คลิปวิดีโอ ข่าวการเสียชีวิตของครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติชาวกาฬสินธุ์


ครูเปลื้อง ฉายรัศมี ศิลปินแห่งชาติ ผู้เป็นต้นกำเนิด เครื่องดนตรี โปงลาง และถือว่า เป็นครูของ อี๊ด วงโปงลางสะออน ได้เสียชีวิต ณ โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ เมื่อช่วงเช้าวันที่  2 ธ.ค. 2550 ที่ผ่านมา หลังจากเข้ารักษาตัวด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง ซึ่งครูเปลื้องได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ตั้งแต่วันที่ 17 พ.ย.2550 ที่ผ่านมา ด้วยอาการปวดท้องอย่างรุนแรง เนื่องจากเยื่อบุช่องท้องอักเสบ และมีปัญหาที่ตับ + มีอาการปอดอักเสบเข้ามาแทรก

ซึ่งข่าวการเสียชีวิตได้ถูกนำเสนอทางสื่อต่างๆอย่างรวดเร็ว และนี่คือ ข่าวที่ออกอากาศในช่วงเช้าวันที่ 3 ธ.ค.2550
จากรายการข่าว MT CableTV  ของกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นบรรยากาศภาพข่าวจากโรงพยาบาลกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นภาพครอบครัวและลูกหลานของครูเปลื้องได้ไปเคารพศพ ซึ่งไม่สามารถชมภาพเหล่านี้ได้จากสื่อทีวีช่องอื่นๆ

กำหนดการตั้งศพของครูเปลื้อง จะได้นำไปตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดชัยสุนทร อ.เมืองจ.กาฬสินธุ์ ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ของวันที่ 3 ธ.ค.2550 เป็นต้นไป....

ขอแสดงความเสียใจต่อการจากไปของศิลปินแห่งชาติ ชาวกาฬสินธุ์ ครูเปลื้อง ฉายรัศมี มา ณ ที่นี้ด้วย

 

 ที่มา MT Cable TV

เพิ่มเติม

นายเปลื้อง ฉายรัศมี : ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้าน)

สิ้น เปลื้อง ฉาย รัศมี ศิลปิน แห่ง ชาติ โปงลาง เช้า วัน นี้

 

 

 

พิธีเปิดบ้านศิลปินแห่งชาติ ครูเปลื้อง ฉายรัศมี อย่างเป็นทางการที่กาฬสินธุ์

 

 

หมายเลขบันทึก: 151079เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2007 13:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 01:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่คิดไว้แล้วว่า น้องชายต้องเขียนเรื่องนี้ในฐานะลูกหลานคนกาฬสินธุ์ใช่ป่ะ

พี่เองก็ (ลูกหลานกาสินบ้านย่าอยู่กาไสย) เพิ่งได้ข่าวจากรายการเรื่องเล่าเช้านี้  ก็ตกใจมาก  เพราะพ่อเปลื้องที่พี่เคยเจอเป็นคนแข็งแรงและขยันมาก  ล่าสุดเจอกันช่วงเดือนกรกฎาคมที่ การประชุมภูมิปัญญาอีสาน  ก็ดูพ่อเปลื้องแข็งแรงตามวัยอ่ะนะ 

นึกไม่ถึงค่ะ

ขอแสดงความเสียใจกับญาติๆและลูกศิษย์ลูกหาของพ่อเปลื้องนะคะ 

พ่อเดินทางไกลแล้ว...หลับให้สบายนะพ่อนะ

  • ขอคารวะท่านอาจารย์เปลื้อง  ฉายรัศมี มาด้วยความเคารพ อาลัย
  • ผมได้ทราบข่าวนี้ทางบันทึก นายบอน ขอขอบคุณครับ
  • อาจารย์เปลื้อง  เป็นยอดนักคิด  นักสร้าง  นักวิจัยทางดนตรีในตัวเอง
  • การปรับปรุงลูกหมากโปงลาง  ตัวโน้ต  จากน้อย ๆ ไปหามาก  การพัฒนาลายเพลงโปงลาง  จากง่าย ๆ ไปหาซับซ้อน...  ลายภูไทเลาะตูบ  เนิบ ๆ ช้า ๆ ไปสู่ ลายนกไซบินข้ามทุ่ง  ลายกาเต้นก้อน  อันเป็นลายโปงลางยุคแรก ๆ จนพัฒนามาเป็นทำนองหลากหลายในปัจจุบัน
  • การตั้งวงแกนอีสาน ในวค.มหาสารคาม  การตั้งวิทยาลัยนาฏศิลป์ 2 แห่งเกือบพร้อม ๆ กันในกาฬสินธุ์และร้อยเอ็ด  เมื่อเกือบ 30 ปีก่อน  เป็นต้นทางทั้งสายดนตรีพื้นเมือง  และสายฟ้อนรำ  ผลิตนักศึกษาสถาบันที่กล่าวมากระจายกันไปเป็นครูสอนวงพื้นเมืองอีสาน  ทำการแสดงทั่วประเทศ  ทั่วโลก และที่กำลังโด่งดังคือศิลปินโปงลางสะออน.. เป็นต้น
  • บรรดาวงที่ใช้โปงลางนำ  วงเซิ้งนาฏศิลป์อีสาน  วงการผลิตบันทึกเพลงร้องบรรเลง  ล้วนเป็นเนื้อนาบุญของท่านอาจารย์เปลื้อง  อย่างแน่นอน
  • แม้ผมไม่ได้เรียนรู้จากมือครูโดยตรง  แต่ในยุคที่ผมฝึกเล่นและเอาไม้มะหาดมาฝึกทำโปงลาง  ก็รำลึกนึกถึงท่านดั่งครูมาตลอด
  • จึงขอแสดงความคารวะ  อาลัย  อาจารย์เปลื้อง  ฉายรัศมี  อย่างสุดซึ้งมา ณ โอกาสนี้
  • บันทึกที่ 2  เป็นบันทึกคารวะศิลปินแห่งชาติของครูชา ครับ
  • ขอบคุณ  นายบอน  ครับ

 

ขอคารวะและร่วมไว้อาลัย แด่ คุณครูเปลื้อง 

ฉายรัศมี      ศิลปินแห่งชาติ สาขา ดนตรีพื้นบ้านและการแสดง    ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ชาวกาฬสินธุ์ครับ และร่วมไว้อาลัย มา ณ โอกาสนี้

 จาก ลูกหลานชาวกาฬสินธุ์ แต่มาอยู่ นครราชสีมา

ขอบคุณพี่หนิงที่ร่วมไว้อาลัยให้ครูเปลื้องเด้อครับ
ขอคารวะ ครูชา เปิงบ้าน , ท่านที่ไม่แสดงตน และ คุณ น.เมืองสรวงด้วยครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท