GotoKnow

สภาวะผู้นำที่แท้ (Authentic Leadership

พ่อน้องซอมพอ
เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2550 10:33 น. ()
แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2556 18:37 น. ()
“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น”

            ทุกๆ ปี กลุ่มแกนนำนักพัฒนาประชาสังคมของจังหวัดน่าน จะได้มีโอกาสมานั่งทบทวนบทเรียนการทำงานและพัฒนากระบวนคิดร่วมกัน โดยมีอาจารย์ชัยวัฒน์  ถิระพันธุ์ ผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้และพัฒนาประชาสังคม และดร.ปาริชาติ  สถาปิตานนท์ จากคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นครูใหญ่ใจดีที่คอยมาเติมพลังใจและพลังความคิดให้พวกเราอย่างสม่ำเสมอเกือบสิบปีมาแล้ว ผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรต่างๆ อย่างหลากหลาย

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ปีนี้ก็เช่นกันเมื่อลมหนาวมาเยือน อ.ชัยวัฒน์ ก็ได้ให้ความเมตตามาสร้างพลังความอบอุ่น พลังความคิดให้กับพวกเรา ด้วยหลักสูตร สภาวะผู้นำที่แท้ (Authentic Leadership)” ปีนี้จัดระหว่างวันที่ ๒-๔ ธันวาคม ๒๕๕๐ มีสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดน่านและศูนย์ประสานงานประชาคมจังหวัดน่านเป็นแม่งาน ใช้ หอศิลป์ริมน่าน ของคุณวินัย  ปราบริปู ศิลปินคนเมืองน่าน เป็นสถานที่จัดฝึกอบรม เป็นสถานที่ที่เงียบสงบงามและน่าแก่การเรียนรู้และแสวงหา ท่ามกลางแมกไม้ สายน้ำน่าน และภาพศิลปะอย่างหลากหลาย (สนใจไปเยี่ยมเยือนได้ที่น่าน หรือคลิกไปดูได้ที่ www.nanartgallery.com) ผมพยายามบันทึกการเรียนรู้ทั้ง ๓ วันนี้ไว้เป็นบทเรียนและบอกต่อครับ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">          

วันแรก

</font></strong></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           

กระบวน ๑

</font></span></p>              อาจารย์เริ่มกระบวนการเรียนรู้โดยให้เราอยู่กับลมหายใจเข้าออกของตัวเองราว ๕ นาที แล้วเริ่มเปิดการเรียนรู้ด้วยการกล่าวถึงแก่นแท้ของผู้นำ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            แก่นแท้ของผู้นำต้องมีจิตสงบ สะอาด สว่าง ซึ่งต้องมีความเมตตาอยากช่วยเหลือผู้อื่น มองเห็นการเชื่อมโยงของตนเองกับโลก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            เราจะเป็นผู้นำได้ต้องรู้จักล้มได้ ล้มเป็น เหมือนศิลปะการต่อสู้ อะคิโด้ ของญี่ปุ่นที่อาจารย์พากเพียรบุกน้ำข้ามฟ้าไปเรียนมาร่วม ๕ เดือน ซึ่งหัวใจสำคัญของศิลปะการต่อสู้คือการฝึกตนเองรู้จักล้มได้ ล้มเป็น และรู้จักการถ่ายเทพลังมาใช้ให้เกิดประโยชน์</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            ผู้นำต้องรู้จักเรียนรู้ตลอดชีวิต เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เราจึงต้องรู้จักรักษาความดี รักษาศิลปวัฒนธรรมเอาไว้ โดยมีเป้าหมายอยู่ที่ การพัฒนาจิตวิญญาณ จิตที่นุ่มนวล อ่อนโยน มีพลัง และเชื่อมเข้าหากัน</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            กระบวนการเรียนรู้จะเน้นการฝึกอาตายนะทั้ง ๕ ฝึกการมองด้วย ตาใน ให้ได้ยินเสียงที่อยู่ในหัวใจ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           

กระบวนการ ๒

</span></font></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            คุณวินัย ปราบริปู เจ้าของหอศิลป์ริมน่าน ได้เล่าถึงวิธีการดื่มด่ำกับงานศิลปะภาพวาด การมองด้วยตาเนื้อและตาใน และได้เล่าถึงกระบวนการสืบค้นหาเรื่องที่เป็นคำถามคาใจของตนเองและคนเมืองน่าน จนได้คำตอบของตัวเอง ๓ เรื่อง ได้แก่</p>

 ๑) ใครเป็นคนวาดภาพจิตรกรรมวัดภูมินทร์ วัดหนองบัว

๒) ภาพวาดเจ้าครองนครน่านนั้นเป็นภาพเจ้าเมืองน่านองค์ไหน ?

๓) ภาพหนุ่มกระซิบบันลือโลก ณ วัดภูมินทร์ เป็นภาพศิลปินจริงหรือ ?

๓ คำถาคาใจนี้นำไปซึ่งกระบวนการสืบค้นจากแหล่งอ้างอิงต่างๆ ทั้งหนังสือ ตำรา ชาดก และ ผู้รู้ต่างๆ มาประกอบกับมุมมองจากประสบการณ์การวาดภาพของตนเองจนได้คำตอบออกมา (สนใจบทความไปดูได้ที่ www.nanartgallery.com เช่นกันครับ) ผมเองรู้สึกทึ่งในความมุมานะในการสืบค้นของคุณวินัยจริงๆ

  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-indent: 36pt" class="MsoNormal">อ.ชัยวัฒน์ บอกว่านี่แหละ KM ของแท้</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            แล้วคุณวินัยก็พาพวกเราเข้าไปดูภาพวาดและงานศิลปะต่างๆ ของคนเมืองน่าน และผลงานของคุณวินัยเองด้วย พวกเราต่างรู้สึกปลื้มปิติและทึ่งในความสามารถของศิลปินคนเมืองน่าน แม้บางท่านไม่ได้อยู่น่านแล้วก็ตาม เรียกว่าหลายคนถ้าไม่บอกก็ไม่รู้ว่าเป็นคนเมืองน่าน เช่น คนเขียนนวนิยายเรื่อง กาสานาคา ละครยอดฮิตช่อง ๗ สี ที่เพิ่งจบไปไม่นานนี้ ผู้เขียนเป็นคนน่านและได้เค้าความคิดจากมาท่องเที่ยวหอศิลป์ริมน่านแห่งนี้ไปประกอบการเขียน หรืองานศิลปะบนธนบัตรใบ ๕๐๐ บาท และ ๕๐ บาท ซึ่งเป็นฝีมือการแกะภาพพิมพ์ของคนเมืองน่าน เป็นต้น</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">             ข้อความอันโดดเด่นที่เขียนไว้ให้หอศิลป์ และติดใจผมยิ่งนักคือคำพูดของอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ความว่า ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น ย้ำเตือนเราว่าชีวิตสั้นนัก จงปฏิบัติตนเองให้เสมือนว่าวันนี้เป็นวันสุดท้ายของชีวิต เร่งสร้างความดีให้มาก</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal" align="center">             หลังจากเดินชมภาพศิลปะแล้วก็กลับมาสู่กระบวนการเรียนรู้ต่อ  อาจารย์ให้ครุ่นคิดด้วยใจ Check ความรู้สึกของตนเอง และใช้สมองคิด ว่าเราได้ข้อคิดอะไรจากการชมภาพศิลปะ</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">            หัวใจของผู้นำที่แท้ ต้องรู้จักครุ่นคิดพินิจนึกและการตั้งคำถามให้มาก สามารถยกระดับประสบการณ์ของตนเองให้สูงขึ้น</p>              ก่อนจบกระบวนการวันแรกอาจารย์ให้ทุกคนครุ่นคิดเงียบๆ แล้วบันทึกการเรียนรู้ไว้ในสมุดบันทึกของตนเอง


ความเห็น

ยังไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย