เศรษฐกิจพอเพียง: ทบทวนประเด็นที่น่าสนใจศึกษา (ในกะลาน้อยของผมเอง -_-")


ประเด็นที่ผมอยากจะเสนอตรงนี้ก็คือ ผมคิดว่าประเด็นเรื่องการมีประสิทธิภาพ กับ เป้าหมายแห่งความพอประมาณ ดูเป็น area ในเศรษฐกิจพอเพียงที่ยังไม่ได้ซ้อนทับกับศาสตร์ของฝั่งตะวันตก และเป้าหมายของประสิทธิภาพนั้นผมคิดว่าเชื่อมโยงกับคอนเซปสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพทธในเรื่องของการเห็นคุณค่าแท้ คือ ทำอะไรเพื่อความเจริญ เพื่อประโยชน์ เพื่อปัญญา และผมคิดว่ามันไม่ได้อยู่ร่วมกับเงือนไข คุณธรรมดัวยครับ

สิ่งที่อาจารย์ปัทมาวดีและพี่ๆอีกหลายคนให้ความเห็นนั้นเป็นประโยชน์มากครับ และจริงมากๆว่า หากมองว่ามันเป็น Resilience Economy มันจะกลายเป็นการมองเฉพาะด้านการกระจายความเสี่ยงเท่านั้น ซึ่งเป็นการพลาดสาระสำคัญของเศรษฐกิจพอเพียงไป

 หลังจากที่เห็นคอมเมนต์ ผมเลยนั่งเขียนแผนภาพเศรษฐกิจพอเพียงอีกครั้ง ... รูป 3 ห่วง สองเงื่อนไขอ่ะนะครับ (ฐานคือ คุณธรรมและความรู้ , มี พอประมาณ มีเหตุผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นสามห่วง)

 แล้วลองนึกถึงว่า ในแผนภาพนี้มีเราเคยเห็นบทความหรือการศึกษาของฝรั่งเรื่องไหนบ้าง ... ตรงนี้อาจจะต้องให้ผู้มีความรู้ช่วยแลกเปลี่ยนด้วยครับ..

 จากการพิจารณาผมพบว่า ที่ชัดๆ น่าจะเป็นเรื่องภูมิคุ้มกัน ที่มีการพูดถึงในรูปของ Risk Management หรือแม้ในคำว่า Resilience ก็พูดถึงกันเยอะมาก ในด้านพัฒนาชนบท หัวข้อประเภท Diversification Strategies ใน Sustainable Livelihood ก็พูดเรื่องนี้อยู่มากเหลือเกิน และจริงๆ Sustainable Livelihood ก็ดูจะว่าด้วยเรื่อง Strategies ของครัวเรือนในชนบทประเทศโลกที่สาม และคล้ายๆจะใกล้เคียงกับเศรษฐกิจพอเพียงอยู่บ้าง หรืออีกทางหนึ่งก็จะเป็นเรื่องว่าด้วย Vulnerability ซึ่งพันกับเรื่องความยากจน (​Poverty ) อยู่ไม่น้อย

ความมีเหตุผลนั้น ผมคิดว่า มันอาจจะไม่ใช่ Rational แบบ Neo-classical Economics เพียวๆ แต่มันน่าจะเป็น Rational ภายใต้ข้อจำกัดมากกว่า ... ในด้านนี้ผมเห็นไม่ค่อยชัดมาก ...​แต่มองเห็นว่า ตัวเงื่อนไขคุณธรรม น่าจะมาทำหน้าที่ Institutions หรือเป็นกฎกติกาแบบไม่เป็นทางการ ในการกำหนดหรือ shape ความมีเหตุผลอยู่มาก ... ฉะนั้น ผมอาจมองเรื่องนี้ว่ามีส่วนซ้อนเหลื่อมกับเรื่องว่าด้วยสถาบัน(Institutions) อย่ไม่มากก็น้อย และแน่นอน เงื่อนไขความรู้ มีบทบาทสำคัญในการใช้เหตุผลมากด้วย หากขาดความรู้การใช้เหตุผลย่อมเป็นไปได้ลำบาก 

อย่างไรก็ดี ผมขอทำความเข้าใจกับคำว่าคุณธรรมของผมนิดหนึ่งครับ ตอนนี้เข้าใจว่า คุณธรรมคือ หลักปฏิบัติที่เป้นไปตามธรรมนองคลองธรรม เช่น ศีล 5 ฯลฯ ... เป็นกติกากลายๆ แม้คนที่ไม่ได้ศึกษาธรรมะ หรือนับถือศาสนาใดก็ตาม แต่ยึดคำสอน แม้ไม่ได้เข้าถึง เข้าใจอย่างถ่องแท้ แต่แฝงอยู่ในวิธีชีวิตหรือกติกาการปฏิบัติของชุมชนก็จัดอยู่ในกลุ่มนี้ ฉะนั้น คุณธรรมนี่เน้นไปในเชิงของหลักปฏิบัติมากกว่า

ผมคิดว่าจุดนึงที่ผมเองยังไม่เห็นว่ามีการศึกษามากนัก อย่างน้อยในทางตะวันตก คือ เรื่องของ "ความพอประมาณ" แม้อ่านงานเกี่ยวกับ Sustainable Livelihood ก็ยังไม่เจอ หรือแม้มีคนเขีนย แต่ความคิดเรื่องนี้ก็มิได้ขึ้นมาอยู่ในความสนใจมากนัก ... แต่เรื่องนี้ดูจะเป็นหลักของเศรษฐกิจพอเพียงมากกว่าข้ออื่นๆมาก และถกเถียงกันมากว่า อะไรคือความพอประมาณ

 บ้างก็ว่าความพอประมาณน่าจะเท่ากับดุลยภาพในการบริโภค ตามที่อธิบายในทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ (IC curve กับ Budget Line น่ะครับ ถ้าชื่อผิดโปรดบอก) --จำได้ว่าอ.ฉลองภพเคยเสนอตรงนี้ไว้ แต่ต้องเช็คอีกที -- และงานพุทธเศรษฐศาสตร์ของอ.อภิชัย ก็เน้นตรงเรื่องประสิทธิภาพในการบริโภคเป็นหลักนะครับ ... แต่มันหนามาก ผมยังอ่านไม่จบเลยแฮะ -_-" ... ต้องตั้งใจอ่านกันต่อไป

พอประมาณนั้นผมเข้าใจว่ามีคนตีความหลายแบบมาก ทั้งแบบ Extreme และแบบผ่อนปรน เหมือนทางด้านสิ่งแวดล้อมเลย ..​ถ้าฝั่ง Extreme ก็จะเข้มงวดกับด้านการใช้จ่ายมาก คือ แทบจะเรียกได้ว่าประหยัดอย่างมาก อะไรที่เพิ่มเติมขึ้นมาจาก basic needs ก็ดูจะส่อไปในทางไม่พอประมาณ หรือการเอากำไรก็อาจเรียกได้ว่าไม่พอเพียง.. ถ้าด้านผ่อนปรนก็ว่า ถ้าใช้แล้วไม่เดือดร้อนกับตน เอากำไรแล้วไม่เดือดร้อนกับคนอื่น ก็ถือได้ว่าพอประมาณเช่นกัน ...

 ผมคิดว่า "พอประมาณ" มันน่าจะเท่ากับ "ประสิทธิภาพ" นะครับ ทั้งนี้เพราะ "ประสิทธิภาพ" นั้นขึ้นกับเป้าหมาย ถ้า"เป้าหมาย"คือ กำไรสูงสุด "ประสิทธิภาพ" ก็คือ เพื่อการนั้น ... แต่ถ้าเป้าหมายเปลี่ยน คำว่าประสิทธิภาพก็จะให้ผลที่ต่างไปเช่นกัน

ในเศรษฐศาสตร์กระแสหลักเป้าหมายคือการ Maximize Profit เพราะน่าจะ derive มาจากข้อสมมติที่ว่าคนต้องการ Maximize Utility เมื่อผู้ประกอบการมีกำไรเป็นผลตอบแทน และเมื่อได้เงินกำไรมาก็นำไปซื้อสินค้าบริการตอบสนองความต้องการ ของตัวเองก็จะได้ utility สูงขึ้นด้วยเช่นกัน

 แล้วเป้าหมายในบริบทของเศรษฐกิจพอเพียงล่ะ คืออะไร? 

 ผมคิดว่า ประเด็นนี้ เรื่องการเข้าใจ "คุณค่าแท้" และ "คุณค่าเทียม" ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ได้อ้างไว้ในหลายงานของท่าน น่าจะเป็นประเด็นหลักของเรื่องนี้ 

ตามความเข้าใจของผมนั้น "คุณค่าแท้" คือคุณค่าของสิ่งๆนั้นที่มีผลเกิดขึ้นจริงๆ  เป็นประโยชน์ที่แท้จริง เป็นส่ิงส่งเสริมนำไปสู่ปัญญา ไปสู่การทำความดี ไปสู่ความสงบ นำไปสู่ความเจริญทั้งต่อตัวเองและผู้อื่น มิใช่เป็นเพียงผลทางสังคมเท่านั้น ในขณะที่ "คุณค่าเทียม" นั้นเป็น คุณค่าที่ให้ผลทางสังคมเท่านั้น อาจมีผลเพียงเพื่อยกสถานะตนเอง เพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีคุณค่า พอใจแต่ถ่ายเดียว มิได้เป็นไปเพื่อความเจริญ ความเติบโต แต่เป็นไปเพื่อความพอใจเท่านั้น 

การเห็นซึ่ง "คุณค่าแท้" นั้นผมคิดว่ามีปัจจัยหลายประการมาก เพราะการเห็นคุณค่าแท้หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าเราถูกสอนหรือถูกชี้นำเรื่องเป้าหมายในชีวิตอย่างไร ซึ่ง ณ ปัจจุบัน สื่ออาจจะมีบทบาทหลักในเรื่องนี้มากกว่าการศึกษา... และเรามีศักยภาพในการเข้าใจ ผลของการกระทำของเรา หรือประโยชน์ของสิ่งที่เรากำลังจะจับจ่ายซื้อมามากขนาดไหน และตัวเรามีความพร้อมที่จะมีศักยภาพเหล่านี้ในช่วงเวลาเหล่านั้นหรือไม่ ซึ่ง ศักยภาพเรื่องนี้ดูจะเน้นไปทีเรื่องของ "สติ" อย่างมากทีเดียว

เรื่องคุณค่าแท้นี้มีความเกี่ยวข้องกับคุณธรรมอย่างมาก แต่ผมค่อนข้างมั่นใจว่ามันเป็นอีก องค์ประกอบหนึ่ง มิได้รวมอยู่ในคุณธรรม ... เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องภายในจริงๆ แม้ผู้ที่ยึดคุณธรรม แต่มิได้มีมุมองที่ถูก มีเป้าหมายที่ถูก เพื่อปัญญา เพื่อประโยชน์ เพื่อความเจริญ แล้ว ย่อมไม่พอเพียงได้ง่ายๆเหมือนกัน

ฉะนั้น ทั้งหมดทั้งปวง ประเด็นที่ผมอยากจะเสนอตรงนี้ก็คือ ผมคิดว่าประเด็นเรื่องการมีประสิทธิภาพ กับ เป้าหมายแห่งความพอประมาณ ดูเป็น area ในเศรษฐกิจพอเพียงที่ยังไม่ได้ซ้อนทับกับศาสตร์ของฝั่งตะวันตก และเป้าหมายนั้นผมคิดว่าเชื่อมโยงกับคอนเซปสำคัญทางศาสนา โดยเฉพาะศาสนาพทธในเรื่องของการเห็นคุณค่าแท้ คือการทำอะไรเพื่อความเจริญ เพื่อประโยชน์ เพื่อปัญญา และผมคิดว่ามันไม่ได้อยู่ร่วมกับเงือนไข คุณธรรมดัวยครับ

หมายเลขบันทึก: 151949เขียนเมื่อ 7 ธันวาคม 2007 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อาจารย์ชลคะ

แนะนำให้อาจารย์อ่านพุทธเศรษศาสตร์เพิ่มเติมนะคะ   อย่างเช่น ความมีเหตุผล  อาจารย์อภิชัยตีความว่าสอดคล้องกับเรื่องของ "ปัญญา" มากกว่า

เทียบเคียงกับฝรั่ง จะได้แต่ "คำศัพท์" ที่คล้ายกันหรือซ้อนทับกัน  แต่ "ความหมาย" นั้น ต่างกันพอสมควร

กำลังสอน sustainable livelihood อยู่พอดีค่ะ  ค่อยช่วงหลังจึงจะสอนเรื่องแนวคิดแบบตะวันออก เช่น เศรษฐกิจพอเพียง ดีเหมือนกันค่ะ  จะได้ลองให้นักศึกษาในห้องตีความเปรียบเทียบดูบ้าง (ถ้านักศึกษายอมอ่านหนังสือตามที่ assign)

 อย่างอมาตยา เซน นี้ ถือว่าเป็นแนวคิดตะวันออกได้ไหมคะ ?

รักษาสุขภาพด้วยค่ะ

   

  

 

:D ผมจะไปอ่านเพิ่มครับ 

แต่อาจารย์ครับ ปัญญานั้นปราศจากเป้าหมายที่ถูกแต่ต้นก็ยากจะเกิดได้นะครับ แต่จะลองกลับไปอ่านพุทธธรรมอีกสักรอบด้วยครับ

เรื่องแนวคิดตะวันออกตะวันตกนี่พูดลำบากเหมือนกันครับ  :D แต่สำหรับผมแล้ว อาจจะหยาบไปหน่อย แต่แว่บแรกผมกลับจัดงานที่ตีพิมพ์ใน Journal ต่างประเทศ เป็นงานฝั่งตะวันตกมากกว่า รวมถึงอมาตย เซนด้วยน่ะครับ

และตะวันออกจากลองตรวจตราตัวเอง ผมว่าผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนามากกว่า

 ถ้าในเชิงเนื้อหา ผมอาจจะ bias ไปได้ว่า หากเน้นในเชิงการพัฒนาภายใน หรือสิ่งที่อยู่ภายในเป็นสาระของตะวันออก ในขณะที่ เน้นเรือ่งภายนอก ปัจจัยแวดล้อม ดูจะเป็นเรื่องตะวันตกนะครับ 

จริงๆแล้วว่าจะบอกอาจารย์เรื่องหนังสือที่ผมว่าน่าสนใจเหมือนกันครับ แต่อาจารย์อาจจะอ่านไปแล้วก็ได้ครับ :)

 ขอบคุณครับ

 

พุทธ-เศรษฐศาสตร์ 

เมื่อมีเป้าหมายที่ถูกต้อง => เกิดปัญญา

เมื่อไม่มีเป้าหมายที่ถูกแต่ต้น => มิจฉาทิฐิ

อ่ะ อ่านแล้วเหมือนได้่เรียนเศรษฐศาสตร์ ดีจัง  

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท