ประสิทธิผลเเละความยั่งยืนของระบบประกันสุขภาพไทยข้อเสนอด้านการบริหารงบประมาณเเละสาธารณสุข


ข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

 

โดย คณะทํางานพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า  

ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข

และสํานักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย 

 

บทที่ 1 ความสับสน ปัญหา และความไม่แน่ใจในคุณภาพและบริการระบบประกันสุขภาพ

 

หน้า 15 30 บาทไม่คุ้มทุนตาม economy of scale เพราะมีข้อจำกัดการเข้าถึง 

comment: การจ่ายรายหัวตามกรอบสมาชิก (ต้องมีสัญชาติไทย เเละมีเลข 13 หลักทำให้ไม่สามารถ จัดงบประมาณให้ครอบคลุมประชากรที่แท้จริงในเขตที่มีประชากรเป็นผู้มีสิทธิอาศัย ชั่วคราวหรือถาวร เป็นคน ดั้งเดิมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาสัญชาติ   เป็นคนตกหล่นทางทะเบียน หรือไม่มีเอกสาร พิสูจน์ตน เช่นคนเร่ร่อน คนจรจัด ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณที่ไม่สะท้อนฐานประชากรเหล่านี้ ซึ่งส่วนมากปรากฏตัวในระบบ ทะเบียนราษฎรแล้วด้วย เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลในพื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนทั้งงบประมาณเเละบุคลากร ในการรักษา ประชากรที่มีอยู่ตามจริง มีข้อเสนออยู่หน้า 37

 

หน้า 19 การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนเละประชาชนในการจัดการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

comment: เป็นข้อเสนอที่ชุมชนหลายชุมชนดำเนินการแล้ว แต่ในบริบทของงานวิจัยHealth for Stateless  พบว่าการมีส่วนร่วมของชุมชน ยังไม่มีกฎหมายรับรองโดยตรง ยกเว้นอาศัยกฎหมายเกี่ยวกับการปกครองท้องถิ่น ที่ให้อำนาจ อบต. จัดสรรบริการได้ แต่ปัญหาก็คือหากมีการตั้งกองทุนเพื่อหลักประกันสุขภาพ กองทุนก็ยังเป็นกองทุนเกือบ”เถื่อน” ที่ได้รับการอนุโลมให้ตั้งได้ ในฐานะการออมในชุมชน โดย อบต.ที่สนใจอาจให้งบมาสมทบ ทั้งนี้ความเป็นไปได้ในการมีส่วนร่วม ขึ้นอยู่กับความสนใจของท้องถิ่น 

 

หน้า 25 ปัญหาในระบบประกันสุขภาพปัจจุบัน

ช่องว่างระหว่างผู้มีหลักประกันทั่วไป  (UC)กับผู้สามารถเลือกใช้บริการสุขภาพตามกำลังทรัพย์ เช่น คนที่ทำประกันชีวิต สามารถใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนได้ หรือถ้าใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ ก็เลือก โรงพยาบาลได้ และเชื่อว่าตนจะได้รับการปฏิบัติดีกว่า  คนที่มีเพียงหลักประกันสุขภาพทั่วหน้าต้องใช้ โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลในระบบของรัฐ ซึ่งประชาชนอาจได้รับบริการ ความสะดวก และความ มั่นใจในคุณภาพการรักษาไม่เทียบเท่ากับการใช้บริการตามกำลังทรัพย์ 

โรงพยาบาลและสถานพยาบาลปฐมภูมิในระบบประกันสุขภาพได้รับงบประมาณจำกัด  ทั้งไม่สามารถ เก็บค่าบริการเพิ่มเติมจากกลุ่มที่ใช้ Ucได้ ส่งผลต่อคุณภาพบริการ และการเข้าถึงในระยะยาว

 

หน้า 26 อัตราเงินงบประมาณไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง 

Comment: และไม่สะท้อนประชากรในประเทศไทยตามข้อเท็จจริงด้วย

 

หน้า 29 เสนอให้ขยายฐานประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ

ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการการคลังเพื่อระบบประกันสุขภาพ

หน้า35 ความไม่ครอบคลุมของ UC

แรงงานย้ายถิ่น คนจนเมืองมักไม่มีหลักประกันสุขภาพใดๆ

คนไทยที่ไม่มีเอกสารพิสูจน์ตน

“ไม่มีหลักฐานเสดงสิทธิการเป็นคนไทย”

ชาวเขา 377,677คน

คนไร้บ้าน

ชาวเล

ไทยพลัดถิ่น

แรงงานด้าว ประมาณ 800000 คน (น่าจะมากกว่านั้น เพรามีทั้งแรงงานและผู้ติดตาม)

 

หน้า 37 ภาระในการให้บริการเเรงงานต่างด้าว ที่โรงพยาบาลต้องเเบกรับ ปี 2546 ส่วนมากเป็นผู้ป่วยใน ในจังหวัดตะเข็บชายเเดนภาคเหนือเเละภาคตะวันตก

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 154886เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2007 08:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 22:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท