พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490 การจดทะเบียนและการขออนุญาต


พ.ร.บ. การประมง พ.ศ. 2490 การจดทะเบียนและการขออนุญาต มาตราที่ 25, 26, 27, 28, 28ทวิ, 29, 30, 31, 32, 33, 34, 35, 36, 37, 38, 39, 40, 41, 42, 43, 44, 45, 46
การจดทะเบียนและการขออนุญาต 
มาตรา 25 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้ผู้มีอาชีพในการประมง การค้าสินค้าสัตว์น้ำ ผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และอุตสาหกรรมสัตว์น้ำตามที่จะได้มีพระราชกฤษฎีการะบุ ไว้ในท้องที่ใด ๆ มาจดทะเบียนได้ และจะกำหนดให้ผู้มีอาชีพเช่นว่านี้มาขออนุญาตต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่เสียก่อนดำเนินอาชีพเช่นว่านั้น โดยให้เสียค่าธรรมเนียมหรือยกเว้นค่าธรรมเนียมตาม พระราชบัญญัตินี้ก็ได้
 
มาตรา 26 ให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกประกาศกำหนดให้เจ้าของ หรือผู้ครอบครอง เครื่องมือทำการประมงชนิดหนึ่งชนิดใดในท้องที่ใด ๆ จดทะเบียนการมีไว้ในครอบครองซึ่ง เครื่องมือนั้นต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
 
มาตรา 27 เมื่อมีกรณีจำเป็นแก่ราชการหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะโดยอนุมัติ รัฐมนตรี ข้าหลวงประจำจังหวัดอาจสั่งให้เพิกถอนใบอนุญาต หรือประทานบัตรรายใด ๆ ก็ได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ผู้รับอนุญาตได้รับคืนเงินอากรเฉพาะส่วนที่ต้องเพิกถอน
 
มาตรา 28 บุคคลใดจะใช้เครื่องมือในพิกัดทำการประมงได้ ต่อเมื่อได้รับ อาชญาบัตรระบุชื่อบุคคลนั้น และเสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้แล้ว
 รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องให้รับอาชญาบัตรสำหรับเครื่องมือทำการ ประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในท้องที่ใด ๆ ก็ได้
 
มาตรา 28ทวิ บุคคลใดเป็นเจ้าของเรือ ใช้หรือยอมให้ใช้เรือของตนทำการ ประมงหรือเพื่อทำการประมง จนเป็นเหตุให้มีการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศ และทำให้ คนประจำเรือหรือผู้โดยสารไปกับเรือต้องตกค้างอยู่ ณ ต่างประเทศ บุคคลนั้นมีหน้าที่ต้อง ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณากำหนดค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อันเกิด จากการละเมิดน่านน้ำของต่างประเทศซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งมีจำนวนไม่เกินเจ็ดคน ภายใน สามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำวินิจฉัยดังกล่าว
 ในกรณีที่ไม่สามารถแจ้งคำวินิจฉัยแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง เพราะไม่พบตัวบุคคล ดังกล่าวหรือไม่มีผู้ใดยอมรับแทน ให้ถือว่าบุคคลดังกล่าวได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการ แล้ว ในเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ส่งคำวินิจฉัยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับหรือปิดคำวินิจฉัยไว้ ในที่เห็นได้ง่าย ณ สำนักงานภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่ของบุคคลดังกล่าว โดยมีพนักงานฝ่ายปกครอง หรือตำรวจเป็นพยานในการนั้น
[
มาตรา 28ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2528]
 
มาตรา 29 เครื่องมือในพิกัดซึ่งได้รับอาชญาบัตรในท้องที่จังหวัดใดแล้ว ถ้าบุคคล ใดประสงค์จะนำไปใช้ทำการประมงในท้องที่จังหวัดอื่น ซึ่งจะต้องเสียเงินอากรสูงกว่า จะต้องเสีย อากรเพิ่มเติมให้ครบตามอัตราในท้องที่นั้นเสียก่อนจึงจะใช้เครื่องมือนั้นได้
 
มาตรา 30 บุคคลใดประสงค์จะทำการประมงในที่อนุญาต ต้องขออนุญาตและ เสียเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้ และเงินซึ่งผู้รับอนุญาตที่จะต้องชำระโดยการว่าประมูล ให้ถือว่า เป็นเงินอากรตามพระราชบัญญัตินี้
 รัฐมนตรีมีอำนาจประกาศยกเว้นไม่ต้องเสียเงินอากรค่าอนุญาตในที่อนุญาตรายตัว บุคคลได้ ในกรณีเช่นว่านี้ให้ถือว่าได้รับอนุญาตแล้ว
 
มาตรา 31 ห้ามมิให้บุคคลใดตั้ง หรือปัก หรือสร้างเครื่องมือประจำที่ลงในที่ สาธารณประโยชน์ ส่วนที่จับสัตว์น้ำอื่น ๆ ห้ามมิให้บุคคลใดกระทำการเช่นว่านั้น โดยมิได้ รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่
 
มาตรา 32 รัฐมนตรีหรือข้าหลวงประจำจังหวัดโดยอนุมัติรัฐมนตรีเฉพาะภายใน เขตท้องที่ของตน มีอำนาจประกาศกำหนดได้ดังต่อไปนี้
 (1) กำหนดขนาดตาและระยะช่องเครื่องมือทำการประมงทุกชนิด กำหนดขนาด ชนิด จำนวนและส่วนประกอบของเครื่องมือทำการประมงที่อนุญาตให้ใช้ในที่จับสัตว์น้ำ
 (2) กำหนดมิให้ใช้เครื่องมือทำการประมงอย่างหนึ่งอย่างใดในที่จับสัตว์น้ำโดย เด็ดขาด
 (3) กำหนดระยะที่ตั้งเครื่องมือประจำที่ให้ห่างกันเพียงใด
 (4) กำหนดวิธีใช้เครื่องมือทำการประมงต่าง ๆ
 (5) กำหนดฤดูปลาที่มีไข่และวางไข่เลี้ยงลูก กำหนดเครื่องมือที่ให้ใช้และกำหนด วิธีทำการประมงในที่จับสัตว์น้ำใด ๆ ในฤดูดังกล่าว
 (6) กำหนดชนิด ขนาด และจำนวนอย่างสูงของสัตว์น้ำที่อนุญาตให้ทำการประมง
 (7) กำหนดมิให้ทำการประมงสัตว์น้ำชนิดหนึ่งชนิดใดโดยเด็ดขาด
 
มาตรา 33 การโอนประทานบัตร ใบอนุญาตและอาชญาบัตรและการออกใบแทน เอกสารเช่นว่านั้น และการสลักหลังอาชญาบัตร เพื่อแก้ไขหรือเพิ่มเติมผู้มีสิทธิใช้เครื่องมือทำการ ประมง จะต้องเสียค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัตินี้
 ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรใดซึ่งหมดอายุแล้ว แต่ได้ยื่นคำขอต่ออายุก่อนวันสิ้น อายุ มิให้ถือว่าการทำการประมง หรือการใช้เครื่องมือนั้นเป็นการกระทำโดยมิได้รับอนุญาตตาม พระราชบัญญัตินี้ จนกว่าพนักงานเจ้าหน้าที่จะได้แจ้งว่าไม่อนุญาต
 
มาตรา 34 ห้ามมิให้บุคคลใดทำการประมงหรือทำการใด ๆ ในเครื่องมือประจำที่ ของผู้รับอนุญาต หรือในบริเวณที่ตั้งเครื่องมือเช่นว่านั้น ตามที่คณะกรมการจังหวัดจะได้ประกาศ กำหนดเขตโดยอนุมัติรัฐมนตรี
 
มาตรา 35 ผู้รับอนุญาตจะต้องนำประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตร ติดตัว ไปด้วยเสมอในเวลาไปทำการประมงและต้องนำออกแสดงเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ขอตรวจ
 
มาตรา 36 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตกระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัตินี้ หรือปฏิบัติ ผิดเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตร หรือค้างเงินอากรที่เกี่ยวกับ ประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตร พนักงานเจ้าหน้าที่จะสั่งเพิกถอนประทานบัตร ใบอนุญาต หรืออาชญาบัตรนั้นเสียก็ได้
 
มาตรา 37 ในขณะใดหรือในท้องที่ใดยังไม่สมควรจะเก็บเงินอากรให้ประกาศ ยกเว้นโดยพระราชกฤษฎีกา
 
มาตรา 38 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจยกเว้น งด หรือ คืนอากรค่าประทานบัตร ใบอนุญาต และอาชญาบัตร ให้บางส่วนหรือทั้งหมดตามแต่จะเห็น สมควร
 
มาตรา 39 โดยอนุมัติรัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจสั่งอนุญาตให้ผ่อน เวลาชำระเงินอากรได้ตามที่เห็นสมควร
 สำหรับเงินอากรที่ค้างนั้น ผู้รับอนุญาตจะต้องเสียดอกเบี้ยร้อยละสิบต่อปีของเงิน อากรและเงินดอกเบี้ยนี้ให้ถือเป็นเงินอากรค้าง
 
มาตรา 40 ถ้าผู้รับอนุญาตค้างชำระเงินอากร ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
 (1) ประกาศหรือแจ้งเป็นหนังสือให้ผู้รับอนุญาตนำเงินอากรที่ค้างมาชำระภายใน เวลาตามที่เห็นสมควร
 (2) เมื่อได้ดำเนินการตามอนุ มาตรา (1) แล้ว ผู้รับอนุญาตยังเพิกเฉยอยู่ พนักงาน เจ้าหน้าที่อาจสั่งให้หยุดทำการประมง
 (3) จัดการขายทอดตลาดทรัพย์สินที่ผู้รับอนุญาตนำมาวางเป็นหลักประกัน หรือ จัดการเรียกร้องให้ผู้ค้ำประกันชำระเงินอากรแทนผู้รับอนุญาต เงินที่ได้จากการขายทอดตลาดให้คิด ชำระเงินอากรและค่าใช้จ่ายในการขายทอดตลาดจนครบ เหลือเท่าใดให้คืนแก่ผู้รับอนุญาตหรือ ผู้ค้ำประกัน แล้วแต่กรณี
 
มาตรา 41 เงินอากรที่ค้างชำระนั้น พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจยึดและจัดการ ขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้รับอนุญาตแต่พอคุ้มกับเงินอากรที่ค้างชำระ รวมทั้งค่าใช้จ่าย ในการยึดและการขายทอดตลาด
 
มาตรา 42 ประทานบัตร ใบอนุญาตหรืออาชญาบัตรที่ถูกสั่งเพิกถอนตาม มาตรา 36 นั้น อากรที่ชำระแล้วจะเรียกคืนมิได้
 
มาตรา 43 กำหนดอายุอาชญาบัตรสำหรับการขออนุญาตและเสียเงินอากรนั้น ให้เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 มีนาคม
 
มาตรา 44 ภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 43 เพื่อประโยชน์แก่การเก็บอากรโดยอนุมัติ รัฐมนตรี ให้คณะกรมการจังหวัดมีอำนาจประกาศกำหนดฤดูกาลทำการประมงตามความเหมาะสม แห่งท้องที่ โดยให้นับเวลาสิบสองเดือนเป็นหนึ่งฤดู และให้ถือระยะเวลาดังกล่าวแล้วเป็นระยะเวลา สำหรับการขออนุญาตและเสียอากรสำหรับหนึ่งปี
 
มาตรา 45 ในการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องออกไปตรวจสอบหรือกำหนดที่ตั้ง เครื่องมือประจำที่ให้แก่ผู้ขออนุญาตใช้เครื่องมือ ให้ผู้ขออนุญาตจัดหาพาหนะรับและส่งพนักงาน เจ้าหน้าที่หรือออกค่าใช้จ่ายให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่เท่าที่จำเป็นและจ่ายจริงตามแต่ผู้ขออนุญาต จะเลือก
 
มาตรา 46 ในกรณีที่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจออกประทานบัตร ใบอนุญาตและ อาชญาบัตรไม่ยอมออกเอกสารเช่นว่านั้น ให้บุคคลผู้มีส่วนได้เสียอุทธรณ์ไปยังรัฐมนตรีได้ โดย ยื่นอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานเช่นว่านั้นภายในสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่ง คำอุทธรณ์นั้นให้ เจ้าพนักงานเช่นว่านั้นเสนอรัฐมนตรีโดยมิชักช้า คำวินิจฉัยของรัฐมนตรีให้เป็นที่สุด
ที่มา http://www.kodmhai.com/m4/m4-1/H71/H-71.html
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14186เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 19:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท