GotoKnow

ความหมายของเครื่องมือทำการประมง และ การจำแนก

นาย กฤษณศักดิ์ พวงแก้ว
เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2549 19:32 น. ()
แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2555 11:26 น. ()
การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ สามารถจำแนกได้เป็น 13 ประเภท คือ 1.ประเภทอวนล้อมจับ 2.ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก 3.ประเภทอวนลาก 4.ประเภทคราด 5.ประเภทอวนช้อน อวนยก 6.ประเภทอวนครอบ 7.ประเภทอวนติด 8.ประเภทอวนรุน 9.ประเภทลอบ 10.ประเภทโป๊ะ 11.ประเภทโพงพาง 12.ประเภทเบ็ด 13.ประเภทเบ็ดเตล็ด

    เครื่องมือทำการประมง (Fishing Gears) คือ เครื่องมือที่ใช้จับหรือสัมผัสสัตว์น้ำโดยตรง และเครื่องมือช่วยทำการประมง (Auxillary Gears) คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ช่วยให้การจับสัตว์น้ำมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น หรือช่วยให้การจับสัตว์น้ำสำเร็จลงได้ เช่น เรือ เครื่องทุ่นแรง เครื่องหาฝูงปลา ซั้ง เป็นต้น การจำแนกเครื่องมือทำการประมง สามารถแบ่งได้ดังนี้
การจำแนกตามลักษณะการทำงาน (การทำประมง) คือ
    1. เครื่องมือประเภทเคลื่อนที่ (Moveable fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือดังกล่าวมีการเคลื่อนที่ และห่างออกไปจากตำแหน่งที่เริ่มต้นด้วยแรงของกระแสลม กระแสน้ำ คน หรือเครื่องยนต์เรือ 
    2. เครื่องมือประเภทประจำที่ (Stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ใช้วิธีลงหลัก ปัก ผูก ขึง รั้ง ถ่วง หรือวิธีอื่นใด อันทำให้เครื่องมือและส่วนประกอบอยู่กับที่ในเวลาทำการประมง และทำการจับสัตว์น้ำตรงจุดที่ตั้งเครื่องมือนั้นๆ ทุกครั้ง
    3. เครื่องมือประเภทกึ่งประจำที่ (Semi-stationary fishing gears) หมายถึง เครื่องมือประมงประเภทที่ขณะทำการประมง เครื่องมือนั้นจะถูกยึดถ่วงรั้งให้อยู่กับที่ในระยะเวลาหนึ่ง หรือจนสิ้นสุดการจับสัตว์น้ำแต่ละครั้งเสร็จแล้วเก็บอุปกรณ์ขึ้นเรือ เพื่อนำไปใช้ในบริเวณอื่นๆได้อีก
จำแนกตามขนาดของธุรกิจ คือ
    1. เครื่องมือประมงพื้นบ้าน หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ใช้เรือหรือใช้ประกอบกับเรือขนาดไม่เกิน 5 ตันกรอส
    2. เครื่องมือประมงพาณิชย์ หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ประกอบกับเรือที่มีขยาดเกินกว่า 5 ตันกรอส
     การจำแนกตามกรรมวิธีในการจับสัตว์น้ำ สามารถจำแนกได้เป็น 13 ประเภท คือ
    1. ประเภทอวนล้อมจับ                           8. ประเภทอวนรุน
    2. ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก                 9. ประเภทลอบ
    3. ประเภทอวนลาก                              10. ประเภทโป๊ะ
    4. ประเภทคราด                                  11. ประเภทโพงพาง
    5. ประเภทอวนช้อน อวนยก                   12. ประเภทเบ็ด
    6. ประเภทอวนครอบ                            13. ประเภทเบ็ดเตล็ด
    7. ประเภทอวนติด
    ประเภทอวนล้อมจับ (Surrounding Nets)
    - อวนล้อมจับ หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า 
    หลักการ คือ 
    ใช้วิธีปล่อยผืนอวนล้อมรอบสัตว์น้ำเป็นวงกลมหรือรูปไข่เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนที่ของสัตว์น้ำในแนวราบ ส่วนในแนวดิ่งใช้ความลึกของอวนสกัดกั้นตัดหน้าฝูงสัตว์น้ำ ปิดด้านล่างของผืนอวน ทำการกู้อวนแล้วตักสัตว์น้ำขึ้นเรือ ชนิด: อวนล้อมจับมีสายมาน และอวนล้อมจับไม่มีสายมาน
     ประเภทอวนกางกั้นแล้วลาก(Seine Nets) 
    หมายถึง เครื่องมือประมงที่ปล่อยอวนกางกั้นสัตว์น้ำ แล้วทำการฉุด ลากปลายสุดของผืนอวนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างเข้าหาฝั่งหรือเรือ 
    หลักการ คือ ใช้วิธีล้อม และลากผสมกันในไทย เป็นแบบลากเข้าหาชายหาดด้วยแรงคนจับสัตว์น้ำ ที่เข้ามาในเขตน้ำขึ้นน้ำลงบริเวณชายหาด ลึก 1-3 เมตร ปลากะตัก เคย ปลากระบอก ปลาแป้น ปลาข้างเหลือง ชนิด:อวนทับตลิ่ง 
    ประเภทอวนลาก(Trawl Nets)
    หมายถึงเครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ใช้วิธีการจับสัตว์น้ำโดยการใช้เรือลากจูงอวนให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่อง 
    หลักการ คือ จับสัตว์น้ำที่อาศัยบริเวณพื้นทะเลหรือเหนือพื้นทะเลชนิดสัตว์น้ำทั้งแบบอยู่รวมกัน เป็นฝูง/แพร่กระจายบริเวณกว้าง ชนิด:อวนลากคู่ อวนลากแผ่นตะเฆ่ อวนลากคานถ่าง อวนลากคู่ : อวนลากที่ใช้เรือสองลำช่วยถ่างปากอวน ส่วนใหญ่จับปลาหน้าดิน ปลาผิวน้ำและหมึก
        - อวนลากแผ่นตะเฆ่: อวนลากที่ใช้แผ่นตะเฆ่ช่วยถ่างปากอวน อวนลากแผ่นตะเฆ่ขนาดเล็ก: อวนลากแคระ/อวนลากกุ้ง
    ชนิดอวนที่ใช้: อวนลากปลา อวนลากกุ้ง อวนลากเคย อวนลากแมงกะพรุน 
        - อวนลากคานถ่าง : อวนลากที่ใช้คานช่วยถ่างปากอวน ชนิดในประเทศไทย คือ 
          • อวนลากคานถ่างแบบลากกุ้ง/อวนลากข้าง/อวนลากแขก
          • อวนลากคานถ่างแบบลากแมงกะพรุน/อวนลากจอหนัง
    ประเภทคราด (Dredges)
    หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะคล้ายตะแกรง ทำการประมงโดยวิธีขูด แซะ เพื่อจับสัตว์น้ำที่อยู่ใต้ผิวดิน โดยใช้แรงคน/เครื่องยนต์ 
    หลักการ คือ ส่วนใหญ่ใช้จับหอยชนิดที่ฝังตัวใต้พื้นโคลน/ทราย มีทั้งแบบใช้แรงคน และแบบใช้เรือลาก 
    ชนิด: คราดหอยลาย คราดหอยแครง คราดหอยอื่นๆ เช่น คราดหอยเสียบ คราดหอยตลับ 
    ประเภทอวนช้อน/อวนยก (Lift Nets)
     หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ผืนอวนที่มีลักษณะและรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยม/กลม จับสัตว์น้ำโดยการวางอวนทิ้งไว้ในแนวดิ่ง/แนวราบ และจะยกหรือดึงอวนขึ้นทันที่เมื่อต้องการจับสัตว์น้ำ 
     หลักการ คือ ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น เหยื่อล่อ ซั้งล่อ แสงไฟล่อ ตัวอย่าง บาม ยอเคย จั่น/หยอง/ยอปู แร้วปู อวนช้อนปลากะตัก และไม่ใช้เครื่องมือล่อลวง เช่น สวิง ช้อนหมึก สวิงช้อนแมงกะพรุน 
    ประเภทอวนติดตา (Gill Nets)
     หมายถึง เครื่องมือประมงที่มีลักษณะเป็นผืนอวนคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยใช้จับสัตว์น้ำโดยการวางขวางหรือปิดล้อมสัตว์น้ำเพื่อให้สัตว์น้ำว่ายชนแล้วติดหรือพันตาอวน 
    หลักการ คือ เรียกว่า ข่าย/อวนลอย/อวนจม/กัด/อวนล้อมติด/อวนติด ชาวประมงพื้นบ้านนิยมใช้มากที่สุด 
    ประสิทธิภาพ: ความยาวอวน ขนาดตาอวน ความลึกอวน และอัตราย่นของเนื้ออวน 
    ชนิด: 19 ชนิด คือ อวนลอยปลาอินทรี อวนลอยปลากะพงขาว อวนจมปู อวนจมกุ้ง อวนล้อมติดปลาทู 
    ประเภทอวนรุน (Push Nets)
     หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ จับสัตว์น้ำโดยวิธีผลักด้วยแรงคน/เครื่องยนต์ ชนิด: อวนรุนใช้เรือกล อวนรุนไม่ใช้เรือกล (ระวะ/รุนเคย/ชิป/ไสกุ้ง)
    - อวนรุนใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ (แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย)
    - อวนรุนไม่ใช้เรือกล หมายถึง อวนรุนที่ไม่ใช้เรือกลผลักดันเครื่องมืออวนให้เคลื่อนที่ขณะทำการจับสัตว์น้ำ แต่ใช้แรงคนแทน(แบบรุนกุ้ง/แบบรุนเคย)
    ประเภทลอบ (Traps, Pots)
    หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้ดักจับสัตว์น้ำ มีลักษณะเป็นโครงรูปทรงต่างๆ ใช้วัสดุหุ้มโดยรอบ และมีส่วนที่เรียกว่า งา เป็นช่องให้สัตว์น้ำเข้าภายใน 5 ชนิด: ลอบปลา ลอบหมึก ลอบกุ้ง ลอบปู ลอบหอย 
    - ลอบปลา: ลอบปลาแบบจับปลาขนาดใหญ่ ลอบลูกปลากะรัง
    - ลอบหมึก: ลอบหมึกหอม ลอบหมึกกระดอง
    - ลอบกุ้ง/ลอบยืน/ไซนั่ง: สงขลา 
    - ลอบปู: ลอบป่า/ไซนอน เชงเลง ลอบปูแบบพับได้
    - ลอบหอย: หอยหวาน/หอยตุ๊กแก/หอยเทพรส/หอยดูด/หอยหมาก 
    ประเภทโป๊ะ (Pound Nets/ Set Nets)
     หมายถึง เครื่องมือประจำที่ ประกอบด้วยส่วนของลูกขังมีลักษณะเป็นรูปทรงต่างๆ และมีส่วนปีกเป็นทางนำให้สัตว์น้ำเข้าสู่ลูกขัง 
    หลักการ คือ เป็นการดักจับ 2 ชนิด: โป๊ะน้ำตื้น และโป๊ะน้ำลึก
    - โป๊ะน้ำตื้น หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกไม่เกินสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด(โป๊ะน้ำแห้ง/โป๊ะน้ำขอด/หลาด/มุ)
    - โป๊ะน้ำลึก หมายถึง โป๊ะที่มีระดับน้ำในลูกขังลึกเกินกว่าสามเมตร เมื่อน้ำลงต่ำสุด แบ่งได้ 2 แบบ คือ แบบโป๊ะรุก/โป๊ะเผือก และแบบโป๊ะยก/โป๊ะอวน
     ประเภทโพงพาง (Set Bag Nets)
     หมายถึง เครื่องมือประมงที่ใช้อวนลักษณะคล้ายถุง ปากอวนกางยึดอยู่กับที่ทำการประมงโดยวิธีให้กระแสน้ำพัดพาสัตว์น้ำเข้าไปในถุงอวน 2 ชนิด: โพงพางประจำที่ กับ แบบเคลื่อนที่ 
    - โพงพางประจำที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่ทำการประมงซ้ำที่เดิมเป็นประจำ และไม่เก็บหลักหรือปีกไว้เมื่อเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำ ชนิดของโพงพางในกลุ่มนี้ ได้แก่ โพงพางหลัก โพงพางหลักใต้น้ำ โพงพางปีก 
    - โพงพางเคลื่อนที่ หมายถึง โพงพางชนิดที่เคลื่อนย้ายเครื่องมืออวนและส่วนประกอบทั้งหมดออกจากจุดที่ทำการประมงหลังจากเสร็จสิ้นการจับสัตว์น้ำทุกครั้ง บางครั้งเรียกว่า โพงพางหลักลอย/โพงเคย/ป้องเคย
    ประเภทเบ็ด (Hook and Lines)
    หมายถึง เครื่องมือประมงที่ประกอบด้วยตัวเบ็ดมีลักษณะโค้งงอเป็นขอ ส่วนใหญ่มีเงี่ยง และสายเบ็ดเป็นเชือก/วัสดุคล้ายเชือก ชนิด: เบ็ดมือ เบ็ดลาก เบ็ดราว
    ประเภทเบ็ดเตล็ด
     หมายถึง เครื่องมือประมงที่ไม่ได้จัดไว้ในเครื่องมือ 12 ประเภท ตัวอย่าง เฮียหอยกระพง สับปะนก ขอขุดปูทะเล ฉมวก/แหลน/หลาว/ซ่อม เรือผีหลอก อวนรัง เป็นต้น

ที่มา http://cyberlab.lh1.ku.ac.th/elearn/faculty/fisher/fi14/lesson4.htm

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 

ความเห็น

Thawat KMI
เขียนเมื่อ

เป็นการเก็บ Knowledge เอามาแขวนที่ blog ของตัวเอง  ดีครับ    แต่ Knowledge ที่ว่า 100% เป็น Explicit Knowledge กล่าวคือ  เป็นความรู้ที่เราคว้ามาจากตำรา  หรือจากหนังสือ  ว่าด้วยเครื่องมือประมง  ซึ่งก็เป็นเรื่องดีเช่นกัน  ไม่ใช่ว่าไม่ดี

หากน้องๆสนใจเรื่องเก็บความรู้อีกตัวหนึ่ง  ที่เรียกว่า Tacit Knowledge  คือ  ความรู้ที่แฝงฝังอยู่ในตัวคน  อยู่ในตัวชาวประมง  เช่น  ชาวบ้านที่เกาะยอ  ที่มีอาชีพประมง  หรือที่บ้านน้องเองก็ได้     ลองไปคุยกับคนเหล่านั้น  แล้วบันทึกเรื่องเครื่องมือของเขา  วิธีการทำ  ถามว่าเขาเรียนรู้วิธีการทำเครื่องมือเหล่านั้นมาจากไหน  เรียนจากใคร  หากถ่ายรูป  หรือเก็บภาพมาเป็นตัวอย่างได้ยิ่งดี  แล้วอย่าชื่อพื้นบ้านที่เขาเรียกกันนะ  น้องจะเห็นคำตอบที่ได้มีมิติลึกมากขึ้น   ไม่เพียงแต่เห็นเครื่องมือประมง แต่น้องจะเห็นจิตวิญญาณของชาวประมงที่มันอยู่ในเครื่องมือเหล่านั้นด้วย

ลองเรียนรู้หลายๆทาง  ดูนะครับ   อย่าขังตัวเองเอาไว้กับการเรียนรู้เพียงในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆนะครับ

ศิษย์เก่าประมงรุ่น 2

http://learn-together.gotoknow.org

Thawat KMI
เขียนเมื่อ

แก้คำผิดครับ

"แล้วอย่าลืมชื่อพื้นบ้านที่เขาเรียกกันนะ"

group703
เขียนเมื่อ

ขอขอบคุณ สำหรับคำแนะนำดีๆครับ  จากรุ่นน้องประมง

เด็กปั่นงาน
เขียนเมื่อ

อยากให้มีรุปภาพ ประกอบด้วยอ่ะครับ

CARTOON
เขียนเมื่อ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆค่ะ...ประมงติณฯ...รุ่น21

เขียนเมื่อ

ขอบคุณครับ

ดาพร
เขียนเมื่อ

ตันกรอสคืออะไรหรอคะ ช่วยตอบเพื่อเป็นวิทยาทานด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณล่วงหน้าค่ะ

พงษ์เทพ สวนทิพย์
เขียนเมื่อ

ขอบคุฯมากน่ะคัฟสำหรับคำแนะนำดีๆหวังว่าความรุ้ที่กล่าวมานี้คงจะมีประโยชน์ไม่มากก็น้อยกับผู้ที่เข้ามาใช้งานคราวหลังน่ะคัฟ^^

bozy
เขียนเมื่อ

ขอบคุณมาก มาก น่ะค่ะ

ข้อมูลมึประโยชน์ที่สุด


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย