เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านลานทองน้อย( 1 )


เพื่อประเมินศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มตามพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน

กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านลานทองน้อย

  

เมื่อไม่นานมานี้ ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ประกอบไปด้วยผมและอ.สิงห์ป่าสัก   คุณสมเดช สิทธิยศ   คุณเสนาะ  ทนันชัย   คุณสราญจิต หรุ่นขำ  คุณสายัณห์ เกียรติ์กำแหง และคุณวิโรจน์ พ่วงกลัด   เราได้เดินทางไปเยี่ยมเยียน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านลานทองน้อย หมู่ 12 ตำบลวังควง  อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร โดยมีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรของสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย ประกอบด้วย คุณรัตติยา ขวัญคำ (เลขานุการคณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังควง)  คุณบุญส่ง  จอมดวง และคุณประทุมวัน บัวเผี่ยน พร้อมคณกรรมการกลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านลานทองน้อยให้การต้อนรับ ณ.สถานที่นัดหมายศาลากลางบ้านบ้านลานทองน้อย

  

        จากที่เราได้ทักทายกันพร้อมสร้างความคุ้นเคยกัน ซึ่งใช้เวลาไม่นานนัก   เราก็ได้เข้าสู่กระบวนการทันทีโดยได้ชี้แจงวัตถุประสงค์ของการเยี่ยมเยียนในครั้งนี้คือ  เพื่อประเมินศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มฯตามพรบ.ส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน ซึ่งเราใช้เทคนิคการประเมินแบบมีส่วนร่วม โดยใช้คำถามนำ ดังนี้

  

1. คำถามที่1. ขอให้ผู้แทนกลุ่มฯช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่าความเป็นมาของกลุ่มเป็นอย่างไร

 แนวตอบ :  ผู้แทนกลุ่มฯได้เล่าให้ฟังว่า กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวบ้านลานทองน้อย ได้เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พศ.2546   เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาอย่างเดียว ในรอบหนึ่งปีทำนาได้เพียงครั้งเดียว พันธุ์ข้าวเดิมใช้พันธุ์ขาวตาแห้ง พันธุ์รวงยาว  พันธุ์รวงทอง  และพันธุ์ขาวมะลิ105   วิธีการปลูกข้าวเกษตรกรส่วนใหญ่ยังปลูกแบบปักดำเป็นแถวเป็นแนว  มีการรักษาประเพณีการลงแขกอยู่ และปฏิบัติสืบทอดกันมา  มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมู่บ้านมีพื้นที่ประมาณ 2,375 ไร่ สำหรับวัตถุประสงค์ของการรวมกลุ่ม เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันของสมาชิก เพราะว่าในฤดูการทำนาบางปีก็ประสบภัยธรรมชาติเช่นน้ำท่วม และฝนแล้งเป็นประจำ ทำให้ข้าวที่ปลูกได้รับความเสียหาย บางรายไม่มีพันธุ์ข้าวไว้ทำพันธุ์ในฤดูต่อไป บางรายก็มีพันธุ์ข้าวไว้ไม่พอที่จะเตรียมไว้ปลูกในฤดูการต่อไป 

  

2. คำถามที่2.  ปัจจุบันนี้ทางกลุ่มฯได้มีการดำเนินงานของกลุ่มอย่างไรบ้างช่วยเล่าให้ฟังหน่อย

 

แนวตอบ :  ปัจจุบันนี้ทางกลุ่มมีสมาชิกรวมทั้งสิ้น 40 คน ทางกลุ่มเราได้กำหนดกติการ่วมกันหรือระเบียบของกลุ่ม ที่ผ่านมาสมาชิกให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี    ปัจจุบันทางกลุ่มเรามีเงินกองทุนหมุนเวียนของกลุ่ม  จำนวน 90,000 บาท เพื่อให้สมาชิกได้กู้ยืมในการลงทุนในการทำนา ในขณะเดียวกันทางกลุ่มได้จัดทำแปลงเรียนรู้ร่วมกัน  โดยใช้เงินกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มดำเนินการร่วมกัน  สำหรับการดำเนินงานด้านกองทุนหมุนเวียนของกลุ่มในระยะแรก เราได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานเกษตรอำเภอพรานกระต่าย   กรมส่งเสริมการเกษตร   ต่อมาเราก็ได้มีการบริหารจัดการโดยกลุ่มของเราเอง ได้พัฒนาต่อยอดอยู่ตลอดเวลา

  

3. คำถามที่3.  การลงทุนในการทำนาแต่และครั้งเป็นอย่างไร   และมีการกำหนดแนวทางในการดำเนินงานไว้อย่างไรบ้างช่วยเล่าให้ฟังหน่อย

 

แนวตอบ : จากการจดบันทึกข้อมูลประจำแปลงไว้ มีการลงทุนเฉลี่ยต่อไร่ ประมาณ 780 บาท เป็นค่าใช้จ่าย ได้แก่ค่าเมล็ดพันธุ์ข้าว 50 บาท  ค่าปุ๋ย 50 บาท  ค่าเตรียมดิน 90 บาท และน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเครื่องสูบน้ำ 90 บาท และค่าแรงงาน 500 บาท (เป็นตัวเลขประมาณการณ์ของเกษตรกร)   ในฤดูการผลิตข้าวในฤดูนาปี 2550 ทางสมาชิกได้กำหนดแปลงพันธุ์ไว้จำนวน 300 ไร่  ผลผลิตข้าวที่คาดว่าจะได้รับประมาณ 120,000 กิโลกรัม  สำหรับทางกลุ่มก็ยังจะต้องมีการทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการกลุ่ม  การคัดเลือกสมาชิกที่จะเข้าร่วมการจัดทำแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี   การวางแผนการผลิตข้าวพันธุ์ดี   การวางแผนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของสมาชิก    การทบทวนกฎกติกาและระเบียบของกลุ่ม เป็นต้น

  สรุปบทเรียนที่ได้จากการลงไป Action ในพื้นที่ของทีม มีดังนี้ 

1 .เป็นสร้างความเข้าใจ ในการทำงานร่วมกันเป็นทีม หรือที่เรียกว่าการเรียนรู้เป็นทีมนั่นเอง

  

2. ฝึกทักษะของการเป็นคุณอำนวย คุณกิจ คุณลิขิต และคุณสังเกต โดยลงฝึกทักษะในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสนามจริง  เวทีจริง มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ การสกัดความรู้ การตั้งประเด็นคำถามเป็นต้น

  

3. สร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ร่วมกัน  ในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างทีมระดับจังหวัด ระดับอำเภอ  อบต. คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการฯ  ผู้นำกลุ่มอาชีพ และเกษตรกร

  

4. หาโจทก์วิจัยร่วมกัน  เพื่อที่จะยกระดับองค์ความรู้ของกลุ่มอาชีพ และค้นหานักวิจัยชุมชนในการดำเนินการวิจัยในปี 2551โดยเราได้กำหนดแผนAction ครั้งต่อไปกลางเดือนพฤศจิกายน 2550 นี้ครับ

   

แหล่งข้อมูล:(1)  กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนบ้านลานทองน้อย หมู่ 12 ต.วังควง อ.พรานกระต่าย จ.กำแพงเพชร

                     (2) ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลวังควง 

 

     

หมายเลขบันทึก: 143960เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2007 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 21:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)
  • สวัสดีครับพี่เขียวมรกต
  • เข้ามาเยี่ยมเยียนในวันเสาร์สบายครับ
  • ขอบคุณครับ
  • สวัสดีครับน้องสุดทางบูรพา
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมครับ

สวัสดี ท่านพี่เขียวขจีมรกต P  ค่ะ

  • สมกับเป็นนักส่งเสริมการเกษตร จริง ๆ นะค่ะนี่
  • วางแผนงานได้เป็นระบบ และรอบคอบมากค่ะ
  • ได้เรียนรู้สิ่งดี ๆ จากท่านพี่เขียวมรกตมากมายเลยละค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะ สำหรับความรู้ใหม่ ๆ

                                 "JasmiN"

  • สวัสดีครับพี่เขียวมรกต
  • ศูนย์ข้าวชุมชนก็เป็นนโยบายหนึ่งของ อธส. ที่จะทำงานส่งเสริมในปี 51 นี้ ทีมงาน กำแพงเพชรฉับไวดีนะครับ ที่วิจัยงานนี้

สวัสดีครับ พี่เขียว

ผมขอยืมมาใช้มั่งได้มั๊ยเนี่ย

ขอบคุณพี่เขียวมากครับ

  • สวัสดีครับอ.Jasmin
  • ขอบคุณครับที่มาแวะเยี่ยมและลปรร.
  • ความจริงแล้วทีมงาน มีความตั้งใจที่จะนำการ วิจัย โดยสวมลงในงานประจำครับ
  • เรามีเป้าหมายว่าอย่างน้อยๆนักส่งเสริมการเกษตรในระดับปฏิบัติการ และคนที่อยู่ในชุมโดยเฉพาะเกษตรกรก็ต้องทำการวิจัยชุมเป็นครับ
  • หากอ.Jasmin  มีข้อแนะนำด้านการวิจัยชุมชนก็ช่วยแนะนำบ้างนะครับ อย่าได้เกรงใจ
  • สวัสดีครับอ.หนุ่มฯ
  • ขอบคุณครับที่มาแวะลปรร.กัน
  • ความจริงแล้วทีมงานพยามยามพลักดันมาหลายปี แต่................................
  • ในปี 2551 นี้คงไม่ปล่อยให้เวลามันผ่านไป ได้มีการวางแผนการปฏิบัติงานรายบุคคลประจำปีและประจำเดือนเสร็จแล้วครับ โดยจะเริ่มลงมือAction  กับผู้ปฏิบัติงาน(เลขานุการคณะกรรมการศูนย์ฯ) ตั้งแต่ 15 พย.50 นี้เลยครับ

 

  • สวัสดีครับพี่ไมตรี
  • ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยม
  •  หากเห็นว่ามีประโยชน์ก็ยินดีครับพี่ไมตรี
  • ทางทีมงานเราได้ตั้งใจว่าจะนำการวิจัยสวมลงในงานที่ปฏิบัติ โดยเฉพาะเป้าหมายฐานกลุ่มอาชีพครับ ที่ผ่านมาไม่ค่อยได้บันทึกไว้ว่าที่สำเร็จเพราะ............ และที่ไม่สำเร็จเพราะ.......... หากทำการวิจัยแบบPAR ก็คงจะพอตอบเขาได้บ้างครับ
  •  กลับจากต่างดาวแล้วคะ
  • แวะมาเป็นกำลังใจให้ชาวกำแพงเพชรคะ
  • อยากให้อาชีพเกษตรบ้านเราเลี้ยงตัวเองได้
  • และมีอำนาจต่อรองในตลาดโลกได้คะ
  • หากผลผลิตมีคุณภาพมีตลาดที่รองรับอย่างเพียงพอ
  • ภาระหนี้สินในภาคการเกษตรน่าจะลดลงนะคะ
  • สวัสดีครับคุณ naree suwan
  • ขอบคุณครับที่มาแวะเยี่ยมและลปรร.ครับ
  • ความจริงแล้วเราก็คาดหวังไว้ก็ตรงกับความเห็นของคุณnaree
  • หากเราได้ศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่1-7 นั้นมีบางฉบับที่มีการนำเอาการตลาดเป็นตัวนำ นโยบายรัฐก็มุ่งการผลิตพืชเชิงเดี่ยวเพื่อจะนำผลผลิตไปแข่งขันกับต่างประเทศ  จึงส่งผลกระทบถึงปัจจุบันนี้
  •  หากศึกษาแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฯ ฉบับที่8-10 โดยยึดคนเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและยึดหลักตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคการเกษตรน่าจะอยู่รอดครับ
อ้อยควั้น (ศิรินทิพย์)
  • สวัสดีค่ะ พี่เขียวมรกต
  • สบายดีนะค่ะ
  • รักษาสุขภาพด้วยค่ะ
  • สวัสดีครับน้องอ้อยควั่น
  • ตอบช้าไปหน่อยครับเพราะว่าช่วงนี้สุขภาพไม่ค่อยสบายครับ
  • ประกอบกับต้องเขียนหนังสือคู่มือการปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตรจ.กำแพงเพชรประจำปีงบประมาณ 2551และคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์บริการและถ่ายทอดฯเพื่อให้นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ถือปฏบัติในปีงบประมาณ 2551 ครับ
  • ขอบคุณสำหรับคำแนะนำ ครับผม

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท