newwave1
หลักสูตร การพัฒนาผู้นำ คลื่นลูกใหม่ ของกรมส่งเสริมการเกษตร

ถอดบทเรียนอาจารย์เอส โจนาธาน ถอดความคิดตัวเอง


ใช่ว่าฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง
ช่วงเวลาที่ห่างหายไปเกือบจะเรียกได้ว่าเป็นช่วงแสวงหา ความหมายในชีวิต จะทำงานอย่างไรท่ามกลางวิกฤต จะมีชีวิตอย่างไรท่ามกลางปัญหา ถ้าเมื่อชีวิตผ่านพบวิกฤตและปัญหาเสมือนคนไร้ซึ่งความสามารถ ในขณะที่วัยยังไม่ควร คือกำลังอยู่ในวัยที่มีพลังทั้งทางกายและสมอง ทำอย่างไรให้ชีวิตเป็นเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ล้มแล้วก็รีบลุกตั้งตรงเหมือนเดิม ใครจะให้โอกาสได้ฟื้นฟูพลังทั้งกายใจ

ถ้าชีวิตคือการต่อสู้แข่งขัน หากคุณไม่ทำในเรื่องใดเรื่องหนึ่งในเวลาหนึ่ง ๆ แล้วจะเป็นอย่างไร เวลาและโอกาสไม่ได้เป็นของใครคนใดคนหนึ่งตลอดไป ฉะนั้นสิ่งที่คิดได้ คือ อย่าหยุดนาน อย่าท้อนาน ให้รีบลุกเหมือนตุ๊กตาล้มลุก ให้กำลังใจตัวเองและยืนขึ้น มองงานในแนวทางของตัวเอง ทำเพื่ออะไรและจะทำอย่างไร   

*****เกิดบทเรียนในการคบหามิตร ใครจะเป็นปิยมิตร ดูอย่างไร

ในเมื่อวิบัติ จะเห็นใจมิตร….” 

ผู้ใดไม่ทิ้งเพื่อนในคราวร่าเริง

กับในคราวได้ทุกข์ร้อน

ในคราวกันดารอาหาร

ในคราววุ่นวายจลาจล

ติดตามไปถึงทวารพระราชวังและถึงป่าช้า

               ผู้นั้นนับเป็นพวกแท้                     (หิโตปเทศ :เสถียรโกเศศ-นาคะประทีป)   

ในการคบมิตร "จงระวังคำพูด เพราะอาจจะทำให้เสียมิตร จงให้ความจริงใจ แต่อย่าไว้วางใจเป็นอันขาด"

"มีเพื่อนดี มีหนึ่งถึงจะน้อย

ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา

เหมือนเกลือดี มีนิดหน่อย น้อยราคา

ยังมีค่า กว่าน้ำเค็ม เต็มทะเล"                 (พุทธภาษิตคำกลอน พระไตรปิฎก)
               *****
เกิดบทเรียนในการใช้ชีวิต
จงระวังความคิดเพราะจะทำให้เกิดทุกข์  มนุษย์จะสุข ทุกข์ อยู่ที่เลือกในสิ่งที่คิด จะคิดให้เป็นสุข ก็จงคิดแต่สิ่งดี ๆ วันที่ท้องฟ้าสดใส ดอกไม้บาน นกร้อง ฯลฯ                
              
*****เกิดบทเรียนในการทำงาน "อย่าผัดวันประกันพรุ่ง เพราะโอกาสไม่ได้เป็นของใครอยู่นาน"

 

ถอดความคิดและบทเรียนจากวิชา ประสิทธิภาพการคิดสำหรับผู้นำ
โดยอาจารย์รัศมี ธันยธร
 

              1. กิจกรรม คนในความคิด โดยให้นึกชื่อคนในความคิดของเราแล้วมาบอกกับคนอื่น เช่นที่อาจารย์แทนตัวเองว่า เอส โจนาธาน อธิบายเพื่อนว่าทำไมถึงชอบคนนี้ หรืออาจารย์กำลังสอนเรื่อง ต้นแบบ คนเราควรมีใครที่เป็นต้นแบบที่เราอยากเป็นอย่างหรือไม่ เช่นที่ถ้าอยากเป็นนักพูดก็จะยึดใคร ใคร สักคน มาเป็นแบบอย่าง หรืออยากเป็นนักการเมือง ก็ยึดแบบอย่าง ใคร ใคร สักคน (ความสำคัญของการมีต้นแบบ ลองหาอ่านได้ในหนังสือสู่ความเป็นอัจฉริยะด้วยการพัฒนาพลังสมอง หนังสือน่าอ่าน 2 ที่ได้แนะนำมาแล้ว) ซึ่งการยึดต้นแบบมิใช่ว่าเราจะเลียนแบบไปเสียทุกเรื่อง หากแต่เป็นบางจุดที่น่าปะทับใจ น่าสนใจ เป็นโลโก้เฉพาะของคนนั้นและเป็นสิ่งที่เราต้องการเป็น               
                
2. กิจกรรมวางสัมภาระ แลกเปลี่ยนเก้าอี้ โดยให้วางสัมภาระในการเรียน ทั้งสมุดปากกา ดินสอ กระเป๋า ปิดโทรศัพท์มือถือ วางเก้าอี้เป็นวง
ฟังและปฏิบัติ ปล่อยสมองให้กล้าที่จะคิดและหาคำตอบเพื่อตอบคำถาม ซึ่งกว่าจะถึงเวลาของเรา เพื่อนที่อยู่ก่อนอาจจะจะตอบคำตอบที่เราคิดไปแล้ว ถ้าคนอยู่ห่างกันก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าคนที่นั่งติดกับเราดันคิดคำตอบเหมือนเราล่ะแย่เลย และที่สำคัญมักจะเป็นเช่นนั้นเสียด้วย เราจึงควรมีคำตอบหลาย ๆ คำตอบให้กับคำถาม 1 คำถาม เช่นกันกับการเปลี่ยนเก้าอี้นั่ง ที่สอนให้เราไม่ยึดติด และพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลง (โดยไม่ต้องสร้างสมบัติไว้เยอะ) ยังบอกเราว่าบางทีเก้าอี้ที่เราหมายตาไว้ อาจถูกเพื่อนที่อยู่ใกล้ ที่ว่องไวหรือมีความสามารถมากกว่าแย่งนั่งไปก่อน เราจึงควรปรับทิศทางให้ทัน มิฉะนั้นเราจะไม่มีเก้าอี้นั่ง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเราสามารถที่จะเลือกที่ยืนและที่นั่งของตัวเองได้ ขอให้มีความมุ่งมั่นและหาโอกาสที่เหมาะสม และสมควรแก่เวลา                 
                
3. กิจกรรมฟัง 1 โดยให้เพื่อนเล่าในสิ่งที่อยากเล่า และเราก็ฟังและไม่ค้าน ไม่แสดงความคิดเห็นในด้านลบ ซึ่งเป็นสิ่งที่จะทำให้ผู้ฟังได้เพื่อนเพิ่มขึ้น และได้บุญที่รับฟังคนอื่น เพราะบางคนอยากจะระบายความในใจแต่หาคนที่รับฟังคนอื่นโดยไม่ใส่ความคิดเห็นได้ยากมากยิ่งกว่างมเข็มในมหาสมุทร แถมบางคนวิพากษ์วิจารณ์ร่วมพร้อมทั้งโจษความผิดให้กับคนเล่าเสียนี่ เรียกว่าหนีเสือปะจระเข้หรือเปล่า ทั้ง ๆ ที่ผู้เล่าอาจแค่ระบายความอัดอั้นตันใจ ผู้ฟังที่ถูกเลือก
จงรับฟังและรับฟัง ให้กำลังใจแล้วลืมมันซะ                    
                 
4. กิจกรรมฟัง 2 หยุดคิด ให้อภัยคนอื่น ให้อภัยตัวเอง และอวยพร ถ้าเพียงแต่ไม่พอใจใครก็ หยุด คิดไตร่ตรอง และให้อภัยคนนั้นที่เราเกลียดไม่พอใจ จากนั้นก็ให้อภัยตัวเองที่โกรธ เกลียดคน ๆนั้น แล้วก็อวยพรให้ไป ด้วยการสารภาพกับคนข้างเคียงว่า ฉันให้อภัยตัวเองแล้วที่.... ซึ่งทางพุทธศาสนาก็บอกว่าให้แผ่เมตตาให้กับคนที่เราไม่รู้สึกเป็นมิตร จะทำให้เราปลอดโปร่ง สบายใจ
                            
: ในชีวิตเราเคยฟังอะไร จริงๆ บ้างไหม
                 
5. เปิดใจกว้าง (Open Mind Can Grow) พร้อมรับสิ่งใหม่ๆ เพื่อนใหม่ๆ กล้าที่จะทักทายคนอื่นก่อน กล้าที่จะก้มไหว้คนที่ด้อยกว่าก่อน กล้าที่จะไหว้คนที่เกลียด (จะทำได้ไหมนี่) โดยการฝึกไหว้อย่างนอบน้อม และทักทาย พูดคุยด้วยเรื่องราวต่าง ๆ ที่เป็นกลาง เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบกระทั่ง คนเราเลือกที่จะพูดสิ่งที่ดีๆได้

                 ถึงแม้ความคิดเชิงลบจะทำให้คนใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทบนโลกแห่งความจริง แต่ความคิดเชิงบวกเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คน สามารถมีชีวิตที่สุขสวยสดงดงาม ฟ้าเป็นสีฟ้า นกร้องเสียงไพเราะ ได้ทุกวัน....อย่าให้เป็นเช่นที่อาจารย์ว่า "ฝนตกลงมาน้ำไหลเป็นทาง"  จาก จินตนาภร

หมายเลขบันทึก: 149784เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2007 09:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 04:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

น้องเขียว สรุปพร้อมใส่เติมเพิ่มความคิดดีๆ เข้าไปได้ดีมากครับ อาจารย์รัศมี เป็นอีกคนที่อยู่ในใจของเราชาวนิวเว็บ1 ทุกคน

เขียว ยังอยู่ดีใจจัง++++++

ได้ทบทวนบ่อยๆ  ดีจัง  อย่าลงทางเดิมน่ะ  สร้างทางใหม่ได้น้อ

ดีครับน้องเขียว.....ค้ำจุนโลกไว้ไม่มีใครสำคัญกว่าเราจำไว้นะ.....พี่ว่า

ผมจะอยู่ใกล้ๆคุณตลอดไป และติดตามผลงานเสมอๆ

  • สวัสดีจ้ะ...เขียว
  • แวะมาทักทายกันจ้ะ
  • "มีเพื่อนดี มีหนึ่งถึงจะน้อย

    ดีกว่าร้อยเพื่อนคิดริษยา

    เหมือนเกลือดี มีนิดหน่อย น้อยราคา

    ยังมีค่า กว่าน้ำเค็ม เต็มทะเล"         

  • เห็นด้วย ถูกต้อง

  • มีเพื่อนเยอะ...ใช่ว่าจะหาความจริงใจได้เสียทุกคนสะเมื่อไหร่ล่ะจริงไหมจ้ะ

ความสุขและความโศกเศร้าในชีวิตคนเราเป็นของที่อยู่ติดกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวเหมือนกับผลไม้ที่มีทั้งเปลือก เนื้อและเมล็ด  ที่เปรียบความทุกข์และความโศกเศร้าเป็นเปลือก   และเนื้อของมันก็เปรียบได้กับความสุข

เมื่อเราฉีกเปลือกของผลไม้ออกแล้ว เราจะพบกับเนื้อของมัน เช่นเดียวกับเมื่อเราถอดเอาความโศกเศร้าทิ้งเสีย เราจะพบกับความสุข

แต่การฉีกเปลือกผลไม้ อย่างทุเรียนและมะพร้าวใช่ว่าจะง่ายนัก เปลือกที่เป็นความโศกเศร้าของคน ก็ฉีกเปลือกออกได้ยาก ยิ่งกว่ามะพร้าวและทุเรียน ที่มีหนามแหลมคมและหนาสักเพียงใด ความโศกเศร้าที่มีมากของคนก็ฉีกออกได้ยากยิ่งกว่านั้น

แต่การปอกเปลือกทุเรียนและมะพร้าว ก็มีกรรมวิธีเฉพาะ ซึ่งประกอบด้วยมีดแหลมคม ประกอบด้วยความชำนาญและกลวิธีบางประการ ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกฝนจึงจะเกิดความชำนาญ

การปอกเปลือกแห่งความโศกเศร้า ก็มีกรรมวิธี มีเครื่องมือ มีการเรียนรู้และการฝึกฝนเช่นกัน เมื่อมีความชำนาญมันไม่ยากเหมือนกับการปอกเปลือกทุเรียนและมะพร้าว

สำคัญที่ว่าคุณต้องการและพร้อมที่จะเรียนรู้หรือฝึกฝนหรือไม่เท่านั้น

นึกจินตนาการไปด้วย ก็เห็นภาพที่คุณมังคุดบอก วิธีการแต่ละคนที่จะปอกเปลือกของผลไม้ก็แตกต่างกัน เช่นเดียวกับการปลีกจากความทุกข์ และความเศร้า แม้บางทีหาเจอสาเหตุแห่งทุกข์และเศร้านั้นแล้ว แต่ก็แก้ไม่ได้ ไม่ใช่ไม่พยายามจะปลีกออก หากแต่ภาวะจิตใจ และแวดล้อมอื่นๆ อีกมากที่มาเป็นปัจจัยให้เจ้าตัวมีข้อแก้ตัวที่จะจมกับความทุกข์ เศร้าหมองนั้นต่อไป เพื่อรอเวลาเป็นตัวรักษา เป็นการเอาสีข้างเข้าถู จริงจริง ดีใจที่ได้อ่านอะไรดีดี ขอบคุณคนเขียน และคุณมังคุด

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท