..งง.. กับ หัวข้อประชุม จัง อิอิ...


(ปัญหาการอ่านออก เขียนได้) หรือ (ปัญหาการอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้)

สวัสดีชาว G2K ทุกท่าน       

        ไม่ได้เข้ามาบันทึกในบล็อกนี้นานพอสมควร  ถ้าจะถามว่า เพราะเหตุใด  คำตอบคงเป็นแค่ข้ออ้าง ที่ใคร ๆ ก็สามารถ พูด หรือแก้ตัว ได้  เลยไม่ขอบอกสาเหตุ จะดีกว่า ..อิอิ..       

        วันนี้ ได้มีโอกาสเข้าประชุม/สัมมนา กับผู้บริหาร  3 กลุ่มโรงเรียน ใน จ. ยะลา   เกี่ยวกับ การแก้ไขปัญหานักเรียนอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6    หลังจากที่  เมื่อภาคเรียนที่ผ่านมา เราได้ทำการประชุม และปรึกษาหารือ ในหัวข้อเดียวกัน เพียงแต่เป็นชั้นที่ต่างกัน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  ทั้งนี้ เพื่อหามาตรการ แก้ไขปัญหาดังกล่าว   ซึ่งเป็นปัญหาที่เราทุกคน ตระหนักอยู่เสมอว่า  ควรจะนำมาเป็น ปัญหา ระดับ ต้น ๆ ของการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ของเรา ชาว 3 จว. ชายแดน ด้วยซ้ำไป

         จากการประชุม ปรึกษาหารือเกี่ยวกับ ปัญหา ดังกล่าว ได้มีผู้บริหาร และครูหลาย ๆ ท่าน ให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะ ที่เป็นประโยชน์  และ สามารถนำมาเป็นแนวทางที่ดี ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว  

        หากจะพูดไปแล้ว การประชุมครั้งนี้  อาจมีความจริงจัง หรือ ซีเรียส น้อยกว่าเมื่อครั้งที่ผ่านมา  เนื่องจาก เป็นเรื่องสืบเนื่อง จากเมื่อครั้งที่แล้ว  เราจึงมีประสบการณ์การ หรือแนวคิดที่หลากหลาย และ ดีกว่าเก่าเพื่อนำมาแก้ปัญหา

        ผลการประชุม / สัมมนานั้น จะ นำมาบอกเล่า และรายงาน ท่านผู้อ่าน และสมาชิก G2K ในบันทึกต่อไป  แต่วันนี้ เรามีประเด็น ที่ถกเถียงกัน ( พอหอมปากหอมคอ  และสนุกสนาน กันใน องค์ประชุม   ^_^) 

        นั่นก็คือ หัวข้อของการประชุม  อิอิ... น่าแปลกมั๊ยนี่...

        การประชุม/สัมมนา เพื่อแก้ไขปัญหา การอ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

        นี่คือ หัวข้อของ การประชุม  ค่ะ

        แต่มี ผู้เข้าร่วมประชุมบางท่าน เกิดความคิดที่ แตกต่างไป หรือ อย่างไร ไม่ทราบ  อิอิ..  ท่านว่า  ท่านข้องใจมานานแล้ว กับหัวข้อนี้ เพราะเคยได้ยินบางท่านพูดอีกแบบหนึ่ง.   น่าจะเปลี่ยนหัวข้อ เป็น

        การประชุม/สัมมนา เพื่อแก้ไขปัญหา การอ่านออก เขียนได้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มากกว่า

        อืม !!..  ก็น่าคิดนะค่ะ .. 

        ท่านคิดอย่างไรกับประเด็นนี้บ้าง ?????

        ช่วยคิดกันหน่อยค่ะ...........     

                             “JasmiN”

หมายเลขบันทึก: 156119เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2007 23:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

เอาเวลคิดเรืองอื่นดีกว่า ความเข้าใจตรงกันก็ใข้ได้แล้ว 

  • ผมเองรู้สึกท้อแท้กับระบบการศึกษาของ3 จชต มาโดยตลอด ปัญหาทั้งหมดเกิดจากการศึกษานั้นแหละ
  • 1 แยกส่วน ปอเนาะ  ตาดีกา โรงเรียนในระบบของรัฐ
  • 2 ไม่รูจะโทษใครดี 3 คนนี้ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง
  • 3 ใครปล่อยให้เด็กผ่านมาได้ถึงป.6 ทั้งที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ วันหนึ่งสอนกี่ชั่วโมง (เด็กไม่เข้าห้อง บังคับไม่ได้ เด็กไม่สนใจ เด็กซ้ำชั้น ครู...รับผิดชอบ.)
  • 4ยังมีอีกมากมาย...ใครจะแก้ 
  • ขอโทษด้วยที่พูดความจริง
  • สวัสดีครับ
  • ตอนนี้เด็กมหาวิทยาลัย อ่านได้แต่เขียนไม่ค่อยถูก
  • ส่วนหนึ่งมาจากการนำเอาภาษาพูดมาใช้กับภาษาเขียนจนปนเปกันไปหมด ...
  • ............
  • นึกแล้วก็อดคิดถึงสมัยเด็ก ๆ  ที่เคยเขียนตามคำบอกของครู  ... เสร็จแล้วก็ลุ้นว่าถูกกี่คำ ... ได้กี่คะแนน
  • รวมถึงการอ่านหนังสือด้วยเสียงอัน พร้อมเพรียงกับเพื่อนในห้องราวกับนกขุนทอง
  • แต่เหล่านั้น  ก็เป็นผลให้อ่านออก เขียนได้ 

สวัสดีครับอาจารย์ JasmiN...

มาเป็นกำลังใจให้อาจารย์ ... เด็กเหนือก็มีปัญหาเรื่องการเขียนอ่านภาษาไทยไม่ได้ เหมือนกันนะครับ  และค่อนข้างมากด้วย ที่ครูสุอยู่ก็มีเด็กชาวเขา เช่น กะเหรี่ยง มูเซอ ลีซอ ไทยใหญ่  สอนภาษาไทยเด็กพวกนี้ยากมาก ๆ (เผอิญว่าครูสุสอนภาษาไทยด้วย) ครูสุต้องให้เด็กเขียนตามคำบอกทุกชั่วโมงที่สอน และจับสลากอ่านหน้าห้อง (แต่จริง ๆ ล็อคคนที่ไม่เก่งเอาไว้) ก่อนเรียนหนังสือ แถมการบ้านเป็นคัดไทย (คำที่อ่านไม่ออกนั่นแหละ)

ไม่รู้สถานการณ์ภาคใต้เป็นอย่างไรบ้าง  ขอเป็นกำลังใจให้ภาคใต้มีสันติสุข และขอให้อาจารย์จงปลอดภัยและมีความสุขความเจริญ สวัสดีปีใหม่ด้วยนะครับ

สวัสดีค่ะ ท่านพี่ไมตรี  P

 

  • การศึกษาเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องมาช่วยกันคิดแก้ไข ใช่ว่าเป็นหน้าที่ขอผู้สอนฝ่ายเดียว 
  • ในฐานะผู้ที่อยู่ในวงการศึกษามานาน ทราบดีว่าทุกคน ในหน่วยงานก็พยายามในทุก ๆ วิถีทางที่จะแก้ไขปัญหา  แต่ใช่ว่าทุกแนวทาง ทุกวิธี จะประสบผลสำเร็จ เพราะทุกอย่างขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกฝ่าย
  • 3 จว. ชายแดน ดูเหมือน จะถูกมองในแง่ลบ เรื่องของการศึกษา โดยเฉพาะ ในช่วงระยะหลัง ๆ มานี้  อาจด้วยสถานการณ์ความไม่สงบ และปัจจัยอื่นอีกหลาย ๆ ประการ
  • ยกตัวอย่าง ง่าย ๆ นะค่ะ ท่านพี่ไมตรี  ร.ร. ที่ถูกเผา คำว่า  "ถูกเผา"  เป็นคำแค่ 2 คำ แต่ 2 คำนี้ เป็น 2 คำที่ สร้างผลกระทบอย่างมากมาย ต่อ นร. ในโรงเรียนนั้น (อาจกระทบไปจนถึง ร.ร.ข้างเคียง)

            - นักเรียนไม่มีที่เรียน

            - นักเรียนไม่มีหนังสือเรียน / อุปกรณ์การเรียน

            - นักเรียนขาด......  ฯลฯ

            - สภาพจิตใจของนักเรียนที่ต้องมานั่งมองดูซากปรักหักพังของห้อง ที่เคยนั่งเรียนเมื่อวาน

            - สภาพจิตใจของครูผู้สอน กับการสูญเสียห้องเรียน สถานที่ทำงาน โดยเฉพาะเอกสาร/หลักฐานสำคัญต่าง ๆ ที่ได้เก็บสะสมมาเป็นสิบ ๆ ปี

            - เมื่อวานโรงเรียนถูกเผา วันนี้นักเรียนจะเรียนที่ไหน.. ? กลางแจ้ง ? กลางสนามฟุตบอล ? ใต้ต้นไม้ข้างอาคารที่เพิ่งถูกเผา ควันจาง ๆ ? ...........?  ...ฯลฯ ?

            - สภาพจิตใจ ของทั้ง ครู  น.ร. ผู้ปกครอง ในขณะที่นั่งมองดู รร. ที่เมื่อวานได้นั่งเรียน นั่งเล่น นั่งอ่าน นั่งท่องสูตรคูณ ฯลฯ....วันนี้ เหลือเพียงแต่ เสาปูนดำ ๆ เศษไม้ไหม้ ๆ   เถ้าถ่าน..... 

            - ภาพที่จำได้ในวันนั้น ทุกคนอยู่ในอาการเหงาหงอย ในแววตาทุกดวงปริ่มไปด้วยหยดน้ำแห่งการสูญเสีย หยาดน้ำตาแห่งความโศกเศร้า  หลาย ๆ คน กอดกันร้องระงม  ไร้คำพูด  ไร้เสียงบรรยาย มีแต่เสียงสะอื้น แห่งความสูญเสีย   

            - โรงเรียนที่กำลังสอนอยู่ในเวลานี้ ก็เคยประสบกับเหตุการณ์แบบนี้มาก่อน กว่าเราจะได้อาคารใหม่ มาแทน 1 หลัง เราต้องแลกกับความอดทน นานัปการ

            - กว่า  ร.ร. จะกลับมาสู่สภาพที่พร้อมจะทำการเรียนการสอน (ซึ่งแน่นอนไม่เท่าเดิม) เราก็ต้องใช้เวลาในการปรับปรุง ปรับตัว ปรับใจ ทั้งครูและ นร. รวมถึงผู้ปกครอง

            - และ  ฯลฯ

  • และนี่คงเป็น 1 ในเหตุผลกระมังค่ะ ที่เรา..  เหล่าผู้ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิดในแวดวงการศึกษานี้ ต้องพากันไประดมพลังสมอง และแก้ไขปัญหานานัปการ รวมถึง การอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ของนักเรียนที่แสนจะน่าสงสารเหล่านั้น

                                         "JasmiN"

 

 

 

สวัสดีค่ะ อ.แผ่นดิน P

 

  • เคยเจอเหมือนกันค่ะ กรณีเด็กในมหาวิทยาลัยอ่านไม่ค่อยได้ เขียนไม่ค่อยถูก  ซึ่งก็คงต้องปรับปรุง และพัฒนากันต่อไป 
  • คงจะไม่แปลกมากมายอะไร หากจะมาเจอกรณีเดียวกันกับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หรือ 6
  • ............
  • นึกแล้วก็อดคิดถึงสมัยเด็ก ๆ  ที่เคยเขียนตามคำบอกของครู  ... เสร็จแล้วก็ลุ้นว่าถูกกี่คำ ... ได้กี่คะแนน
  • รวมถึงการอ่านหนังสือด้วยเสียงอัน พร้อมเพรียงกับเพื่อนในห้องราวกับนกขุนทอง
    • ตอนไปประชุมในเรื่องนี้ มีหลาย ๆ ท่านให้ข้อเสนอแนะ เหมือนกันกับที่อาจารย์ เล่าเลยค่ะ
    • ซึ่งจะมีเขียนในบันทึกต่อไป
    • ขอบคุณมากค่ะ

                                          "JasmiN"

     

    สวัสดีค่ะ ครูสุ P

     

    • ขอบคุณ ครูสุ มากนะค่ะ สำหรับกำลังใจที่เดินทางมาไกล นับพันลี้
    • ปัญหาที่ ครูสุ เจอ กับ นร. คง จะไม่แตกต่างจากปัญหาที่ ผู้เขียนเจอ แต่แค่คนละเหตุการณ์ และสถานการณ์กัน แค่นั้นเอง
    • มีหลาย ๆ อย่างที่เหมือน ๆ กัน นะค่ะนี่  ครูภาษาอังกฤษ  สอนภาษาไทย  ^_^
    • ผู้เขียนยังเคยสอน ทั้ง  ภาษาอาหรับ  ภาษามลายู  และภาษามาเลเซีย   ( รู้แบบ snake ๆ  fish ๆ ค่ะ อิอิ.. แต่สอนแบบจริงจังนะค่ะ ครูสุ  ^_^ )
    • ขอบคุณอีกครั้งสำหรับกำลังใจจากครูสุค่ะ

                                                  "JasmiN"

     

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท