ไม้กฤษณา พิษณุโลก
สมพงษ์ เนียมเปีย น้ำมัน กลั่นจากไม้กฤษณา ไม้กฤษณา สารใส่ต้นไม้กฤษณา

การเสนอยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชน ภาคเหนือตอนล่าง


โครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง

การประชุมปฏิบัติการ การเสนอยุทธศาสตร์เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นการรายงานและการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์เด็กและเยาวชนตามโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชนรายจังหวัด ภาคเหนือตอนล่างซึ่งจัดโดยทีมนักวิจัยภาคเหนือตอนล่าง นำโดย ดร.ถาวร พงษ์พานิช หัวหน้าทีมวิจัยระดับภาคซึ่งโครงการนี้เป็นความร่วมมือกันระหว่าง สถาบันรามจิตติ และ มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม โดยมีการเก็บข้อมูลทั้งในเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ จากคณะวิจัยประจำจังหวัด จนได้ข้อมูลสำคัญเพื่อประกอบการทำแผนยุทธศาสตร์ในประเด็นเด็กและเยาวชน                

 ในภาคเช้าได้มีพิธีเปิดโดยท่านรองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกมีการนำเสนอข้อมูลสภาวการณ์เด็กและเยาวชนระดับภาคและรายจังหวัดโดยผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ นำเสนอข้อมูลสภาวการณ์เด็กและเยาวชนระดับภาคและรายจังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง โดย ผศ.ดร.ภาณุวัฒน์ ภักดีวงศ์ นักวิจัยประจำโครงการ             

   เริ่มนำเสนอด้วยการกล่าวถึงภาพรวมของโครงการ ที่จัดเก็บข้อมูลใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1.        ด้านสุขภาพ2.        ด้านการศึกษา3.        ด้านสังคมโดยมีวิธีการเก็บข้อมูลที่ใช้การประยุกต์หลักการวิจัยเชิงปริมาณ ที่เก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม, การเก็บข้อมูลภาคสนามและข้อมูลจากเอกสารหรือข้อมูลปฐมภูมิ ผนวกกับหลักการวิจัยเชิงคุณภาพ สำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่1.        นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา2.        นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น3.        นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย4.        นักเรียนระดับชั้นอาชีวศึกษา5.        นักศึกษาระดับอุดมศึกษาเก็บข้อมูลใน 9 จังหวัด ภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดนครสวรรค์ จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดพิจิตร จังหวัดสุโขทัย จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดเพชรบูรณ์ จังหวัดตาก จังหวัดอุตรดิตถ์

แนวโน้มสถานการณ์เด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนล่าง ในปี 2550 เป็นการนำเสนอข้อมูลสภาพการณ์ทั่วไป 

สถานการณ์ด้านสังคม

-          อัตราการเล่นเกมส์ download เพลง ยังไม่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว นั่นหมายถึงชีวิตของเด็กผูกพันอยู่กับการใช้โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์-          เยาวชนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่บ้านเพื่อนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันระหว่าง เยาวชนในระดับชั้นอาชีวศึกษาและเยาวชนระดับชั้นอุดมศึกษา

สถานการณ์ด้านสุขภาพ

-          ในปี 2550 พบจำนวนเด็กและเยาวชนสูบบุหรี่ลดลงแต่จำนวนผู้ดื่มเหล้ายังคงอยู่ในระดับที่สูง-          เด็กและเยาวชนภาคเหนือตอนล่าง ใช้เวลาในการเล่นกีฬาลดลงแต่ใช้เวลาในการเล่นคอมพิวเตอร์สูงขึ้น-          อัตราการประสบอุบัติเหตุที่ยังคงสูงอยู่มีความสัมพันธ์หรือไม่กับอัตราการดื่มเหล้าที่ยังคงสูงอยู่เช่นกัน

สถานการณ์ด้านการศึกษา

-          โรงเรียนระดับประถมศึกษาขนาดเล็กในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ขาดแคลนครู เป็นจำนวน ร้อยละ 5.42                 ถัดจากนั้นเป็นการเสวนานโยบายและแนวทางการพัฒนาเด็กและเยาวชน  ในมิติของผู้ว่าราชการจังหวัด มีผู้ร่วมเสวนาจำนวน 4 ท่านได้แก่ ท่านสันติ กรุสวนสมบัติ รองผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก, ท่านประเวช สุขพอดี รองผู้ว่าราชการจังหวัดเพชรบูรณ์, คุณสุริยน ฉายดิลก พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดพิจิตรและคุณสมคิด สมศรี พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งมี ผศ.ดร.ไชยรัตน์ ปราณี อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยใช้ประเด็นคำถามว่าสถานการณ์ในการดูแลเด็กและเยาวชนในแต่ละจังหวัดเป็นอย่างไร?โดยสรุปภาพรวมแล้วทุกจังหวัดมีการดูแลเอาใจใส่ด้านเด็กและเยาวชนเป็นอย่างดีโดยจังหวัดพิษณุโลกได้จัดระบบการดูแลตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเพราะเป็นเมืองใหญ่จังหวัดเพชรบูรณ์ได้จัดพื้นที่ดีๆให้กับเด็กโดยเฉพาะโครงการล้อมครอบครัวด้วยรั้วรักจังหวัดพิจิตรจัดกิจกรรมเดินตามรอยเท้าพ่อตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจังหวัดกำแพงเพชรจัดกิจกรรมถนนเด็กเดินเป็นต้นสิ่งที่น่าเป็นห่วงคือสถานการณ์ที่เด็กและเยาวชนชอบใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาเหมือนอย่างที่เกิดขึ้นกับจังหวัดที่มีความเจริญด้านวัตถุเช่นกรุงเทพฯและเชียงใหม่                ในภาคบ่าย ดร.อมรวิชช์ นาครทรรพ ผู้อำนวยการสถาบันรามจิตติได้นำเสนอภาพรวมข้อมูลสภาวการณ์เด็กและเยาวชนระดับประเทศโดยสรุปว่าสถานการณ์ของเด็กและเยาวชนในขณะนี้ในปัจจุบันมีสถานการณ์ภาพรวมที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนเปลี่ยนแปลงไปหลายด้าน ทั้งในทิศทางที่ดีขึ้นและแย่ลง                 ตัวอย่างสถานการณ์ที่ดีขึ้นได้แก่ อัตราการตายแรกคลอดลดลง น้ำหนักแรกเกิดของทารกเพิ่มขึ้น อัตราการสูบบุหรี่ของเด็กและเยาวชนไทยอยู่ในระดับที่ทรงตัว เยาวชนได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

                ตัวอย่างสถานการณ์ที่แย่ลงได้แก่ เยาวชนที่อายุต่ำกว่า 25 ปี พยายามฆ่าตัวตายเพิ่มขึ้น เด็กและเยาวชนไม่ได้อยู่กับพ่อ แม่อัตราสูงขึ้น วัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์และมาทำคลอดสูงขึ้น เด็กถูกละเมิดทางเพศเพิ่มสูงขึ้น ความรุนแรงและการพนันในกลุ่มเยาวชนยังสูงอยู่

สถานการณ์เหล่านี้จะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สำหรับเด็กและเยาวชนอย่างไร ?                นอกจากนี้สถานการณ์เด็กและเยาวชนไทยสามารถอธิบายด้วยภาพ

-          ปรากฏการณ์ยิ่งโตยิ่งลด เช่น ยิ่งโตยิ่งห่างวัด ห่างบ้าน การใช้เวลาอยู่กับพ่อ แม่

 -          ปรากฏการณ์ยิ่งโตยิ่งเพิ่ม เช่น การเล่นคอมพิวเตอร์ การเล่น Internet อยู่กับเพื่อน การคุยโทรศัพท์มือถือ

 -          พ่อแม่ที่มีกำลังซื้อก็สามารถซื้อการศึกษาให้กับลูกได้ เช่น การส่งลูกเข้าเรียนในโรงเรียนนานาชาติ ส่งลูกเรียนพิเศษ

-          เด็กและเยาวชนในปัจจุบันเติบโตในสภาพครอบครัวที่หลากหลาย เช่น ครอบครัวพ่อ แม่เลี้ยงเดี่ยว ครอบครัวที่มีพ่อ แม่เป็นเพศเดียวกัน จะทำอย่างไรให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้เติบโตมาด้วยความแตกต่างแต่ไม่แตกแยก

 -          ในอนาคตเราอาจจะใช้ตัวชี้วัดไม่กี่ตัวก็สามารถทำนายอนาคตหรือทิศทางของประเทศได้ หรือดูแค่ความเติบโตทางเศรษฐกิจก็สามารถทำนายปัญหาสังคมไทยได้ เช่น ตัวบ่งชี้ความเป็นอยู่ของเด็ก อาจประกอบไปด้วย 1. การตั้งท้อง 2. อุบัติเหตุ 3. การถูกล่วงละเมิดทางเพศ 4. การก่ออาชญากรรมของเด็ก (ลักทรัพย์, ทำร้ายร่างกาย) 5. อัตราการพยายามฆ่าตัวตายของเด็ก ซึ่งในอนาคต Child Watch จะศึกษาประเด็นในเชิงลึกมากขึ้น

 -          การแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ต้องไม่ทิ้งงานวิจัย งานวิจัยที่ดีต้องชี้ชัดให้ได้ว่า สิ่งใดทำแล้วดี สิ่งใดทำแล้วไม่ดี                   

 ในเวลา 13.30 – 14.30 น.     ประชุมกลุ่มย่อยในประเด็นยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กและเยาวชนระดับภาคโดยทีมวิทยากรกระบวนการสถาบันการเรียนรู้ภาคประชาสังคมจังหวัดเพชรบูรณ์               

  สำหรับประเด็นที่เป็นข้อค้นพบที่น่าสนใจที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชน ซึ่งคณะผู้จัดทำต้องการนำเสนอได้แก่

                เครือข่ายความร่วมมือระหว่างหน่วยงานราชการ / องค์กรเอกชนกับสภาเด็กและเยาวชน

              สภาเด็กและเยาวชน เป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกลุ่มเยาวชนที่มี  การดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและ เป็นรูปธรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกันในการแสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาเด็กและเยาวชนในระดับท้องถิ่น        และร่วมกันจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม  โดยที่แต่ละกลุ่มยังคงปฏิบัติภารกิจหลักของตนต่อไปอย่างไม่สูญเสียเอกลักษณ์และปรัชญาของกลุ่ม การเชื่อมโยงนี้จะอยู่ในรูปของการจัดองค์กรที่มีโครงสร้างของความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน
    • วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน
1. เพื่อให้มีองค์กรกลางของเด็กและเยาวชนในระดับจังหวัดทำหน้าที่เป็นตัวแทนของเยาวชนในจังหวัด ประสานกลุ่มต่าง ๆ ภายในจังหวัด รวบรวมสังเคราะห์ปัญหาความต้องการในการพัฒนาและข้อเสนอ    ในการพัฒนาเยาวชนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง2.  เพื่อเป็นเครือข่ายเชื่อมโยงกลุ่มเยาวชนที่มีการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เข้าด้วยกันอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรม เพื่อปฏิบัติภารกิจร่วมกัน  ในการแสวงหาแนวทางในการจัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชนและสังคมการเชื่อมโยงนี้จะอยู่ในรูปการจัดองค์กรที่มีโครงสร้างความสัมพันธ์กันอย่างชัดเจน ภายใต้ข้อบังคับซึ่งจัดทำด้วยความเห็นชอบของผู้แทนเยาวชนในจังหวัด
      -ปัญหาและอุปสรรค์ในการทำงานเชื่อมประสานและความร่วมมือของหน่วยงานรัฐ/องค์กรเอกชน กับสภาเด็ก

                       1.หลายหน่วยงานไม่ทราบว่ามีการจัดตั้งสภาเด็กและเยาวชน

                       2.คิดว่าเป็นองค์กรของหน่วยงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

                       3.หน่วยงานของรัฐไม่ทราบภารกิจของสภาเด็กและเยาวชน

    • การแก้ไขปัญหา

                        1.การสร้างความเข้าใจ

                        2.ดึงแกนนำเด็กเข้าร่วมกิจกรรม

                        3.ขอความร่วมมือกับท้องถิ่น

                       4.การสื่อสารระหว่างหน่วยงาน

                     5.การเชื่อมเครือข่ายภาคประชาชน

                     6.สร้างพื้นที่สร้างสรรค์

                     7.การให้ความรู้ทางกฎหมาย                               

 ·        กิจกรรมที่ทำร่วมกันในภาคเหนือตอนล่าง

1.เปิดเว็บไซด์ให้ความรู้ด้านกฎหมาย

2.ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นศูนย์กลางการเชื่อมเครือข่าย (พมจ.)

3.จัดเวทีสังเคราะห์บทเรียนแต่ละหน่วยงานร่วมกัน

4.ให้เด็กและเยาวชนเข้าร่วมในการจัดทำแผนของแต่ละหน่วยงาน

5.ร่วมมือกับทุกหน่วยงานจัดกิจกรรมร่วมกัน เช่น พาลูกจูงหลานเข้าวัด

6.ให้สภาเด็กและเยาวชนจัดทำแผนให้บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเสมอให้แต่ละหน่วยงาน

7.ให้ พมจ. นำสภาเด็กและเยาวชนไปแนะนำตัวกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

8.หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประสานงานกับสภาเด็กโดยตรง

  ผู้สรุปการประชุม

กุลธิดา ศรีวิเชียร

นักวิจัยโครงการติดตามสภาวการณ์เด็กและเยาวชน ภาคเหนือตอนล่าง และวิทยากระบวนการจากสถาบันการเรียนรู้ภาคประชาสังคม จ.เพชรบูรณ์

ทรงศักดิ์  เนียมเปีย:เผยแพร่

 

 

หมายเลขบันทึก: 153583เขียนเมื่อ 14 ธันวาคม 2007 16:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 13:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท