางที่ไดรับการยอมรับจาก
กลุมประเทศสมาชิกองค์กรความร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ
(Organization for Economic Cooperation and Development -OECD)[6] อยูแลว
นักวิชาการในปจจุบันที่ไดวิจารณแนวความคิดฉันทามติวอชิงตัน โดยเฉพาะ ศาสตราจารย์ ดร. โจเชฟ สติกลิทซ์ (Joseph E. Stiglitz) ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ผู้ได้รับรางวัลโนเบล สาขาเศรษฐศาสตร์ในปี ค.ศ. 2001 ก็มิไดปฏิเสธหลักการดังกลาว หากแตการมีการขยายขอบเขตการวิพากษวิจารณออกไปยังประเด็นที่ วิลเลียมสันเองจงใจที่จะไมนํามารวมไวภายใตฉันทามติวอชิงตัน อาทิ การเปดเสรีบัญชีเงินทุนMonetarism เศรษฐศาสตรฝงอุปทาน (Supply-side economics) และการใหรัฐมีบทบาทนอย (Minimal state) เนื่องจากเห็นวามิใชแนวทางที่เหมาะสมสําหรับประเทศกําลังพัฒนานอกจากนี้ ในทางปฏิบัติของประเทศแถบละตินอเมริกา ไดมีการตีความฉันทามติวอชิงตัน มากไปกวาที่วิลเลียมสันไดจงใจใหหมายความรวมถึง อันสงผลใหเกิดความลมเหลวหรืออยางนอยก็
สงผลใหประเทศในกลุมนี้ประสบกับความผิดหวัง เนื่องจากฉันทามติวอชิงตันไมกอใหเกิดการเติบโต การจางงานหรือลดความยากจนเทาที่ควร
เหตุเหลานี้ไมอาจนํามากลาวไดอยางเต็มที่วาเปนความลมเหลวที่เกิดมาจากฉันทามติวอชิงตันโดยเฉพาะในกรณีของประเทศอารเจนตินา ซึ่งนายวิลเลียมสันไดระบุวาไมอาจอางไดเลย วาไดมีการนําฉันทามติวอชิงตันมาใช เพราะแมอารเจนตินาจะมีการปรับปรุงโครงสรางภายในพอสมควรแตก็ไดทํา
ผิดอยางมากในสองกรณี คือ การมีนโยบายเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ไมแขงขัน และนโยบายทางการเงินการคลังที่ไมเข็มแข็ง ทั้งสองกรณีนี้ตรงกันขามกับแนวความคิดฉันทามติวอชิงตันอยางสิ้นเชิงสวนในประเทศอื่นๆ ความลมเหลวของฉันทามติวอชิงตันสามารถพิจารณาไดวา เกิดจากสาเหตุตางๆ ดังนี้
1. การเกิดวิกฤติเศรษฐกิจขึ้นเปนชวงๆ นับตั้งแตป ค.ศ. 1994 (พ.ศ. 2537) ทําลายการเจริญเติบโตของตลาดที่เกิดขึ้นใหม แมจะเปนความจริงที่ฉันทามติวอชิงตันมิไดกลาวถึงแนวทางในการหลบเลี่ยงปญหาดังกลาว หรือแมกระทั่งมิไดเตือนวาอาจมีเหตุการณดังกลาวเกิดขึ้นได แตในกรณีนี้
วิลเลียมสัน ไดใหความเห็นวา ประเทศตางๆไมควรที่จะนําฉันทามติวอชิงตันมาใชโดยไมคํานึงถึงสภาพการอื่นๆ เพราะฉันทามติวอชิงตันเปนเพียงแนวความคิดในเชิงเสนอแนะในการกําหนดนโยบายของรัฐเทานั้น
2. การดําเนินการจัดระบบเศรษฐกิจของรัฐไมไดเกิดขึ้นอยางจริงจังและสมบูรณโดยเฉพาะในสวนของการตลาดแรงงาน ตลาดการเงินการคลังและการเสริมความแข็งแกรงใหสถาบันทางการเงิน3. การตีความวัตถุประสงคของฉันทามติวอชิงตันแคบเกินไป โดยเฉพาะการเรงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงอยางเดียว โดยไมคํานึงถึงการกระจายรายไดอยางมีประสิทธิภาพ
ในสวนนี้วิลเลียมสัน เห็นวาเปนสวนสําคัญที่จะเสริมใหฉันทามติวอชิงตันไม่ประสบความสําเร็จ[7]
 มุมมองและทัศนะของนักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียงต่อการนำฉันทามติวอชิงตันมาประกอบการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศศาสตราจารย์ เฌราร์ด  โปโกแรล (Gerard Pogorel) นักเศรษฐศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ประจําสถาบัน Ecole National Superieure des Telecommunications แหงสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในคราวบรรยายทางวิชาการเฉลิมพระเกียรติ ครั้งที่ 3 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมี
พระชนมายุครบ 80 พรรษา เรื่อง
“National Economic Policy Preferences and the End of Washington Consensus” เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2550 เวลา 09.00-12.00 น. ณ อาคารหอประชุมชั้น 2 สำนักงานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ได้ให้มุมมองและทัศนะต่อการนำฉันทามติวอชิงตันมาประกอบการวางนโยบายเศรษฐกิจของประเทศ ไว้ดังนี้
1. ระดับของการวางแผนเศรษฐกิจของประเทศนั้น ประกอบด้วย 3 ระดับคือ                   (1) ระดับการเติบโตของเศรษฐกิจมหภาค (Macro Economic growth)                   (2) ระดับสถาบันภาคการผลิต และการมุ่งเน้นสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Productive institutions and Incentives to economic growth)                   (3) ระบบกลุ่มอุตสาหกรรม (Industrial Choices (Sectoral))          2. ในระดับการเติบโตของเศรษฐกิจมหภาค สิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการคือ                   (1) การลงทุนทางด้านการศึกษาจะต้องมีความสอดคล้องกับวินัยด้านการงบประมาณ (Education investments compatible within budgetary discipline)                   (2) ปฏิรูปการยกระดับและเพิ่มผลิตภาพของประเทศ (Productivity-boosting reforms)                   (3) การจัดทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนโดยตรง (Direct Programs to support the poor)          3. ในระดับสถาบันภาคการผลิต และการมุ่งเน้นสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจ สิ่งจำเป็นที่ต้องคำนึงถึงในการดำเนินการคือ                   (1) เสริมสร้างบรรยากาศในการลงทุน (Improving the investment climate)                   (2)  ยกเลิกหรือลดข้อจำกัดขอ


หมายเลขบันทึก: 156247เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2007 17:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 03:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท