ตามรอยโบราณสถานจากโบราณคดี (๑) : อโรคยาศาล


สถานพยาบาล ๑๐๒ แห่ง ทั่วราชอาณาจักรขอม ในปัจจุบันมีการค้นพบอโรคยาศาลดังกล่าวแล้วราว ๓๐ แห่ง

    จากการที่ผมได้เดินทางไปทัศนศึกษา อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม ร่วมกับคณะของพ่อครูบาสุทธินันท์ ปรัชญพฤทธิ์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2550 ที่ผ่านมานั้น และมีสถานที่แห่งหนึ่งที่ทำให้ติดตาตรึงใจ เพราะว่าสนใจประวัติศาสตร์โบราณคดีด้านนี้มานานแล้ว

ตั้งแต่เด็ก ที่หน้าบ้านมี กองหิน สูงใหญ่ เวลาค่ำคืนผู้คนรวมทั้งตัวผมเองไม่ค่อยจะกล้าเดินผ่านลำพังเพียงคนเดียว เวลาจะเข้าไปในสวนซึ่งเมื่อก่อนปลูกน้อยหน่า สับปะรด มะพร้าว และมีตาลอยู่หนึ่งต้น

ยังไม่ทันเรียนจบชั้นประถมที่โรงเรียนชุมชนบ้านพลับพลา ต.พลับพลา อ.โชคชัย จ.นครราชสีมา

คืนหนึ่งมีการลักลอบขุด  กองหิน  นี้ลึกลงไปมาก แล้วยกแผ่นหิน ก้อนหิน ขนาดใหญ่ออกมาวางเรียงรายอยู่บริเวณรอบปากหลุม มีรอยจุดเทียน ชาวบ้าน ครู อาจารย์ รวมทั้งผมด้วยมามุงดูต่างวิจารณ์กันต่างๆนาๆ

ส่วนตัวผมนั้น ก็เพียงแต่คิดเฉยๆ ว่าคงเป็นคนชอบสะสมก้อนหินกระมัง ที่มาขุด ไม่มีอะไร ก็แต่งตัวไปโรงเรียนตามปกติ

สายๆครูใหญ่ เอารถจิ๊ป พานักเรียน ภารโรง มาช่วยกันชักลาก ก้อนหินบางส่วนไปไว้ที่โรงเรียน ก็ดูสวยดี บางครั้งนักเรียนรวมทั้งตัวผมด้วยก็เอาดินสอหินเขียนกระดานชนวนไปฝน สะดวกสะบาย โดยไม่คิดหรอกว่า นั่นคือโบราณวัตถุที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ที่น่าถนุถนอม

Collage3
ส่วนที่นำมาไว้ที่โรงเรียนมีทั้งเชิงเทียนหรือน้ำมนต์ ยอดปรางค์ หน้าบัน

ทำไมบ้านเรา ตำบลนี้ จึงชื่อว่าตำบลพลับพลา

ไม่มีใครสนใจ ไม่มีใครดูแลหกองหินที่เหลืออยู่ บางวัดมีแรงมีกำลังก็มายกเอาไปเฉย

จนไม่เมื่อไม่กี่ปีมานี้ผู้ใหญ่นวน ครึบกระโทก มีศักดิ์เป็นอา และครูบุญธรรมพี่เขย ได้ทำหนังสือถึงกรมศิลปรากรให้มาตรวจสอบ เวรคืนที่ดินรอบๆกองหินนี้ และขึ้นบัญชีเป็นเขตโบราณสถาน มีการจัดงานทำบุญบรวงสรวงกันเรื่อยมาเมื่อ 2-3 ปีนี้เอง

จากการเข้าไปค้นหาตามเว็บไซด์ต่างๆที่เกี่ยวกับโบราณคดี หรือโบราณสถานก็ยังไม่มีกล่าวถึง ปรางค์ประสาทหินของบ้านพลับพลา ทั้งๆที่ขึ้นทะเบียนแล้ว และบริเวณใกล้ๆกันไม่กี่กิโลเมตร ปรางค์พะโค ก็ยังเห็นร่องรอยอยู่ และที่เฉลียวใจอีกอย่าง หมู่บ้านติดกันชื่อบ้านปรางค์น้อย เหลือเสาหินอยู่นิดหน่อย เพราะว่าทั้งปราสาทหินเหล่านี้อยู่ใจกลางชุมชน มีการแพร้วถางที่ดินทำกินอยู่ทุกปีๆ คงจะเสื่อมสลายมาตามกาลเวลา

เมื่อครั้งพาแม่บ้านที่เรียนปริญญาเอก ไปทำวิจัยภาคสนาม ณ หมู่บ้านแห่งนี้ สอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ได้คำตอบมาต่างๆกัน

มีเพียงหนังสืออยู่ฉบับหนึ่งซึ่งทำแจกเมื่อครั้งงานศพของเจ้าคณะอำเภอ พอจะยึดถือได้บ้าง เพราะว่าผู้เขียนคือพระมหาเปลื้อง ท่านนั้นเป็นลูกศิษ์ของพระมหาววีระวงค์(สวงค์) ซึ่งท่านเป็นถึงเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมาและเป็นอาจารย์ของพระมหาเปลื้อง

ท่านกล่าวไว้ว่า พลับพลา หรือ ประสาทหินแห่งนี้ เป็นที่พักของพระเจ้าชัยวรมันที่6 ขณะออกมาล่าสัตว์ เมื่อครั้งประทับอยู่ที่ปราสาทหินพิมาย

ส่วนผู้เฒ่า ผู้แก่ชาวบ้านบางคน บอกว่าเป็นเส้นทางเดินทัพของกษัตริย์ เมื่อครั้งมาปราบพวกข้าศึก และพักแรมอยู่ด้านทิศตะวันตกของหมู่บ้าน

ส่วนคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่แก่มากบอกว่า เมื่อก่อนหมู่บ้านเรานี้มีต้นพลับพลามาก ทางการจึงตั้งชื่อนี้ขึ้นมา

เป็นอันว่ายังหาข้อสรุปไม่ได้สักอย่างเดียว แต่ที่แน่ๆ ร่องรอยของขอม มอญ ไทใหญ่ ยังมีให้เห็นอยู่ในหมู่บ้านร่องรอยอารยธรรมโบราณหลายศตวรรษแห่งนี้ 

Puppla6+070

กู่สันตรันร์ สระน้ำจะอยู่ด้านทิศอิศาณของปราสาท

<p style="text-align: center">Puppla6+057</p> <p style="text-align: center">ปรางค์ประธานกู่สันตรันต์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม</p><h4>จากการศึกษาสถานพยาบาลยุคสมัยขอมเรืองอำนาจ(อโรคยาศาล) ๑๐๒ แห่ง ทั่วราชอาณาจักรขอม ในปัจจุบันมีการค้นพบอโรคยาศาลดังกล่าวแล้วราว ๓๐ แห่ง และยังไม่รวมสถานที่ที่กล่าวถึงแห่งนี้รวมไว้ด้วย  แล้วที่นี่จะเป็นอะไร?</h4><h4 align="center">Puppla6+064 </h4><h4 align="center">กู่สันตรัตน์ ยังเหลือซุ้มประตู และกำแพงแก้ว</h4><h4 align="left">     นอกจากนี้จารึกปราสาทพระขรรค์ ยังระบุด้วยว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงให้สร้างสถานพยาบาล 102 แห่ง (อโรคยาศาล)ทั่วราชอาณาจักรขอม (ในปัจจุบันมีการค้นพบอโรคยาศาลดังกล่าวแล้วราว 30 แห่ง)  สถานพยาบาลดังกล่าว อยู่ใต้ความดูแลของ"พระไภษัชคุรุไพฑูรย์ประภา" </h4><h4 align="left">สำหรับอโรคยาศาลที่ค้นพบในประเทศไทยได้แก่ </h4><h2 align="left"> ปรางค์กู่ที่จังหวัดชัยภูมิ </h2><h2 align="left"> ปราสาทเมืองเก่าที่ตำบลโคราช อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา </h2><h2 align="left"> ปรางค์ครบุรี อยู่ที่ตำบลครบุรี จังหวัดนครราชสีมา </h2><h2 align="left">และปราสาทตาเมือนตู๊จ ที่อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์</h2><h4>แต่จากการได้ไปดูและฟังคำอธิบาย "อโคยาศาล" ที่ปรางค์กู่สันตรัตน์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม แล้วที่กองหินแห่งนี้มีหลายๆอย่างที่เหมือนกัน และอาจจะใหญ่โตกว่าเสียด้วยซ้ำไปแล้วทำไมไม่มีชื่ออยู่ในทำเนียบของกรมศิลป ยุคปัจจุบัน</h4><h4>ขอได้รับความขอบคุณ </h4><h4>โปรดติดตามตอนต่อไป</h4><p> </p>

หมายเลขบันทึก: 155528เขียนเมื่อ 23 ธันวาคม 2007 15:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • กำลังงงๆ ว่ารูปใครหว่า..อยู่ชุมชนคนม้าเหล็กด้วย...หน้าคุ้นๆ อิอิ  พี่เราเอง
  • หว้าชอบมากเลยหล่ะ  เรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรขอมโบราณ  แบบว่าเวลาไปทางอีสานอยากไปเที่ยวแบบนี้ค่ะ  แต่ญาติๆเขาบอกเคยไปแล้ว  ไม่เคยแวะเลยค่ะ   เคยไปก็ปราสาทหินอะไรนะที่อยู่ในเมืองค่ะ  ที่เดียวเอง  
  • แล้วจะติดตามตอนต่อไปค่ะพี่

สวัสดีครับพี่  ผมชอบเรียนรู้เรื่องเหล่านี้อยู่บ้างเหมือนกันครับ

         อาณาจักรขอมยิ่งใหญ่มาก ๆ ทางอีสานผมนึกว่ามาถึงแค่โคราช ตัดไปชัยภูมิ มีที่ขอนแก่น น่าจะเป็นเปือยน้อย นะครับ  พึ่งทราบว่าที่มหาสารคามก็พบปราสาทศิลปะขอม

         ทางตะวันตก ผมไปที่กาญจนบุรีก็พบปราสาทเมืองสิงห์  ก็เป็นศิลปะขอมครับ

          มณฑลของขอมกว้างใหญ่จริง ๆ

            ขอบคุณที่เล่าให้ฟังครับ

 สวัสดีครับน้อง อ.ลูกหว้า

  • ที่น้องไปเที่ยวมาคงเป็น ปราสาทหินพนมวัน อยู่ในอำเภอเมือง เป็นโบราณสถานสมัยขอม สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 16-17 เพื่อเป็นเทวสถาน
  • ซึ่งอยู่ในเมือง ความสมบูรณ์แบบของศิลปวัตถุโบราณคงสู้ปราสาทหินพิมายไม่ได้และจะเล็กว่ากันเยอะ
  • คอยติดตามตอนต่อๆไปนะครับ จะพยายามค้นคว้ามาให้ศึกษา

ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ น้องหมอสุมิตรชัย
พี่ก็ชอบศึกษาเรื่องนี้อยู่พอสมควร แต่ไม่มีโอกาสได้ไปนั่งเรียนเหมือนชาวบ้านเขา

ตอนนี้มีที่เรียนทฤษฎีอยู่ที่บ้าน และมีเวลาก็ไปดูของจริง เอานั่งจับต้นชนปลาย ไปเรื่อยๆ

สงสัยอีก 20 ปีจะจบหรือเปล่ายังไม่รู้เรื่องนี้

ศึกษาเอาไว้เล่าให้ลูกหลานฟังครับ

 

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณ "พ่อ" สมนึก ที่น่ารัก

             โห!! รูปใหม่เท่ห์ชะมัดเจ้าค่ะ  ....แวะมาสวัสดีปีใหม่เจ้าค่ะ ขอให้มีความสุขกับครอบครัวมากๆ แล้วก็มีสุขภาพที่แข็งแรง คิดสิ่งใดขอให้สมความปราถนานะเจ้าค่ะ

           เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ---------> น้องจิ ^_^

สวัสดีปีใหม่เช่นกันครับน้องจินางสาว จิราภรณ์ น้องจิ กาญจนสุพรรณ

  • อ๋อ..รูปนี้ยื่นมือถ่ายหน้าตัวเองตอนนั่งอยู่บนรถตู้ที่ มมส. ครับ
  • เมื่อครั้งไปงานท่านพ่อครูบารับรางวัลพระราชทานพระธาตุนาดูนทองคำครับ

ขอบคุณมากครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท