120 ปีไทยญี่ปุ่น-ความเป็นหุ้นส่วน-กับวัฒนธรรมข้าราชการไทย


เมื่อต้องทำงานบนฐานความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน กระบวนการจึงสำคัญกว่าผลของการแลกเปลี่ยนกันทางเศรษฐกิจ

วันที่ 30 พย. ได้เข้าร่วมงานสัมมนา 120 ปีไทย-ญี่ปุ่น ที สกว.จัดร่วมกับ มธ.  เราต้องพูดในหัวข้อ "ความหมายของการเป็นหุ้นส่วน (partnership)"   ทั้งนี้ เนื่องจาก ญี่ปุ่นใช้คำว่า "หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ" (Economic Partnership)  ไม่ได้ใช้คำว่าเขตการค้าเสรีแบบที่ฝรั่งใช้

มีผู้เข้าร่วมทั้งไทยและญี่ปุ่น

เขาให้เราแสดงความเห็นว่า หุ้นส่วน คืออะไร

โดยส่วนตัวเราชอบคำนี้   ที่จริงคำนี้  ธนาคารโลกก็ใช้กับประเทศไทย   ชาวบ้านไทยเองก็เริ่มใช้คำนี้กับหน่วยงานภาครัฐ   ความหมายจึงบ่งบอกถึงความเท่าเทียมกันในศักดิ์ศรี

เราขอยืม concept  share and care ไป ประยุกต์ใช้

ในความเป็นหุ้นส่วนนั้น

ต้องมี share  ไม่ใช่เฉพาะ share vision แบบ KM  แต่ ต้อง share benefit  และ share cost

พวกเราส่วนมากชอบพูดถึงการแบ่งปัน ในแง่การแบ่งปันประโยชน์  (share benefit) แต่ไม่ค่อยพูดถึงการแบกรับภาระที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน (share cost)  

ต้องมี care โดยเฉพาะในวัฒนธรรมเอเชียที่ให้ความสำคัญกับระบบความสัมพันธ์ทางสังคมมากกว่าฝรั่ง  

และประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่นก็มีมากกว่าความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ  ความสัมพันธ์มีทั้งที่ดีและไม่ดี เช่น ในอดีตไทยเคยต่อต้านสินค้าญี่ปุ่น  ปัจจุบัน วัยรุ่นไทยหลงใหลวัฒนธรรมญี่ปุ่น  ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ต้องมองลึกกว่า ความสัมพันธ์บนโต๊ะเจรจาระหว่างนักการฑูตที่อ้างว่าเพื่อประชาชน   ความสัมพันธ์บนรากฐานความเข้าใจของประชาชนจึงเป็นสิ่งจำเป็นในระยะยาว

เมื่อต้องทำงานบนฐานความสัมพันธ์ระหว่างประชาชน  กระบวนการจึงสำคัญกว่าผลของการแลกเปลี่ยนกันทางเศรษฐกิจ

เรามองว่ากระบวนการที่สำคัญ คือ การให้ประชาชนในแต่ละประเทศได้รับรู้ข้อมูลและมีส่วนร่วมให้มากที่สุด  กระบวนการเจรจาและการปฏิบัติใดๆจึงต้องโปร่งใส และชี้แจงให้คนในชาติได้รับทราบ   

กระบวนการที่สองคือ การดูแลชดเชยผู้เสียประโยชน์   การเปิดเสรีการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ  เมื่อมองกลับมาภายในของแต่ละประเทศ  จะมีฝ่ายได้ประโยชน์  และฝ่ายเสียประโยชน์  

เราต้องการให้ประโยชน์มากกว่าต้นทุนเพราะสามารถนำประโยชน์มาชดเชยดูแลผู้เสียประโยชน์แล้วยังมีผลได้สุทธิเหลืออยู่กับสังคม  ที่ผ่านมา  รัฐไทยไม่เคยดูแลผู้เสียประโยชน์จากกระบวนการกำหนดนโยบาย   ผู้เสียประโยชน์ถูกอ้างว่าเป็นคนที่ต้องเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม  ปัญหาคือ ผู้เสียประโยชน์มักเป็นคนกลุ่มเดิมที่ไม่ค่อยมีปากเสียงแล้วถูกผลักให้เป็นผู้เสียสละซ้ำซาก

หากคนไทยไม่รับรู้เหตุผลของรัฐในการลงนาม  หากคนไทยผู้เสียประโยชน์จากการทำสัญญากับญี่ปุ่นไม่ได้รับการดูแล  แล้วเขาจะชื่นชมญี่ปุ่นได้อย่างไร

 ความเป็นหุ้นส่วนที่แท้ จึงไม่ใช่อยู่บนโต๊ะเจรจาระหว่างประเทศ   แต่จะต้องมีกระบวนการ share และ care กับคนในประเทศด้วย

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไม่ใช่ one-shot game  แต่เป็น repeated game   EPA ไทยญี่ปุ่น หรือ JTEPA จึงควรเป็นสิ่งที่จะต้องมีการประเมินและปรับแก้ได้

เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นรับฟังด้วยความตั้งใจ  แต่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของไทยท่านกล่าว speech เสร็จ ท่านก็กลับไปแล้ว 

วัฒนธรรมข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ไทยเป็นเช่นนี้ คือ  พูดให้คนอื่นฟัง แต่ไม่ค่อยฟังคนอื่นพูด  ...แล้วจะ share และ care กันได้อย่างไร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 151845เขียนเมื่อ 6 ธันวาคม 2007 18:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • หุ้นส่วน คือการ ร่วมทุกข์-ร่วมสุข
  • สองประเทศ เป็นหุ้นส่วนกัน เพื่อเฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุข
  • การฟังอย่างใส่ใจ เป็นสัญญาณแรกของการเป็น "หุ้นส่วน" ครับ
  • ...หุ้นส่วนกับประเทศคู่เจรจา
  • ...หุ้นส่วนกับประชาชนของตนเอง

ที่ยากคือ ทุกคน ทุกประเทศ มักมีผลประโยชน์ส่วนตนอยู่เบื้องหลัง..

ข้อเท็จจริงมันก็เลยกลายเป็นเรื่องของอำนาจต่อรอง 

ความเป็น "หุ้นส่วน"  นั้น แค่ลดการใช้ "อำนาจ" ลง  การเจรจาต่อรองก็คงอยู่บนฐานความเสมอภาคมากขึ้น

คิดว่ายังงั้นนะคะ... สำหรับทั้งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ  และความสัมพันธ์ระหว่างผู้มีอำนาจกับประชาชนในประเทศ

ข้างในประเทศ  ตอนนี้เราใช้คำว่า "สมานฉันท์"  เช่น  การเมืองท้องถิ่นแบบสมานฉันท์    ... ต้องมานั่งทำความเข้าใจอีกค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท