การจัดการความรู้ที่เรียกสั้นๆว่าkm มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการทำงาน เป้าหมายการพัฒนาคนและการพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การจัดการความรู้ต้องดำเนินการเพื่อเป้าหมายดังกล่าว มากกว่าทำตามกระแส หรือถูกบังคับ หรือความต้องการผลงานขององค์กร/หน่วยงาน ที่อาจมาจากคนเพียงไม่กี่คน เมื่อเป็นเช่นนี้ KM จึงไม่ประสบความสำเร็จ ความรู้ อาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ความรู้เด่นชัด(explicit) เน้นไปที่การเข้าถึงแหล่งความรู้ ตรวจสอบและตีความ เมื่อนำความรู้ไปใช้แล้วเกิดความรูใหม่ เป็นความรู้ซ่อนเร้น(Tacit)นำมาสรุปให้ผู้อื่นเข้าถึงต่อไป การจัดการความรู้ซ่อนเร้นเน้นไปที่การจัดเวทีเพื่อให้มีการแบ่งปันความรู้ที่อยู่ในตัวผู้ปฏิบัติ ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน อันนำไปสู่การสร้างความรู้ใหม่ ที่แต่ละคนสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป
กลุ่มนิเทศติดตามและประเมินเป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ แต่ละคนมีความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย การจัดการให้คนเหล่านี้มีเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากจะทำให้เกิดความรู้ที่เป็น tacitแล้วจะเป็นการสร้างบรรยากาศแห่งการเรียนรู้ที่เป็นวัฒนธรรมองค์กร อันจะเป็นแบบอย่างแก่องค์และสถาบันอื่นต่อไป