การแบ่งส่วนงานของมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ


 

 

พ.ร.บ. มน. 

 

พ.ร.บ. ม.มหิดล 

มาตรา ๘  มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนงาน ดังนี้
  (๑) สำนักงานมหาวิทยาลัย
  (๒) วิทยาเขต
  (๓) คณะ
  มหาวิทยาลัยอาจมีส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าส่วนงานตามวรรคหนึ่ง เพื่อดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗ เป็นส่วนงานในมหาวิทยาลัยอีกได้
  ส่วนงานตามวรรคหนึ่งและวรรคสองอาจแบ่งเป็นหน่วยงานภายในของส่วนงานนั้นอีกได้ 
มาตรา ๑๐  มหาวิทยาลัยอาจแบ่งส่วนงาน ดังนี้
   (๑) สํานักงานสภามหาวิทยาลัย
   (๒) สํานักงานอธิการบดี
   (๓) วิทยาเขต
   (๔) คณะ
   มหาวิทยาลัยอาจให้มีส่วนงานที่ เรียกชื่ออย่างอื่นเพื่อดําเนินการตามวัตถุประสงค์ในมาตรา ๗ เป็นส่วนงานในมหาวิทยาลัยอีกได้
   สํานักงานอธิการบดี มีหน้าที่ จัดการงานบริหารทั่วไปของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
   คณะ มีหน้าที่จัดการศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และบัณฑิตศึกษา ทําการวิจัยนําผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และให้บริการทางวิชาการ
   สํานักงานสภามหาวิทยาลัย สํานักงานอธิการบดีวิทยาเขต คณะ และส่วนงานที่ เรียกชื่ออย่างอื่น อาจแบ่งส่วนงานเป็นหน่วยงานภายในของส่วนงานนั้นได้ 

ข้อสังเกต

  • มน. กำหนด ส่วนงานระดับสูงสุดของมหาวิทยาลัย เป็น สำนักงานมหาวิทยาลัย  ถ้ากลับไปพิจารณา ความหมายของคำว่า สำนักงานมหาวิทยาลัย ในมาตรา ๔ อีกครั้ง ก็จะพบว่า หมายถึง ส่วนงานบริหารกลางของมหาวิทยาลัย  ดังนั้น ดิฉันจึงสรุปเอาเองว่า  สำนักงานมหาวิทยาลัย แบบใหม่ ไม่ต่างอะไรจาก สำนักงานอธิการบดีแบบดั้งเดิม
  • ม.มหิดล  กำหนดส่วนงานระดับสูงสุด เป็นสำนักงานสภามหาวิทยาลัย รองลงมาเป็น สำนักงานอธิการบดี โดยระบุหน้าที่ของสำนักงานอธิการบดีไว้ชัดเจนว่า จัดการงานบริหารทั่วไปของมหาวิทยาลัย หรือตามที่สภามหาวิทยาลัยมอบหมาย
  • สำนักงานสภามหาวิทยาลัย เป็นของใหม่ เป็นนวัตกรรมใหม่ด้านโครงสร้างการบริหารมหาวิทยาลัยของมหิดลกระมังคะ  ดิฉันคิดเอาเองว่า เจตนาของการแบ่งส่วนงานดังนี้ก็เพราะ  ในยุคมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ  ทำให้สภามหาวิทยาลัยต้องแสดงบทบาทมากขึ้น มีงานมากขึ้น  จึงต้องมีหน่วยงานที่เป็นเหมือนเลขา ให้การสนับสนุนการดำเนินงานต่างๆ แก่สภามหาวิทยาลัย และเป็นหน่วยงานที่ขึ้นตรงต่อสภามหาวิทยาลัย

 

หมายเลขบันทึก: 151894เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • เรียน อาจารย์ มาลินี
  • จริง ๆ แล้วการที่เราจะเปลี่ยนอะไรซักอย่างหนึ่ง นกว่ามันยากเหมือนกันคะ ทั้ง ๆ ที่สิ่งใหม่มันเหมือนจะดี แต่การทำงานมันก็ยากคะ เป็นสิ่งที่พบกับตัวเองคะอาจารย์

ชื่นใจ เหมือนได้น้ำทิพย์ชโลมใจในหน้า Blog ของคุณรัตน์ชนกจริงๆค่ะ  : )

ให้กำลังใจอาจารย์ครับ  วันนี้ไปร่วมประชุมกับ ม.มหิดล  อาจารย์ที่นั่นก็ยังบ่นเรื่องนี้อยู่  ว่าจะเอาอย่างไรดี  มีปัญหาจนเครียด
  • เรียน ท่านคณบดี
  • ขอเป็นกำลังใจให้ท่านคณบดีสู้ๆ นะค่ะ
  • การออกนอกระบบถือว่าดีเพราะเป็นการพิสูจน์ความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรหลายๆ ด้าน 
  • ม.ราชภัฏหลายๆ แห่งมีสำนักงานสภามหาวิทยาลัยแล้วและก็ทำงานหนักเสียด้วยตามที่ท่านคณบดีกล่าวด้านบน ที่ทำอยู่ในปัจจุบันต้องรู้ทั้งกฎหมายที่เกี่ยวข้องและค่อยติดตามงานด้านต่างๆ ของการบริหารงานมหาวิทยาลัย ค่อยกำกับติดตามผลการปฎิบัติงานตาม ก.พ.ร. + สมศ.+สกอ.

          ขอบคุณ "ลุงเอก" มากค่ะสำหรับกำลังใจ 

          ดิฉันก็เป็นห่วงพรรคพวกที่มหิดลเหมือนกัน เพื่อนรักคนหนึ่งของดิฉัน เป็นผู้บริหารที่มหิดล ก็ถูก พ.ร.บ. บีบให้ตัดสินใจภายใน 60 วัน นับจากวันที่ พ.ร.บ.ใช้บังคับ  ว่าจะออก หรือไม่ออกนอกระบบ  ถ้าไม่ออกก็ได้ แต่ต้องลงจากตำแหน่งบริหาร  แต่ถ้าออกก็สามารถดำรงตำแหน่งต่อไปได้จนครบวาระ 

          แม้เขาจะมีคำตอบอยู่ในใจแล้วก็ตาม  ว่าจะขอออกนอกระบบ  แต่เอาเข้าจริง  เมื่อถึงวันที่ต้องตัดสินใจ ก็หวิวๆ (แทบจะเป็นลม...มั้ง?) เหมือนกัน 

          7 ปีที่แล้ว  ดิฉันก็เป็นอย่างนี้  ทั้งที่อยากจะคุยว่า ดิฉันเป็นคนชอบความเปลี่ยนแปลง ชอบของแปลก  ชอบความท้าทาย  ยังต้องทำใจอยู่นานทีเดียว... เช่นกัน

<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<<

          สวัสดีจ๊ะเยา (sarita) ยังจำได้อยู่เลยว่า มีอยู่ช่วงหนึ่ง (ตอนนั้นเยายังอยู่ที่ สหเวชฯ มน.)ที่เราเคยศึกษาเรื่อง พ.ร.บ. ออกนอกระบบด้วยกัน  แล้วเยายังอุตส่าห์หา พ.ร.บ. ม.อื่นๆ ตั้ง 3 มหาวิทยาลัย ซึ่งเขียนเทียบกัน มาตราต่อมาตรา มาให้ดู เป็นเพราะเยาแท้ๆ  ตอนนั้นอาจารย์ถึงได้เรียนรู้มากทีเดียว  นี่ขนาดอยู่ไกลกัน  ยังตามมาให้ความเห็นและให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีก  ไม่ทราบจะบอกว่ายินดีแค่ไหน  โดยเฉพาะบันทึกนี้ เยาทำให้อาจารย์มั่นใจขึ้นมาก ว่าการวิเคราะห์แบบงูงู ปลาๆ ของอาจารย์  มีเหตุผลพอเชื่อถือได้จริงๆ  ขอบคุณมากๆ ค่ะ....

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท