7 วงจรสีธรรมชาติ


การนำแม่สีของนักเคมี ซึ่งสนใจในแง่ของ การผสม ให้เกิดสีใหม่

วงจรสีธรรมชาติ  หมายถึงการนำแม่สีของนักเคมี  ซึ่งสนใจในแง่ของ การผสม ให้เกิดสีใหม่  ซึ่ง กำหนดแม่สีไว้  3  สี คือ  สีเหลือง    แดง    และน้ำเงิน                  

สีตัวตั้งหรือแม่สี   คือ  สีเหลือง  แดง  น้ำเงิน  สีขั้นที่ ผสมกับสีขั้นที่ 1 เกิดสีใหม่คือ                     

เหลือง   +    แดง         =    ส้ม

เหลือง    +    น้ำเงิน     =    เขียว                     

แดง       +   น้ำเงิน      =    ม่วง

สีขั้นที่ 2   ผสมกับสีขั้นที่ 1  เกิดสีใหม่คือ
ส้ม     +  เหลือง       =    ส้มเหลือง
ส้ม     +   แดง         =   ส้มแดง
เขียว  +   เหลือง      =   เขียวเหลือง
เขียว  +  น้ำเงิน       =   เขียวน้ำเงิน
ม่วง   +   แดง         =   ม่วงแดง              

ม่วง   +  น้ำเงิน        =   ม่วงน้ำเงิน

              

ส้มเหลือง  ส้มแดง  เขียวเหลือง เขียวน้ำเงิน  ม่วงแดง  ม่วงน้ำเงิน

เรียกว่าสีขั้นที่

น้ำหนัก  ( Tone )น้ำหนักในที่นี้  หมายถึงความอ่อน กลางและแก่  ที่มีในภาพ

ภาพที่น่าประทับใจหรือภาพที่ดีควรมีน้ำหนักจากเข้มสุด ( มืดไปจนอ่อนสุด

( สว่าง )   ภาพที่ดีควรมีน้ำหนัก ขาว  - เทาอ่อน  เทาแก่ - ดำ  จึงทำให้ภาพเกิดมิติ     สี (  Colour ) คุณค่าแห่งการเปรียบเทียบและการนำไปใช้

สี เเบ่งประเภทตามเนื้อสี  ได้  2 ประเภทใหญ่ ๆ  ดังนี้

1.  Achromatic   คือสีที่เป็นกลางนำไปผสมกับสีแท้ ทำให้เกิดน้ำหนักอ่อนลง

และ เข้มขึ้น ได้แก่  สีขาว -สีดำ2. Chromatic คือสีที่เป็นสีแท้ ได้แก่  สีทั่วไป

 เช่น เขียว  แดง เหลือง  ฯลฯ

สี  แบ่งประเภทตามกำเนิดของสี  ได้  2  ประเภท  ดังนี้

1.  แม่สีวัตถุธาตุ ( Pigmentary )  ได้แก่ สีที่ใช้โดยทั่วไปสำหรับวาดเขียน

เช่น  สีน้ำ  สีน้ำมัน  สีดินสอ  สีเมจิก  ฯลฯ สีเหลือง  ( Gamboge )สีแดง ( Crimson  red )  สีน้ำเงิน  ( Prussian   blue )   

2. แม่สีแสงอาทิตย์  ( Spectrum )  เป็นแม่สีที่เกิดจากการหักแหของแสงมี  3

 สี  คือ

1. สีส้มแดง ( Vermillion )

2. สีเขียว (  Emerald  green )                           

3. สีม่วงน้ำเงิน ( Blue -  violet  )

การผสมสีทางวิทยาศาสตร์จะได้แถบสี  7  สี ของสีรุ้ง ( แม่สีแสงดูจากเครื่อง

หมายของโทรทัศน์สีก็ได้  )                      

คุณสมบัติของสี

สีแท้  ( Hue )  คือ  สีที่บีบออกจากหลอดสี หรือจากขวดสี  จะมีลักษณะเฉพาะ

ตัวคือสีสด การเปลี่ยนค่าของสีแท้ มี  3 วิธีคือ

1. สีผสมขาว        =   สีแท้  +  สีขาว

2.  สีผสมดำ         =   สีแท้  + สีดำ

3. น้ำหนักของสี    =   สีแท้  +  สีเทา

ความเข้มของสี ( Intensity ) หรือความอิ่มตัวของสีแท้ จะมีความเข้มของสีมาก

ที่สุด และถ้านำสีอื่นมาเจือด้วยความเข้มของสี  ก็จะลดลงคุณค่าของสี

  ( Value )  คือระดับอ่อนแก่ของสีจากสว่างสุด- เข้มสุด เรียงตามลำดับดังนี้

สีผสมขาว ( Tint )………………..สีแท้ ( Hue )…………… ……สีผสมดำ ( Shade ) 

ความกลมกลืนของสี  ( Harmony )  มีหลายอย่าง เช่น

1.  การกลมกลืนกันของสีที่อยู่ใกล้เคียงกันในวงจรสี ( Adjacent )

2.  การกลมกลืนกันของสีเพียงสีเดียว แต่มีหลาย ๆ น้ำหนัก ( Monochrome )

3.  สีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสี ( Contrast )  การระบาย ลงบนภาพ การใช้สี

ตัดกันต้องใช้ไม่เกิน 10 % ของภาพการใช้สีตัดกันข้ามวรรณะ  ควรเป็น

ปริมาณ  80 % : 20 % โดยปริมาณ  การใช้สีตรงข้ามในปริมาณเท่ากันจะต้อง

ลดความเข้มของสีใดสีหนึ่งลงโดยวิธีลดค่าความเข้มของสี ( Brake )   คือผสม

สีตรงข้ามลงไปเล็กน้อย สีผสมดำ  และการไล่น้ำหนักของสี 

 

สีกับความรู้สึก  

   สีมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของมนุษย์อย่างมาก ฉะนั้นการออกแบบ ควรจะ

ต้องศึกษา  ในเรื่องความรู้สึกที่มีต่อสีต่าง ๆ  นักจิตวิทยาได้ให้รายละเอียดเรื่อง

สีให้ความรู้สึกต่อมนุษย์ไว้ดังนี้   

สีแดง  ให้ความรู้สึกกล้าหาญ  รุนแรง  ตื่นเต้น  มีอำนาจ  เป็นสีแสดงถึง

อันตราย

สีส้ม  ห้ความรู้สึกสนุกสนาน  ร่าเริง

สีเขียวให้ความรู้สึกร่มรื่น  สดชื่น  งอกงาม   สบาย   เป็นสีแห่งพลัง     

สีม่วง  ให้ความรู้สึกผิดหวัง  เศร้า  ลึกลับ  เป็นสีแสดงความภักดี

สีฟ้า  ให้ความรู้สึกสงบเสงี่ยม  เรียบร้อย   ประณีต

สีชมพู  ให้ความรู้สึกน่ารัก  สดใส  สดชื่น  นุ่มนวล

สีเหลืองอ่อน   ให้ความรู้สึกอ่อนเพลีย  หมดหวัง

สีเหลืองแก่   ให้ความรู้สึกมีพลังความเป็นหนุ่มสาว  ความร่าเริง สดชื่น

สีน้ำเงิน   ให้ความรู้สึกสงบ  เคร่งขรึม  เยือกเย็น  เข้มแข็ง   

สีขาว  ให้ความรู้สึก  บริสุทธิ์  สะอาด  สดใส  บางครั้งว้าเหว่เป็นสีแห่งความรัก

บริสุทธิ์

สีดำ ให้ความรู้สึกหดหู่  เศร้าใจ  ทุกข์  เป็นสีแห่งความลึลับ

นอกจากนี้แล้ว  ความรู้สึกในเรื่องของสี  ยังให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป

คือ  สีอ่อน  จะให้ความรู้สึกเบา  นุ่ม กว้างไกลและดูใหญ่กว่าหรือกว้างกว่า  สี

เข้ม  จะให้ความรู้สึกหนักแน่น  แข็งแรง  แคบใกล้  จะดูเล็กกว่าความเป็นจริง 

วิธีนำสีมาใช้    เริ่มด้วยการเลือกสีให้ตรงหรือเหมาะสมกับจุดมุ่งหมายของภาพ

ก่อน  เพราะสีแต่ละสีมีความหมายแตกต่างกัน  และให้ความรู้สึกต่างกันด้วย 

 ฉะนั้นการเลือกสี  จึงเป็นสิ่งที่สำคัญ  เมื่อได้ สีที่เหมาะสมแล้ว  ก็ต้องใส่มิติให้

ภาพมีความลึก  ซึ่งทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การใช้ระยะใกล้ไกล  ของที่อยู่ใกล้จะมีขนาดใหญ่กว่าของที่อยู่ไกล 

สีสันก็จะชัดเจนกว่า  ความแตกต่างของสีและน้ำหนักก็จะชัดเจนกว่ากัน

2. การใช้ค่าของสี ( Value  )  การทำให้สิ่งของดูเป็นมวล ( Mass ) จะต้องใส่

แสงเงาให้ถูกต้อง ฉะนั้นการวาดภาพครั้งใดก็ต้องกำหนดทิศทางของแสงขึ้นมา

ก่อน สีที่ได้จะเป็นดังนี้

ด้านที่ถูกแสงมาก ๆ จะเห็นสีสด

ด้านที่ไม่ถูกแสง  จะเห็นเป็นสีเข้ม  ด้านโค้งจะมีลักษณะผสมน้ำหนักอ่อนไป

แก่                          

วัตถุ 2 ชิ้น  จะมีสีเดียวกันเมื่ออยู่ในระยะเดียวกัน และถ้าระยะห่างกัน  วัตถุที่

อยู่ไกลจะมีสีจืดจางลง  ถ้าไกลมากก็ยิ่งจางมาก  แต่วัตถุที่อยู่ใกล้สีจะชัดสดใส

          Master.Thani Phunopakun.Audio Visual & Art      

                 

คำสำคัญ (Tags): #rnm
หมายเลขบันทึก: 155342เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2007 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

คือว่า หนูไม่เข้าใจเรื่ององค์ประกอบศิลป์ซักเท่าไหร่อ่ะ

ไม่เข้าใจว่าเค้าวาดกันยังไงเพราะตอนเรียนหนูก้อไม่เข้าใจเลยว่า

จะทามไงให้รูปภาพนั้นมีความหมายเหมือนกับที่เราสื่อถึงอาไรสักอย่าง

ทำให้รู้เรื่อง สี มากกก มาย

แร้ว ก้อ น่า สนใจ

อาจารย์ สู้ๆๆ ทามต่อไป นะ

555+

มึงนิทำไม่รู้เรื่องเลยนะ

22222222222222222222222222222222222222222222222222222222222222222222222

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท