กระบวนการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย ควรใช้หลักฉันทามติ


            (31 ม.ค. 49) เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ได้ให้ความเห็นว่าควรใช้ “หลักฉันทามติ” (ความเห็นพ้อง) ในกระบวนการสรรหา นั่นคือ อาจมีการกำหนดคุณสมบัติที่พึงประสงค์ซึ่งคำนึงถึงภารกิจสำคัญที่คาดหวังให้นายกสภาฯปฏิบัติ และอาจมีการให้คะแนนคุณสมบัติที่พึ่งประสงค์เหล่านั้น แต่ในขั้นสุดท้ายควรหา “ฉันทามติ” ให้ได้ในระหว่างกรรมการสรรหา  โดยนำคะแนนตามคุณสมบัติที่พึงประสงค์ และข้อมูลตลอดจนปัจจัยอื่นๆทั้งหมดมาประกอบการพิจารณา
            ที่ประชุมเห็นด้วยกับข้อเสนอของผมที่ให้ใช้หลัก “ฉันทามติ” ในกระบวนการสรรหานายกสภามหาวิทยาลัย
            ในความเห็นของผม กระบวนการสรรหาที่ใช้หลัก “ฉันทามติ” นั้น ควรใช้กับผู้บริหารทุกระดับของมหาลัย ตลอดจนผู้บริหาร ประธานกรรมการ กรรมการ ฯลฯ ขององค์กรประเภทอื่นๆด้วย
            ในวงการขบวนการชุมชนที่ พอช. (สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน) เกี่ยวข้องอยู่นั้น ได้ใช้หลัก “ฉันทามติ” ในกระบวนการสรรหาผู้แทนชุมชนมาเป็นกรรมการ หรือตำแหน่งอื่นๆ ตลอด 4 – 5 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าได้ผลดีกว่ากระบวนการที่ใช้หลัก “ลงคะแนนเลือกตั้ง” อย่างชัดเจน

ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม
31 ม.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 14166เขียนเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2006 16:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท