เทคนิคการดูแลช่องปากผู้ป่วยสูงอายุที่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากลดลง


บริบท ซื้ออุปกรณ์ พร้อมทั้งสอนวิธีการใช้ และปฏิบัติดู

ประเด็น

เรื่องเล่า

แหล่งข้อมูล

ซื้ออุปกรณ์ พร้อมทั้งสอนวิธีการใช้ และปฏิบัติดู
มีผู้ป่วยหนึ่งรายมารับการรักษาพบว่าเป็นโรคปริทันต์ และฟันผุทั้งปาก และมีฟันกรามล่างอยู่ห่างจากซี่อื่น พบผู้ป่วยแปรงฟันไม่ค่อยสะอาด ทันตแพทย์จึงซื้อแปรงซอกฟันและแปรงกรอเดียว และแนะนำวิธีการใช้ว่าควรจะแปรงให้ทั่วทั้งปากก่อน สอนวิธีใช้แปรงซอกฟันและแปรงกรอเดียว ดดยทำให้ดูในช่องปากแบะย้ำให้ใช้ อย่างน้อยละวันละหนึ่งครั้ง หลังจากนั้นให้ผู้ป่วยลองใช้จริงดู ผู้ป่วยรู้สึกชอบในวิธีการแนะนำเพราะว่าไม่เคยมีทันตแพทย์ท่านใดเคยแนะนำแบบนี้มาก่อน ในครั้งต่อไปของการมารับการรักษาพบว่าผู้ป่วยแปรงฟันสะอาดขึ้น

ทิพวรรณ  ตรีวิภานนท์

สถาบันโรคทรวงอก

02-5801965
บริบท สร้างความประทับใจกับผู้สุงอายุโดยการปรับปเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้ดึงดูดใจ

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 3

ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมที่ดึงดูดใจ สร้างความประทับใจให้กับผู้สูงอายุ

ผู้ป่วยสูงอายุที่มีพบแพทย์มักจะมาก่อนเวลานัดเล็กน้อยหรือมาช้า ได้พบผู้ป่วยรายหนึ่งจะมาก่อนเวลานัดเป็นเวลานานและมีความเต็มใจที่จะรอรับบริการ โดยชอบมาอ่านกลอน คำคมที่หน่วยงานติดไว้ในลิฟท์และบางครั้งก็จะนำกลอนมาแลกเปลี่ยนและพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่มากลอนมาติด

ตั้งแต่ความประทบใจในบทกลอน หมอที่รักษา คุณภาพของการบริการ

นส.อภิญญา  ตรงกะพงศ์

บรรณารักษ์สถาบันทันตกรรม
บริบท ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพลดลงมักจะมีปัญหาของการดูแลสุขภาพช่องปาก

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 3

ให้ที่ลูกรักหรือที่มีอิทธิพลต่อจิตใจผู้ป่วยช่วยกำชับเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก
ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความสามารถในการดูแลสุขภาพช่องปากลดลง มักจะมีผู้ช่วยเหลือ ดูแล และพามาพบทันตแพทย์ ครั้งก่อน ๆ ที่ทันตแพทย์ได้ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปาก เมื่อกลับมาพบแต่ละครั้ง ก็ยังมีปัญหาในเรื่องการดูแลสุขภาพช่องปาก ครั้งหนึ่งผู้ดูแลผู้ป่วยได้แล้วให้ฟังว่าผู้ป่วยมีบุตรคนหนึ่งซึ่งผู้ป่วยรักมากและเชื่อฟังทุกอย่าง จึงบอกไปว่าครั้งต่อไปขอให้บุตรคนนี้เป็นผู้พามา ผู้ป่วยมาพบ เมื่อมาก็ได้แนะนำบุตรของผู้ป่วย ถึงวิธีการดูแลสุขภาพช่องปากของมารดา เพื่อกำชับมารดาและผู้ดูแล ครั้งต่อไปผู้ป่วยกลับมาก็พบว่าสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยดีขึ้น

ทพญ.สร้อยดี  ตันสุขะ

สถาบันธัญญารักษ์

                                                                                                               

บริบท ผู้ป่วยสูงอายุมักจะมีความสามารถในการดูแลตนเองลดลง

ส่วนที่ 1

ส่วนที่ 2

ส่วนที่ 3

ทำให้ผู้ป่วยทราบถึงผลเสียของการไม่ดูแลว่าจะเกิดผลไม่ดีอย่างไรด้านสุขภาพช่องปาก
ผู้ป่วยสูงอายุมักจะกลัวการเกิดโรคร้ายแรง เช่นมะเร็ง หรือกลัวการทรมาน หรือกลัวตาย จึงใช้ประเด็นนี้ในการเตือนกับผู้ป่วยที่มีสุขภาพช่องปากที่มีปัญหา เช่น poor OH หรือมีพฤติกรรมเสีย เช่น กินหมาก สูบบุหรี่ กินอาหารเผ็ด ระวังจะเกิดโรคร้ายแรง ถ้าจะรักษาก็ทรมาน เช่นการกินยา การฉายแสง การผ่าตัด ซึ่งผู้ป่วยก็จะรู้สึกกลัวหลาย ๆ ราย นอกจากพูดแล้วยังทำเป็น Vedio sotry สั้น ๆ เพื่อให้ผู้ป่วยเห็นภาพได้ดีขึ้น

ทพญ.กมลรัตน์

กลุ่มงานทันตกรรม รพ.มหาราชนครราชสีมา
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14752เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท