มาตราการปิดอ่าว


บริเวณทะเลอ่าวไทยในเขตท้องที่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่ และอาศัยเลี้ยงตัวอ่อนในวัยอ่อนซึ่งผลจากการศึกษาและติดตามสัตว์น้ำบางชนิด ปรากฏว่า สัตว์น้ำดังกล่าววางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม ของทุกปี โดยเฉพาะ " ปลาทู " ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก

มาตราการปิดอ่าว
          
บริเวณทะเลอ่าวไทยในเขตท้องที่  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ชุมพร  และสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งซึ่งสัตว์น้ำบางชนิดวางไข่  และอาศัยเลี้ยงตัวอ่อนในวัยอ่อนซึ่งผลจากการศึกษาและติดตสัตว์น้ำบางชนิด  ปรากฏว่า  สัตว์น้ำดังกล่าววางไข่และเลี้ยงตัวอ่อน  ในช่วงเวลาตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคม  ของทุกปี    โดยเฉพาะ " ปลาทู "   ซึ่งเป็นสัตว์น้ำที่มีคุณค่าและมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็นอันมาก  
              ปัจจุบัน ชาวประมงมีการพัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือทางการประมงที่ทันสมัยขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การประมงปลาทูเริ่มแพร่หลายขึ้น แม้ว่าความต้องการบริโภคปลาทูภายในประเทศยังมีไม่มากนัก แต่ปริมาณปลาทูที่เกินความต้องการนั้นได้ถูกนำมาแปรสภาพทำเป็นปลาทูเค็มส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเชีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละหลายล้านบาท 
              สืบเนื่องมาจากปี 2500  แหล่งประมงทะเลในอ่าวไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ปลาทูวัยเจริญพันธ์ขาดแคลน  จึงทำให้นักวิชาการของกรมประมงและชาวประมงส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลว่า  ชาวไทยรุ่นหลัง ๆ จะไม่มีปลาทูบริโภค  ซึ่งได้จุดประกายให้มีการศึกษาวิจัยวงจรชีวิตปลาทูภายใต้โครงการ " งานสอบสวนปลาทู " 
              ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ  และสัตว์น้ำในระยะวัยอ่อนถูกจับมากเกินไป  และเพื่อให้สัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์  สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนถาวรตลอดไป   กรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเห็นสมควรแก้ไข 
ปรับปรุงมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงในพื้นที่หวงห้ามดังกล่าว
            
ปัจจุบัน ชาวประมงมีการพัฒนาและดัดแปลงเครื่องมือทางการประมงที่ทันสมัยขึ้น เป็นปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลให้การประมงปลาทูเริ่มแพร่หลายขึ้น แม้ว่าความต้องการบริโภคปลาทูภายในประเทศยังมีไม่มากนัก แต่ปริมาณปลาทูที่เกินความต้องการนั้นได้ถูกนำมาแปรสภาพทำเป็นปลาทูเค็มส่งออกไปขายต่างประเทศ เช่น อินโดนีเชีย สิงคโปร์ ฮ่องกง ทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละหลายล้านบาท 
              สืบเนื่องมาจากปี 2500  แหล่งประมงทะเลในอ่าวไทยต้องเผชิญกับวิกฤตการณ์ปลาทูวัยเจริญพันธ์ขาดแคลน  จึงทำให้นักวิชาการของกรมประมงและชาวประมงส่วนใหญ่เกิดความวิตกกังวลว่า  ชาวไทยรุ่นหลัง ๆ จะไม่มีปลาทูบริโภค  ซึ่งได้จุดประกายให้มีการศึกษาวิจัยวงจรชีวิตปลาทูภายใต้โครงการ " งานสอบสวนปลาทู " 
              ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันมิให้พ่อแม่พันธุ์สัตว์น้ำ  และสัตว์น้ำในระยะวัยอ่อนถูกจับมากเกินไป  และเพื่อให้สัตว์น้ำมีความอุดมสมบูรณ์  สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืนถาวรตลอดไป   กรมประมง  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงเห็นสมควรแก้ไข 
ปรับปรุงมาตรการห้ามใช้เครื่องมือทำการประมงในพื้นที่หวงห้าม
 **  ตามประกาศ  ลงวันที่  24  กันยายน  พ.ศ. 2542 **
http://www.fisheries.go.th/DOF_THAI/Information/CloseBay/index.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 15472เขียนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2006 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 16:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท