พิพิธภัณฑ์สิรินธร (ภูกุ้มข้าว)


แหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา วิชาการ และซากดึกดำบรรพ์

ซากไดโนเสาร์ที่ภูกุ้มข้าว ต.โนนบุรี อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์  ถูกค้นพบเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๗  โดยพระครูวิจิตรสหัสคุณ (พระญาณวิศาลเถร  รองเจ้าคณะจังหวัดในปัจจุบัน) ต่อมาคณะสำรวจจากฝ่ายชีววิทยา กองธรณีวิทยา (ส่วนวิจัยซากดึกดำบรรพ์และพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา ซึ่งเป็นสำนักธรณีวิทยาในปัจจุบัน) ได้มาขุดสำรวจจนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๓๘  

         พบกระดูกไดโนเสาร์กินพืชมากกว่า ๖ ตัว  มีกระดูกมากกว่า ๖๓๐ ชิ้น ภายในเวลาเพียง ๓ เดือน  ซึ่งซากไดโนเสาร์นั้นมีขนาดใหญ่มีน้ำหนักและมีจำนวนมาก  ทางฝ่ายโบราณชีววิทยา จึงได้จัดตั้งโครงการพัฒนาพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติภูกุ้มข้าวขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๓๘

         ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ๒๕๔๘  กรมทรัพยากรธรณีได้จัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้น  เป็นสถานที่จัดแสดงนิทรรศการถาวร เพื่อบริการและเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเป็นสถานที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลก ที่มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน 

         ต่อมาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงพระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อพิพิธภัณฑ์นี้ว่า พิพิธภัณฑ์สิรินธร เมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๔๙  ปัจจุบันกรมทรัพยากรธรณีได้ขุดค้นซากไดโนเสาร์พบกระดูกมากกว่า ๗๐๐ ชิ้น  เป็นกลุ่มของกระดูกส่วนขา สะโพก ซี่โครง คอ และหางของไดโนเสาร์กินพืชและกินเนื้ออีกอย่างละ ๒ ชนิด  จากลักษณะของกระดูกพบว่า เป็นไดโนเสาร์กินพืชสกุลภูเวียง (Phuwiangosaurus Sirindhonae) ๑ ชนิด และเป็นไดโนเสาร์กินพืชชนิดใหม่อีก ๑ ชนิด  คาดว่าอาจเป็นไดโนเสาร์สกุลและชนิดใหม่ของโลก 

พิพิธภัณฑ์สิรินธร (ภูกุ้มข้าว) เป็นแหล่งเรียนรู้เรื่องราวไดโนเสาร์แบบครบวงจร ทั้งแสง สี เสียง ตระการตาและใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งจัดส่วนการแสดงไว้ 3 ส่วนด้วยกัน คือ

 
ส่วนที่ ๑ จัดแสดงซากฟอสซิลที่ได้จากการขุดค้นพบ อยู่ในหลุมที่มีสภาพสมบูรณ์แบบ ถัดมาเป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงเรื่องราว และโครงกระดูกจำลองไดโนเสาร์ที่มีชิ้นส่วนของจริงเป็นโครงร่างหลัก มีให้ชมถึง   ตัวด้วยกัน
ส่วนที่ ๒ เป็นพิพิธภัณฑ์สิรินธร มีการจัดแบ่งเป็นโซนการแสดงต่างๆ ออกเป็น ๘ โซน แสดงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตในยุคต่างๆ พร้อมทั้งซากดึกดำบรรพ์ที่ค้นพบทั้ง ๖ ยุค ได้แก่ ยุคแคมเบรียม อายุ ๕๔๒-๔๘๘ ล้านปี ยุคออร์วิเชียน อายุ ๔๘๘-๔๔๔ ล้านปี ยุคไซลูเชียน อายุ ๔๔๔-๔๑๖ ล้านปี ยุคดีโดเนียม อายุ ๔๑๖-๓๕๙ ล้านปี ยุคคาบอนิเฟอรัส อายุ ๓๕๙-๒๙๙ ล้านปี เป็นยุคที่เริ่มมีสิ่งมีชีวิตที่หลากหลาย และเริ่มมีสัตว์เลื้อยคลานและสิ่งมีชีวิตมากขึ้น และยุคสุดท้าย ยุคคาเพอร์เบียม อายุ ๒๙๙-๒๕๑ ล้านปี สิ้นสุดมหายุค และเป็นต้นกำเนิดของยุคไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี ห้องจัดแสดงโครงกระดูกของไดโนเสาร์ไทยเกือบ ๗ ตัว ที่มีอายุประมาณ ๑๓๐ ล้านปี เป็นโครงกระดูกของไดโนเสาร์ซอโรพอด ชนิดกินพืช ที่พบเป็นจำนวนมากถึง ๖๕๐ ชิ้น และบางส่วนสามารถเรียงต่อกันเกือบเป็นโครงเกือบสมบูรณ์ทั้งตัว เช่น สยามโมไทรันนัสอีสานเอนซิส และกระดูกเอ็นลิเซียม อายุกว่า ๑๒๕ ล้านปี ไทรันโนซอรัส เร็กซ์ ฮิปซิโลโฟดอน, ซิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กี, สเตโกเซอร์, สยามโมซอรัส สุธีธรเน และโดมิโนซอรัส 

สำหรับที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีไดโนเสาร์ ๔ ชนิด เป็นซอโรพอด ๒ ชนิด คือ ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน (Phuwiangosaurus sirindhomae) และที่เหลืออยู่ระหว่างวิจัยอีก ๒ ชนิด ซึ่งเป็นไดโนเสาร์ประเภทกินเนื้อขนาดใหญ่ คือ สยามโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurus suteethorni) และ สยามโมรัสนัส อีสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis) พร้อมกันนี้ยังพบสัตว์ร่วมยุคในบริเวณใกล้เคียงด้วย เช่น หอยน้ำจืด ๒ ฝา (Bivalive) ปลาเลปิโดเทส (Lipidotes) จระเข้โกนิโอโฟลิส (Goniopholis) เต่า และปลาฉลามน้ำจืดไฮโบดอนท์ (Hybodont shark)

โซนการแสดงต่างๆ ออกเป็น ๘ โซน ได้แก่ 
        โซนที่ ๑  จักรวาลและโลก  จักรวาล โลก สิ่งมีชีวิตรวมทั้งไดโนเสาร์ถือกำเนิดขึ้นมานานแล้ว  นักวิทยาศาสตร์พยายามค้นหาเรื่องราวที่ลี้ลับนี้ นับจากการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่หรือ บิ๊กแบง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของจักรวาล  การกำเนิดของดาวฤกษ์และพัฒนาการของระบบสุริยะและโลก  สัณฐานธรณีต่าง ๆ บนโลกรวมทั้งหินต่าง ๆ บันทึกหลักฐานเกี่ยวกับเหตุการณ์สำคัญทางธรณีวิทยา  ตลอดช่วงเวลา ๔,๖๐๐ ล้านปีที่ผ่านมาของโลก  ซึ่งเราจะได้เรียนรู้ไปตามลำดับอายุทางธรณีวิทยา



        โซนที่ ๒  เมื่อสิ่งมีชีวิตแรกปรากฏ  ความอิ่มตัวในน้ำภายในชั้นบรรยากาศกลายเป็นฝน  โดยน้ำฝนจะชะล้างเอาแร่ธาตุต่าง ๆ มารวมกันเป็นซุบข้นทางเคมี เมื่อราว ๓,๔๐๐ ล้านปีก่อน  ได้มีการเกิดฟ้าผ่าลงไปยังซุบข้น ทำให้เกิดสิ่งมีชีวิตพวกสาหร่ายสีน้ำเงินแกมเขียว  โดยพวกมันได้เปลี่ยนแปลงบรรยากาศของโลก  จากที่เคยไม่มีออกซิเจนมาเป็นอุดมด้วยออกซิเจนคล้ายกับพืชในปัจจุบัน


       โซนที่ ๓  มหายุคพาลีโอโซอิก  แบ่งออกเป็นทั้งหมด ๖ สมัย คือ

       -         ยุคแคมเบรียน

       -         ยุคออร์โดวิเชียน

       -         ยุคไซลูเรียน

       -         ยุคดีโวเนียน

       -         ยุคคาร์บอนิเฟอรัส

       -         ยุคเพอร์เมียน

         โซนที่ ๔  มหายุคมีโซโซอิค
         ๔.๑  มหายุคแห่งสัตว์เลื้อยคลานและไดโนเสาร์  หลังการสูญพันธุ์ครั้งยิ่งใหญ่ตอนสิ้นสุด มหายุคพาลีโอโซอิก  สัตว์เลื้อยคลานก็ก้าวขึ้นมาครองโลก  ไดโนเสาร์ครองความยิ่งใหญ่บนแผ่นดินเป็นครั้งแรก และสภาพแวดล้อมบนโลกก็ทวีความหลากหลายกว่าครั้งใด ๆ
 

         ๔.๒  ไดโนเสาร์ไทย  ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีอยู่ ๑๖ สายพันธุ์ โดยมีอยู่ ๕ สายพันธุ์ที่ไม่ซ้ำใครในโลก เรียงตามอายุได้ดังนี้
         ๑. ยุคไทรแอสสิก  ได้แก่  อิสานโนซอรัส,  อรรถวิภัชชิ
         ๒. ยุคจูแรสสิก  ได้แก่  สเตโกซอร์,  ฮิบซิโลโฟดอน
         ๓. ยุคครีเทเชียส  ได้แก่  ภูเวียงโกซอรัส สิรินทรเน,  กินรีมิมัส,  สยามโมซอรัส สุธีธรนิ,  สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส,  ชิตตะโกซอรัส สัตยารักษ์กิ 

         โซนที่ ๕  วิถีชีวิตของไดโนเสาร์  การจำแนกประเภทของไดโนเสาร์แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ ซอริสเซียน ไดโนเสาร์สะโพกแบบสัตว์เลื้อยคลาน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่ม คือ เทอโรพอด ไดโนเสาร์กินเนื้อ และเซอโรพอด ไดโนเสาร์กินพืช  ออร์นิธิเชียน ไดโนเสาร์สะโพกแบบนก แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม คือ ไทรีโอโพแรน ไดโนเสาร์หุ้มเกราะ  ออร์นิโธพอด ไดโนเสาร์ปากจะงอย  และมาร์จิโนเซฟาเลียน ไดโนเสาร์หัวเกราะ

         โซนที่ ๖  คืนชีวิตให้ไดโนเสาร์  สิ้นมหายุคมีโซโซอิก เกิดการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ครั้งใหญ่  นักวิทยาศาสตร์ต่างพากันสันนิษฐานสาเหตุเอาไว้ได้หลายสาเหตุ เช่น อุกกาบาตพุ่งชนโลก, ภูเขาไฟระเบิด, การคุกคามของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม, และสนามแม่เหล็กโลกเปลี่ยนทิศทาง

         โซนที่ ๗  มหายุคชิโนโซอิก  หรือมหายุคแห่งชีวิตยุคใหม่ ครอบคลุมระยะเวลาตั้งแต่ ๖๕ ล้านปี มาแล้วจนถึงปัจจุบัน  แบ่งออกเป็น ๒ ยุคคือ ยุคพาลีโอจีน และยุคนีโอจีน

         โซนที่ ๘  เรื่องของมนุษย์  จาก ไพรเมต หรือสัตว์ในตระกูลลิง  ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ซึ่งถือว่าเป็นบรรพบุรุษของมนุษย์  ได้แยกตัวเองออกจากเผ่าพันธุ์ลิงใหญ่ เมื่อประมาณ ๗ ๖ ล้านปีที่แล้ว  และเริ่มวิวัฒนาการมาเป็นสัตว์ที่เดิน ๒ ขา  และอาศัยบนพื้นดินแต่ความโดดเด่นของมนุษย์อยู่ที่พัฒนาการทางสมอง และภูมิปัญญาที่มีความฉลาดกว่าสัตว์ประเภทอื่น  ซึ่งเปิดโอกาสให้เราสร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ตั้งแต่ขวานหินไปจนถึงคอมพิวเตอร์
 

 ส่วนที่ 3 เป็นปฏิบัติการสำหรับนักธรณีวิทยา ที่ใช้ทำงานและเก็บซากฟอสซิลต่างๆ ซึ่งนักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นการทำงานของนักธรณีวิทยาได้จากกระจกใสทางเดินในพิพิธภัณฑ์ ซึ่งห้องนี้ไม่อนุญาตให้คนภายนอกเข้าไปสำรวจหรือถ่ายรูปภายในได้

  นอกจากนี้ยังมีโรงภาพยนตร์ขนาดย่อมใช้แสดงวิดีทัศน์เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของไดโนเสาร์ การขุดค้นพบซากดึกดำบรรพ์ สามารถจุผู้เข้าชมได้รอบละ ๘๐ ที่นั่ง และห้องปฏิบัติการขุดค้นซากฟอสซิล กระดูกที่ถูกค้นพบกว่าแสนชิ้น เป็นแหล่งเรียนรู้ธรณีวิทยา แหล่งเรียนรู้ทางวิชาการ แหล่งเรียนรู้ซากดึกดำบรรพ์ และเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ ที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เปรียบเสมือนห้องเรียนขนาดใหญ่ที่น่าสนใจแบบครบวงจรที่กำลังรอนักตามรอยไดโนเสาร์ให้เข้าไปแวะชมและสำรวจกันอย่างจุใจ ถ้าจะศึกษาให้ละเอียดแล้วจะต้องใช้เวลากันเป็นวันๆ เลยทีเดียว สมควรเป็นอย่างยิ่งที่เด็กและเยาวชนของไทยทุกคน จะได้มาศึกษาเรียนรู้ ณ ที่นี้... 

พิพิธภัณฑ์สิรินทรมีภารกิจหลัก ๓ ด้าน คือ

         ๑. งานจัดนิทรรศการ  โดยจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวรเกี่ยวกับธรณีวิทยา  ทรัพยากรธรณีและซากดึกดำบรรพ์ โดยเน้นที่ซากไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย  ซึ่งแบ่งการแสดงออกเป็น ๘ โซนด้วยกันดังที่ได้กล่าวมาในข้างต้น 

         ๒.  งานกิจกรรมและบริการ  พิพิธภัณฑ์ได้มีการจัดค่ายอบรม สัมมนา และกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ด้านซากดึกดำบรรพ์ และธรณีวิทยา  รวมทั้งการให้บริการด้านอาคารสถานที่กับผู้ที่สนใจ ไม่ว่าจะเป็นห้องประชุม อบรม สัมมนา ห้องอาหาร บ้านพัก ฯลฯ  ซึ่งดำเนินงานโดยวิทยากรที่มีความรู้ความสามารถ

         ๓.  งานศึกษาวิจัย  ทำการสำรวจศึกษาวิจัย และงานอนุรักษ์ซากดึกดำบรรพ์ที่พบในประเทศไทย เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชน และเป็นสถานที่ใช้ศึกษา ค้นคว้าของนักวิชาการจากทั่วโลก ที่จะมาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน
 

        

พิพิธภัณฑ์สิรินธร หรือ อุทยานโลกไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ตั้งอยู่บริเวณเชิงเขาภูกุ้มข้าววัดป่าสักกะวัน เดินทางโดยใช้ทางหลวงหมายเลข ๒๒๗ ไปตามถนนกาฬสินธุ์ - สหัสขันธ์ ประมาณ ๒๗ กม. พิพิธภันฑ์สินรินธร เปิดอย่างไม่เป็นทางการเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยเปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าชมทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๗.๐๐ น. ขณะนี้เปิดให้เข้าชมฟรีจนกว่าจะประกาศเปิดอย่างเป็นทางการต่อไป สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์วิจัยไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว กรมทรัพยากรธรณี อ.สหัสขันธ์ โทร ๐ ๔๓๘๗ ๑๐๑๔, ๐ ๔๓๘๗ ๑๓๙๔

หมายเลขบันทึก: 153156เขียนเมื่อ 12 ธันวาคม 2007 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (21)

คราวก่อนที่ไปเยี่ยมชมยังไม่จุใจเลยครับ เราน่าจะมีกิจกรรมกันที่นั่นเยอะๆ อย่างเช่นตอบปัญหาชิงรางวัล หรือไม่ก็เกมค้นหาคำตอบต่างๆ เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์

ถ้ามีโอกาสคราวหน้าก็อยากจะไปอีกครับ 

เป็นความคิดเห็นที่เยี่ยมมากๆ รับไว้พิจารณาค่ะ

สุดยอดไปเลย

ได้ไปดูพิพิธภัณฑ์สิรินธร จังหวัดกาฬสินธุ์มาแล้วค่ะ หนุ่ยก็เป็นคนจังหวัดกาฬสินธุ์แต่ไม่เคยรู้ว่ามีพิพิธภัณฑ์สิรินธรอยู่เคยไปตรงที่ภูกุ้มข้าวอย่างเดียวไม่เคยเดินลงไปด้านนั้นเลยค่ะ จัดพิพิธภัณฑ์ได้สวยและทันสมัยดีค่ะดูแล้วไม่น่าเบื่อหนุ่ยมากับคณะทัวของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สกลนคร ไปดูงานกันหนะค่ะ สวยมากพากเราได้รับการต้อนรับอย่างดีแก็ยภาพมาเยอะเลยค่ะ หากเขาทำผิดอะไรก็ต้องขออภัยด้วยนะคะ ขอบคุณค่ะ

ไปเยี่ยมชมมาแล้วค่ะ น่าตื่นตาตื่นใจมาก อยู่ร้อยเอ็ด ไม่ไกลจากสหัสขันธ์

ลูกชายชอบมาก อยากเป็น "นักบรรพชีวินวิทยา" เอาตัวอย่างมาจาก

อาจารย์วราวุธ และตัวที่เขาชอบมากที่สุดคือ "สยามโมซอรัส สุธีธรนิ"

อ้อลืมบอกไปค่ะ ส่วนดิฉันชอบ "เจ้าสามเขา ไทรเซอราท๊อป"

ลูกชาย อายุ 6 ขวบ เขาสนใจเรื่องไดโนเสาร์มาก จดจำชื่อ-สายพันธุ์

สวัสดีค่ะคุณครู

ขอบคุณที่มาคอมเมนต์ค่ะ

คุณครูสบายดีไหมค่ะ?

ตอนที่คุณครูพาไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ หนูยังดูไม่หมดเลยค่ะ

คงต้องกลับไปดูอีกเป็นแน่ ^^

ให้ความรู้ดีมาก มีโอกาศจะไปเที่ยวใหม่

ไปเยือนมาแล้วค่ะ

พวกเราชาวยางหล่อวิทยาคาร

เราไปเยือนถิ่ไดโนเสาร์มาแล้ว

สวยมากมากเลย

เป็นที่ภาคภูมิใจของชาวอีสานบ้านเฮาเด้นี้

อีสานเฮาก็มีไดโนเสาร์เหมือนกันเด้อ

ร.ร ชุมชนบ้านธาตุ

สนุกมากค่ะ

ได้เรียนรุ้เรื่อนของไดโนเสาร์

ที่พิพิธภัณฑ์สิรินธร ภูกุ้มข้าว จังหวัดกาฬสินธุ์ สวยงามมากค่ะ

ขอขอบคูรที่ให้ความรู้ครับ

สุดยอดไปเลย

สุดยอดของกาฬสินธุ์แร๊วค่ะ

ไปเที่ยวกัลเยอะๆๆนะจ๊ะเพื่อนๆๆ

เป็นที่เที่ยวที่สนุกมากอลังการดี

สุดๆๆอ่ะ ต้องไปดูเองนะ

ขอบอก

น่าไปเที่ยวอ่ะ

ไปมาแร๊วสนุกมากเรย

อย่ากไปอีกจัง

ได้ไปเเล้วสนุกมากเลยไปประมาณ25ครั้งอิอิอิอิอิออิออิอิอิอิอิออิอ

อยๅกได้เเบบจําลองโคลงกระดูกไดโนเสาจังเลย

ไปมาแล้วเเต่ว่าหาทางออกยากมากๆ

ประทับใจค่ายอัจฉริยภาพาก

ชอบพี่ปอมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆเลย

พี่ย่งก็น่ารัก

ประทับใจมากก

ถ้ามีโอกาสจะไปเยี่ยมชมค๊าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

บั๊บบาย

28 ก.พนี้จะเดินทางไปทัศนศึกษา

ขอให้สนุกและหาเก็บความรู้ให้เยอะๆ นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท