สังคมไทยไม่สมานฉันท์....เพราะ


ท่ามกลางปัญหาใหญ่โตซับซ้อนและยากสุดกำลัง คนไทยยังมีจิตเล็กและแยกส่วน เห็นแก่ตัว เห็นแก่กลุ่ม พวก และมองปัญหาแบบแยกส่วน จึงไม่มีพลังที่จะออกจากวิกฤตการณ์

ต่อจาก ความไม่สมานฉันท์ในสังคมไทย

สาเหตุของสังคมไม่สมานฉันท์

         

          สาเหตุของการขาดความสมานฉันท์ในสังคมไทย มีทั้งสาเหตุจากภายนอกประเทศ และสาเหตุในประเทศประกอบกัน นั่นคือ

          หนึ่ง อารยะธรรมโลก  ในปัจจุบันคือ อารยธรรมวัตถุนิยม  บริโภคนิยม เงินนิยม  มีผลอย่างรุนแรงต่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติทั่วโลก  ทำให้ช่องว่างระหว่างคนจนกับคนรวย  และระหว่างประเทศจนกับประเทศรวยห่างมากขึ้น  ทำให้คนแสวงประโยชน์เข้าตน และทำลายการอยู่ร่วมกันมากขึ้น  ประเทศไทยรับอารยธรรมอย่างนี้เข้ามาเต็มตัว  จึงทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างสันติมีน้อยลง

          สอง ปัญหาความอ่อนแอภายในประเทศ  มีความอ่อนแอภายในประเทศเองอยู่แล้ว  เมื่อเผชิญกับกระแสโลกาภิวัฒน์  วัตถุนิยมอันรุนแรง  ทำให้ไม่สามารถรักษาความเป็นปรกติของตัวเองไว้ได้  ความอ่อนแอภายในประเทศประกอบด้วย

  1. การขาดศีลธรรมพื้นฐานทางสังคม  คือการเคารพศักดิ์ศรีและคุณค่าความเป็นคนของคนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน  เมื่อขาดศีลธรรมพื้นฐานนี้  ทำให้ไม่สามารถสร้างสังคมที่เป็นธรรมได้  การขาดความเป็นธรรมทางสังคม ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกันอย่างสันติได้
  2. โครงสร้างทางดิ่งของสังคม  สังคมไทยมีความสัมพันธ์ทางดิ่งระหว่างผู้มีอำนาจข้างบนกับผู้ไม่มีอำนาจข้างล่าง  สังคมที่มีโครงสร้างทางดิ่ง  จะมีความสมานฉันท์น้อย  มีการเรียนรู้น้อย  มีการใช้อำนาจมาก  จึงมีประสิทธิภาพน้อย  ในสังคมทางดิ่งเศรษฐกิจจะไม่ดี  การเมืองจะไม่ดี  และศีลธรรมจะไม่ดี
  3. การพัฒนาโดยเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้ง  ท่ามกลางการขาดความเป็นธรรม  การพัฒนาโดยเอาเศรษฐกิจเป็นตัวตั้งยิ่งเพิ่มความไม่เป็นธรรมมากขึ้น  ความไม่เป็นธรรมเพิ่มมากขึ้นเท่าใด ความไม่สมานฉันท์ยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
  4. การจัดการภาครัฐไร้ประสิทธิภาพ  ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรได้ เช่น ความยากจน  ความไม่เป็นธรรมทางสังคม การรักษาสิ่งแวดล้อม  ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนใต้  การแก้ปัญหาไม่ได้  ทำให้ปัญหาสะสม และสังคมมีความโกลาหลมากขึ้น  ท่ามกลางความโกลาหลย่อมไม่มีความสมานฉันท์
  5. วิกฤตการณ์ทางการเมือง  ใน ๑ ศตวรรษที่ผ่านมา มีวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ยังหาทางออกไม่ได้  ท่ามกลางความยากลำบากเพราะปัญหา ๔ ประการข้างต้น  การเมืองเน้นการทำลายคู่ต่อสู้มากกว่าการสร้างสรรค์ร่วมกัน  ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายราชาธิปไตย  กองทัพ  ธนาธิปไตย  หรือประชาธิปไตย  การขาดความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง  ทำให้ลำบากด้วยกันทุกฝ่าย
  6. จิตสำนึกเล็ก  คับแคบ  แยกส่วน  ท่ามกลางปัญหาใหญ่โตซับซ้อนและยากสุดกำลัง  คนไทยยังมีจิตเล็กและแยกส่วน  เห็นแก่ตัว  เห็นแก่กลุ่ม พวก  และมองปัญหาแบบแยกส่วน  จึงไม่มีพลังที่จะออกจากวิกฤตการณ์

          ทั้งหมดที่กล่าวมา  เป็นการยากสุดกำลัง  หรือมองไม่เห็นทางแก้ไข  ถ้าเห็นอย่างนี้จะเข้าใจว่า ทำไม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ จึงเป็นเครื่องมือของการแก้ความติดขัดของชาติ


 
               

 

หมายเลขบันทึก: 144011เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2007 20:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อุดมคติเรื่องประชาธิปไตยในลักษณะปัจเจกและสังคม

ประชาธิปไตยคือการแสดงออกอย่างเสรีในเรื่องความคิด การพูด การกระทำใดๆอย่างมีเสรี

ภายใต้กรอบของกฏหมาย และสิทธิ โดยไม่ล่วงละมิดสิทธิของคนอื่นๆ

 

ลักษณะการเรียกร้องความสมานฉันท์เป็นการแสดงความอ่อนด้อย และอ่อนแอของแนวคิดด้านประชาธิปไตยของสังคมไทย

กล่าวคือ หวาดกลัวต่อความคิดเห็็นที่แตกต่างอีนพึงมีได้โดยไม่ล่วงละเมิดสิทธิของผู้อื่น และกฏหมาย

หวาดกลัวต่อกระบวนการอันเป็นปกติในทางกฏหมายและรัฐธรรมนูญ

หวาดกลัวต่อความแตกต่างทางชาติเชื้อ วัฒนธรรมธรรม ศาสนา

หวาดกลัวต่อผลในการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย

หวาดกลัวต่อ.....ฯลฯ

ความหวาดกลัวนานาๆ ที่เกิดขึ้น สั่งสมจนความเป็นปกติของคนและสังคมสั่นคลอน

อาจกล่าวได้ว่าเกิดสภาวะจิตเภท ในระดับมหภาค หรือเรียกว่า สังคมจิตเภท

 

ผลจากสภาวะ

ในลักษณะจิตเภทที่เกิดขึ้นในคน จะมีอาการเหวี่ยงทางความคิด

จะแสดงอาการกล่าวโทษต่อคนรอบข้าง ตื่นตะหนกง่าย และมักจะยืดติด 

ยึดเหนี่ยวกับคน, เหตุการณ์,สิ่งของบางอย่างขึ ้นมา

หากนำมาเปรียบเทียบกับสังคมไทยและ คงปฏิเสธไม่ได้ว่าสังคมไทยสูญเสียความเป็นปกติไป

การตื่นตระหนดกับความแตกต่างนานา ทั้งมี่ความแตกต่างนั้นเป็นไปตามกรอบ

กำหนดในสิทธิอันพึงมีได้ในสังคมประชาธิปไตยของนานาประเทศ

จนเหตุให้แสดงอาการเรียกร้องความสมานฉันท์ แตกต่างไม่ได้ต้องสมานฉันท์นี่... นะมันจิตเภทของสังคม

 

หลักพึงพิง

คนและสังคมล้วนต้องการสติ(การระลึกได้) ระลึกได้ว่าเรามีสิทธิ เขาก็มีสิทธิ

ระลึกได้ว่าเราเป็นประเทศประชาธิปไตยเล็กๆ ประเทศหนึ่ง

ระลึกได้ว่าเขาก็คน เราก็คน (เป็นมนุษย์เหมือนกัน)

ระลึกได้ว่าอดีตจบไปแล้ว ที่ทำได้คือปัจจุบัน อันจะมีผลเกิดในอนาคต

ระลึกได้ในธรรมอุเบกขา (ไม่ใช่วางเฉย หรือช่างเขา) แต่เป็นการวางตนให้มีสติ วางเฉย(ไม่ทุรนทุราย) ดูผลในหลักกรรมเกิดขึ้นดำเนินไป

 

ต้องขออนุญาต คุณดวงเดือน ในการ copy  ความคิดเห็นที่อธิบายได้อย่างแจ่มชัด ถึงคำว่า สมานฉันท์ จากความคิดเห็นในบันทึก เรื่อง  ความไม่สมานฉันท์ในสังคมไทย  มาต่อท้ายความคิดเห็นของคุณสมชาย ในบันทึกนี้หน่อยนะคะ  เพราะมีความเชื่อมโยงกันอยู่  ดังนี้

ไม่มีรูป
1. Duangduan
เมื่อ อ. 06 พ.ย. 2550 @ 03:49
447695 [ลบ]

Sorry na kha, I can not type in Thai. In my opinion, I think that Samanachan is not no conflict state. It is not necessary that everybody thinks in the same way. Moreover, we could express our idea freely eventhough it may be different from the others. The important thing is that we have to accept  a way of most people, behaves well, accept rules and regulations. Nowsday, I don't think that Thai people do not Samanachan. Everyone still acts as it should be, acts as the same way before. However, discipline is important to our society. Thank you kha. If I can type in Thai, I will discuss again kha.

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท