องค์ประกอบ วิธีการได้มา/การถอดถอน สภามหาวิทยาลัย


หมวด ๒
การดำเนินการ

 

พ.ร.บ. มน. 

 

พ.ร.บ. ม.มหิดล 

มาตรา ๑๘    ให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย มาตรา ๒๑     ให้มีสภามหาวิทยาลัย ประกอบด้วย
    (๑) นายกสภามหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง     (๑) นายกสภามหาวิทยาลัย ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง
        (๒) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวนสิบห้าคน ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย
    (๒) กรรมการสภามหาวิทยาลัยโดยตำแหน่ง ได้แก่ อธิการบดี ประธานสภาอาจารย์ และประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย   

  (๓) อธิการบดี  
  (๔) ประธานสภาคณาจารย์ นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย   

        (๕) กรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งคน ซึ่งเลือกตั้งจากผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่คณาจารย์ประจํา 
    (๓) กรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนสามคน ซึ่งเลือกจากคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยที่มีตำแหน่งทางวิชาการตั้งแต่รองศาสตราจารย์ขึ้นไป       (๖) กรรมการสภามหาวิทยาลัยจำนวนสิบคน ซึ่งเลือกตั้งจากคณาจารย์ประจําจํานวนห้าคนและจากผู้บริหารระดับคณบดีหรือเทียบเท่าจํานวนห้าคน 
    (๔) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคน ซึ่งจะได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งจากบุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย โดยคำแนะนำของนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยตาม (๒) และ (๓) (๕) และ (๖)     
    (๕) กรรมการสภามหาวิทยาลัย จำนวน สี่คนเลือกจากรองอธิการบดีหนึ่งคนและหัวหน้าส่วนงานในมหาวิทยาลัยอีกสามคน    
    (๖) กรรมการสภามหาวิทยาลัย จำนวนหนึ่งคน  เลือกจากตัวแทนพนักงานมหาวิทยาลัยสายบริการ    
    หลักเกณฑ์และวิธีการสรรหา วิธีการถอดถอน และคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจากรายชื่อที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอจำนวนหนึ่งคน
   หลักเกณฑ์และวิธีการได้มา วิธีการถอดถอน และคุณสมบัติของกรรมการสภามหาวิทยาลัยตาม (๓) (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
     คุณสมบัติและวิธีการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ ตาม (๒) คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ และวิธีการเลือกตั้งกรรมการสภามหาวิทยาลัยตาม (๕) และ (๖) ให้เป็นไปตามข้อบังคับของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้ ต้องสรรหากรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิจากรายชื่อที่คณะกรรมการการอุดมศึกษาเสนอจํานวนหนึ่งคน
     ให้สภามหาวิทยาลัยเลือกกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย และให้อุปนายกสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยเมื่อนายกสภามหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือเมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย  
  
     ให้สภามหาวิทยาลัยเลือกกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย และให้อุปนายกสภามหาวิทยาลัยทําหน้าที่ แทนนายกสภามหาวิทยาลัย เมื่อนายกสภามหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย 
         เมื่ออุปนายกสภามหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้ หรือเมื่อไม่มีผู้ดํารงตําแหน่งอุปนายกสภามหาวิทยาลัย ให้สภามหาวิทยาลัยเลือกกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ คนหนึ่งทําหน้าที่แทนอุปนายกสภามหาวิทยาลัย 
     ให้รองอธิการบดีเป็นเลขานุการสภามหาวิทยาลัย          ให้สภามหาวิทยาลัยแต่งตั้งรองอธิการบดีคนหนึ่งเป็นเลขานุการสภามหาวิทยาลัย และจะแต่งตั้งหัวหน้าสํานักงานสภามหาวิทยาลัยเป็นผู้ช่วยเลขานุการสภามหาวิทยาลัยด้วยก็ได้  

ข้อสังเกต

  1. จำนวนกรรมการสภาฯ ของมน. รวม 21 คน  น้อยกว่า ของ ม.มหิดล ซึ่งรวมแล้วเท่ากับ  30 คน  อาจด้วยขนาดที่แตกต่างกันของมหาวิทยาลัย 
  2. สัดส่วนกรรมการสภาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก ต่อ บุคคลภายใน ของ มน. =  11 : 10  ของมหิดล  = 16 : 14  ย่อมแสดงว่าทั้งสองสถาบันยึดหลักการเดียวกัน ที่ต้องการให้มีกรรมการสภาฯ จากบุคคลภายนอก  มากกว่าบุคคลภายใน แต่ก็อยู่ในสัดส่วนที่ใกล้เคียง  1:1
  3. องค์ประกอบของกรรมการสภาฯ ที่เป็นบุคคลภายนอก
    1. มน. ประกอบด้วย นายกสภาฯ  ประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัย กรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
    2. มหิดล ประกอบด้วย นายกสภาฯ  นายกสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย  กรรมการสภาฯผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก
  4. องค์ประกอบของกรรมการสภาฯ ที่เป็นบุคคลภายใน  ทั้งของ มน. และ มหิดลคล้ายๆ กัน คือ ประกอบไปด้วยผู้บริหารทุกระดับ อาจารย์ และบุคลากรสายสนับสนุน  แต่ว่า
    1. สำหรับ มน. ถ้าเป็นอาจารย์  ต้องดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ขึ้นไป  (ถ้าระบบการกำหนดตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ได้กลั่นกรองคุณสมบัติที่เกี่ยวกับความสามารถในเชิงบริหาร และความเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมด้วยแล้ว  ก็ไม่น่าเป็นห่วงว่าตัวเลือกจะมีพอ สำหรับมหาวิทยาลัยใหม่  นอกจากนี้  เมื่อใช้ตำแหน่งทางวิชาการมาเป็นเกณฑ์  ดิฉันยังสงสัยอยู่ว่า หมายรวมถึงรองศาสตราจารย์ที่เป็นข้าราชการด้วยหรือไม่  ตรงนี้ต้องตีความให้ดี  โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยใหม่ ที่พนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ : อาจารย์  ที่ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์แทบไม่มีเลย และหากเกิดปรากฎการณ์ว่าอาจารย์ข้าราชการ ไม่ประสงค์จะออกนอกระบบกันเลย ก็จะเกิดช่องโหว่ของกฎหมายข้อนี้ หรือไม่  คือจะทำให้อาจารย์พนักงาน ไม่มีโอกาสได้อยู่ในสภาฯ ??)
    2. สำหรับ มน. ถ้าเป็นบุคลากรสายสนับสนุน ให้เลือกจากตัวแทนพนักงานมหาวิทยาลัยสายบริการ  แต่ของมหิดล ใช้คำว่า ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยที่มิใช่คณาจารย์ประจํา (ตรงนี้อาจเป็นเพราะ มหิดล แม้ออกนอกระบบแล้ว จะยังคงมีบุคลากรสายสนับสนุนที่ยังเป็นข้าราชการอยู่อีกมาก จะได้ครอบคลุมให้หมด ไม่ถูกหาว่า ลืมข้าราชการแล้วหรืองัย)
    3. กรรมการสภาฯ ที่มาจาก ผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก  สำหรับ มน. กำกับไว้ด้วยว่า   โดยคำแนะนำของนายกสภามหาวิทยาลัยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยตาม (๒) และ (๓) (๕) และ (๖) แต่สำหรับ มหิดล เปิดกว้าง
     

    โปรดอ่านบันทึกนี้ประกอบ

หมายเลขบันทึก: 153209เขียนเมื่อ 13 ธันวาคม 2007 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 13:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
อุปนายกสภามหาวิทยาลัย  นี่คือรองนายกสภาใช่ไหมครับ

อ.หนึ่ง เล่นเอา อ. มาลินี ต้องไปเปิดพจนานุกรมเลยนะคะเนี่ย  

ฉบับราชบัณฑิตยสถาน online หาไม่พบค่ะ

ค้นหาจาก  http://dict.longdo.com/  พจนานุกรม ไทย-อังกฤษ คำว่า อุปนายก  พบดังนี้ค่ะ

  • Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
    [N] vice president, See also: vice chairman, Example: เขาเคยเป็นอุปนายกสมาคมโบว์ลิ่งแห่งประเทศไทย, Count unit: คน

ถ้าค้นหากลับ คำว่า vice president :

  • English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates] :
    [N] รองประธานาธิบดี, See also: รองประธานบริษัท 
  • English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
    รองประธาน,รองประธานาธิบดี, S. . vice presidency n. vice-presidency n. vice-presidential adj., S. vice-president.
  • เรียนท่านคณบดี
  • อุปนายกของ มร.พระนครศรีอยุธยา มีหน้าที่คือ ทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัย เมื่อนายกสภามหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัยตาม พรบ.มหาวิทาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มาตรา 16(5)
  • ไม่รู้ว่า พรบ. มน. ระบุไว้ใน พรบ. หรือเปล่าค่ะ  ถ้าไม่ระบุน่าจะระบุไว้จะได้ชัดเจนดีนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะคุณเยา (sarita)
ใน พ.ร.บ. มาตรา ๑๘ นี้ ที่ (๖) วรรค ๓ ระบุไว้แล้วค่ะ ว่า

     ให้สภามหาวิทยาลัยเลือกกรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิคนหนึ่งเป็นอุปนายกสภามหาวิทยาลัย และให้อุปนายกสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่แทนนายกสภามหาวิทยาลัยเมื่อนายกสภามหาวิทยาลัยไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้หรือเมื่อไม่มีผู้ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย  

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท