ปลาอะโรวาน่า และ กฎหมายคุ้มครอง


ว่าปลาอะโรวาน่าได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองเพราะเป็นปลาโบราณที่ ใกล้จะสูญพันธุ์ ปลาอะโรวาน่าจัดอยู่ในบัญชี 1 ของอนุสัญญา CITES เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโดยมิได้รับอนุญาต ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปลาอะโรวาน่าเป็นปลาที่ชอบอาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำที่เงียบสงบ เป็นปลาที่ได้รับความนิยมมาก ในกลุ่มผู้เลี้ยงปลาสวยงามในยุคปัจจุบัน แต่เนื่องจากในปัจจุบันมีการจับปลาอะโรวาน่ามาเลี้ยงมากขึ้น จึงทำให้ปลาลดน้อยลงไป ทำให้ออกกฎหมายคุ้มครองปลาอะโรวาน่าเกิดขึ้น
ถิ่นกำเนิด
     อย่างที่ทราบกัน ปลาอะโรวาน่ามีถิ่นกำเนิดที่แตกต่างกันออกไปตามสายพันธุ์ ปลาอะโรวาน่าจะอาศัยอยู่ตามแม่น้ำและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เท่าที่ผมรู้ในประเทศไทยจะพบปลาอะโรวาน่าอาศัยอยู่ทางภาคใต้และภาคตะวันออก ภาคใต้จะพบที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี สตูล ส่วนทางภาคตะวันออกจะพบที่จังหวัดจันทบุรี และตราด เป็นต้น นอกจากนี้ปลาอะโรวาน่ายังมีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย แถบอัฟริกาและอเมริกาใต้
     ปลาอะโรวาน่าเราจะแบ่งตามถิ่นที่อยู่อาศัยได้ 5 ชนิด
          1. ปลาอะโรวาน่าเอเซีย (Asian Arowana)
          2. ปลาอะโรวาน่าเงิน (Silver Arowana)
          3. ปลาอะโรวาน่าอัฟริกา (Afica Arowana หรือ Nile Arowana)
          4. ปลาอะโรวาน่าดำ (Black Arowana, South America Arowana)
          5. ปลาอะโรวาน่าออสเตรเลีย (Australia Arowana)ลักษณะทั่วไป
     อย่างที่ทราบกันนะครับ ปลาอะโรวาน่าจะมีลักษณะเด่นตรงที่เกล็ดขนาดใหญ่เรียงกันอย่างงดงามปลาชนิดนี้จะมีสีสันแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่แต่ละชนิดและถิ่นที่อยู่อาศัย ปลาอะโรวาน่าจะมีลักษณะแบนด้านข้างลำตัวยาว ปากกว้างเฉียงเชิดขึ้น ฟันคมแหลม บริเวณริมฝีปากล่างจะมีหนวดสั้นอยู่ 2 หนวด
     อุปนิสัย
     โดยธรรมชาติแล้วปลาชนิดนี้จะอาศัยอยู่บริเวณน้ำไหลเอื่อย บริเวณก้อนหินและมีพื้นดินปนทราย ปลาชนิดนี้ชอบว่ายน้ำบริเวณผิวน้ำ โดยทั่วไปแล้วอะโรวาน่า เมื่อเห็นเหยื่อก็สามารถดีดตัวจับเหยื่อได้ ปลาอะโรวาน่าจัดเป็นปลากินเนื้อและมีนิสัยก้าวร้าวและดุร้ายขนาด
     ปลาชนิดนี้เมื่อเจริญเติบโตได้เร็วมากและเมื่อโตเต็มที่ปลาชนิดนี้จะมีความยาวถึง 1 เมตรปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
     การแยกเพศ
      การแยกเพศปลาชนิดนี้ โดยการสังเกตจากรูปลักษณะภายนอกในระยะแรกยังหาข้อสรุปไม่ได้ เนื่องจากปลาเพศเมียและเพศผู้มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ทางศูนย์พัฒนาการประมงน้ำจืด สุราษฎร์ธานีได้ทำการผ่าพิสูจน์ปลาที่ดองไว้ ทำให้สามารถดูลักษณะภายนอกได้ โดยครีบหูและระยะห่างระหว่างปลายครีบหูและระยะห่างระหว่างปลาครีบหูกับฐานครีบท้อง กล่าวคือ ในปลาอะโรวาน่าเพศผู้ครีบหูหนาใหญ่ โค้งหุ้มและยาวจรดฐานครีบท้อง ส่วนปลาตัวเมีย ครีบหูบางสั้น ระยะห่างจากปลายครีบหูถึงฐานครีบท้อง จึงกว้างกว่าปลาเพศผู้ นอกจากนี้ปลาเพศเมียจะมีส่วนกว้างของลำตัวมากกว่าปลาเพศผู้
     การเลือกซื้อปลาอะโรวาน่า
     ในการเลือกซื้อควรจะดูการว่ายน้ำต้องมีลักษณะสง่างาม หางไม่หุบ ไม่ลู่ ปลาอะโรวาน่าที่ดีจะต้องมีสีของลำตัวเข้ม ลำตัวตรง ขอบด้านและด้านบนขนานกัน ดวงตาต้องสดใสไม่คว่ำไม่ตก ปลาจะต้องมีครีบสมบูรณ์ ครีบหลังและครีบก้นต้องใหญ่ ครีบหางต้องแผ่กว้างและครีบต้องไม่มีตำหนิใด ๆ นี้จะเป็นการเลือกซื้อปลาอะโรวาน่าที่เราจะได้ปลาที่ดีและแข็งแรงนะครับ
     กฎหมายคุ้มครอง
      เคยรู้กันบ้างมั๊ยครับ ว่าปลาอะโรวาน่าได้มีการออกกฎหมายคุ้มครองเพราะเป็นปลาโบราณที่ ใกล้จะสูญพันธุ์ ปลาอะโรวาน่าจัดอยู่ในบัญชี 1 ของอนุสัญญา CITES เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองที่เพาะพันธุ์ได้ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 โดยห้ามมิให้ผู้ใดกระทำการโดยมิได้รับอนุญาตดังนี้
- ห้ามเก็บ กัก ดัก จับ ยิง ฆ่า หรือทำอันตรายด้วยประกาศอื่นใด
- ห้ามเพาะพันธุ์
- ห้ามครอบครอง
- ห้ามค้า
- ห้ามนำเข้า ส่งออกหรือผ่าน
ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 4 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ที่มา http://www.nicaonline.com/articles/site/view_article.asp?idarticle=149
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14182เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 18:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 19:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท