ประเทศพม่าได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาและพุทธเจดีย์ พุทธศาสนิกชนชาวพม่าต่างให้ความเคารพในพระสงฆ์องค์เจ้าซึ่งถือเป็นเนื้อนาบุญและเป็นที่พึ่งแห่งกุศล
ตำนานการกำเนิดเทพนัตของพม่า
ประเทศพม่าได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งพุทธศาสนาและพุทธเจดีย์
พุทธศาสนิกชนชาวพม่าต่างให้ความเคารพในพระสงฆ์องค์เจ้าซึ่งถือเป็นเนื้อนาบุญและเป็นที่พึ่งแห่งกุศล
แต่ภายใต้ร่มเงาแห่งพุทธศาสนานั้น
สังคมพม่ายังคงแฝงกลิ่นอายความเชื่อเกี่ยวกับการบูชาผีเป็นมูลเดิมอยู่ไม่น้อย
และที่ปรากฏเป็นภาพเด่นชัดสะดุดตา ก็คือ การบูชานัต
ดังพบว่าภายในบ้านของชาวพม่าบางบ้านมีหิ้งบูชานัตตั้งอยู่ใกล้หิ้งพระพุทธรูป
หลายบ้านปลูกศาลคล้ายศาลพระภูมิไว้ที่หน้าบ้าน
ใต้ร่มไม้ใหญ่ริมทางมีศาลนัตอยู่ทั่วไป
และแม้แต่ในเขตลานพระเจดีย์ก็ยังพบว่ามีรูปนัต ปั้นเป็นองค์เทพ เทวี
ผู้เฒ่า หรือรูปยักษ์
เห็นชัดว่าชาวพม่าจำนวนไม่น้อยยังคงกราบไหว้บูชานัต
นับเริ่มกันแต่ที่บ้าน สู่ที่สาธารณะ ตลอดจนในเขตพุทธสถาน
อันว่า "นัต"
คำว่า นัต นั้น ภาษาพม่าเขียนว่า o9N (นต์)
ปราชญ์ชาวพม่ามักเชื่อว่าคำนี้น่าจะมาจากคำว่า นาถ ในภาษาบาลี หมายถึง
"ผู้เป็นที่พึ่ง"
ตามกล่าวไว้ในตำรานิรุกติศาสตร์เก่าแก่เล่มหนึ่งของพม่าคือโวหารลีนตฺถทีปนี
(g;jski]uo9¶muxou) แต่งโดย มหาเชยสงฺขยา(,skg=pl-§pk)
และในสารานุกรมพม่า (e,oN,kH0:pN06"dy,Nt) เล่ม ๖
ได้นิยามคำว่านัตไว้ในทำนองเดียวกัน โดยจัดแบ่งนัตไว้ ๓ ส่วน คือ
วิสุทธินัต(;bl6m¸bo9N) คือผู้บริสุทธิ์ อันหมายถึง พระพุทธเจ้า
ปัจเจกพุทธ และพระอรหันต์ อุปปตฺตินัต (fxx9µbo9N)คือ
เทวดาและพรหมาที่อยู่บนสรวงสวรรค์ และสมฺมุตินัต(l,Á79bo9N) คือ
พระราชา พระราชินี ตลอดจนราชบุตรราชธิดา
นอกจากนี้ยังกล่าวถึงเทพประจำจักรวาลว่าเป็นนัต อาทิ
เทพประจำดาวนพเคราะห์ สุริยเทพ จันทราเทพ อัคนีเทพ และวาโยเทพ
ดังนั้นนัตตามนัยของคำว่า นาถ นี้
ก็คือเหล่าเทพเทวาบนชั้นฟ้าตลอดถึงผู้ประเสริฐและผู้ทรงอำนาจบนโลกมนุษย์
ถือเป็นนัตตามโลกทัศน์ในพุทธศาสนา
ส่วนพจนานุกรมพม่า(e,oN,kv4bTkoNvdyfNt-y7xN)ของรัฐบาลเมียนมา
กล่าวถึงนัตไว้ ๓ นัย ได้แก่ ๑)
"เทพอุปปัตติทรงฤทธิ์ผู้คุ้มครองมนุษย์" ๒)
"วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายร้าย" และ ๓)
"คำขยายสิ่งซึ่งอุบัติขึ้นเอง" อาทิ นัตสะบา(o9N0xjt)
"ข้าวนัต~ข้าวป่า"(<นัต+ข้าว) และ นัตเยดะวีง(o9Ngi9:'Nt)
"สระนัต~สระธรรมชาติ" (<นัต+น้ำ+บ่อ) เป็นต้น
สิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจึงถือว่าเป็นด้วยอำนาจแห่งนัต
ฉะนั้นนัตตามคติของชาวพม่าจึงหมายถึงผู้ทรงฤทธิ์
เป็นได้ทั้งเทพยดาและวิญญาณศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่รวมถึงพระพุทธเจ้า
พระอรหันต์ ตลอดจนพระราชา หรือราชตระกูล
นัตในสังคมพม่าที่จะกล่าวถึงในบทความนี้เป็นนัตในความหมายของ
"วิญญาณศักดิ์สิทธิ์ของผู้ตายร้าย"
เป็นภูตผู้เป็นที่พึ่งของปุถุชนทั่วไป
นัตที่เป็นภูตผีนี้จะมีฐานะกึ่งเทพกึ่งผี คืออยู่ระหว่างเทพและผี
มีระดับสูงกว่าผีทั่วไป แต่มิเทียบเท่าเทวดา
นัตจึงไม่ใช่ผีธรรมดาสามัญอย่างที่เรียกในภาษาพม่าว่า ตะเซ (9g0©)
หรือ ตะแย(lic) หากทว่าเป็นวิญญาณของมนุษย์ผู้ตายจากด้วยภัยอันร้ายแรง
ผู้คนให้ความเคารพบูชา และมีพิธีเข้าทรงลงผี
ด้วยเชื่อว่านัตจะให้ความช่วยเหลือและคุ้มกันภัยในหมู่ผู้ศรัทธากราบไหว้
อีกทั้งเหล่าสาวกของนัตจะต้องนอบน้อมต่อนัตดุจเจ้า
ยามพูดคุยกับนัตผ่านร่างทรงก็ต้องกล่าววาจาด้วยภาษาชั้นสูงอย่างพูดกับพระราชา
ตลอดจนให้ความยำเกรงต่อศาลซึ่งเป็นที่สถิตของนัต
ไม่สวมรองเท้าเข้าศาลนัต และไม่แสดงอาการลบหลู่
นัตจึงเป็นผีที่มีฐานะและบทบาทดุจเดียวกับผีเจ้าพ่อเจ้าแม่ของไทย
นัตที่เป็นวิญญาณศักดิ์สิทธิ์นี้ยังมีความแตกต่างจากเทพเทวดาตรงที่นัตจะอาศัยอยู่เฉพาะในภพภูมิมนุษย์
มิได้อยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า
ในหนังสือพุทธบาตาวิงมยฺานี่งนัตโกแกวฺหมุปยฺะตะนา (r6m¸4klk;'N,ykt
Oa'NH o9Nd6btd:pN,A exÊok) หรือ "ปริศนาความเชื่อนัตกับชาวพุทธ"
แต่งโดย หละเตงถุฏ (]alboNt5:öN) เรียกนัตเหล่านี้ว่า
เอ้าก์นัต(gvkdNo9N) แปลว่า"นัตเบื้องล่าง"
เป็นนัตที่เร่ร่อนอยู่ในโลกมนุษย์ มักคลุกคลีกับชีวิตของผู้คนทั่วไป
จึงจัดให้อยู่ในตำแหน่งต่ำกว่านัตที่เป็นเทพเทวดา ซึ่งนิยมเรียกกันว่า
อะแทะนัต(v5dNo9N) หรือ "นัตเบื้องบน" เพราะสถิตพำนักอยู่บนสรวงสวรรค์
มักไม่ข้องแวะกับกิจบนโลกมนุษย์
การจัดแบ่งเช่นนี้ชี้ชัดได้ทันทีว่าเอ้าก์นัตไม่ใช่เทวาหรือพรหมาบนสวรรค์ชั้นฟ้า
หากแต่เป็นผีพื้นถิ่นที่คอยอารักษ์ผู้คนอยู่บนแดนมนุษย์นั่นเอง
เข้าสู่สภาพนัต
คนพม่าเชื่อว่ามนุษย์เราประกอบด้วยร่างกายที่เรียกว่า
โกกายะ(d6bpNdkp) และขวัญที่เรียกว่า เละปยฺา(]bxNexk)
เมื่อตายไปขวัญจะกลายเป็นดวงวิญญาณ(;bPkfN)ล่องลอยอยู่ในโลก
สามารถให้คุณให้โทษแก่ผู้คนทั่วไปได้
หรืออาจสิงเข้าร่างของผู้อื่นบังคับให้ผู้นั้นกระทำสิ่งต่างๆตามความประสงค์ของดวงวิญญาณ
และเมื่อพิจารณาสภาพการกลายเป็นนัตของคนพม่าแล้ว
จะเห็นว่าสอดคล้องกับความเชื่อเรื่องดวงวิญญาณคือธาตุที่ไม่ดับสูญ
ในหนังสือ โตงแซะคุนิจ์มีง($) ,'Nt) หรือ นัต ๓๗ ตน
เขียนโดยอูโพจา(Ftz6btdykt) ได้บรรยายภาวะการกลายเป็นนัตไว้ว่า
"เรื่องการกลายเป็นนัตนั้นจดจำและเชื่อกันว่า
ไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นคนเผ่าพันธุ์ใด กษัตริย์หรือสามัญชน
มั่งมีหรือยากไร้ หญิงหรือชาย เด็กหรือผู้ใหญ่
หากแต่เป็นผู้ที่คนทั่วไปยกย่อง
ยึดเป็นที่พึ่งได้และเป็นผู้ที่มีความเมตตา
ยามตายก็จากไปอย่างน่าเวทนา เมื่อผู้คนทั่วไปรับรู้
จึงบังเกิดความสะเทือนใจ โจษจันกันไปทั่ว
วิญญาณของผู้นั้นจึงกลายเป็นนัต"
เมื่อพิจารณาประวัติของนัตแต่ละตน พบว่านัตส่วนใหญ่ถูกฆ่าตาย
บ้างฆ่าตัวตาย งูกัดตาย เสือขบตาย พลัดตกจากชิงช้าสิ้นใจตาย ตรอมใจตาย
เมาฝิ่นเมาเหล้าตาย บ้างตายด้วยพิษไข้ โรคบิด และด้วยโรคเรื้อน
ล้วนเป็นการตายผิดธรรมดาโดยอาการร้ายทั้งสิ้น
ลักษณะการตายเช่นว่านี้เป็นการตายที่น่าเวทนา
อีกทั้งส่วนใหญ่เข้าข่ายการตายโหง พม่าจึงเรียกนัตเหล่านี้โดยรวมว่า
นัตเซง(o9N0b,Nt) หรือ "นัตที่ตายร้าย"
แตกต่างจากนัตที่เป็นเทพเทวาด้วยบุญญานุภาพ
อย่างไรก็ตามใช่ว่าผีตายร้ายทุกตนจะต้องกลายเป็นนัตไปเสียหมด
นัตยังจะต้องมีตำนานที่สะเทือนใจนำมาเล่าลือสืบต่อกันในวงกว้าง
เชื่อว่ามีอิทธิฤทธิ์ และเป็นที่พึ่งของผู้คน
หากครบองค์ประกอบเหล่านี้จึงจะเรียกว่านัต
ตามนัยของผีอารักษ์ที่ชาวบ้านทั่วไปรับรู้
นัตวงศา
ที่จริงแล้วความเชื่อถือต่อนัตของคนพม่าน่าจะมีอยู่คู่สังคมพม่ามาแต่ดั้งเดิม
หนังสือประวัติการนับถือนัตในพม่า ชื่อ
เมียนมาไนงังนัตโกแกวฺหมุตะมัย-เขตอูกาละ
(e,oN,kO6b'N'"o9Nd6btd:pN,Al,6b'Nt3 g-9NFtdk] ) แต่งโดย
มีงสี่ตู(,'Nt0PNl^) กล่าวว่า
"นับจากกาลเนิ่นนานมา
คนเราเมื่อเติบใหญ่ได้สืบทอดการบูชานัตจากปู่ย่าตายายไม่ขาดสาย
บูชาด้วยดอกไม้ หม้อน้ำ ขนม ล้มหมู ฆ่าไก่ ผูกผ้าดำ ผ้าแดง
พร้อมของหอม ดีดเป่าประโคมด้วยใจยกย่องบูชา"
ชาวพม่าเชื่อว่าในธรรมชาติมีทั้งผีดีและผีไม่ดี
ผีเป็นผู้ดลบันดาลทั้งความสงบสุขและก่อทุกข์ต่อผู้คน
ดังนั้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุขหรือยามเมื่อต้องการให้พ้นจากทุกข์ภัย
จึงทำการเซ่นสรวงบัดพลีทั้งผีดีและผีร้ายนั้นตามอัตภาพของตน
มีการถวายข้าวตอกดอกไม้และอาหารนานาชนิด
เพื่อแสดงความเคารพและหวังความคุ้มครองเป็นการตอบแทน
มีการเซ่นไหว้ผีเรือน ผีหมู่บ้าน ผีป่า ผีดอย ผีฟ้า ผีฝน ผีนา
ผีเจ้าที่ ตลอดจนดวงเดือนและดวงตะวัน
ที่เชื่อว่าช่วยดูแลภาวะแวดล้อมให้เอื้อต่อการดำรงชีวิตได้อย่างอยู่รอดปลอดภัย
ผีเหล่านี้คือผู้อารักษ์ และถือเป็นนัตดั้งเดิมของชาวพม่า
ต่อเมื่อศาสนาพราหมณ์ได้เข้ามาสู่สังคมพม่า
ชาวพม่าจึงรับเทพของพราหมณ์เข้าในวงนัตของตน
เกิดนัตเชื้อสายพราหมณ์ขึ้นมา อาทิ พิสฺสโน(rbÊO6bt) หรือพระวิษณุ
ปรเมสวฺา(xig,l:k) หรือพระอิศวร มหาปินแน(,skxbO¹c)หรือพระพิฆเนศ
และเมื่อพุทธศาสนาเข้ามารุ่งเรืองในพม่า จึงได้มีนัตพุทธเพิ่มเข้ามา
อาทิ ตะจามีง(lbEdkt,'Nt) คือท้าวสักกะหรือพระอินทร์
และสูรสฺสตินัตตะมี(l^iÊ9bo9Nl,ut) คือ เทวีผู้ดูแลพระไตรปิฎก เป็นต้น
พม่าจึงมีทั้งนัตท้องถิ่นดั้งเดิมและนัตต่างถิ่นที่เข้ามาในภายหลัง
นอกจากจำแนกนัตในสังคมพม่าตามความเชื่อของแต่ละศาสนาและพัฒนาการทางสังคมนั้นแล้ว
พม่ายังจำแนกหมู่นัตทั้งหลายตามความสัมพันธ์ที่มีต่อพุทธศาสนาอีกด้วย
ตามตำราว่าด้วยนัตของพม่า มักจัดแบ่งนัตออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ
นัตพุทธ(r6m¸4klko9N) นัตใน(v9:'Nto9N) และนัตนอก(vex'No9N) ในหนังสือ
โตงแซะคุนิจ์มีง ของอูโพจา กล่าวถึงนัตทั้ง ๓ กลุ่ม ไว้ว่า
นัตพุทธคือนัต ๓๗ องค์ที่กล่าวอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนา อันได้แก่
มหาสมยสูตร(,skl,pl69N) และอาฏานาฏิยสูตร(vkökoköbpl69N)เป็นอาทิ
ส่วนนัตในนั้นหมายถึงนัต ๓๗ องค์
ที่ถูกกำหนดให้อยู่ในเขตกำแพงพระเจดีย์ชเวซีโข่ง(gUญ0PN-6") ณ
เมืองพุกาม ตั้งแต่ครั้งพระเจ้าอโนรธาทรงสะสางพระศาสนา
นัตในบางองค์เป็นนัตที่ปรากฏชื่อทั้งในคัมภีร์ศาสนาพุทธและศาสนาพราหมณ์
ซึ่งมี ๑๕ องค์ เช่น ท้าวจาตุมหาราชหรือนัตประจำทิศทั้งสี่ อันได้แก่
ธตรฐ (T9i{) เป็นเทพทิศบูรพา วิรุฬหก (;bU6>Ëd) เป็นเทพทิศทักษิณ
วิรุปักข (;bU6xd¢)เป็นเทพทิศประจิม และกุเวร (d6g;i) เป็นเทพทิศอุดร
นอกนั้นยังมีตะจามีง สูรสฺสติ มหาปินแน และมเหสร (,gsli) หรือ
พระอิศวร เป็นอาทิ นัตในหลายตนถือเป็นนัตท้องถิ่นของพม่า ซึ่งมีจำนวน
๒๒ ตน ดังเช่น
มะจีปี่งซ่องนัต(,oNdyPNtx'Ng0k'NHo9N)เป็นเทพดูแลต้นมะขาม
ชีงผยูชีงนัต (ia'Nez&ia'No9N)หรือเจ้าช้างเผือก และมยิงผยูชิงนัต
(e,'Ntez&ia'No9N)หรือเจ้าม้าขาว เป็นต้น
นัตในจึงเป็นนัตท้องถิ่นปนกับนัตจากอินเดีย ส่วนนัตนอกนั้นเป็นนัต ๓๗
ตนที่อยู่นอกกำแพงพระเจดีย์ชเวซีโข่ง ตามที่มยะวดีวงจีอูซะ
(e,;9u;oNEdutFt0)
อำมาตย์ในสมัยพระเจ้าปะดุงหรือโบด่อพญา(46btg9kN46ikt ค.ศ.๑๗๘๑-๑๘๑๙)
บันทึกไว้มีอาทิ มีงมหาคีรินัต (,'Nt,sk8uibo9N) ชเวพีญจี
(gUzyfNtWdut) ชเวพีญแง (gUzyfNt'pN) นะมะด่อนัต(Oa,g9kNo9N)
ชเวนะเบ(gUog4) โตงปังละ(l6"txoN]a) ชิงแนมิ (ia'Noc,b)
ทีผยูซอง(5utez&gCk'Nt) มัณฑะเลโบด่อ (,Oµg]t46btg9kN)
มีงสี่ตู่ (,'Nt0PNl^) หม่องโภตู่ (g,k'N46bt9^)
อะเนาก์มิผะยา(vgokdN,bz6ikt) หม่องมีงผยู (g,k'N,'Ntez&)
ชเวนอยะทา (gUgokNi5kt) ตะบิงชเวที(9x'NgU5ut) และยูนบะยิง
(p:oNt46i'N) เป็นต้น
นัตเหล่านี้ถือเป็นนัตท้องถิ่นที่อยู่คู่สังคมพม่ามาเนิ่นนาน
เว้นแต่ตะจามีง(lbEdkt,'Nt)หรือพระอินทร์
ซึ่งเป็นนัตต่างถิ่นองค์เดียวที่ถูกกำหนดให้อยู่ในวงนัตนอกด้วย
ในบรรดานัตทั้งหลายที่กล่าวมานี้
นัตที่อยู่ใกล้ชิดและมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวพม่ามากที่สุดก็คือนัตนอก
เป็นนัตที่ยังคงได้รับการบูชาเซ่นไหว้มาตลอด
และส่วนใหญ่เป็นนัตที่นิยมอัญเชิญลงประทับทรงแทบทั้งสิ้น
เว้นแต่ตะจามิงเท่านั้นที่ไม่ประทับทรง
นัตนอก ๓๗ ตนที่กล่าวมานั้น มีถึง ๓๖ ตน
ที่เป็นนัตที่เข้าสู่สภาพนัตโดยอาการตายร้าย(นัตเซง)
และมีพระอินทร์เท่านั้นที่เป็นเทวราช ในหมู่นัตที่ตายร้ายนั้น
มิได้จำกัดกำพืดเดิมของนัตว่าต้องเคยอยู่ในตระกูลสูง
อูโพจา(๑๙๓๗)ได้จำแนกนัตดังกล่าวในลักษณะต่างๆไว้ กล่าวคือ
ในจำนวนนัตนอก ๓๖ ตนดังกล่าวนั้น เป็นชาย ๒๖ และเป็นหญิง ๑๐
ที่เป็นกษัตริย์มี ๑๐ ตน เป็นราชบุตรและราชธิดา ๖ ตน เป็นมเหสี ๖ ตน
เป็นอำมาตย์และข้าราชบริพาร ๘ ตน เป็นพ่อค้าและคนยากไร้ ๖ ตน
นัตเหล่านี้เป็นชนชาติพม่าถึง ๒๘ ตน นอกนั้นเป็นชนต่างชาติพันธุ์
ได้แก่ เป็นเชื้อสายมอญ ๒ ตน มีเชื้อสายแขก ๒ ตน เป็นไทยใหญ่ ๑ ตน
เป็นไทยยวน ๑ ตน (ระบุว่าเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่(='Nt,pN)
ฝ่ายพม่าเรียกพระนามว่า พระสัง(erl") เข้าใจว่าเป็นพระเมกุฏิ(g,d6lb)
สิ้นชีวิตด้วยโรคบิด ในปี ค.ศ. ๑๕๕๘ ขณะเป็นตัวประกันอยู่ในพม่า)
และเป็นพราหมณ์ (x6I³kt) ซึ่งไม่ระบุชนชาติ ๒ ตน
มีนัตนอกที่จบชีวิตในขณะครองสมณเพศ ๓ ตน เป็นภิกษุ ๑ และสามเณร ๒
หากจำแนกตามลักษณะการจบชีวิต อาจจำแนกเป็นถูกฆ่าตาย ฆ่าตัวตาย
สัตว์ร้ายขบกัด และตรอมใจตาย ๒๒ ตน ตายด้วยพิษไข้ ๑๑ ตน
ตายเพราะเมาฝิ่นและเมาเหล้า ๒ ตน และตายด้วยโรคเรื้อน ๑ ตน
พื้นถิ่นของนัตแต่ละตนตามตำนานจะต่างกัน
แต่ส่วนใหญ่มีกำเนิดแถวเมืองพุกาม ซึ่งมีถึง ๑๒ ตน
รองลงมาอยู่ที่อังวะ มี ๘ ตน กำเนิดที่ตะกอง มีงดง ตองอู ถิ่นละ ๓ ตน
และมีกำเนิดในถิ่นอื่นอีก ๗ เมือง ๆ ละ ๑ ตน คือ เมืองสะเทิม ปีงยะ
เชียงใหม่ อุกกะลาปะ ปูแต๊ะ กะตู ปีงแล(หมายถึงทะเล)
อย่างไรก็ตามนัตดังกล่าวถือว่าเป็นนัตที่เคยเลื่องลือในแถบเมืองพุกามทั้งสิ้น
เมื่อกล่าวว่าทำไมต้องกำหนดให้วงศ์นัตมี ๓๗ ตนนั้น
เข้าใจกันว่าเป็นเพราะถือเอาจำนวน ๓๗ นั้นเป็นเลขมงคล ตรงกับจำนวนธรรม
๓๗ ประการ ที่ชื่อว่า บอดิปกฺขิยตยา(grkTbxd¢bp9ikt) หรือ
โพธิปักขิยธรรม เป็นธรรมที่เกื้อกูลแก่การตรัสรู้ นอกจากนี้เลข ๓๗
ยังตรงกับองค์ความรู้ของพม่าอื่นๆอีกหลายองค์ อาทิ ทาส ๓๗ (d°oN
$)3,y7bt), ดุริยางค์ ๓๗ (9^ibpk $)3xjt), ทำนองเพลง ๓๗ (lu-y'Ntl"git
$)3-y'Nt), ดาบ ๓๗ (Tktgit $)3,y7bt), ทวน ๓๗ (vcg,k'Nt $)3,y7bt),
วิธีบังคับม้า ๓๗ (e,'Nt-'Nt $)3,y7bt) และกระบวนพาย ๓๗ (9dNgit $))
เป็นต้น นอกจากเลข ๓๗ แล้ว พม่ายังมีเลขที่ถือเป็นมงคลอีก เช่น เลข ๓,
๕, ๗ และ ๙ เลขดังกล่าวนับเป็นจำนวนองค์ธรรมต่างๆในพุทธศาสนา
เป็นไปได้ว่าองค์ความรู้ ๓๗ ตลอดจนนัต ๓๗
น่าจะมีที่มาสอดคล้องกับองค์ธรรม ๓๗ ตามพุทธนิยม
ปัจจุบันนัตในคติความเชื่อของชาวพม่านั้นมีจำนวน ๑๑๑ องค์หรือตน
นับรวมทั้งนัตพุทธ นัตใน และนัตนอก ซึ่งมีฝ่ายละ ๓๗
ส่วนที่เป็นนัตนอกซึ่งผู้คนนิยมบูชาและเชิญประทับทรงนั้น
ปัจจุบันมีจำนวนเกินกว่า ๓๗ ตน
ทั้งนี้เพราะนัตนอกดังกล่าวได้พัฒนาแปรเปลี่ยนไปตามกระแสสังคม
จึงมีนัตหลายตนที่ไม่ได้อยู่ในทำเนียบนัต
ถึงกระนั้นชาวพม่าก็ยังคงเรียกนัต ๓๗ ตนดังเดิม
อย่างไรก็ตามนัตที่ขึ้นทำเนียบบางตนแทบจะหายไปจากความทรงจำของผู้คน
ในขณะที่นัตนอกทำเนียบจำนวนหลายตนกลับเป็นที่รู้จักดีกว่านัตที่อยู่ในทำเนียบเสียอีก
นัตที่ลือนาม
นัตนอกที่คนพม่ารู้จักเป็นอย่างดี คือ มีงมหาคีริ(,'Nt,sk8uib)
ตลอดจนนัตที่เป็นเครือญาติของนัตตนนี้ ได้แก่ เมีย ๑ น้องสาว ๒ ลูกชาย
๒ และหลานสาว ๑ รวมเป็นนัตวงศ์มีงมหาคีริ มี ๗ ตน
มีงมหาคีริเป็นนัตหลวงที่มีกำเนิดแถบเมืองตะกอง(9gdk'Nt)ในเขตพม่าตอนเหนือ
มีตำนานเล่าสืบย้อนไปถึงสมัยพุกามยุคแรกก่อนรัชสมัยของพระเจ้าอโนรธา(vgokNi5k,'NtWdut
; ค.ศ.๑๐๔๔-๑๐๗๗)
ต่อมามีงมหาคีริตนนี้ได้กลายมาเป็นนัตประจำบ้านหรือนัตเรือน
คอยดูแลความปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สินในบ้าน
นัตในวงศ์มีงมหาคีริที่รู้จักกันดี ได้แก่
ชเวนะเบ(gUog4)เป็นเมียมีงมหาคีริ
ชเวเมียตหน่า(gU,ydNOak)เป็นน้องสาวคนโต
โตงปั่งหละ(l6"txoN]a)เป็นน้องสาวคนเล็ก
และชิงแนมิ(ia'Noc,b)เป็นลูกสาวของโตงปั่งหละ
นัตที่มีชื่อตนอื่นๆได้แก่ ชเวพีญญีนอง (gUzyfNtPugok'N)
เป็นนัตหลวงสองพี่น้อง มีกำเนิดอยู่ทางเหนือของเมืองมัณฑะเล
มีตำนานร่วมสมัยกับเรื่องราวของพระเจ้าอโนรธา
นัตคู่นี้เป็นนัตครูที่บรรดาร่างทรงนัตจะต้องเซ่นสรวงกันทุกปี;
เยงังป่ายอูฉิ่งจี (gi'"x6b'NFtia'NEdut) เป็นนัตดูแลท้องทะเล
จัดว่าเป็นนัตของชาวพม่าตอนล่างที่ใช้ชีวิตทำมาหากินกับทะเล;
โก-มโยะฉิ่ง(d6b1,bhia'N) นัตเชื้อสายไทใหญ่
ดูแลพื้นที่เจ้าก์แซแถบเมืองมัณฑะเล และดูแลบ้านป่าดงดอย;
ปะคันอูมีงจ่อ (x-oNtFt,'NtgdykN) หรือปะคันมีงจี
(x-oNt,'NtWdut)เป็นนัตดูแลเมืองปะคัน (x-oNt)
ซึ่งอยู่บนเส้นทางจากเมืองพะโคะกู่สู่มัณฑะเล
นัตตนนี้มีนิสัยขี้เหล้าเมาพนัน; โปปาแมด่อ(x6x»jt,pNg9kN)
เป็นนัตเจ้าแม่ดูแลพื้นที่เขาโปปาแห่งพุกามและบริเวณใกล้เคียง;
นังกะไร่(o"dU6bdN) หรือพะโคแมด่อ(xc-^t,pNg9kN)เป็นนัตนางกระบือ
กล่าวว่าเป็นเจ้าแม่ของชาวมอญในเขตพม่าตอนล่าง
ปัจจุบันนับถือกันมากในเขตย่างกุ้งและพะโค และอะเมเยยิง
(vg,gipfN)เป็นนัตผู้ดูแลเมืองบั้งจี่ (roNhdyu) แถบเมืองปะคัน
นัตที่กล่าวมานี้จัดว่าเป็นนัตที่มีกำเนิดมาแต่ละท้องถิ่น
และแต่ละพื้นที่ก็นิยมบูชานัตแตกต่างกันไป
นอกจากนี้ชาวพม่าบางคนยังนิยมนับถือนัตเฉพาะตนสืบทอดกันเฉพาะครอบครัว
เรียกว่า มิโยพลานัต (,bU6btz]ko9N)
แม้จะย้ายถิ่นหรือแต่งงานแยกบ้านแยกครัวก็ต้องอัญเชิญนัตเข้ามาอยู่ในบ้านของตนและเซ่นไหว้สืบทอดกันจนชั่วลูกชั่วหลาน
นัตพม่าซึ่งเป็นนัตนอกดังกล่าวมานี้จึงเป็นทั้งนัตที่นิยมบูชากันตามพื้นถิ่น
ขณะเดียวกันก็มีการบูชาสืบทอดผ่านวงศ์ตระกูลด้วยเช่นกัน
นอกจากนัตจะมีความสัมพันธ์ต่อคนตามท้องถิ่นและตามเครือญาติแล้ว
ชาวพม่ายังนิยมบูชานัตตามศรัทธาประสาทะหรือตามความนิยม อาทิ
คนพม่านับถือโปปาแมด่อในฐานะนัตผู้เคร่งในพระศาสนา
มีงมหาคีริเป็นนัตดูแลสันติสุขในเรือน
ชเวพีญญีนองเป็นนัตช่วยเหลือในคดีความ
อะเมเยยิงเป็นนัตเจ้าแม่ผู้ชำนาญสมุนไพรและการคลอดบุตร
นังกะไร่เป็นนัตเจ้าแม่ผู้ช่วยเหลือการค้าขาย
ชิงแนมิเป็นนัตที่ช่วยเหลือในด้านการเล่าเรียน
อะเมจาง(vg,8y,Nt)เป็นนัตที่ให้ความกล้า
ช่วยเหลือแม้แต่พวกลักวัวลักควาย
และปะคันอูมีงจ่อหรือปะคันมีงจีที่รู้จักกันดีในชื่อว่าโกจีจ่อ(d6bEdutgEdkN)เป็นนัตชอบความสนุกสนาน
กินเหล้าเมายา ชอบพนันชนไก่ และเล่นหมากทอยอยู่เป็นนิจ
นัตตนนี้นับเป็นขวัญใจพวกนักเสี่ยงโชคและนักการพนัน
นอกจากนี้มีนัตในที่อยู่ฝ่ายพุทธองค์หนึ่งที่ชาวพม่านิยมบูชากันมาก
คือ สูรสฺสติ(l^iÊ9b) แม้จะถือเป็นเทวีผู้คอยดูแลพระไตรปิฎกก็ตาม
แต่ยังได้รับความเชื่อถือว่าเป็นเทวีแห่งการทำนายที่แม่นยำอีกด้วย
อย่างไรก็ตามจะไม่นิยมอัญเชิญเทวีองค์นี้ประทับทรง
ปัจจุบันคนพม่ามักนิยมนับถือนัตตามความนิยมศรัทธาเป็นส่วนใหญ่
ออกจะดูเป็นอิสระจากท้องถิ่นและครอบครัวซึ่งกำหนดให้ต้องเชื่อถือตามประเพณี
การนับถือนัตจึงมีความเป็นปัจเจกนิยมอีกด้วย
เพราะช่วยปัดเป่าปัญหาเฉพาะตนและเฉพาะกรณี
อย่างไรก็ตามนัตพม่าที่นับถือและมีการเข้าทรงลงผีนั้น
ต่างนับอยู่ในกลุ่มนัตเบื้องล่างที่เป็นนัตนอก
และในจำนวนนี้มีนัตอีกหลายตนเป็นนัตที่อยู่นอกทำเนียบนัตหลวง
จึงถือว่านัตลือนามที่ชาวพม่านิยมเซ่นสรวงบูชากันในปัจจุบันเป็นนัตของชาวบ้านโดยแท้
ตำนานนัต
ชาวพม่านับถือนัตหลายตน บางตนมีตำนานเกี่ยวเนื่องกัน
ด้วยเพราะเป็นเครือญาติกัน บางตนมีตำนานเฉพาะตน
อย่างไรก็ตามตำนานนัตทุกเรื่องจะเป็นโศกนาฏกรรม
ที่บรรยายสาเหตุที่ทำให้นัตเหล่านั้นต้องจบชีวิตลงทั้งสิ้น
ตำนานนัตนอกแต่ละตน ยกเว้นพระอินทร์
จะมีท้องเรื่องร่วมสมัยกับตำนานเมืองตะกอง ตลอดจนเมืองพุกาม
เมืองอังวะ เมืองปีงยะ และเมืองตองอู Sir R.C. Temple
ได้จัดแบ่งนัตนอก ๓๗ ตน ตามยุคสมัยดังกล่าว ออกเป็น ๕ วงศ์ ได้แก่
วงศ์ทุตตะบอง (m:9µg4k'N) ๗ ตน วงศ์อโนรธา (vgokNi5k) ๙ ตน
วงศ์อังวะมีงข่อง กับพุกามอลองซีตู (v'Nt;,'Ntg-j'N3x68"vg]k'Nt0PNl^)
๑๑ ตน วงศ์ตะเบงชเวตี้ (9x'NgU5ut) ๔ ตน
และวงศ์บุเรงนอง(46i'NHgok'N) ๔ ตน(บุเรงนองไม่ถือเป็นนัตในวงศ์นี้)
และมีนัตอีก ๒ ตน ที่ไม่อาจกำหนดวงศ์ได้ คือ ตะจามีงหรือพระอินทร์
กับหม่องโภตู่(g,k'N46bt9^)แห่งเมืองปีงยะ(x'Ntp) ในบรรดานัตนอกทั้ง
๓๗ ตนนั้น นัตที่ถือเป็นนัตสำคัญที่สุดสำหรับผู้เชื่อถือศรัทธา มี ๓
ตน คือมีงมหาคีริ และนัตสองพี่น้องนามว่าชเวพีญ
สำหรับมีงมหาคีรินั้นถือเป็นนัตหลวงตนแรกของพม่า
ซึ่งอยู่ในวงศ์ทุตตะบอง และเป็นนัตที่สืบทอดมาเป็นนัตเรือนในปัจจุบัน
ส่วนนัตสองพี่น้องชเวพีญนั้นเป็นนัตในวงศ์อโนรธา
และถือเป็นนัตครูของบรรดาร่างทรงทั้งหลาย
ในบทความนี้จึงขอกล่าวเฉพาะตำนานนัต ๒ ตนนี้เท่านั้น
ด้วยเห็นว่าจะช่วยสะท้อนภาพการกำเนิดและสืบต่อจารีตการบูชานัตของชาวพม่า
ซึ่งเล่าสืบกันมานับแต่อดีต
กำเนิดนัตหลวง
ในตำนานเมืองพุกามยุคต้น เมื่อพระเจ้าเตงลีจ่อง (glfN]PNgEdk'N,'Nt ;
ค.ศ.๓๔๔-๓๘๗)
ปราบเมืองทั้งสิบเก้าเมืองไว้ได้และสถาปนาเมืองขึ้นใหม่ชื่อว่า
ศีริปัจจยา (luibx0¨pk)
พระองค์ทรงมีพระประสงค์จะรวมนัตทั้งหลายหมายเป็นฐานรวมศูนย์อำนาจ
ทั้งนี้ด้วยประจักษ์ว่าชาวบ้านยังคงนับถือนัตแตกต่างกัน
ทำให้ขาดเอกภาพทางความเชื่อ
นับว่าเป็นช่วงประจวบเหมาะที่ขณะนั้นมีนัตสองพี่น้องเกิดขึ้นมาใหม่
นัตสองพี่น้องเป็นลูกช่างเหล็กแห่งเมืองตะกอง(9gdk'Nt)
เมืองริมลำน้ำอิรวดีซึ่งอยู่ทางเหนือของเมืองศีริปัจจยาขึ้นไป
เรื่องมีอยู่ว่า...
หม่องติ้งแด่(g,k'N9'NH9pN)ผู้พี่เป็นหนุ่มรูปงามและมีพละกำลังอันมหาศาล
จึงเป็นที่ชื่นชอบของคนทั่วไป
แต่กลับไม่เป็นที่สบพระทัยของเจ้าเมืองตะกอง
ด้วยพระองค์บังเกิดความหวั่นเกรงว่าหนุ่มน้อยผู้นี้อาจคิดการช่วงชิงราชบัลลังก์ขึ้นได้
พระองค์จึงหาหนทางกำจัดเสียเพื่อมิให้เป็นเสี้ยนหนาม
ที่สุดจึงมีอุบายรับน้องสาวของหม่องติ้งแด่มาเป็นมเหสี
จากนั้นจึงลวงให้นางเรียกตัวพี่ชายมาเข้าเฝ้า
เมื่อหม่องติ้งแด่มาถึงวังหลวง
พระองค์จึงสั่งให้จับตัวเขามัดไว้ใต้ต้นจำปาและเอาไฟครอกจนตาย
น้องสาวเห็นเหตุการณ์เช่นนั้น ด้วยความเสียใจที่ตนเป็นเหตุ
จึงกระโดดเข้ากองไฟหมายตายตาม เจ้าเมืองตะกองจึงรีบคว้าเอาตัวนาง
แต่ก็ฉวยได้เพียงปลายผม ดึงนางออกมาได้เฉพาะเศียร
วิญญาณของสองพี่น้องได้สิงอยู่ ณ ต้นจำปานั้น กลายเป็นนัตดุร้าย
(o9NC6bt)คอยรังควานผู้คนที่ผ่านไปมา
ชาวบ้านจึงเล่าลือโจษขานกันทั่วบ้านทั่วเมืองถึงโศกนาฏกรรมที่เกิดกับสองพี่น้องและความดุร้ายของเธอทั้งสอง
เจ้าเมืองตะกองจึงต้องสั่งให้ขุดโค่นต้นจำปาที่นัตสองพี่น้องสิงอยู่นั้น
แล้วทิ้งลอยน้ำไป
ต้นจำปาได้ลอยมาจนถึงท่าน้ำเมืองศีริปัจจยา
นัตสองพี่น้องจึงมาเข้าฝันพระเจ้าเตงลีจ่อง
ว่าถ้าหากพระองค์รับตนไว้กราบไหว้บูชาเป็นผีบ้านผีเมืองแล้ว
ก็จะค้ำจุนราชบัลลังก์ศีริปัจจยาและปกป้องชาวนครให้ร่มเย็นเป็นสุข
พระเจ้าเตงลีจ่องจึงอัญเชิญนัตสองพี่น้องเข้าเมือง
พร้อมกับแกะสลักรูปเคารพของนัตทั้งสองด้วยไม้จำปาที่ลอยน้ำมานั้น
ยกย่องให้เป็นนัตหลวง และสร้างศาลให้อยู่บนเขาโปปา(x6x»jtg9k'N) ณ
ชานเมืองพุกาม ขนานนามนัตทั้งสองว่า
สองพี่น้องมีงมหาคีรินัต(,'Nt,sk8uibo9N) แปลว่า "เจ้าแห่งมหาคีรี"
หรือ "เจ้าแห่งเขาหลวง" แต่ชาวบ้านมักนิยมเรียกนัตผู้พี่ว่า
มีงมหาคีริ(,'Nt,sk8uib) หรือ "เจ้าพ่อเขาหลวง" และเรียกนัตผู้น้องว่า
ชเวเมียตหน่า(gU,ydNOak) หรือ "เจ้าแม่หน้าทอง"
ด้วยเพราะร่างเธอถูกเผาสิ้นเหลือไว้เพียงหน้าอันงามผุดดุจทองของเธอ
การที่ตำนานระบุว่าพระเจ้าเตงลีจ่องทรงเลือกเขาโปปาเป็นทำเลตั้งศาลมีงมหาคีรินัตนั้น
อาจเป็นด้วยเพราะโปปาเป็นเขาที่สูงตระหง่านบนพื้นราบอันกว้างขวางในเขตพุกาม
มองดูโดดเด่น และคล้องจองกับความเชื่อที่ว่ายอดเขาสูง หรือยอดไม้ใหญ่
(พม่าเรียกว่า o9Ngod6b'Nt แปลว่า "กิ่งนัตพำนัก")
ย่อมเป็นที่อยู่ของหมู่เทพเทวดา
เขาโปปาจึงเป็นดุจเดียวกับเขาพระสุเมรุและเขาไกรลาส
หม่องทินอ่องได้กล่าวไว้อย่างน่าสนใจว่า
ในยุคกษัตริย์เตงลีจ่องนี้เป็นยุคที่ต้องการจะหาศาสนาใหม่เพื่อสร้างชาติรัฐ
พระองค์ต้องการเปลี่ยนความเชื่อพื้นถิ่นที่มีเพียงนัตท้องถิ่น
ให้เป็นศาสนาที่มีนัตแห่งอาณาจักร
เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของปวงชนทุกเผ่าพันธุ์ ด้วยเหตุนี้
มีงมหาคีรินัตจึงน่าจะมีฐานะเป็นมิ่งเมืองของอาณาจักรพุกามในยุคต้น
การเซ่นสรวงมีงมหาคีรินัตที่เขาโปปานั้นมีพิธีบัดพลีบูชากันทุกปี
ในยุคแรกนั้นกล่าวว่ามีการจัดงานฉลองกันยิ่งใหญ่ในวันเพ็ญของเดือนธันวาคม
ซึ่งเป็นช่วงหลังการเก็บเกี่ยวพืชผล โดยชาวบ้านจะมาชุมนุมกัน ณ
เขาโปปาเพื่อร่วมในพิธีบูชาบวงสรวงมีงมหาคีรินัต ต่างล้มวัว ฆ่าแพะ
ฆ่าไก่ และนำปลาเป็นๆมาเป็นเครื่องบัดพลี
พร้อมทั้งมีพิธีเชิญนัตเข้าทรง
ต่อจากสมัยพระเจ้าเตงลีจ่องการเซ่นสรวงมีงมหาคีริยังคงปฏิบัติสืบมา
แต่มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง อาทิ
จากเดิมที่เคยบัดพลีบูชาเป็นอาหารคาวสด มาเป็นเซ่นสรวงด้วยอาหารสุก
ดังกล่าวว่าปรากฏต่อมาในสมัยพระเจ้าโปปาซอยะหัน ( x6x»ktg0kisoNt ;
ค.ศ.๖๑๓-๖๔๐ ) เป็นอาทิ
ในยุคต้นแห่งอาณาจักรพุกามนั้นถือเป็นยุคเฟื่องฟูของการบูชานัต
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีงมหาคีรินัต
ผู้คนทั่วไปต่างยอมรับว่ามีงมหาคีริเป็นนัตหลวงที่อยู่ในฐานะสูงสุดในบรรดานัตหลวงซึ่งมีอยู่เดิม
๓๖ ตน
ในจดหมายเหตุของราชสำนักที่เรียกว่านันซีงอะติอะหมัต(ooNt0fNvlbv,a9N)
ระบุว่ากษัตริย์พุกามทุกพระองค์ที่ขึ้นเถลิงราชสมบัติจะต้องเดินทางไปบูชามีงมหาคีรินัต
เพื่อขอคำชี้แนะในการปกครองบ้านเมืองและขอให้ช่วยค้ำจุนราชบัลลังก์เสริมบารมี
มีงมหาคีริจึงถือเป็นนัตที่ยิ่งใหญ่ในยุคนั้น
จนมีโคลงสี่ที่เรียกว่าลีงกา(]d§k)กล่าวสดุดีภูเขาโปปาที่ประทับของมีงมหาคีริ
ชื่อว่า โปปานัตต่องลีงกา (x6x»jto9Ng9k'N]d§k) แปลว่า
"โคลงโปปานัตคีรี" โคลงนี้เป็นโคลงสี่ที่เก่าที่สุด
มีเนื้อหาและอรรถาธิบายปรากฏอยู่ในตำรากาพยาพันธสาร (drykrO¸lki)
ของอูตี่ง (Ft9'N) อำมาตย์ผู้กินเมืองพุกามสมัยพระเจ้าธีบอ(๑๘๗๘-๑๘๘๕)
และคาดกันว่าโคลงสี่นี้อาจแต่งไว้ตั้งแต่สมัยของพระเจ้าเตงลีจ่องก็เป็นได้
สลายอำนาจนัต
ความเชื่อถือนัตในแผ่นดินพุกามมีนัยว่ารุ่งเรืองมาโดยตลอด
ตราบจนสมัยของพระเจ้าอโนรธาความเชื่อดังกล่าวน่าจะได้รับความกระทบกระเทือนอย่างแรง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเชื่อในมีงมหาคีริ
ตามที่พระเจ้าอโนรธาได้นำพุทธศาสนานิกายเถรวาทมาสู่พุกามด้วยความช่วยเหลือของชินอรหัน
หรือ ชิงอรหันตเถร์ (ia'NvisOµg5iN) นั้น
พระองค์ได้มีพระราชโองการให้ทำลายลัทธิอารีย์ หรือลัทธิอะเยจี
(viPNEdut) ตลอดจนฤาษี ชี พราหมณ์ ที่ประพฤตินอกรีตนอกรอย
อีกทั้งทรงให้ยกเลิกพิธีบูชานัตที่เขาโปปา
และรวบรวมนัตทั้งหลายมาไว้ที่พระเจดีย์ชเวซีโก่งให้ทำหน้าที่เฝ้าพระเจดีย์แทนที่จะประทับอยู่ที่เขาโปปา
พร้อมกันนั้นยังกำหนดให้ท้าวสักกะหรือตะจามีง(lbEdkt,'Nt)ซึ่งก็คือพระอินทร์ขึ้นเป็นประธานแห่งนัตทั้งหลาย
ลดฐานะมีงมหาคีริลง เป็นเพียงนัตอันดับสองรองจากตะจามีง
ซึ่งเท่ากับเป็นการปรับโลกทัศน์ของราษฎรจากเดิมที่เคยนับถือเมงมหาคีริเป็นนัตสูงสุดมาเป็นนับถือพระอินทร์แทน
ดังนั้นนัตท้องถิ่นจากเดิมที่มี ๓๖ ตน จึงกลายเป็นนัต ๓๗
การขยายวงศ์นัตเป็น ๓๗
พร้อมกับยกพระอินทร์ซึ่งเป็นผู้ดูแลพุทธศาสนาให้เป็นนัตสูงสุดนั้น
เท่ากับเปลี่ยนฐานะของนัตท้องถิ่นที่คอยดูแลบ้านเมืองและราษฎรโดยตรง
มาเป็นผู้ดูแลพระศาสนาแทน
วิถีพุทธและการบูชาพระเจดีย์จึงเป็นสิ่งทดแทนอำนาจนัตแห่งเขาโปปา
นอกจากนี้ยังกล่าวว่าพระเจ้าอโนรธาได้สั่งให้ทำลายศาลนัตทั้งหลายที่อยู่ตามใต้ต้นไม้และในบริเวณหน้าบ้านราษฎรจนสิ้น
การกำจัดศูนย์รวมนัตที่เขาโปปา ตลอดจนการรื้อทำลายศาลนัตนั้น
ถือเป็นการปฏิวัติความเชื่อของราษฎรจากพึ่งนัตมาพึ่งพุทธศาสนา
และเป็นการจัดระเบียบสังคมใหม่ ลดอำนาจลัทธิอารีย์
หันมาส่งเสริมพระสงฆ์และการบูชาพุทธเจดีย์
อีกทั้งเข้าใจกันว่าพระเจ้าอโนรธาดำริการนี้
ก็อาจด้วยทรงมีอุบายที่จะกำจัดฐานของพวกคิดขบถที่มักไปซ่องสุมกันอยู่
ณ เขาโปปา
ซึ่งหากเป็นดังนี้ก็นับว่าเป็นการใช้กลยุทธทางการเมืองการปกครองที่ลุ่มลึกทีเดียว
ตามที่กล่าวว่าพระเจ้าอโนรธาได้กำจัดนัตพื้นถิ่น
โดยนำมารวมเก็บไว้ใกล้กับพระเจดีย์ชเวซีโก่งนั้น
จึงทำให้เชื่อกันว่าศาลนัตที่อยู่บริเวณรอบนอกด้านหน้าของเขตเจดีย์ดังกล่าว
คงเป็นที่ซึ่งนัตพื้นถิ่นเหล่านั้นถูกนำมาขังไว้
และในศาลนั้นยังพบว่ามีรูปปั้นของตะจามีงรวมอยู่ด้วย
อย่างไรก็ตามความพยายามลดละความเชื่อถือนัตในหมู่ประชาชนโดยพระเจ้าอโนรธานั้นดูจะไม่ประสบผลสำเร็จนัก
แท้ที่จริงแล้วชาวบ้านยังไม่อาจละทิ้งความเชื่อถือในนัตลงได้
ทั้งนี้อาจเป็นเพราะชาวบ้านยังเชื่อว่านัตเป็นผู้ที่จะช่วยตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันได้ดี
จึงแอบบูชานัตกันในเรือนตนและรับเอามีงมหาคีริมาเป็นนัตเรือน เรียกว่า
เองดะวีงนัต (vb,Nt9:'Nto9N) หรือ เองดะวีงมีงมหาคีรินัต
(vb,N9:'Nt,'Nt,sk8uibo9N)
โดยเชื่อกันว่านัตเรือนนี้จะคอยช่วยปกป้องคุ้มครองบ้านและคนในครอบครัว
มีงมหาคีริจึงเปลี่ยนหน้าที่จากที่เคยดูแลบ้านเมืองมาเป็นนัตดูแลบ้านเรือนแทน
และเค้ามูลเช่นว่านี้น่าจะเริ่มมาตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกามนั้น
สืบต่ออำนาจนัต
แม้ตำนานจะระบุว่าพระเจ้าอโนรธาได้ยกเลิกพิธีบวงสรวงนัต ณ
เขาโปปานั้นแล้วก็ตาม
แต่เชื่อว่าพระองค์คงไม่อาจต้านกระแสความเชื่อของชาวบ้านได้
ในทางกลับกันชาวบ้านกลับอัญเชิญนัตมาบูชากันในบ้านและยังคงจัดงานลงทรงนัตสืบมา
งานลงผีนัตจึงไม่ได้สูญไป แต่กลับกระจายไปทั่วหนแห่ง
นัยว่าเนื่องเพราะนัตกะด่อ(o9Ndg9kN)หรือร่างทรงต้องแยกย้ายกันออกจากเขาโปปาไปอยู่ตามหมู่บ้านต่างๆ
และในยุคของพระองค์เองนั้น
ตำนานยังกล่าวว่าได้เกิดมีงานบวงสรวงนัตแห่งใหม่ขึ้น ณ
หมู่บ้านต่องปะโยง (g9k'N1x"t) เขตเมืองมัตตะยา (,9µik)
ปัจจุบันหมู่บ้านนี้อยู่ห่างจากมัณฑะเลไปทางเหนือราว ๒๐ กิโลเมตร
นัตที่ชาวบ้านนิยมเซ่นสรวงบูชาที่หมู่บ้านแห่งนี้เป็นนัตสองพี่น้องเชื้อสายแขกผสมพม่า
ที่เรียกกันว่า ชเวพีญญีนองต่องปะโยงมีงนะบา
(gUzyfNtPugok'Ng9k'N1x"t,'NtOa0Nxjt) แปลว่า
"เจ้าสองพี่น้องชเวพีญแห่งต่องปะโยง" หรือเรียกก