พ.ร.บ. มน. ทีละมาตรา...ทีละมาตรา


          ประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่สำคัญ ที่ต้องบันทึกไว้ในวันนี้  คือการชะงักงันของ พ.ร.บ. ออกนอกระบบ

          ยากที่จะทราบอนาคตของมหาวิทยาลัยในเวลาข้างหน้าว่าจะเป็นอย่างไร  แต่ที่แน่ๆ อีกปีเศษ นับจากวันนี้ จะยังไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงอันเกี่ยวกับการนำมหาวิทยาลัยออกนอกระบบตามแถลงการณ์ของท่านอธิการบดี (รศ.ดร.มณฑล  สงวนเสริมศรี)  คลิ๊กหลักฐาน  แต่....  การเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นหล่ะ......มันก็บ่แน่ดอกนาย....

           อย่าวิตกกังวลมากเกินไป  มันอาจดีก็ได้  ( ดิฉันปลอบใจตัวเองด้วยประโยคนี้  ซ้ำไปซ้ำมา...ในใจ...)

          เพื่อให้คลายความกังวล (ของตัวดิฉันเอง) ต้องหางานทำให้มาก  อย่างน้อยเวลานี้ก็เป็นเวลาที่ดี  ที่จะทำความเข้าใจ พ.ร.บ. มน. อย่างรอบคอบ (อย่างที่มีหลายท่านคอยเตือน)  โดยศึกษาทีละมาตรา  ทุกมาตรา  แล้ววิพากษ์ด้วยตนเอง  ตามข้อจำกัดของสติปัญญาและความรู้อันน้อยนิด 

          ทั้งนี้ อาศัยประโยชน์ของ Blog ซึ่งเป็น Diary สาธารณะ  บางที....อาจช่วยให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ประชาพิจารณ์" ได้

          ดิฉันขอนำ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร เทียบเคียง กับ พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยพี่ใหญ่ ที่เพิ่งออกนอกระบบไปเมื่อไม่นานนี้ เพราะแน่ใจว่าองค์การขนาดใหญ่ ซับซ้อน วุ่นวาย และผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชนอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล  จะต้องกลั่นกรอง ควบแน่นมาแล้วเป็นอย่างดี  ถ้าพี่ใหญ่ทำได้  น้องเล็กก็ไม่น่าจะมีปัญหา  


   
 

พ.ร.บ. ม.นเรศวร 

พ.ร.บ. ม.มหิดล 

มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ...... พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า "พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๕๐"  
     
มาตรา ๒    พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป  
     
มาตรา ๓ 

ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ. ๒๕๓๓
(๒) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ 

ให้ยกเลิก
(๑) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๐
(๒) พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๑ 

     
มาตรา ๔ ในพระราชบัญญัตินี้   
  "มหาวิทยาลัย" หมายความว่า มหาวิทยาลัยนเรศวร  "มหาวิทยาลัย" หมายความว่า มหาวิทยาลัยมหิดล 
  "สภามหาวิทยาลัย" หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยนเรศวร "สภามหาวิทยาลัย" หมายความว่า สภามหาวิทยาลัยมหิดล 
  "สำนักงานมหาวิทยาลัย" หมายความว่า ส่วนงานบริหารกลางของมหาวิทยาลัย  
  "วิทยาเขต" หมายความว่า เขตการศึกษาของมหาวิทยาลัยที่มีส่วนงานวิชาการตั้งแต่สองส่วนงานวิชาการขึ้นไป ซึ่งตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด  "วิทยาเขต" หมายความว่า ส่วนงานของมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในเขตท้องที่ตามที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด 
  "คณะ" หมายความว่า ส่วนงานวิชาการกลางของมหาวิทยาลัย  "ส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่น" หมายความว่า ส่วนงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ 
  "พนักงาน" หมายความว่า พนักงานของมหาวิทยาลัยนเรศวร   
  "อาจารย์" หมายความว่า อาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร    
  "สภาอาจารย์" หมายความว่า สภาอาจารย์มหาวิทยาลัยนเรศวร "สภาคณาจารย์" หมายความว่า สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล  
    "พนักงานมหาวิทยาลัย" หมายความว่า พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล 
    "ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย" หมายความว่า พนักงานมหาวิทยาลัยมหิดล ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการซึ่งสังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล  พนักงานซึ่งจ้างจากเงินรายได้ของมหาวิทยาลัย และพนักงานซึ่งจ้างโดยเงินอุดหนุนจากองค์กรภายนอกมหาวิทยาลัย 
  "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  "รัฐมนตรี" หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ 
มาตรา ๕ ให้มหาวิทยาลัยนเรศวรตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.๒๕๓๓ เป็นมหาวิทยาลัยนเรศวรตามพระราชบัญญัตินี้ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล  ให้มหาวิทยาลัยมหิดลตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.๒๕๓๐ เป็นมหาวิทยาลัยมหิดลตามพระราชบัญญัตินี้ และมีฐานะเป็นนิติบุคคล  
  มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ  มีฐานะเทียบเท่ากรม และเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน และกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น  มหาวิทยาลัยมหิดลมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ซึ่งไม่เป็นส่วนราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการและกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม และไม่เป็นรัฐวิสาหกิจตามกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณและกฎหมายอื่น  
     
มาตรา ๖  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้  

          ทั้ง 6 มาตรา มีความเหมือนบ้างและความต่างบ้าง (ตัวอักษรสีแดงคือส่วนที่ต่าง)

          ข้อสังเกต

มาตรา ๔  มน.เรียกว่า สภาอาจารย์ ม.มหิดล เรียกว่า สภาคณาจารย์

มาตรา ๕  ของมหาวิทยาลัยมหิดล  เพิ่มคำว่า กฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ  ด้วย  เห็นทีจะมีเจตนาบางอย่าง ซึ่ง ดิฉันก็จนด้วยเกล้าไม่ทราบว่าทำไมต้องกำหนด?  ได้แต่ตั้งสมมุติฐานว่า คงจะป้องกันไว้ทุกประตู ที่จะไม่ถูกครอบงำด้วยระบบราชการเดิมๆ (จะให้แน่คงต้องศึกษากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการอีกฉบับ)

          โอย!!...นี่แค่ 6 มาตราแรกเท่านั้น.....อยากจะรู้ว่าใครหมกเม็ดอะไร  ก็ต้องคว้านเนื้อ คว้านไส้ ออกให้หมดอย่างนี้แหละค่ะ  อย่าเพิ่งด่วนสรุป ด่วนประณามใครนะคะ...บาปกรรมเปล่าๆ

          ช่วยกันชำแหละแคะคุ้ยกันมากๆ นะคะ โดยเฉพาะผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และผู้ยังมีอนาคตอีกยาวไกลในมหาวิทยาลัยนเรศวร  แม้จะรอให้แน่ใจอย่างถึงที่สุด อีก  10 - 20 ปี ก็คงไม่สายกระมัง!!!   

หมายเลขบันทึก: 151128เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 17:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 พฤษภาคม 2012 15:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ผมเห็นด้วยนะครับ

นั่นคือสิ่งที่ถูกต้องที่สุด เพราะการนำออกมาเผยแพร่และตีแผ่จะได้รับประโยชน์อย่างมาก เหมือนรัฐธรรมนูญ ฉบับปี 2540 ที่มีการนำมาแจกจ่ายให้ทุกคนได้อ่านแม้แต่ลูกเล็กเด็กแดง ถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญที่มีเสียงของประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด ผมก็อยากเห็น พ.ร.บ. ม.นเรศวร มีการวิพากวิจารณ์อย่างแพร่หลาย เช่นนั้นเหมือนกัน หวังว่ามหาวิทยาลัยคงจะอนุเคราะห์พิมแจกและเผยแพร่แม้จะต้องยกร่างใหม่ก็ตาม แต่ พ.ร.บ. ของม.นเรศวร จะเป็นที่แรกที่มีส่วนร่วมของประชาคมและประชาชนอย่างแท้จริง

อยากรู้จุดประสงค์ของการเปรียบเทียบ พ..บ หรือไปลอกเขามาประเด็นที่น่าสงสัย1. ประเด็นที่ว่า ดิฉันขอนำ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยนเรศวร เทียบเคียง กับ พ.ร.บ. ของมหาวิทยาลัยมหิดล  มหาวิทยาลัยพี่ใหญ่ ที่เพิ่งออกนอกระบบไปเมื่อไม่นานนี้ เพราะแน่ใจว่าองค์การขนาดใหญ่ ซับซ้อน วุ่นวาย และผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชนอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล  จะต้องกลั่นกรอง ควบแน่นมาแล้วเป็นอย่างดี  ถ้าพี่ใหญ่ทำได้  น้องเล็กก็ไม่น่าจะมีปัญหา  - เท่าที่รู้มาว่ามหิดลออกนอกระบบก็ด้วยการทำแบบเงียบๆ เหมือนกัน บุคลากรในมหาวิทยาส่วนใหญ่นิสัยดีไม่ค่อยโต้แย้ง-ประเด็นพี่ใหญ่ทำได้ น้องเล็กไม่น่ามีปัญหา นี่แหละที่ทำให้มีปัญหา กล่าวคือมหาวิทยาลัยที่มีรากฐานแน่น อย่างมหิดลประกอบด้วยบุคลากรที่มีทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและประสบการณ์ มหาวิทยาลัยมีฐานะทางการเงินและงานวิจัยที่ดีเลิศในระดับประเทศและในเอเซีย รวมทั้งมีงานบริการแหล่งหารายได้ที่ดีที่สุด  เทียบกับมหาวิทยาลัยนเรศวร ยังหารายได้ได้น้อย งานวิจัยยังลุ่มๆดอนๆ แล้วเทียบกัน คิดไม่ออกจริงๆว่า เทียบได้รึเปล่ากับการออกนอกระบบแล้วจะไม่มีผลกระทบกับใครๆ (คิดง่ายๆ  มหิดลออกได้เพราะมั่นคงแต่ยังหาข้อยุติเรื่องสวัสดิการของบุคลากรยังไม่ได้เลย)2. ประเด็นที่ว่า มาตรา 4  ตามความหมายของ คำว่า "พนักงาน" ของมหาวิทยาลัยนเรศวร พนักงาน หมายรวมทั้งอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน  เท่าที่ดูยังไม่มีตรงไหนบอกเลยว่า พนักงานของมหาวิทยาลัยนเรศวรหมายรวมทั้งอาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน   ในพ... มน. เขียนไว้หรือไม่ หรือเป็นความคิดของอาจารย์เอง เพราะ เขียนแค่ พนักงาน" หมายความว่า พนักงานของมหาวิทยาลัยนเรศวร แต่ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คำว่า สภาคณาจารย์" หมายความว่า สภาคณาจารย์มหาวิทยาลัยมหิดล   ก็ถูกต้องแล้ว เพราะเป็นสภาอาจารย์ไม่ใช่สภาพนักงาน             ส่วนมน.จะใจกว้างหรือไม่ ไม่รู้ไม่เห็นเขียนให้ข้าราชการเข้าไปอยู่ในสภาพนักงานได้เลย3. ประเด็นที่ว่า โอย!!...นี่แค่ 6 มาตราแรกเท่านั้น.....อยากจะรู้ว่าใครหมกเม็ดอะไร  ก็ต้องคว้านเนื้อ คว้านไส้ ออกให้หมดอย่างนี้แหละค่ะ  อย่าเพิ่งด่วนสรุป ด่วนประณามใครนะคะ...บาปกรรมเปล่าๆ  หกมาตรานี้แค่เกริ่นนำ  จะมีอะไร แค่แปลความของคำต่างๆ  ก็ไม่ควรสรุปเหมือนกันว่าจะไม่มีใครหมกเม็ด ก็บาปกรรมมีจริงๆ 

ผมว่านะ.....คุณดุเดือดเกินไปนะครับ
จะคิดจะพูดแสดงความเห็นขอให้ใจเย็นๆ
ไม่โน้มเอียงด้วยความชอบและมิชอบใดๆ
เพราะสำเนียงย่อมส่อภาษา กริยา วาจา อาการย่อมส่อถึงสกุล

ทีนี้เรามาเรื่องที่มีสาระดีกว่าครับ เริ่มจาก....

1....- เท่าที่รู้มาว่ามหิดลออกนอกระบบก็ด้วยการทำแบบเงียบๆ

ผมให้ความเห็นว่า....
แสดงว่าสิ่งที่คุณรู้ยังไม่ใช่ข้อ "เท็จจริง"
แต่เป็นเพียง ......เค้าว่างั้น .......เค้าเล่าว่า
.......เค้าบอกว่า.....โอยยย แย่ครับพี่น้องการปล่อยข่าวลือให้ปลาซิวปลาสร้อยแตกตื่นตูมตาม
มันทำให้สังคมบ้านเราแย่ลงๆๆๆ และแย่ลง
วิสัยแบบนี้นะครับ สามล้อเค้าทำกันครับ

ผมแนะนำว่า..... อย่าเชื่อในสิ่งที่ฟังกันมา (โปรดศึกษากาลามสูตร http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3 )


2....-เหมือนกัน บุคลากรในมหาวิทยาส่วนใหญ่นิสัยดีไม่ค่อยโต้แย้ง-

ผมให้ความเห็นว่า....ธรรมชาติของมนุษย์เรานะครับหากสิ่งใดนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่พึงปราถนาเราย่อมหลีกเลี่ยงมัน แต่หากสิ่งใดเป็นสิ่งที่ปราถนาหรือพอจะยอมรับได้เราย่อมไม่รังเกียจที่จะรับมันไว้ ใช่หรือไม่ครับ ???

ดังนั้นการที่บุคลากรไม่โต้แย้งนั่นก็หมายความว่าเป็นสิ่งที่พวกเขายอมรับได้ แล้ว...เขาผิดเหรอครับที่เค้ายอมรับได้ ตกลงว่าบุคลากรผิดหรือคนที่เห็นต่างไปจากคุณนั้นผิด

ผมแนะนำว่า....คิด พูด ทำ(รวมถึงพิมพ์ด้วยนะครับ) อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง พึงสำนึกไว้เสมอว่าเราไม่ใช่ศูนย์กลางของสุริยจักรวาล เราเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญพอๆกับส่วนอื่นๆ เช่นกัน

 

อย่างไรเสีย ผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงย่อมนำมาซึ่งความตื่นตระหนกให้แก่ผู้อยู่สภาพแวดล้อมนั้นๆ
การเปลี่ยนแปลงมีทั้งดีและเลวในตัวมันนะครับ
ดังนั้นเราควรศึกษาอย่างถ่องแท้ อย่าเอาความอคติเป็นที่ตั้ง

เพราะไม่อย่างนั้นเราและคุณ จะไม่มีทางเรียนรู้ร่วมกันได้
หากเรียนรู้ร่วมกันไม่ได้ ความเข้าใจในกันและกันย่อมไม่เกิดขึ้นมา

แต่หากเราคุยกัน ปรึกษากัน ปรับความเข้าใจกันโดยเปิดกว้าง ยอมรับในกันและกันได้
เมื่อนั้นผมคิดว่าเราจะหาจุดร่วมระหว่างผู้สนับสนุนและผู้คัดค้าน

ไม่เป็นไรนะครับวันนี้เสียแล้วเสียไป วันพรุ่งนี้เดินหน้ากันใหม่ทำให้ดีกว่าเดิมด้วยกัน

ฝากไว้กับทุกท่านครับ คนที่ไม่พัฒนา คือคนที่ตายแล้ว

น่าเสียดายจริงๆครับ เวลาอันมีค่าของผมหมดลงแล้ว
ผมกลับก่อนล่ะ

น่าเห็นใจท่านนะครับอุตสาห์หารายชื่อ 2000 คนสนับสนุน ช่วยนำมาแสดงด้วยนะคะ เดี๋ยวเขาไม่เชื่ออีกนะจะบอกให้

เปิดความจริงหลังม.มหิดลออกนอกระบบ สิทธิรักษาพนง.น้อยกว่าเดิม-เงินเดือนขึ้นลูกผีลูกคน
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 11 ธันวาคม 2550 09:06 น.
       ตีแผ่ความจริงหลังการนำม.มหิดลพ้นระบบราชการ เผยปัญหารุมเร้าสารพัด โดยเฉพาะ “พนักงานมหาวิทยาลัย” กว่าหมื่นคนที่ถูกลอยแพอย่างเจ็บช้ำน้ำใจ เหตุได้รับสิทธิและสวัสดิการในการรักษาพยาบาลน้อยกว่าเดิม โดยผู้บริหารพยายามผลักดันให้ใช้สิทธิประกันสังคม ขณะที่การปรับอัตราเงินเดือนใหม่ก็ไม่ได้เป็นไปตามที่เคยนำเสนอ เงินเดือนอาจารย์ที่จะให้เพิ่ม 1.7 เท่าก็ลดลงเหลือไม่เกิน 1.5 เท่า ส่วนพนักงานอื่นๆ จากเพิ่ม 1.5 เท่าก็ลดลงเหลือไม่เกิน 1.3 เท่า เเต่สุดท้ายผู้บริหารกลับบอกว่ายังไม่เเน่นอน อ้างก.คลังยังไม่ตอบว่าจะให้งบประมาณเท่าไหร่

       ม.มหิดลถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในยุครัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี และ นายวิจิตร ศรีสอ้านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่ถูกผลักดันให้นอกระบบ
       
       ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ดูเหมือนว่า การออกนอกระบบของมหาวิทยาลัยแห่งนี้จะเป็นไปด้วยความราบรื่น และไม่มีปัญหาอะไรปรากฏสู่สายตาของบุคคลภายนอก แต่ความจริงก็คือ การออกนอกระบบของม.มหิดลไม่ได้สวยหรูอย่างที่หลายคนวาดฝันไว้ ยิ่งกับบรรดา “พนักงานมหาวิทยาลัย” ด้วยแล้ว ยิ่งต้องบอกว่า ถึงขั้นช้ำใจเลยทีเดียว
       
       แหล่งข่าวระดับสูงในม.มหิดลให้ข้อมูลว่า ขณะนี้ภายในมหาวิทยาลัยมีปัญหาและข้อขัดแย้งเกิดขึ้นหลายประการ เนื่องจาก พ.ร.บ.ม.มหิดล พ.ศ.2550 ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ดำเนินการอย่างเร่งรีบ ไม่ได้มีการให้ข้อมูลกับประชาคมเกี่ยวกับการบริหารจัดการหลังการออกนอกระบบอย่างชัดเจนเเละรอบด้าน รวมทั้งไม่สอบถามความคิดเห็นจากประชาคมอย่างเพียงพอ ขณะที่การออกกฎหมายลูก ผู้บริหารดำเนินการเองโดยไม่ได้มีตัวแทนของพนักงานมหาวิทยาลัยเข้าไปมีส่วนร่วมในการร่างข้อบังคับ ทำให้ขณะนี้สภาพการบริหารงานภายในเต็มไปด้วยปัญหา สับสน เพราะขาดการเตรียมพร้อมที่ดีพอและไม่มีใครทราบว่า อนาคตจะเป็นอย่างไร
       
       ทั้งนี้ ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ การเปลี่ยนแปลงของข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับสิทธิและสวัสดิการในการรักษาพยาบาล กล่าวคือ ในพ.ร.บ.ม.มหิดล ไม่ได้กำหนดชัดเจนเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และสวัสดิการในการรักษาพยาบาล ของพนักงานมหาวิทยาลัย เพียงเเต่กำหนดในหลักการว่าผู้ที่เลือกเป็นข้าราชการต่อไปก็จะยังคงได้รับสิทธิและสวัสดิการในการรักษาพยาบาลเหมือนเดิม ส่วนผู้ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆและสวัสดิการไม่น้อยกว่าเดิม แต่ขณะนี้ผู้บริหารกลับตัดสินแทนพนักงานมหาวิทยาลัยให้ไปใช้สิทธิประกันสังคมทั้งหมด โดยที่ไม่เคยมีการให้ข้อมูลเเละรับฟังความเห็นของพนักงานก่อน โดยส่งรายชื่อพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุนทั้งหมดให้ไปใช้สิทธิประกันสังคมตั้งเเต่วันที่ 17 ต.ค.50
       
       “เดิมในส่วนของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุนประจำจะถูกหักเงินเดือน 10% เพื่อจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลให้เหมือนข้าราชการทุกอย่างคือ เบิกได้ทั้งตนเอง พ่อแม่และลูก แต่เมื่อดันให้ไปเข้าประกันสังคมก็หมายความว่า ต่อไปนี้จะเบิกได้เฉพาะตัวเองคนเดียวซึ่งมีข้อจำกัดมากมาย เมื่อมีการต่อต้าน ผู้บริหารก็เสนอเพิ่มเติมเข้ามาว่า นอกจากสิทธิประกันสังคมแล้ว พนักงานจะสามารถเบิกเงินจากกองทุนสวัสดิการได้ 2 หมื่นบาทต่อปี แต่ถ้าเกินจากนั้นก็จะต้องร่วมกันจ่ายคนละครึ่งแต่ไม่เกิน 5 หมื่นบาทต่อปี แต่เมื่อนำไปเปิดเผยกับประชาคมทั้งที่ ศาลายา รามาฯและศิริราชก็ถูกโจมตีอย่างหนัก”
       
       แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า จากการรับฟังความเห็นที่ผ่านมา ประชาคมต้องการให้มีการบริหารจัดการเรื่องการรักษาพยาบาลเองภายในมหาวิทยาลัยเพื่อความคล่องตัวในการทำงานและน่าจะดูแลพนักงานได้ดีกว่าประกันสังคม เนื่องจากมหาวิทยาลัยมีโรงพยาบาลในสังกัดถึง 4 แห่งคือศิริราช รามาธิบดี โรงพยาบาลคณะเวชศาสตร์เขตร้อน และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกที่ศาลายา เเต่ก็ไม่เคยได้รับการชี้เเจงจากผู้บริหาร ซึ่งถ้าม.มหิดลบริหารจัดการเรื่องการรักษาพยาบาลเองได้ มหาวิทยาลัยอื่นก็สามารถใช้เป็นเเนวทางได้
       
       สำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยของม.มหิดลนั้น แบ่งออกเป็นหลายประเภทเเละมีจำนวนเกินกว่า 10,000 คน
       
       “เราเป็นมหาวิทยาลัยทางการแพทย์ ไม่มีเหตุผลที่จะทำเรื่องนี้ไม่ได้ ทำไมไม่ไปดูแบบอย่างจาก ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีที่เขาออกนอกระบบไปก่อนเราเเละเขาจัดสวัสดิการให้พนักงานมหาวิทยาลัย เหมือนข้าราชการทุกอย่างได้โดยไม่เข้าประกันสังคม พวกเราดูแล้วเหมือนกับว่า ทำอย่างไรก็ได้ให้ออกนอกระบบไว้ก่อน ส่วนจะมีปัญหาอะไรค่อยไปว่ากันทีหลัง”
       
       “เท่าที่ทราบตอนนี้พนักงานที่รามาฯ ได้ล่ารายชื่อยื่นให้กับมหาวิทยาลัยไปแล้วว่า ต้องได้สิทธิไม่น้อยกว่าเดิม ซึ่งไม่ทราบว่าทางผู้บริหารได้นำมาพิจารณาหรือเปล่า และล่าสุดทราบว่านำเข้าสภามหาวิทยาลัยไปประมาณ 2 อาทิตย์แล้ว พวกเราก็ยังไม่ทราบเหมือนกันว่าจะออกมาอย่างไรเพราะตอนที่แก้ไม่ได้นำมาเปิดเผยให้ประชาคมดูก่อน”
       
       แหล่งข่าวกล่าวด้วยว่า เรื่องอัตราเงินเดือนที่จะเพิ่มขึ้นก็ไม่เป็นไปอย่างที่เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้ กล่าวคือก่อนที่จะออกนอกระบบนั้น ผู้บริหารแจ้งให้ทราบว่า ผู้ที่เป็นอาจารย์จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.7 เท่า ขณะที่พนักงานกลุ่มอื่นๆ จะได้รับเงินเดือนเพิ่มขึ้นจากเดิม 1.5 เท่า แต่เมื่อกฎหมายผ่านสนช.มาแล้ว ผู้บริหารกลับมาบอกว่าอัตราเงินเดือนใหม่คือ อาจารย์ลดลงเหลือไม่เกิน 1.5 เท่าและพนักงานอื่นๆ ลดเหลือไม่เกิน 1.3 เท่า เเต่ขณะนี้ก็ยังไม่เเน่นอนอยู่ดี อาจจะลดลงไปอีกก็ได้
       
       “ตอนแรกผู้บริหารอ้างว่าที่ต้องลดการเพิ่มเงินเดือนเพราะได้รับงบประมาณมาน้อย แต่พอซักไปซักมาก็บอกใหม่ว่า มหาวิทยาลัยยังไม่รู้ว่ากระทรวงการคลังจะให้งบประมาณมาเมื่อไหร่ จำนวนกี่มากน้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่ตลกมาก เพราะความจริงกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ตั้งแต่ต้นปี เเละผ่านวาระ 2 เเละ 3 ตั้งเเต่กลางเดือนส.ค. เเละมีผลบังคับใช้ เมื่อกลางเดือนต.ค.ไม่ใช่เพิ่งเสร็จ ทำไมถึงไม่มีการสอบถามหรือตรวจสอบกับสำนักงบประมาณ จากรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องนี้ล่วงหน้า”
       
       “ความจริงพวกเราไม่เคยคัดค้านการออกนอกระบบเพราะเชื่อว่าน่าจะมีผลดีมากกว่าผลเสีย เเต่ผู้บริหารที่เราไว้วางใจมาตลอดว่าจะดูเเลพนักงานเเละมหาวิทยาลัยเป็นอย่างดีกลับไม่น่าไว้วางใจอีกต่อไป เราไม่อยากใช้ความรุนแรงด้วยการเดินขบวนประท้วงหรือหยุดงาน เพราะไม่เป็นผลดีกับทุกฝ่าย เราอยากมีส่วนร่วมในการรับรู้เเละให้ข้อมูลต่างๆด้วยการพูดคุยกันอย่างมีเหตุผล แต่ถ้ายังไม่รับฟังความเห็นของประชาคมเช่นนี้ต่อไป ก็คงต้องใช้เหมือนกัน”แหล่งข่าวรายเดิมกล่าว
       
       ดังนั้น จึงอยากจะขอเตือนให้มหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ยังไม่ได้ออกนอกระบบให้ทำอย่างรอบคอบ คำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาคมอย่างจริงใจและถ้าเป็นไปได้ให้ชะลอการออกกฎหมายเอาไว้ก่อนจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ และมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภามาช่วยกลั่นกรองอีกชั้นหนึ่งก่อน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท