ปฏิญญาแทมเพอร์เร: ปฏิญญามนุษยธรรมระหว่างประเทศที่ไทยไม่ให้สัตยาบัน


ปฏิญญาแทมเพอร์เร (Tampere Convention) เป็นปฏิญญาที่ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมแก่ประเทศที่เกิดภัยพิบัติ ซึ่งรวมถึงการยกเว้นระเบียบปฏิบัติอะไรหลายอย่างเช่นภาษีอากรสำหรับเครื่องมือบรรเทาทุกข์ วีซ่าสำหรับอาสาสมัคร การจัดสรรระบบโทรคมนาคมเพื่อบรรเทาทุกข์ 

ผมเคยเขียนเรื่องนี้ไว้นิดหน่อยครับ เมื่อปลายปีก่อนในบันทึก ประเด็นจากการประชุม ITU/ESCAP เรื่อง Disaster Communications ตอนจบ ซึ่งมีรายละเอียดอยู่บ้าง

ขอบเขตของปฏิญญานี้ จะอำนวยความสะดวกแก่การช่วยเหลือในกรณีที่เกิดภัยพิบัติในประเทศ และ/หรือ เกิดริมชายแดนประเทศเพื่อนบ้านซึ่งตั้งฐานช่วยเหลือในประเทศไทยสะดวกกว่า (หรือเป็นกรณีผ่านแดนเพื่อเข้าไปช่วยในประเทศเพื่อนบ้าน)

หมายเลขบันทึก: 142922เขียนเมื่อ 30 ตุลาคม 2007 00:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 พฤษภาคม 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

PConductor

อ่านปฏิญญานี้แล้ว มีบางอย่างผุดขึ้นมา....

ปฏิญญาฯ นี้... บ่งชี้ว่า คุณธรรม คือความมีน้ำใจช่วยเหลือเผือแผ่ต่อเพื่อนร่วมโลก มีอำนาจเหนือขอบเขตพื้นที่และกรอบอื่นๆ หรือ ?

อีกนัยหนึ่ง ถ้ามีกรณีที่จำเป็นต้องอ้างปฏิญญานี้ เช่น ในการเข้าไปช่วยประเทศเพื่อนบ้าน หรือการขายวัสดุเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องทำนองนี้แล้ว จะแน่ใจได้อย่างไร ว่าจะไม่มีผลประโยชน์บางอย่างแอบแฝงอยู่เบื้องหลัง ?

อนึ่ง ปฏิญญา ก็คือ ข้อตกลง หรือ กฎระเบียบ ที่มนุษย์สร้างขึ้นมา ซึ่งอาจจำแนกผู้ดำเนินการกับปฏิญญา ข้อตกลง หรือกฎระเบียบเหล่านี้ออกเป็น ๓ ประเภท กล่าวคือ

  • ผู้ไม่คำนึงถึงโดยประการทั้งปวง
  • ผู้ยึดถืออย่างเคร่งครัด
  • ผู้อ้างฯ ในบางครั้ง

จะเห็นได้ว่าทั้ง ๓ ประเภทนี้ ล้วนมีข้อบกพร่อง.... นั่นคือ ปฏิญญานี้อาจถูกใช้เพื่อเป็น เครื่องมือ เท่านั้น....

นัยกรณีตรงข้าง แม้ไม่มีปฏิญญานี้ ถ้าเกิดกรณีทำนองที่ว่ามา... ก็อาจดำเนินการได้ทันทีโดยอ้างเพียง คุณธรรม เท่านั้น ได้หรือไม่ ?

เจริญพร

  • อุปกรณ์บรรเทาทุกข์ใดๆ ที่ส่งมาลงที่เมืองไทย ก็ต้องผ่านกระบวนการศุลกากร มีเรื่องภาษี และความล่าช้า เป็นประเด็นหลักครับ
  • สำหรับอุปกรณ์โทรคมนาคม เพื่อช่วยในเรื่องการติดต่อสื่อสารเพื่อการบรรเทาทุกข์ ก็ยังมีเรื่องใบอนุญาตจาก กทช.อีก
  • ผมเห็นว่าเนื่องจากเป็นเรื่องของระเบียบราชการ และมีการทำงานข้ามหน่วยงานราชการ โดยมีความทุกข์ยากของผู้ประสบภัยเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไข ดังนั้น น่าจะกำหนดเป็นแนวปฏิบัติหลักของประเทศ ซึ่งในกรณีนี้การให้สัตยาบันในสนธิสัญญา น่าจะเป็นทางออกที่ดีครับ

ปฏิญญาแทมเพอร์เร เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเพื่อให้แน่ใจว่าความช่วยเหลือจากนานาชาติ สามารถส่งไปยังผู้ประสบภัยได้ครับ กล่าวคือเป็นพันธะระหว่างประเทศเพื่อให้คำสัตย์ ว่าจะไม่ให้เกิดกรณีอย่างที่เมียนมาร์จัดการภัยพิบัติจากพายุไซโคลน NARGIS-08

กล่าวคือไม่รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ ไม่ช่วยผู้ประสบภัยเต็มกำลัง ไม่จัดการ ไม่ประสานงาน ไม่ให้ข้อมูล ไม่ร่วมมือ ไม่กระจายความช่วยเหลือ ไม่ให้วีซ่าอาสาสมัครจากต่างประเทศ ไม่ยอมให้นำเข้าอุปกรณ์โทรคมนาคมเพื่อประสานงานการกู้ภัย ฯลฯ

 P

Conductor

 

  • เมื่อมองในแง่จริยศาสตร์ น่าสนใจยิ่ง....

เจริญพร

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท