สามครู: แหล่งข้อมูลเพื่อการเรียนรู้ครอบจักรวาล


ทั้งสามครูนี้ แม้จะมีความสำคัญเสมอกันแบบ ไม่มีอะไรน้อยกว่ากัน แต่เราก็ต้องจัดนำมาจัดอันดับของความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มีความสงสัยและข้อโต้แย้ง เพื่อความง่ายในการตัดสินใจ
  

ในวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน ๕๐ เป็นวันที่ ๒ ของการประชุมของกิจกรรมเฮฮาศาสตร์ ครั้งที่ 

 

เราได้เดินทางไปทัศนศึกษาทรัพยากร ศิลปะ วัฒนธรรม และแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอดงหลวง ที่มีอย่างหลากหลาย และเป็นแหล่งของข้อมูลเพื่อการเรียนรู้

 ผมได้เคยกล่าวในหลายวาระ เรื่อง ครู หรือแหล่งข้อมูล เพื่อการเรียนรู้ ที่มีอยู่ทั้งหมด สามแหล่ง

ที่เราได้ทำอย่างครบชุดในกิจกรรม เฮฮาศาสตร์ ครั้งที่ ๓ ที่อำเภอดงหลวง ในครั้งนี้ ซึ่งได้แก่

·        ครูธรรมชาติ

·        ครูคน และ

·        ครูเครื่อง (รวมถึงเอกสาร ตำรา และแหล่งข้อมูลต่างๆที่คนผลิตขึ้น) 

ทั้งสามครูนี้ แม้จะมีความสำคัญเสมอกันแบบ ไม่มีอะไรน้อยกว่ากัน แต่เราก็ต้องจัดนำมาจัดอันดับของความน่าเชื่อถือ ในกรณีที่มีความสงสัยและข้อโต้แย้ง เพื่อความง่ายในการตัดสินใจ 

การตัดสินใจนั้น เราจะต้องเข้าใจเสียก่อนว่า

 อะไรน่าจะเป็นจริงมากกว่ากัน

  ซึ่งน่าจะอยู่กับระดับการ แปลงข้อมูล เป็นประเด็นสำคัญ 

จากเกณฑ์ดังกล่าว จะเห็นได้ว่า

 

1.    ครูธรรมชาติ สิ่งที่เป็นอยู่ และปรากฏการณ์ธรรมชาติ น่าจะเป็นสิ่งที่เชื่อถือได้มากที่สุด

 

·        โอกาสแห่งความผิดพลาดมีอยู่เพียง ความสามารถในการรับรู้ข้อมูล และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ของผู้เรียนรู้เท่านั้น

 

2.    ครูคน ที่เป็นผู้ทั้งรับรู้ข้อมูลมาจากธรรมชาติ และเป็นผู้ผลิตข้อมูลที่ได้จากธรรมชาติ อีกทีหนึ่ง

 

·        ที่มีโอกาสแห่งความผิดพลาดอย่างน้อย ในสามขั้นตอน คือ ความสามารถใน

 

a.    การรับรู้  ข้อมูล และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ของครู และ

 

b.    การถ่ายทอด ข้อมูล ของครู และ

 

c.     การรับรู้ข้อมูล ของผู้เรียนรู้

 

3.    ครูเครื่อง (รวมถึงเอกสาร ตำรา และแหล่งข้อมูลต่างๆที่คนผลิตขึ้น)

 

·        ที่มีโอกาสแห่งความผิดพลาดอย่างน้อย ในสามขั้นตอน เช่นเดียวกัน คือ ความสามารถใน

 

a.    การรับรู้  ข้อมูล และปรากฏการณ์ตามธรรมชาติ ของผู้เขียน และ

 

b.    การถ่ายทอด ของผู้เขียน และ

c.     การรับรู้ ตึความข้อมูล ของผู้เรียนรู้ 

และ ความรู้ในธรรมชาติ จะเป็นฐานตรวจสอบความถูกต้องได้มากที่สุด และดีที่สุด 

รองลงมาก็คือความรู้ในตัวบุคคล ที่เป็นความรู้ฝังลึก (Tacit knowledge) เป็นส่วนใหญ่ มีความรู้ชัดแจ้ง (Explicit knowledge) อยู่บ้างที่อาจนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หรือถ่ายทอดกันได้ 

สำหรับครูที่สาม เป็นข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล เอกสารต่างๆ ที่พัฒนามาจากความรู้ชัดแจ้ง ที่อาจอ้างอิงถึงความรู้ฝังลึกบ้าง แต่อาจจะมีคนเข้าใจไม่มากนัก นอกจากสิ่งที่เป็นผิวเผินของความรู้ดังกล่าว 

·        ทั้งหมดนี้ ต้องอาศัย knowledge management enzymes  (น้ำยาเรียนรู้)

·        ทั้งการย่อย และการเชื่อมโยงให้เกิดการเรียนรู้อย่างเชื่อมโยง

·        จนเป็นการสร้างความรู้ ปัญญา และความสามารถในการทำงานที่สร้างสรรค์  ต่อการพัฒนาตัวเอง ผู้อื่น และสังคมโดยรวม ครับ 

หมายเลขบันทึก: 147522เขียนเมื่อ 19 พฤศจิกายน 2007 07:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับอาจารย์ ดร.แสวง

  • เข้ามาเรียนรู้ครับ

ขอบคุณมากครับ

knowledge management enzymes

พวกเรายังอยู่ดับ ยาระบาย เล่าฮู จะทำจะได๋ดี

คนชอบกินยาระบายเพราะกลัวอ้วนมั้งครับ

แต่

ถ้าระบายแบบคิดไปด้วยก็คงอาจได้ประโยชน์บ้าง

แบบลำไส้ใหญ่ใหญ่ ระบายไปเก็บไป

ก็อาจได้ผลบ้าง

แต่ถ้าระบายทิ้งอย่างเดียว

คงไม่เกิดประโยชน์ใดๆกับคนระบาย

และคนที่รับผลการระบายไป ติดเชื้อ"ท้องร่วง" ไปด้วย ก็ยิ่งไปกันใหญ่เลยครับ

ต้องให้ยาฆ่าเชื้อท้องรวง ผสม ยาอุดทวารครับ

 

  • ขอศึกษาด้วยคน
  • ที่บ้านใช้ใบระกา
  • อิอิอิๆๆ
  • สงสัยต้องเป็นใบระกาครับ

มุมมองอาจารย์แสวงน่าสนใจเสมอค่ะ 

กาลามสูตร บอกว่า อย่าเชื่อเพราะครู   ถึงที่สุดต้องผสมสามครูเข้าสู่การเรียนรู้ด้วยตนเอง  ... คิดอย่างนี้พอไหวไหมคะ

เคยได้ไปบ้านของ ครูบา สุทธินันท์เมื่อปีที่แล้วทำให้ได้มีโอกาสเห็นการนำไม้ยูคาฯมาทำเป็นที่อยู่อาศัยในอนาคตหากมีการพัฒนาน่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดการตัดไม้ได้นะคะ

ผลักดันคน ง่ายกว่าผลัก ดันความรู้ อิอิ

ผมก็ว่ายังงั้นแหละครับ

ขอบคุณครับ

กราบสวัสดีครับท่าน อ.แสวงที่เคารพ

ผมนึกว่า กำลังถ่ายทอดกำลังภายใน อิๆๆ

หากตั้งตัวไม่ทันแบบนี้ หรือพลังรับไม่เพียงพอ มีโอกาสโรคแทรกซ้อนหรือ อาการช้ำในได้เลยนะครับนั่น อิๆๆๆ

ขอบคุณมากครับ 

หากไม่มีจุดยืนก็ผลักง่ายๆนะครับ ผลักคน หากชัดเจน แน่แน่วละก็ มันเกิดพลังต้านกลับ คนผลักอาจแย่เอาง่ายๆ

พลังปะทะพลัง

โปรดจงระวัง

ภาพนี้นึกทีไรก็ขำทุกที ต้องขอบคุณท่านอาจารย์ที่ช่วยผลักและดัน บางทีมันก็หลายๆปัจจัยนะครับนะ เลยไม่ค่อยจะไปข้างหน้าเท่าไหร่..

--------------------------------------- 

ในบันทึก "ผีบ้าเมืองปาย"คนผีบ้าที่ "ไฮ่อุ้ยต๋าคำ" เมืองปาย

ผมได้เขียนเรื่องราวของอ้ายสันโดษ และได้ตอบรายละเอียดใน บลอกด้วยในส่วนของการจัดการทรัพยากร คิดว่าเป็นประโยชน์แก่ นศ.และผู้ที่สนใจในการจัดการชุมชน

ในบันทึกนั้น ว่าด้วยครู "คน" และ ครู "ธรรมชาติ" ที่ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต ตอนนี้ก็กำลังเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างช้าๆครับ

คิดว่าพอจะมีประโยชน์ในการเรียนรู้บ้าง

ในวันเดียวกันมีเวทีการถอดบทเรียน กระบวนการดี แต่ยังมีบทเรียนที่แทรกซ้อน ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ (ตอนแรกสัญญาว่าจะเขียนให้อาจารย์อ่าน)

เลยเหลือแต่บันทึกผีบ้าบันทึกเดียวครับ

ตอนนี้เป็นช่วงคนอื่นสอน เชิงเทคนิค

ผมจะมาเชื่อมเชิงระบบตอนปลายเทอม

ยังมีเวลาครับ

แต่ช่วยเตรียมตามกรอบไว้ก็ดีครับ

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท