การดูแลรักษาทางทันตกรรมในผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นเบาหวาน


     จากการทำ Work shop การจัดการความรู้ทางทันตกรรม  ของกลุ่มบัวพิมาน  ได้สรุปบทเรียน ที่เป็น Knowledge asset ได้ดังนี่

บริบท  ผู้ป่วยสูงอายุมักจะว้าเหว่ หดหู่ เนื่องจากสภาพชีวิตและปัญหาสภาวะการไร้ฟัน

 

ส่วนที่ 1

ประเด็นหลัก

ส่วนที่ 2

เรื่องเล่า                      

ส่วนที่ 3

แหล่งข้อมูล
การสร้างความคุ้นเคยกับผู้ป่วยเพื่อให้เกิดความไว้วางใจและให้ความร่วมมือในการรักษาต่อไปโดยการพูดให้กำลังใจ

 พูดคุยกับผู้ป่วย

“มาอย่างไร มีใครมาส่ง”

คนไข้ก็น้ำตาซึมบอกว่า

“ไม่มีใครมาส่งหรอก มาเอง

ลูก ๆ ไม่มีใครดีซักคน

เลยบอกว่า “เก่งนะ อายุขนาดนี้มาเองได้ คนอื่นอายุขนาดนี้มาเองไม่ได้นะ” คนไข้ก็เลยมีสีหน้าดีขึ้น พูดว่า “ใช่ ฉันทำเองทุกอย่าง คนข้างบ้านยังบอกเลยว่า ฉันเก่ง”

 ทพญ. ฉวีวรรณ ภักดีธนากูล

โรงพยาบาลเลิดสิน

บริบท  ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นเบาหวาน มักจะไม่ทำความสะอาดช่องปากให้ดี

ส่วนที่ 1

ประเด็นหลัก

ส่วนที่ 2

เรื่องเล่า                      

ส่วนที่ 3

แหล่งข้อมูล

ผู้ป่วยเป็นเบาหวานและมีสภาพเหงือกอักเสบมากทุกครั้งที่มารักษา

ผู้ป่วยมารับการรักษาทางทันตกรรม 2 ครั้งแล้วยังไม่ร่วมมือในการแปรงฟัน สภาพเหงือกอักเสบและมีคราบจุลินทรีย์มาก

visit ต่อมาจึงเริ่มสอนใช้ proxa brush และฝึกแปรงในช่องปาก โดยพูดว่า

หมอขอฝากเป็นการบ้าน คราวหน้ากลับมาตรวจกันใหม่นะคะ พร้อมทั้งลงบันทึกใน OPD

ครั้งถัดมา พุตรวจช่องปากพบว่า เหงือกอักเสบลดลง พูดให้กำลังใจต่อ  “เก่งมาก ทำการบ้านมาดี ครั้งหน้าให้คุณป้าเน้นแปรงทางด้านลิ้นอีกหน่อยนะคะจะดีมากเลย”

ต่อมาพบว่าสภาพเหงือกดีขึ้นเรื่อย ๆ

 

บริบท   ผู้ป่วยสูงอายุและเป็นโรคเบาหวาน มักจะมีฟันที่ต้องถอนครั้งละหลายซี่

ส่วนที่ 1

ประเด็นหลัก

ส่วนที่ 2

เรื่องเล่า                      

ส่วนที่ 3

แหล่งข้อมูล

กรณีถอนฟันหลายซี่ในผู้ป่วยสูงอายุ จะเจาะ Bleeding time ทุก case

ถ้ามีไข้ก็จะ premed. ยาก่อนทำและให้ยาหลังถอนฟัน

 ผู้ป่วยที่จำเป็นต้องถอนฟันหลายซี่เนื่องจากมีโรคทางระบบ เช่น เบาหวาน มะเร็งในช่องปากก่อนให้รังสีรักษา ก็จะดูสุขภาพความแข็งแรงของผู้ป่วย วัด BP

 Bleeding time, Cloting time  กรณีที่ผู้ป่วยมีไข้ ก็จะให้ Antibiotic  1 g. ก่อนการรักษา ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมง หลังจากถอนฟันแล้วก็จะให้ Antibiotic ต่ออีก 3 วัน และนัดผู้ป่วยกลับมาดูแผลหลังถอนฟัน 1 สัปดาห์
 

บริบท   ผู้ป่วยสูงอายุมักจะต้องการการดูแลเอาใจใส่จากทันตบุคลากร ก่อนเข้ารับบริการทางทันตกรรม

ส่วนที่ 1

ประเด็นหลัก

ส่วนที่ 2

เรื่องเล่า                      

ส่วนที่ 3

แหล่งข้อมูล
ให้ผู้ช่วยสร้างความสนิทสนมกับผู้ป่วยสูงอายุในระหว่างรอการรักษาเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น  (ตีซี้ )

 พบว่าผู้สูงอายุหลาย ๆ คนมักจะมาก่อนเวลาการนัดเพื่อที่ต้องการจะมาพูดคุยเข้าสังคมนอกบ้าน ซึ่งพบว่าผู้ช่วยทันแพทย์สามารถพูดคุยกับผู้ป่วยสูงอายุเกี่ยวกับการถามไถ่สารทุกข์ความเป็นอยู่ แสดงความคุ้นเคยเป็นห่วงเป็นใยเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในกับสถานที่และทันตแพทย์ผู้ให้การรักษา

     “วันนี้มากับใครค่ะ แล้วมายังไงมีคนมาส่งหรือเปล่า”

     “ฟันที่ใส่ไปเป็นอย่างไรใส่ไปแล้วเจ็บตรงไหนเคี้ยวได้ดีหรือเปล่าเดี๋ยวอย่าลือบอกคุณหมอนะ หมอจะได้แก้ให้”

   “คุณลุงวันนี้อาจจะรอนานนิดหนึ่งนะแต่เดี๋ยวรับรองว่าจะหล่อจนกลับบ้านไปคุณป้าจะจำไม่ได้เลย”

   “ถ้าเสร็จแล้วจะกลับอย่างไรค่ะ มีใครมารับหรือเปล่า”

น.ส.หนึ่งฤทัย ศรีแก่แก้ว

สถาบันทันกรรม

โทร 025884003

025884005-8ต่อ

112

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14749เขียนเมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2006 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 17:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เรียน spearman

บริบท  ผู้ป่วยสูงอายุที่เป็นเบาหวาน มักจะไม่ทำความสะอาด

ช่องปากให้ดี ไม่ใช่ ฉวีวรรณ ค่ะ

บริบท  ผู้ป่วยสูงอายุมักจะว้าเหว่ หดหู่ เนื่องจากสภาพชีวิต

และปัญหาสภาวะการไร้ฟัน

 จีงเป็นของฉวีวรรณ ค่ะ

ช่วยแก้ด้วย ลืมระหัสเลยแก้ให้ไม่ได้ค่ะ

 

ฉวีวรรณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท