ใกล้วันรับน้องใหม่อีกแล้วครับท่าน


เพราะเราจัดสภาวะแวดล้อมและบรรยากาศที่รุนแรงหรือบังคับเพื่อให้เด็กๆ ทำตามที่เราต้องการไม่ว่าเป็นทางตรงหรือทางอ้อม

       วันนี้ผมขับรถผ่านที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เห็นมีนักเรียนที่สอบติดโควต้าของมหาวิทยาลัยฯ มาตรวจร่างกาย ทำให้ผมย้อนนึกได้ว่าเทศกาลรับน้องใหม่กำลังจะเข้ามา ผมก็คงจะต้องได้ยินเรื่องของความรุนแรงในการรับน้อง และท้ายที่สุดก็จะมีผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองออกมาระงับหรือให้งดทำกิจกรรมรับน้อง...

       ผมคิดว่าการรับน้องเป็นสิ่งดีนะ การที่เด็กต่างจังหวัดออกมาจากอกของพ่อและแม่เพื่อมาดำรงชีวิตในมหาวิทยาลัยด้วยตัวคนเดียวมันเป็นเรื่องที่ทำใจยาก ทั้งความกลัว ความเหงา ความเครียด ความไม่สดวกสบาย ผู้ปกครองคนใหนสอนให้ลูกเตรียมพร้อมในการรับการเปลี่ยนแปลงครังนี้ได้ก็ดีไป ส่วนที่เตรียมแค่ให้เด็กเข้ามหาวิทยาลัยได้อย่างเดียว ก็คงต้องบอกว่าเป็นกรรมของเด็ก แต่ส่วนมากเป็นอย่างหลังนะครับ รุ่นพี่หลายๆคนก็เคยเป็นอย่างนี้ ก็เลยต้องการทดแทนในสิ่งที่ตนเคยประสบ จากนั้นมันก็เลยกลายเป็นกิจกรรมรับน้องขึ้นมา

       ผมลองเอาเรื่องของ Learning Organization ตามแบบของ Peter Senge จับกับเรื่องนี้ดู ก็ได้ว่ารุ่นพี่ในแต่ละคนต่างก็มีฝันในเรื่องเดียวกัน (Share Vision) ในเรื่องของการเติมเต็มความรู้สึกที่มันขาดหายไปอันเนื้องจากความไม่พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน(Term Learning) เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวให้รุ่นน้อง โดยการสร้างเป็นกิจกรรมต่างๆขึ้นมา เล่ามาแค่นี้ก็ไม่น่าจะทำให้เกิดปัญหาอะไรแต่ต่อจากนี้สิครับมันคือปัญหา ก่อนที่รุ่นพี่จะเกิดการเรียนรู้ร่วมกันนั้นทุกคนต่างก็มีรูปแบบการคิด (Systemetic Thinking) และความฝังใจ (Mental Model) ซึ่งสั่งสมมาจากประสบการณ์ (Experience) ดังนั้นเรื่องของความรุนแรงของการจัดกิจกรรมรับน้องจึงเกิดขึ้นได้อย่างเป็นปกติ

       พวกเขาไม่ผิดครับ แต่คนที่ผิดก็คือพวกเราเองที่เป็นผู้ใหญ่หรือเป็นผู้ที่ใกล้ชิดเด็กๆเหล่านั้นละครับ ผิดเพราะเราจัดสภาวะแวดล้อมและบรรยากาศที่รุนแรงหรือบังคับเพื่อให้เด็กๆ ทำตามที่เราต้องการไม่ว่าเป็นทางตรงหรือทางอ้อม ผลลัพธ์มันก็ออกมาเป็นอย่างนี้ละครับ

(http://www.phitsanulok.info/blog/2006/02/blog-post.html)

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม#model
หมายเลขบันทึก: 14247เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2006 14:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 12:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท