มหาวิทยาลัยในกำกับ ไม่อยู่ภายใต้กฎหมายอะไรบ้าง?


 

          ขอคั่นรายการสักนิ๊ดนะคะ....ก่อนที่จะดำเนินเรื่องต่อไป

          คือว่าดิฉันลืมบอกไปตั้งแต่ตอนต้นที่เขียนซีรี่ส์นี้ว่า  พ.ร.บ. ของ มน. ที่ยกมาบันทึกใน Blog นี้ เป็น "ฉบับรวบรวมสรุปข้อคิดเห็นของมหาวิทยาลัย"  ไม่ใช่ "ฉบับที่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา"  กล่าวคือ  มัน up to date กว่า 

          โดย มน.ได้ส่ง รายงานการแก้ไขดังกล่าว แก่ สกอ. ทราบแล้ว ทั้งนี้หากไม่เกิดเหตุการณ์ชะลอร่าง พ.ร.บ.  เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 50 ที่ผ่านมาแล้วไซร้  ร่างพ.ร.บ. ฉบับที่ผ่านคณะกรรมการกฤษฎีกา ก็จะผ่านเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาแก้ไขตามที่ มน.เสนอ  ในคณะกรรมาธิการวาระที่ 1 และวาระที่ 2 ต่อไป 

          เอาละค่ะ ตานี้ มาดูมาตราถัดไปกันดีกว่า

 

พ.ร.บ. มน. 

 

พ.ร.บ. ม.มหิดล 

มาตรา ๑๒  กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน แต่พนักงานและลูกจ้างของมหาวิทยาลัยต้องได้รับประโยชน์ตอบแทนไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน กฎหมายว่าด้วยการประกันสังคม และกฎหมายว่าด้วยเงินทดแทน การดำเนินงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัย ให้ได้รับการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากร และประมวลกฎหมายที่ดิน  มาตรา ๑๔ 

กิจการของมหาวิทยาลัยไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ 

ข้อสังเกต

          นี่ก็เพิ่งจะมีมาตรานี้นะคะ ที่ดูเหมือน พ.ร.บ. มน. จะกำหนดไว้อย่างละเอียดละออมากกว่าของ ม.มหิดล

          แต่ดิฉันเริ่มจนมุม  เพราะไม่สามารถตีความให้ลึกซึ้ง  ว่าการไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมา มันมีนัยยะต่อการดำเนินการได้คล่องตัวมากขึ้นในเรื่องใดบ้าง

          ได้แต่ใช้สามัญสำนึก (ที่ไม่มีเหตุผล) ว่าน่าจะเป็นเรื่องการที่ ม.ในกำกับ จะสามารถกำหนด สวัสดิการและผลประโยชน์ตอบแทนต่างๆ ของบุคลากร ได้เอง  เพื่อให้เหมาะกับบริบทของตนเองกระมัง

          โดยที่ มน. รอบคอบถึงขนาด กำกับไว้ด้วยว่า แต่ไม่น้อยกว่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายต่างๆ ที่กล่าวมาด้วย

          แถมยังมีเรื่องการยกเว้นค่าฤชาธรรมเนียมและค่าภาษีอากร และประมวลกฎหมายที่ดินอีก  หมายความว่าอย่างไรคะ  คนไม่ใช่นักกฎหมายอย่างดิฉันก็รู้แต่ว่าดีเน๊อะ แต่ไม่ทราบที่มาของเหตุแห่งความชอบธรรมในการกำหนดเช่นนี้

          เรื่องเงินๆ ทองๆ ละก็  ต้องรอบคอบเข้าไว้  อย่างนี้ไม่หาว่าหมกเม็ดหรอกค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 152241เขียนเมื่อ 8 ธันวาคม 2007 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ อาจารย์มาลินี

  • การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัย กลายเป็นเรื่องร้อน ๆ ในระยะนี้นะครับ ทั้ง ๆ ที่แนวคิดเรื่องนี้มีกันมานานหลายสิบปีแล้ว
  • ใครเป็นผู้บริหารในช่วงนี้ ก็เหนื่อยหน่อยนะครับ
  • ต้องแสดงความจริงใจให้คนทุกระดับได้เห็นอย่างชัดเจน ไม่เปิดอย่าง แต่ปิดอย่าง
  • ประเด็น "แต่ไม่น้อยกว่าตามกฏหมายกำหนด..." หมายถึง "ไม่แตกต่างจากที่เคยได้รับ หรือ เท่ากับที่เคยได้รับครับ" ... ซึ่งถ้าจะให้ มากกว่านี้ ก็ต้องอยู่ในอำนาจของผู้บริหารที่มีอำนาจ ... น่ากลัวนะครับ ... ถ้าอำนาจตกอยู่กับคนไม่ดี
  • แวะมาให้ความเห็นบางด้านเฉย ๆ ครับ

ขอบคุณครับที่เปิดพื้นที่ให้คนนอก มน. :)

          คุณ Wasawat Deemarn นี่ รู้ทันจริงๆ 

          ใช่ค่ะ....  ไม่น้อยกว่า ก็อาจหมายถึงเท่าเดิมตลอดไปก็ได้ (อยากได้เพิ่มขึ้นก็ต้องหาเอาเอง...ซิจ๊ะ)

          และก็ใช่อีก  ที่คุณ WD กล่าวว่า "น่ากลัวนะครับ ... ถ้าอำนาจตกอยู่กับคนไม่ดี "

          เพราะแม้แต่  อำนาจตกอยู่กับคนดีๆ  ยังสามารถทำให้คนดีดีเปลี่ยนไปได้เลยค่ะ....เหมือนอย่างที่มีคนเคยบอกว่า  ถ้าอยากจะทำลายใคร  จงให้อำนาจแก่คนนั้น.....

          เราคงต้องน้อมนำเอาพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเตือนสติเรา  ทุกครั้งที่ต้องเลือกผู้มีอำนาจมาปกครองเรา  ว่า "จงเลือกคนดีมาปกครองบ้านเมือง"

          ประสมกับ จัดระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพทั้งที่เป็นประเภทในระบบและนอกระบบ เช่น สภามหาวิทยาลัย  ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนอกมหาวิทยาลัย นิสิต ผู้ปกครอง ชุมชน เป็นอาทิ

          นี่ ดิฉันก็กำลังจะตรวจสอบอยู่หน่ะค่ะว่า ใน พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัย  ได้จัดระบบตรวจสอบแบบนี้ไว้รึเปล่า....ติดตามต่อไปนะคะ...(ถ้าทนไหว!!)

         

สวัสดีอีกสักครั้งครับ อาจารย์มาลินี

  • "ระบบตรวจสอบและประเมินผล" นั่นแหละครับ .. คือ ตัวแปรสำคัญที่สุดในการออกนอกระบบ
  • ขณะที่อยู่ในระบบ ... ยังมีระบบอุปถัมภ์เข้ามา เด็กฝาก เด็กใคร เด็กมัน ก็ยังมี ลูกใคร ลูกมัน ก็ยังมี ...
  • คนที่ได้รับความไม่ยุติธรรม แต่หากเป็นข้าราชการ ก็ยังโอนหนีได้ อยู่เฉย ๆ ได้ ใครจะมาไล่ออก อยู่ให้มันเกษียณกันไปข้าง
  • แต่ถ้าออกนอกระบบล่ะ .. ก็ยังมีระบบอุปถัมภ์อยู่ดี ... เด็กใคร เด็กมัน แต่มันจะรุนแรงมากขึ้น เพราะอะไรหรือครับ
  • เพราะ ... คนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม มีโอกาสไม่ถูกต่อสัญญา ไม่ถูกต่อสัญญา คือ ให้ออก
  • เหตุผลอยู่ที่ผู้มีอำนาจ และระบบประเมินนั่นแหละ ... ตัวแปรสำคัญที่กล่าวมาข้างต้น
  • ต่อให้ พ.ร.บ. บอกว่า คนที่ไม่ได้รับความยุติธรรม สามารถอุทธรณ์ได้ ภายในกี่วันต่อกี่วัน
  • อาจารย์ครับ ... คนที่ถูกรังแกจะระบบอุปถัมภ์ จากผู้มีอำนาจ ... เขามีสายป่านในทั้งฐานะและการเงินไม่ยาวนะครับ คือ คนจน นั่นแหละ
  • ไหนจะต้องไปสู้อุทธรณ์กับผู้มีอำนาจ หรือ สู้กันในศาลปกครองไปเลย
  • ไหวไหม ครับ ... นี่ผมคิดเผื่อ และมองโลกในแง่ร้ายให้เลย
  • อาจารย์เป็น "คนดี" ไหมครับ ถ้าอาจารย์เป็น "คนดี" อาจารย์คงจะไม่ปล่อยให้ "ระบบตรวจสอบและประเมิน" มันมีช่องโหว่ ไม่ว่าจะออกนอกระบบ หรือ อยู่ในระบบ
  • "คนดีมาปกครองคนไม่ดี" ... คนดีต้องปกป้องคนดีด้วยกันด้วยครับ

"...การเป็นคนดีนั้นดีมาก แต่เราไม่ควรยึดติดกับความดี เพราะหากเรายึดติดกับความดีแล้วเรามองผู้อื่นว่าไม่ดี หรือเราดีกว่าเค้านั้น นั่นคือเราไม่ดีเราทำผิด จึงอย่ายึดติดกับความดี ให้นอบน้อมถ่อมตน.."

นี่คือ ประโยคของคุณหมอวิจารณ์ ครับ

ขอบคุณครับ อาจารย์ ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท