ความในใจนักกฎหมาย กับมุมมอง "กฎหมาย" เพื่อชุมชน


เมื่อไม่มีใครคิดสร้างกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองชุมชน แล้วไอ้เจ้ากฎหมายที่เอื้อต่อชุมชนจะเกิดได้อย่างไร

 อ.แหวว หรือ รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร นักกฎหมายเพื่อคนไร้รัฐไร้สัญชาติ แห่ง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เข้ามาให้ความเห็นในบันทึก "รากเหง้าชุมชนคนไร้สัญชาติ" เห็นว่ามีความสำคัญและอยากให้ทุกท่านได้อ่านเพื่อแลกเปลี่ยนกัน จึงนำมาใส่ไว้เป็นบันทึกนี้ค่ะ

 "ตามอ่านเรื่องกองทุนชุมชนของเธอในหลายบันทึกแล้ว ก็เหมือนจะเข้าใจว่า เธอเชื่อว่า เรื่องนี้ต้องเริ่มต้นจากชาวบ้านเอง ชุมชนเอง ซึ่งอันนี้ พี่ก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง ไม่ว่า ชาวบ้านบ้านนั้นจะมีรัฐหรือไม่ก็ตาม มนุษย์ทุกคน สิ่งที่แท้จริงที่สุด ก็คือ ต้องพึ่งพาตนเองให้ได้

แต่มาสงสัยว่า พวกชุมชนนิยมนี่คงไม่เห็นประโยชน์ของกฎหมาย ดูจะเกลียดกฎหมายเสียด้วยละมัง อ่านดูในหลายๆ ความเห็นที่เข้ามาในบล็อกของเธอดูจะเข้าใจว่า กฎหมาย = การบังคับ การลงโทษ และการจำกัดเสรีภาพ

ฉันออกสงสัยว่า เมื่อไม่มีใครคิดสร้างกฎหมายที่ส่งเสริมและคุ้มครองชุมชน แล้วไอ้เจ้ากฎหมายที่เอื้อต่อชุมชนจะเกิดได้อย่างไร กฎหมายไม่มีชีวิต กฎหมายก็เป็นกระทำของมนุษย์

เมื่อเราจำนนต่อการใช้อำนาจของรัฐ  กฎหมายที่รัฐสร้างขึ้น จึงมีความเป็นเพื่อจำกัดอำนาจของประชาชน ซึ่งก็คือ ชุมชนด้วยล่ะ

ซึ่งก็ตลกอีก ในวันนี้ ก็คือ รัฐ ก็คือ ตัวแทนของประชาชนที่ขึ้นเป็นรัฐบาล รัฐสภา ตุลาการ มิใช่เจ้าฟ้าเจ้าแผ่นดินสักหน่อย ชนชั้นปกครองเหล่านี้ก็คือ ส่วนหนึ่งของชุมชน ของรากหญ้า ในช่วงแรกของชีวิต เมื่อขึ้นสู่อำนาจได้ ความเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนก็จะหายไป กลายเป็นเจ้าเป็นนายของชุมชน เมื่อจะรับเลือกตั้งใหม่นั่นแหละที่จะกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของชุมชน

ช่วงหลังๆ ก็เลยเหนื่อยๆ ท้อๆ เราทำงานเป็นนักกฎหมาย เลยไม่รู้จะทำอะไรได้ หันจะไปช่วยชาวบ้านในชุมชน เขาก็ว่า กฎหมายไม่จำเป็น หันไปทำงานกับภาครัฐ เขาก็เอาแต่จะใช้อำนาจไปจำกัดเสรีภาพประชาชนในสถานการณ์ต่างๆ บางครั้ง ก็ไม่เห็นจะจำเป็น ฉันก็เลยไปขัดคอเขาอีก สรุปว่า เบื่อมาก เลยว่า จะหยุดคิดทำอะไรสักพัก ลองคิดจะไม่ทำดูบ้าง ตั้งใจว่า ปีนี้ จะเป็นปีตอบคำถาม ไม่ถาม ก็ไม่ตอบ หรือคอยไปดูคนอื่นเขียน คนอื่นพูด แล้วก็ขัดคอเขา เหมือนที่มาขัดคอเธอ อย่างนี้แหละ ดีไหม"

 

คำสำคัญ (Tags): #กฎหมาย#ชุมชน
หมายเลขบันทึก: 149786เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ทำงานกับ อ.แหวว อยู่หลายปี จากไม่รู้และไม่เชื่อและเห็นว่ากฎหมายหรือรัฐอยู่คนละฝ่ายกับชาวบ้าน โดยเฉพาะชาวบ้านที่ผิดกฎหมาย หรือคนไร้รัฐไร้สัญชาติที่ทำงานอยู่

จนค่อยๆ ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจ และเห็นความสำคัญของกฎหมายนโยบายที่เข้าใจประชาชน

ได้เห็น ได้รู้จักคนทำงานกฎหมายและนโยบายหลายต่อหลายคน ไม่เฉพาะ อ.แหวว ที่พยายามนำความทุกข์ยากเดือดร้อนของชาวบ้าน มาเสนอแก้ไข ปรับเปลี่ยน หรือสร้างระบบกฎหมายนโยบายขึ้นใหม่ เพื่อประโยชน์ของประชาชนอย่างแท้จริง

และเข้าใจอีกด้วยว่า งานนี้ เป็นการทำงานท่ามกลางความขัดแย้ง แม้มีสิ่งดีๆ เกิดขึ้นเป็นนโยบายแล้ว บ่อยครั้งก็ยังต้องสร้างความเข้าใจให้ทุกฝ่าย แม้แต่ NGOs หรือภาคประชาชน เอง เห็นว่าสิ่งนี้เป็นประโยชน์กับพวกเขาเองอย่างไรบ้าง

เลยได้เข้าใจว่า อ.แหวว เหนื่อยและท้ออย่างไรบ้าง

ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้ อ.แหววเสมอ เช่นเคยนะคะ แม้จะดื้อด้าน ให้ อ.แหววได้ขัดคอ และขัดใจ เป็นระยะค่ะ

  • ตามมาให้กำลังใจทั้งสองท่าน
  • อาจารย์ดร. ทิพวัลย์
  • อยากติดต่อน้องได้นะครับ
  • ขอบคุณครับผม

สวัสดีครับ

มาเยี่ยม มาชม มาให้กำลังใจ

เย็นๆไว้ครับ  อะไร อะไร ก็ไม่ใช่ของง่าย เพราะมันซึมลึกมากครับ การเมืองไทย

ตามอาจารย์ขจิต ... แวะมาให้กำลังใจครับ

ถ้าสิ่งที่ทำนั้นถูกต้องแล้ว ขอให้ทำต่อไป ครับ

:)

ก็มีความหดหู่เป็นบางครั้ง

แต่กำลังเก็บเกี่ยวประสบการณ์

รู้สึกว่า วิ่งชนฝาอยู่ เลยจะหยุดดูทิศทางก่อน

ขอบคุณทุกท่าน ที่ช่วยแวะมาให้กำลังใจ อ.แหวว ค่ะ 

ถ้า อ.อยากแวะมาตั้งหลักดูทิศดูทาง ทางทิศเหนือนี้ยินดีต้อนรับเสมอนะคะ

ก็ที่ว่ากันว่า จะแวะไปหาตอนไปพะเยาในเดือนมกราน่ะ ก็อย่าลืม อยากให้ปีนี้ เป็นปีที่ไปฟัง ไปดูชาวบ้าน

ปีนี้ อยู่กับ สนช.มาทั้งปี เป็นปีที่เห็นอำนาจนิยมเบิกบานอยู่รอบตัว ทหารนิยมอีกด้วยไหมนะ

ตั้งคำถามตัวเองอยู่ตลอดว่า เราไหวไหมเนี่ย ? แต่ก็ไหว เพราะใน กมธ.ครูหยุยและครูแดงก็ยังเต็มไปด้วยพวกเสรีนิยมและเด็กนิยม เป็นโอเอซิสแห่งประชาชนนิยมมังนะ ก็ยังพอไหว

ปีหน้า คงต้องไปนั่งฟังคนรากหญ้าดีกว่านะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท