สร้างตึกยังไม่ได้!!...งั้นก็ลงเตรียมฐานรากใหม่แล้วกันเนาะ!!


การสอนเด็กที่เรียนอ่อนในวิชาภาษาอังกฤษ บางครั้งครูผู้สอนอาจต้องหาเทคนิค/วิธีการในการสอนที่ต้องเข้าใจในตัวผู้เรียน และความคิดของเด็ก (โดยไม่วัดเอาจากความคิดของครูผู้สอน หรือศักยภาพของตัวครูผู้สอน) นั่นคือ ครูอาจจะต้องคิดว่า "ถ้าเราเป็นนักเรียนแล้ว...วิธีการที่ครูสอนแบบนี้ เราจะเรียนรู้เรื่องหรือเข้าใจได้ง่าย ในสิ่งที่ครูถ่ายทอดมามั๊ย นั่นเอง"

   ผู้เขียนหายจากการเขียนบันทึกนี้ไปนาน  แต่ไม่ได้นิ่งเฉยที่จะมาเขียนบันทึก  ในใจอยากจะเขียนบันทึกเป็นประจำเสมอๆ  เพราะบันทึกนี้อยู่ในชีวิตและการทำงานของผู้เขียน  แต่ผู้เขียนก็ติดอยู่ในใจ....ที่....ถ้าเขียนแล้วคุณๆ สามารถใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ผู้เขียนเขียนเล่ามาได้มากน้อยแค่ไหน  นั่นต่างหากเป็นประเด็นที่น่าสนใจมากกว่าในความคิดของผู้เขียน

    มาในวันนี้ผู้เขียนได้ทำอะไรๆ ที่ใจอยากทำมาสักพักหนึ่งแล้ว  (โดยมีท่านอาจารย์ขจิตเป็นผู้ช่วยในการแนะนำ, ให้คำปรึกษา, และให้กำลังใจตลอดมา ...... คงต้องขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย) 

    ในปีการศึกษานี้ผู้เขียนได้รับผิดชอบในการสอนห้องเด็กที่เรียนอ่อนมากๆ ในวิชาภาษาอังกฤษ  ถึง  3  ห้องเรียน  และมีต่างระดับชั้นอีกต่างหาก ( คงหนักเอาการ และนั่นมันก็ทำให้ผู้เขียนต้องจัดการปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับเด็กกลุ่มนี้มากมายหลายปัญหา จนอาจจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้เขียนห่างหายจากบันทึกนี้ไป) 

    ในภาคเรียนที่  1  ผู้เขียนสำรวจพบผู้เรียนแล้วว่าปัญหาเยอะ  แต่ผู้เขียนก็ติดอยู่ตรงที่การสอนจะต้องติดยึดหลักสูตรสถานศึกษาด้วยเช่นกัน  จะลงมาแก้ปัญหาอย่างเดียวคงจะเป็นการยาก (หากจะลงย้อนกลับไปสอนในระดับประถมศึกษาให้เด็กๆ ) และก็คงทำไม่ได้  เวลาและหลักสูตรเป็นตัวค้ำคอให้ผู้เขียนต้องดำเนินการสิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ กัน  จนกระทั่งเมื่อการสอบปลายภาค 1  เสร็จสิ้นลง  เด็กๆ ที่น่าสงสารเหล่านี้ยังไม่สามารถเรียนรู้เรื่องใหม่ๆ ที่ผู้เขียนนำเสนอให้เค้าตามระดับชั้นของเขาตามที่ควรจะเป็นได้  ผู้เรียนจึงนำเรื่องนี้เรียนปรึกษาท่านผู้อำนวยการโรงเรียน ( ผู้อำนวยการนิยม  ชูชื่น )  ซึ่งเมื่อมีการปรึกษาพูดคุยกัน  ท่านก็เปิดไฟเขียวให้ผู้เขียนแก้ปัญหาเด็กก่อนเลย  เพราะในเมื่อไม่สามารถต่อยอดได้  ก็ลงไปซ่อมฐานก่อน  ผู้เขียนเลยมีความมุ่งมั่นที่จะลงลุยงานใหม่อีกรอบ  แม้ว่าคราวนี้จะต้องสอนเฉกเช่นเดียวกับครูที่สอนในระดับประถมศึกษาก็ตาม  ผู้เขียนเริ่มต้นทำงานรอบใหม่อย่างสบายใจมากขึ้น  พร้อมที่จะแก้ปัญหาให้เด็กๆ เหล่านั้นมากขึ้น

      ปัญหาแรกสุดที่ผู้เขียนสนใจ  คือ  เด็กในชั้นที่ผู้เขียนสอนเค้าเขียนชื่อตนเองไม่ถูกต้อง  ( ท่านอ.ขจิต  บอกเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า  เดี๋ยวนี้ในระดับอุดมศึกษาก็เจอ  เลย...อ้าวเหรอ  แทบไม่เชื่อจนเมื่อมีการยืนยัน  มีจริงแฮะ....)  แทบจะเกือบๆ 70% ของเด็กในห้อง  เลยมานั่งคิดหาวิธีการทำอย่างไรให้เค้าเข้าใจ และจำได้ทนติดอยู่กับตัวเค้า  ในที่สุดผู้เขียนก็จัดทำและจัดหาตารางเทียบเสียงจากพยัญชนะไทยเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ  ตารางเทียบเสียงสระไทยเป็นสระภาษาอังกฤษ  และตารางเทียงเสียงตัวสะกดไทยเป็นตัวสะกดภาษาอังกฤษ  แล้วก็เริ่มสอนเค้าโดยให้เวลากับเค้ามากหน่อยนึง  เพราะเค้าเหล่านี้จะรับรู้ในสิ่งที่เรียนอาจจะช้ากว่าเด็กในระดับเดียวกัน  (เลยบอกให้กำลังใจเค้าว่า  "ช้าๆ แต่ชัวร์ก็ได้ลูก"  ก็ดูเค้าจะชอบใจ  เนื่องจากมีใจพร้อมที่จะรับใหม่แล้ว)

       แล้วก็มาเริ่มกันที่คำไทยที่ต้องการจะเขียน  โดยบอกให้เขียนแจกลูกเป็นคำอ่านก่อนแล้วค่อยแทนด้วยตัวอักษรภาษาอังกฤษต่อไป  เช่น  คำว่า  กาญจนา  ก็จะเป็น  กาน-จะ-นา  แล้วก็มาเริ่มทีละพยางค์  โดยเริ่มที่  กาน  ก่อน  เด็กๆก็จะแยกคำว่า  กาน เป็น  3  ตำแหน่ง  คือ 

ตำแหน่งที่  1   =    พยัญชนะต้น    =   ก                                         

ตำแหน่ง    2   =    สระ  =   อา                                                                 

ตำแหน่งที่  3   =    ตัวสะกด  =   น  ( แม่ กน)

        แล้วเค้าก็จะหาตารางเทียบเป็นภาษาอังกฤษ  ซึ่งตัว  ก =  K  สระอา  =   a   และ  น  สะกด (แม่กน)  =  n 

        แล้วเค้าจึงจะทำเสียงคำพยางค์ต่อๆ ไป  จนได้ชื่อภาษาอังกฤษว่า  Kanchana  ในที่สุด  ที่สำคัญคือต้องย้ำให้เค้าเทียบเคียงจากคำอ่านของเสียงเป็นสำคัญ 

       สิ่งที่ผู้เขียนพบในระหว่างการสอนบทเรียนนี้คือ  เด็กบางคนยังอ่านสระภาษาไทยไม่ออก  เช่นมีอยู่บ้างที่เมื่อผู้เขียนถามว่า  ---แ ะ---นี่คือสระอะไร  ด้วยความซื่อจริงๆ  ไม่ใช่แกล้งตอบกวนๆ เค้าบอกว่า  สระ  แอ  กับ  สระอะครับ  หรือบางครั้งเช่นคำว่า  สม  เด็กบางคนตอบผู้เขียนไม่ได้ว่า  มีสระอะไรอยู่ในนั้น  ( เนื่องจากผู้เขียนพบว่า  เค้าเขียนมาเป็นภาษาอังกฤษว่า Sm นั่นคือคำว่า สม  ของเค้านั่นเอง )  ผู้เขียนเลยต้องมาบูรณาการกับวิชาภาษาไทยด้วยอีกวิชาหนึ่ง และผู้เขียนเลยต้องนำเรื่องนี้ไปบอกเล่าครูภาษาไทย  โชคดีที่ครูท่านดังกล่าวก็มีจิตใจช่วยเหลือเด็กๆ เช่นกัน เธอชื่อคุณครูภานุมาศ  นิคมรัตน์  เธอเลยต้องมานั่งสอนเรื่อง สระ  ให้เด็กๆ ใหม่อีกครั้ง

       เมื่อคนไหนที่ทำได้  เค้าก็จะเข้าใจ  ซึ่งก็จะต้องอาศัยการใช้ทักษะการฝึกเยอะ เน้น  ย้ำ  ซ้ำ  ทวน  บ่อยๆ จนเค้าเข้าใจแล้วเค้าก็จะทำได้  จนมีเด็กผู้ชาย ม.3  คนนึงเค้ามาสารภาพกับผู้เขียนว่า  "ครูครับก่อนหน้านี้ทำไมมันยากมาก  ตอนนี้ง่ายนิดเดียวเองครับ" (ว้าว...ภูมิใจสุดๆ) และมีเด็กผู้ชายอีก  2  คน  ที่ไม่เคยเข้าใกล้ครูภาษาอังกฤษเลย ( ท่าทางจะเป็นมาตั้งแต่ประภมศึกษาแล้วมั๊ง )  ทั้งๆ ที่ภาคเรียนต้น  ผู้เขียนเองก็สังเกตเห็นว่าเค้าก็ไม่กล้าเข้ามาคุย  หรือถามอะไรๆ ผู้เขียนเลย  จนมาเมื่อผู้เขียนสอนเรื่องนี้ เค้าคงเข้าใจ  เริ่มสนุก  เขียนงานการบ้านเสร็จแล้วรีบมาหาผู้เขียนเพื่อให้ช่วยตรวจการบ้าน (รายชื่อ) ให้เค้าหน่อยในตอนคาบพักกลางวันของผู้เขียน  กำลังจะเปิดห่อข้าวกลางวันซึ่งเป็นข้าวมันไก่ที่เพิ่งออกไปซื้อมาจากตลาด  แค่จับช้อนยังไม่ทันได้ทาน  แล้วเด็กเค้าก็โผล่เข้ามาหาด้วยความตั้งใจมาก  คงอยากรู้ว่าคำตอบที่ตัวเองทำมาถูกรึปล่าว  หรือจะถูกกี่ข้อ  ผู้เขียนเห็นความมุ่งมั่นตรงนั้นเลยยอมวางช้อนข้าวแล้วหันมาตรวจให้  เด็กเค้าดีใจใหญ่  เดี๋ยวนี้เลยได้ใจ  เข้ามาพบมาพูดคุยกับผู้เขียนมากขึ้น  แต่ก็อย่างที่ผู้เขียนเกริ่นไปแล้ว  "ช้าๆ แต่ชัวร์"

      ในครั้งนึงมีครูผู้สอนโรงเรียนเดียวกัน  แต่สอนสังคมศึกษา  เค้าแอบเห็นเด็กๆ ห้องเหล่านี้ เค้าทดคำอ่านแล้วลองแปลงเป็นตัวภาษาอังกฤษกันบนกระดาน  เค้ามาเล่าให้ฟังว่าพอพี่เห็นแล้วพี่ซึ่งเป็นคนที่คิดว่าภาษาอังกฤษยากมากเลยคิดว่าง่ายดีนะ  แล้วเอาไปสอนลูกชายที่อยู่ชั้น ป.3  ปรากฎว่าลูกชายสนุกใหญ่  บอกให้แม่บอกคำไทยมา  เดี๋ยวเขียนเป็นอังกฤษเอง  เลย  สนุกกันทั้งคุณแม่และคุณลูก

      ลองต่อยอดดูนะคะ

      ได้ผลเป็นอย่างไร  ก้อเข้ามาบอกกล่าวเล่าเรื่องให้ผู้เขียนฟังบ้างนะคะ

     

       

หมายเลขบันทึก: 150885เขียนเมื่อ 2 ธันวาคม 2007 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 07:41 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)
  • ขอบพระคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยมที่บันทึก
  • ขอบพระคุณในกำลัง มิตรไมตรี
  • แวะไปอ่านอีกนะครับ

 

ค่ะ  จะแวะไปอ่านใหม่แล้วกันค่ะ  ประมาณว่าชื่นชมคนดีที่เก่งค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับอาจารย์แอน

             เด็ก ๆ ได้ประโยชน์จากอาจารย์นักบูรณาการ

นับเป็นกุศลอย่างยิ่งครับ...

                                ขอขอบคุณแทนประเทศไทยครับ

สวัสดีค่ะนายช่างใหญ่P

  • คงมีอาจารย์อีกหลายท่านในประเทศไทยค่ะ  ที่คงจะช่วยเด็กเหมือนที่ดิฉันทำ  เพราะเค้าเหล่านั้น  คือ  ลูกศิษย์  ที่ครูเราต้องช่วยประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ดั่งลูกตนเองค่ะ
  • เป็นหน้าที่ค่ะ  หน้าที่ที่หนักซะด้วยสิ
  • แต่ก็หนักไม่แพ้งานช่างของนายช่างใหญ่มังคะ
  • มีความสุขกับการทำงานนะคะ
  • ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณครู

ได้มาอ่านใน blog นี้รู้สึกว่าคุณครูมีความพยายามมาก และสิ่งที่คุณครูได้ทำมานี้ เคยได้ศึกษาในการทำวิจัยในชั้นเรียนสมัยเรียนวิชาชีพครู และได้มาเจอของคุณครูอีก ดีมากเลยค่ะ

สวัสดีอีกครั้งค่ะ

  • ขอบคุณกับการเยี่ยมบันทึกนี้ด้วยนะคะ
  • ปกติแล้วนั่นคือปัญหาค่ะ  ก็แก้กันไปตามลักษณะของผู้เรียนค่ะ
  • วันนึงเมื่อเค้าโตขึ้น  เค้าจะได้รู้สึกดีที่เราไม่ได้ปล่อยปละละเลยเค้าไปตามยถากรรมที่เค้าควรจะเป็น  แต่เราได้พยายามช่วยเค้าแล้ว  อิ่มอก  อิ่มใจได้เราน่ะค่ะ
  • ขอบคุณนะคะ

สวัสดีครับ

รบกวนถามนิดนึงครับ ผมเดาเอาว่า ตารางที่คุณครูเอาไปสอนเทียบเสียง นี่ตาราง romanization ใช่ไหมครับ

ขอบพระคุณมากครับ

สวัสดีค่ะน้อง....

  • เมื่อตอนที่ครูอ้อยยังเล็ก  เรียนภาษาอังกฤษวิธีที่น้องใช้นี้ล่ะค่ะ 
  • พอครูอ้อยเรียนเป็นครูสอนภาษาอังกฤษ  ห้ามไม่ให้ใช้วิธีนี้ 
  • แต่ครูอ้อยก็ดื้อ นำมาสอนให้นกัเรียนใช้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • แวะมาฝึกภาษาคะครูแอน
  • ต้องเริ่มเรียนใหม่เพราะตอนเด็กๆไม่ตั้งใจเรียน
  • พอโตมาถึงได้รู้ว่าภาษาอังกฤษไม่รู้ไม่ได้แล้ว
  • ประเทศชาติ  ยังคงต้องพึ่งพาพันธกิจของความเป็นครูจากการสร้างคุณภาพชีวิตของคนในสังคม
  • ผมชื่นชมเทคนิการสอนและการบูรณาการเหล่านี้มากครับ

สวัสดีทุกๆ ท่านค่ะ

.....ต้องขออภัยที่ไม่ได้มาเช็คซะนานเอาการ  งานมันพาไปค่ะ  เพิ่งได้ขอลางานกลับมาเป็นส่วนตัวก็คราวนี้นี่เอง.....ต้องขอบคุณทุกๆ ท่านที่แวะเวียนมาให้กำลังใจนะคะ

  • Pคุณต้นคะ...ก็คล้ายตารางในลักษณะนั้นล่ะค่ะ  ต้องขอบคุณมากนะคะ
  • แต่ก็ต้องเอามาปรับใหม่ให้ดูง่ายและเหมาะกับเด็กอ่อนอีกตามระเบียบวิธีการที่ควรจะเป็นน่ะค่ะ
  • Pพี่สาวคนเก่ง  ก็ยังคงเป็นคนเก่งและใจดีกับน้องๆ ใน G2K เสมอ
  • ตอนที่พี่อ้อยโดนห้ามไม่ให้สอนแบบนี้....ตอนนั้นเค้าให้สอนเป็นคำๆ ใช่ไหมคะพี่
  • ที่น้องเจอ.....เด็กในช่วงที่เค้าห้ามแบบนั้นน่ะค่ะ  พอเค้าไปอ่านเจอคำใหม่  เค้าอ่านไม่ออกเฉยเลย
  • น้องเองคงดื้อไม่ต่างจากพี่อ้อยเท่าไหร่แน่เลย  ซึ่งก็เชื่อว่า  การสอนให้เค้าอ่านแจกลูก  เมื่อเค้าสะกดได้แล้ว  เค้าก็สามารถล้วงประสบการณ์เก่าเอาไปใช้เชื่อมต่อความรู้ใหม่ได้นั้นแล้วสามารถทำให้เค้าสะกดได้  อ่านได้....เป็นสิ่งที่วิเศษออกใช่มั๊ยคะพี่อ้อยขา
  • หากนวัตกรรมเอง....ก็สามารถเป็นของเก่าที่นำมาปรับใหม่แล้วใช้ได้เกิดประโยชน์แก่ผู้เรียนได้ก็เป็นสิ่งที่ดีที่น่าจะเก็บไว้มังคะ
  • ขอบคุณพี่สาวคนดีเสมอมาค่ะพี่
  • Pขอบคุณคุณนารีค่ะ
  • แต่อย่าบอกว่า  แวะมาฝึกภาษาเลยค่ะ....ไม่เก่งขนาดนั้นค่ะ
  • เอาเป็นว่า....แวะมาดูชีวิตจริงของครูภูธรทางภาคใต้กับเจ้าลูกศิษย์ตัวแสบแสนซนดีกว่านะคะ  ขอบคุณค่ะ
  • Pขอบคุณอาจารย์แผ่นดินกับกำลังใจที่มีให้เพื่อนครูตลอดมาค่ะ
  • ภาระหน้าที่ของอาจารย์เองก็ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลยค่ะ  ออกจะเยอะกว่ากับภาระงานในมหาวิทยาลัยที่มีบุคลากรเยอะกว่าหลายเท่านัก
  • สนุกกับงานนะคะอาจารย์  ขอบคุณค่ะ

 

แวะมาทักทายครูแอนค่ะ

เห็นชื่อบันทึกแล้วสะท้อนใจ

ครูแอนเขียน...ทำไงดีผู้ใหญ่ที่อ่อนภาษาอังกฤษบ้างสิคะ

ปล.ขอเก็บบล็อกเข้าแพล็นเน็ตด้วยนะคะ

ขอบคุณค่ะ

Pหวัดดีค่ะพี่แจ๋ว

  • ขออนุญาตเรียกพี่แล้วกันนะคะ  (เรียกตามใครๆ เค้าน่ะค่ะ)
  • ขอบคุณที่แวะมาทักทายครูแอนค่ะ
  • ออกจะเป็นแนวการสอนที่เก่าๆ มังคะ
  • กับผู้ใหญ่นี่ไม่บังอาจแนะนำดีกว่าค่ะ  มี Guru ที่เก่งๆ กว่าครูแอนเยอะแล้วค่ะ  ขอเล่นฉบับเด็กๆ อ่อนๆ ดีกว่าค่ะ
  • แต่เด็กๆ เค้าไม่ได้จริงๆ เลยล่ะค่ะพี่  ครูแอนเลยต้องงัดสารพัดวิทยายุทธิ์ล่ะค่ะทำยังไงก็ได้ให้เค้าสะกดคำได้  พออ่านออก  ก็ได้วิธีนี้ล่ะค่ะสำหรับเด็กที่อ่อนมากๆ ถึงมากที่สุด
  • ล่าสุดเมื่อวันพฤหัสฯที่ผ่านมา  ครูแอนเจอเด็กชั้นใหม่แต่ก็ยังอ่อนอยู่ดี...ไม่แพ้ปีที่ผ่านมานั่นล่ะค่ะ 
  • เลยนำตัวนี้เข้าไปนำเสนอ  เค้าเริ่มสะกดคำที่ครูแอนกำหนดให้เค้าได้  ออกอาการมียิ้มร่ากันใหญ่บอกครูแอนว่า "ครูๆ เดี๋ยวเราเรียนเลิก 5 โมงเลยนะครูนะ  กำลังหรอย" อ๋าว..ไม่ยอมกลับบ้าน
  • แล้วประโยคยาวประโยคแรกที่ฝึกหัดเค้า  และทำให้เค้ายิ้มร่ากับความสำเร็จของเค้าที่เค้าอ่านได้  คือประโยคนี้ค่ะพี่  ที่ครูแอนให้เค้าถอดออกมาเป็นภาษาไทย"Rak na dek ngo"
  • เท่านั้นล่ะค่ะพี่  ฮากันตรึม...เค้าสะกดออกมาได้  ขอการบ้านจากครูแอนเฉยเลย  บอกเอาแบบนี้อีกครูๆ 
  • เลย  ...น้ำขึ้นให้รีบตัก...ง่ะค่ะ  เลยให้ซะเลย  เข้าทางคุณครูเลยค่ะงานนี้
  • ขอบคุณพี่แจ๋วค่ะ

ดีจังค่ะครูแอน เด็กๆ สนุกกับการเรียนด้วย

ไม่เป็นไร พี่แจ๋วสมัครเรียนไปพร้อมๆ กับเด็กๆ ก็ได้ค่ะ

ปล.เรียกอะไรก็ได้ค่ะ ใครๆ ก็เรียกพี่ เป็นพี่ก็ได้ค่ะ :)

P

หา..อะไรนะคะ....ท่าน ผ.อ. จะเข้ามานิเทศน์การสอนของ

ครูแอนใช่มั๊ยคะเนี่ย....ขอบคุณค่ะ ๆ ขอคำแนะนำเพิ่มเติมด้วยนะคะท่าน ผ.อ

ขอบคุณค่ะ

....หนูจะเจอท่าน ผ.อ. ที่ตลาดนัดมั๊ยคะเนี่ย

ครูแอนก็ใช้หลักเทียบเดียวกับราชบัณฑิตยสถานนั่นหล่ะค่ะ  ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท