ดูงานโรงเรียน Autonomous School ในสิงคโปร์


Dunman Secondary School - ความโดดเด่นด้าน Life Science

          วันที่ ๓ ของการดูงาน(๒๖ ก.ย.) วันนี้เรามีโปรแกรมการดูงาน ๒ โรงเรียน เวลา ๙.๓๐-๑๑.๓๐ น. ไปศึกษาดูงานโรงเรียนมัธยมศึกษาชื่อว่า Dunman Secondary School (DSS) โรงเรียนนี้เป็น Autonomous School ตั้งแต่ปี ๒๐๐๑(ก่อตั้ง ๑๙๖๓) การจะเป็นโรงเรียนที่บริหารจัดการด้วยตนเองได้(เช่นเดียวกับ โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์) นั้น ต้องมีการประเมินและสะสมคะแนนมาอย่างต่อเนื่องโดยกระทรวงศึกษาฯ แน่นอนกระทรวงฯมีงบประมาณสนับสนุนมากพอควร ปัจจุบันมี Mrs. Edel weis Neo เป็น Principal และสามารถติดตามข้อมูลต่าง ๆ ของโรงเรียนได้ที่ http://www.dunmansec.moe.edu.sg

         ความโดดเด่นของโรงเรียนนี้ เท่าที่รับฟัง ศึกษาจากเอกสาร มีดังนี้

  • School - based  : Life Science Programme
  • มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยมาก ๆ น่าจะดีกว่าบางมหาวิทยาลัยเสียอีก อุปกรณ์ ผู้ดูแลครบครัน ผู้เรียนสามารถทดลอง ตรวจสอบได้แทบทุกเรื่องในด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะด้านเคมี ชีววิทยา สามารถตรวจสอบการเพาะเชื้อ การสกัดDNA เช่นเดียวกับการเรียนที่เจาะลึกในห้องแล็บเฉพาะทาง(ภาพประกอบด้านบนซ้าย)
  • ผลงานของห้องนี้มีเผยแพร่ทางเว็บไซด์เพื่อเชิญชวนมาใช้บริการ และเป็นศูนย์อบรมการใช้ของกลุ่มโรงเรียน
  • การเรียนที่นี่เน้น การวิจัย และ Project based Learning มุ่งบูรณาการหลาย ๆ วิชา เราได้ชม วีดิทัศน์ที่นักเรียนตัดต่อเอง เรื่องการแนะนำโรงเรียน ได้ชมสไลด์โครงงานที่นักเรียนทำเรื่องRestuarant  ซึ่งนักเรียนไปออกแบบโครงงานมาอย่างครบสมบูรณ์ทุกขั้นตอน ตั้งแต่การปรุงอาหาร การเสริฟ การจัดจานอาหารตามสไตล์ของแต่ละชาติ(มีอาหารไทยด้วย) สุดท้ายมีการประเมินโดยเชิญ ครูใหญ่ และครูในโรงเรียนมาชิมอาหาร
  • อีกเรื่องหนึ่งที่โดดเด่นของที่นี่ คือ Design & Technology(D&I) แต่ชื่อห้องที่จัดแสดงเขียนว่าNexus Design  ขั้นการผลิตชิ้นงานมีโรงฝึกงานที่กว้างมาก อุปกรณ์ครบครัน เอาไว้ให้นักเรียนออกแบบผลิตภัณฑ์ แล้วนำมาเสนอในห้องแสดงนิทรรศการ ซึ่งเราได้เห็นผลงานของนักเรียนที่หลากหลาย มีสีสรรสวยงาม(ภาพประกอบด้านบนขวา)
  • มีการนำ IT ไปใช้ในการเรียนโดยเข้มขึ้นตามระดับชั้น ที่นี่นักเรียนใช้ Tablet PC , Morning DIY Radio show, Digital Music Studio, ไปเรียนร่วมที่ Temasek Polytehcnic, 3D Animation
  • ผลงานของโรงเรียน(ครูใหญ่ ครู นักเรียน)มีมากมาย มีการBench Mark อย่างต่อเนื่อง มีการล่ารางวัลได้มากมาย(เราเห็นภาพเด็กแข่งจรวดขวดน้ำด้วย)
  • มุ่งเน้นสอนนักเรียนเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มีการนำนักเรียนออกไปช่วยกันเก็บขยะ
  • ตึก อาคารเรียน ห้องปฏิบัติการครบสมบูรณ์มาก มีห้องคอมพิวเตอร์ ๕ ห้อง

    เป็นไงครับ มีความเห็นอย่างไรเข้ามาแสดงความเห็นด้วย หากจะบอกว่าเขามีงบประมาณสนับสนุนมากพอก็ไม่ผิดนัก อยู่ที่ว่าในบริบทที่เรามีเราทำอะไรได้บ้าง เราจะปรับองค์ความรู้เหล่านี้มาใช้ได้เพียงใด จริงใหมครับ

    บรรจง  ปัทมาลัย ๒๔ ต.ค. ๗.๐๑ น.

คำสำคัญ (Tags): #dss
หมายเลขบันทึก: 141285เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2007 07:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ศูนย์ทางวิชาการของโรงเรียนในฝันทั้ง 5 ศูนย์ในแต่ละจังหวัด อนาคตคงต้องพัฒนาให้เป็นเหมือนโรงเรียนนี้ซึ่งเป็นศูนย์พัฒนาบุคลากรทางวิทยาศาสตร์( Dunman Secondary School )ซึ่งจะต้องมีความพร้อมในเรื่องสถานที่ อุปกรณ์ บุคลากร เพื่อที่จะรองรับการเป็นศูนย์ที่มีศักยภาพ อย่างแท้จริง

ขอบคุณท่านอภิชาตที่เข้ามาติดตามอย่างต่อเนื่อง ทราบว่าอีก๒-๓วันนี้ท่านจะมาช่วยให้แนวคิดแก่โรงเรียนบุ่งคล้านคร หนองคาย ยังไง ช่วงปีใหม่(ก่อนหรือหลัง)ขอจองมาเยี่ยม จ.เลยนะครับ จะพาเยี่ยม ภูเรือ นาแห้วตามที่ท่านเคยแวะมาครั้งก่อนเมื่อฤดูร้อนที่แล้ว ขอใช้พื้นที่นี้ขยายผลไปยังชาวโรงเรียนในฝันเพื่อจุดประกายให้เกิดศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนโรงเรียนในฝันทั้ง ๕ ศูนย์ทุกจังหวัดได้พัฒนาให้เป็นไปตามที่ท่านหัวหน้าศูนย์ไอซีทีโรงเรียนในฝันได้พูดถึง
เห็นด้วยกับอาจารย์อภิชาติที่จะต้องพัฒนาสร้างความเข้มแข็งให้กับศูนย์พัฒนาการเรียนรู้ทั้ง 5 ศูนย์ และคิดว่าทุกศูนย์ที่ได้รับมอบหมายมีความตั้งใจดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายคือเป็นศูนย์ในการพัฒนาบุคลากรของโรงเรียนในโครงการฯ ที่โรงเรียนเทพศรินทร์ลาดหญ้า กาญจนบุรี เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ ICT การดำเนินการที่ผ่านมามีข้อสังเกตุที่คิดว่าอาจต้องปรับข้อกำหนดบางประการเช่นไม่ให้ผู้เข้ารับการอบรมเข้าอบรมซ้ำหลายหลักสูตร ยกตัวอย่างวิทยาศาสตร์ขออนุมัติเปิดอบรม 3 หลักสูตร แต่โรงเรียนมีครูผู้สอนวิทยาศาสตร์เพียง 2 คน ทำให้อบรมได้เพียง 2 หลักสูตรอย่างนี้เป็นต้น (อาจจะนอกเรื่องไปบ้าง) แต่ถึงอย่างไรก็เห็นด้วยในการที่มีศูนย์วิชาการสำหรับเป็นแหล่งพัฒนา การที่ได้ไปศึกษาดูงานในครั้งนี้ทำให้มองเห็นว่าเราเดินมาอย่างถูกต้องและเป็นสากล นำภาพมาแสดงประกอบการเล่าให้คณะครูในโรงเรียนฟังในที่ประชุมครู สังเกตุแววตาและรอยยิ้มของเพื่อนครูมีความมั่นใจในภารกิจที่จะต้องสร้างโอกาสให้กับเยาชนในพื้นที่ของตนเอง (ไม่รู้เข้าข้างตัวเองหรือเปล่า)  ขอบคุณครับ

รายงานตัวกับเวปแล้วครับเวปสวยมาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท