การอาบน้ำและเวหาฌาปนกิจ:พิธีกรรมสำคัญแห่งชีวิตชาวธิเบต


ชาวธิเบตบูชาน้ำดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์....พิธีศพของชาวธิเบตนั้น อยู่บนฐานการคิดที่ว่าผู้ตายสามารถบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ได้แม้ลมหายใจจะออกจากร่างไปแล้ว

จากการที่ผู้เขียนนำท่านผู้อ่านเลาะชายขอบที่ราบสูงธิเบต ได้เห็นวัดวาอารามและผู้คนธิเบตบ้างโดยที่ไม่ต้องฝืนสังขารขึ้นไปที่สูงเกือบ 6000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ของกรุงลาซา เบาะๆแค่"จงเตี้ยน - เซียง เกอ หลี ลา" แค่ความสูงของทุ่งหญ้าที่ราบสูง 3500 เมตร นั้นก็ทำเอาป่วย

คุณสะ-มะ-นี-กะ ได้เอ่ยถึงวิถีของชนธิเบตในพิธีกรรมแห่งการตายและ อาจารย์ยูมิ ได้ตั้งข้อสังเกตของความถี่การอาบน้ำของชนธิเบตว่าคงอาบกันแค่สัปดาห์ละสองสามครั้งเพราะอากาศหนาวมากๆ ตอนที่ท่านขึ้นไปเมืองธรรมศาลาบนเทือกเขาหิมาลัย ผู้เขียนจึงได้ค้นคว้าเพิ่มเติม พบข้อมูลที่น่าสนใจมาก น่านำมาฝากคนไม่อยากอาบน้ำยามอากาศหนาว

แค่คำถามถึงความถี่ในการอาบน้ำของชาวธิเบต ก็ยังต้องตั้งให้ถูก ไม่ใช่ สัปดาห์ หรือเดือน แต่เป็น ในชีวิตหนึ่ง ว่าเขาอาบน้ำกี่ครั้ง

น่าสนใจใช่มั้ยคะ?

 น้ำกับชีวิต คุณธีรภาพ โลหิตกุล เล่าไว้ในหนังสือ "เมืองแมนที่ปลายฟ้า" ครั้งที่ได้ไปเยือนหมู่บ้านชาวธิเบตแท้ๆ ณ ชานเมืองจงเตี้ยน ว่า ชาวธิเบตบูชาน้ำดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์

บนบ้านชาวธิเบตจะมี "หิ้งน้ำ"  เป็นหิ้งไม้ที่นำถังน้ำวางเรียงรายไว้อย่างเป็นระเบียบ

ชาวธิเบตเชื่อว่าที่ไหนมีน้ำ ที่นั่นถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เล่ากันว่าชาวธิเบตโบราณจะไม่กินปลา ด้วยถือว่าเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ เป็นต้นกำเนิดแห่งบรรพชน ด้วยเหตุนี้ พวกเจะไม่วางภาชนะใส่น้ำที่ตักมาจากแม่น้ำลำธาร หรือทะเลสาปไว้กับพื้นดินเป็นอันขาด แต่จะทำ"หีบใส่น้ำ" วางไว้บนหิ้งอย่างดี หากจะนำน้ำนั้นไปใช้ จึงจะตักใส่ถังแบ่งออกมา

หิ้งน้ำของชาวธิเบตไม่ได้ใหญ่โตอะไร เพราะเขาใช้น้ำในชีวิตประจำวันกันไม่มากนัก

ชาวบ้านในชนบทจำนวนมากยังคงธรรมเนียมดั้งเดิมของบรรพชนไว้ด้วยการอาบน้ำเพียง 3 ครั้ง ในชีวิต (แต่หนุ่มสาวธิเบตที่ไปทำงานในเมืองจงเตี้ยนจะอาบน้ำถี่ถึงเดือนละ 3 - 4ครั้ง)

  • ครั้งแรกเมื่อคลอด
  • ครั้งที่สองเมื่อเข้าพิธีแต่งงาน และ
  • ครั้งสุดท้ายคือเมื่อสิ้นลมหายใจ

การอาบน้ำครั้งสำคัญที่สุดคือยามเมื่อละสังขารจากโลกนี้ไป

การตายคือการคืนสู่ธรรมชาติ พิธีศพของชาวธิเบตนั้น อยู่บนฐานการคิดที่ว่าผู้ตายสามารถบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ได้แม้ลมหายใจจะออกจากร่างไปแล้ว ด้วยการอุทิศร่างกายเป็นอาหารแก่สรรพสัตว์ โดยหลังจากอาบน้ำและมีพิธีที่บ้านสองสามวันแล้ว เขาจะเคลื่อนโลงใส่ร่างไปที่บนหน้าผาสูง แล้วนำศพออกมาหั่นเป็นชิ้นๆ ให้บรรดานกแร้งมาจิกกินเนื้อ จนเหลือแต่กระดูก เท่านั้นยังไม่พอ จากนั้นเขาจะทุบกระดูกให้ป่นแล้วคลุกด้วยแป้งที่ทำจากข้าวบาร์เลย์ นกแร้งก็จะพามากินกันอีกรอบ เชื่อกันว่าหากยังไม่หมดดวงวิญญาณผู้ตายจะไม่ไปสู่สรวงสวรรค์

วิธีเช่นนี้ เรียกว่า Sky Burial ซึ่งคุณธีรภาพได้ให้ภาษาไทยว่า "เวหาฌาปนกิจ

ผู้เขียนได้ค้นพบบล็อกการท่องเที่ยวที่ชาวตะวันตกได้มีโอกาสพบเห็นพิธีนี้ ได้เขียนเล่าและถ่ายภาพไว้ ขอเตือนว่าไม่เหมาะกับคนใจอ่อน

http://www.travelblog.org/Asia/China/blog-7890.html

บล็อกที่สองภาพสวยงาม มีภาพวิว ภูเขา ผู้คนที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้ภาพจะเล็กไปหน่อย

http://camereye.com/journal/?p=162

หากท่านไม่ขี้เกียจอ่าน เขาเขียนไว้ละเอียดและสะท้อนมุมมองของฝรั่งที่มองวิถีแห่งจิตวิญญาณเอซีย ด้วยความไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่

 

 

หมายเลขบันทึก: 140916เขียนเมื่อ 22 ตุลาคม 2007 17:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:29 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)

สวัสดีค่ะพี่นุช

เคยทราบมาเหมือนกันค่ะว่าชาวธิเบตเค้าอาบน้ำ 3 ครั้ง..แต่มาทราบรายละเอียดเพิ่มเติมจากบันทึกของพี่นุชก็ทำให้ชอบใจกับความรู้ที่ได้รับเป็นหนักหนา ^ ^  เค้ามีห้องน้ำมั้ยคะ เวลาอาบเค้าจะอาบอย่างไรน้อ ? มีสบู่ มีขันน้ำถูนานๆอย่างเรา หรือว่าอาบแป๊บๆ ฯลฯ

ภาพที่เอามาให้ดูทำให้นึกถึงมรณานุสติได้อย่างดีเลยนะคะ  และยังสอนกำหนดว่าเห็นหนอได้ดีเยี่ยมซะด้วยค่ะ

มุมมองที่ต่างถิ่น ต่า่งความเชื่อก็ทำให้เราได้เห็นความต่างของมุมมองนั้นๆได้ชัดเจนนะคะ  และเห็นว่าสองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนตาแหลมคมเห็นดวงดาวอยู่พราวพรายนั้นจริง จริ๊ง จริง ซะเหลือเกิน..

ขอบคุณมากค่ะที่เอาเรื่องดีๆมาฝาก  น้ำท่วมเยอะมั้ยคะพี่นุช ? 

  

สวัสดีค่ะ

  • ตามมาอ่าน ..
  • เคยอยากไปเที่ยวธิเบต ค่ะ
  • ไม่ใช่คน อนามัยจัดหรือรักความสะอาดอะไรมากมาย
  • แต่ รู้สึกหวาด ๆ ในการไปเมืองที่ไม่มีห้องน้ำค่ะ
  • แหะ ๆๆๆ
  • เครียด เลย

อีกนิดนะคะ

เคยได้ยินเรื่อง  Sky Burial มาก่อนค่ะ

แต่ไม่เคยทราบว่าต้องถึงกับ  เอาไปสับ

หรือกระดูกคลุกขนมปัง

ฟังดูสยดสยองดีนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

      แตงคิดว่าบุคลที่เห็นความสำคัญของน้ำคือคุณแม่ของแตงซะอีกค่ะ  แต่จริง ๆ แล้วที่อาจารย์เล่าให้ฟัง  ชาวธิเบตบูชาน้ำดั่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์  และชาวบ้านในชนบทจำนวนมากยังคงธรรมเนียมดั้งเดิมของบรรพชนไว้ด้วยการอาบน้ำเพียง 3 ครั้ง ในชีวิต (แต่หนุ่มสาวธิเบตที่ไปทำงานในเมืองจงเตี้ยนจะอาบน้ำถี่ถึงเดือนละ 3 - 4ครั้ง) ก็ยังดีขึ้นมาหน่อยนะคะ  ด้วยความเชื่อที่แตกต่างกันนะคะถ้าเป็นไทยนะคะแค่ 1 วันก็ไม่ได้ค่ะต้องอาบทุกวัน ยกเว้นเวลามีไข้ค่ะใช้เช็ดตัวแทนส่วนมากจะเป็นเด็กค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่นำเรื่องราวที่น่าสนใจมาฝากค่ะ

สวัสดีค่ะ

อาจารย์คะ ขอลอกที่เขาเขียนมานะคะ

They haven't killed this poor dead body, they just buried it in a way that is very hard to comprehend.
ค่ะ ยากจะเข้าใจจริงๆค่ะ

สวัสดีครับ อาจารย์

อาจารย์เขียนเล่า ได้น่าอ่าน สรุปกระชับ น่าติดตาม ดีจังครับ บทความไม่ยาวแต่เนื้อหา ลงตัว พอดี๊พอดี

แปลกดีค่ะ ไม่เคยเห็นมาก่อน

น้องชายหนูบอกว่าพิธีพวกนี้ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย เพราะธิเบตนับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลัทธิวัชรญาณและมนตรญาณ ทางอินเดียมีพิธีปลงศพ 5 แบบ ได้แก่ ปลงด้วยไฟ ปลงด้วยดิน ปลงด้วยน้ำ ปลงด้วยสัตว์ และปลงด้วยนก

ซึ่งอย่างสุดท้ายนี่เหมือนกับที่พี่นุชเล่าค่ะ 3 วิธีหลังนี่เป็นการทำบุญครั้งสุดท้ายในชีวิต คือให้ปลา สัตว์ และนกได้กินเป็นอาหาร

ส่วนการปลงด้วยน้ำ ส่วนใหญ่จะทำในชาวฮินดูที่ตายเพราะงูกัด เพราะเชื่อว่างูเป็นบริวารของพระศิวะ เพราะฉะนั้นให้จำเริญด้วยน้ำเพื่อให้ไปอยู่กับพระศิวะค่ะ ...อภินันทนาการข้อมูลจากน้องออย

สวัสดีค่ะคุณเบิร์ดP เชียงรายคงจะเริ่มเย็นลงมากซีคะ

ที่อยุธยาอากาศหนาวจากเหนือไล่ฝนไปหมด พร้อมๆกับน้ำที่ลดระดับลงอย่างมาก และลดลงเรื่อยๆทุกวันค่ะ ต้นพุดตานคงไม่ตาย รวมทั้งกล้วยอีกหลายต้น ดีใจจังค่ะ

แหม พี่ก็ไม่ได้ตามเข้าไปดูห้องน้ำเขาซะด้วย คงไม่มีเครื่องประทินอย่างเรา ^_^ แต่คิดว่าตอนก่อนแต่งงานคงต้องขัดตัวกันน่าดู ไหนๆก็เป็นการอาบน้ำครั้งเดียวที่รู้ตัวที่สุดนะคะ

พี่ชื่นชมการคิดของเขาในเรื่องพิธีศพ เป็นการแสดงความเข้าใจว่าเมื่อสิ้นชีวิตลง สิ่งที่เหลือคือซากแห่งสังขาร ไม่ต้องไปยึดติด แต่ให้ยังประโยชน์ต่อโลกอีกได้นะคะ

 

สวัสดีค่ะคุณ P coffee_mania ขอบคุณที่ตามมาเยี่ยม มาอ่าน นะคะ ดีใจจังที่แวะมาค่ะ

รับรองไปจีนจะสุดเครียดเรื่องห้องน้ำเวลาไปนอกเมืองใหญ่ หัวหน้าคณะเขาแจกยาดมแท่งๆแบบไฮเป๊กซ์ แต่เป็นแท่งคู่ไว้เสียบรูจมูกทั้งสองข้างเวลาจำเป็นต้องเข้าห้องน้ำระหว่างทาง ทำเป็นเล่นไป แทบตายค่ะ

กระดูกที่เหลือนั้น บางที่เขาก็เขียนว่า มีการเก็บกลับไปบูชา หรือเอาไปลอยน้ำต่อ แต่ที่อ่านของฝรั่งเขียนแล้วเขาไปเห็นด้วยตนเองเล่าถึงการทุบให้ป่นอย่างที่เขียนเล่ามาค่ะ คนนอกที่ไม่เข้าใจวิธีคิด ไม่คุ้นเคยกับวิถีของเขา คงอดสยองไม่ได้จริงๆค่ะ แต่หากเราได้พยายามทำความเข้าใจเราจะพบว่ามุมมองต่อชีวิตของเรานั้นกว้างขึ้น มีวิธีอย่างอื่นให้คิด ให้ทำ ในเรื่องเดียวกัน เป็นโลกที่ร่ำรวยด้วยความหลากหลายนะคะ

 

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์P ฝรั่งที่ไปเห็นพิธีนี้เขาก็แทบช็อคเหมือนกันนะคะ เป็นเรื่องที่ยากจะเข้าใจผ่านการมองเห็นด้วยตาเพียงอย่างเดียว เราอาจต้องฟังด้วยใจเราจึงจะสามารถเข้าใจการกระทำที่แตกต่างจากวิธีของเรา โดยไม่เอามาตรฐานของเราเป็นไม้บรรทัดไปวัดเขานะคะ ที่จริงพิธีนี้เขาห้ามการถ่ายภาพ ฝรั่งแกก็อุตส่าห์เก็บภาพมาได้อย่างทุกขั้นตอน

มุมมองของฝรั่งรายที่สองนั้น ดูเขาค่อนข้างเข้าใจนะคะ

สวัสดีค่ะคุณP หมอจิ้น ดีใจจังที่คุณหมอมีเวลามาอ่าน งานคงหนักเช่นเคยนะคะ แต่มีความสุขที่ได้ช่วยเหลือผู้มีทุกข์จากการเจ็บป่วย

ขอบคุณในคำชมค่ะ

อากาศเปลี่ยน คุณหมอรักษาสุขภาพนะคะ
 

น้องซูซานP เยี่ยมมาก มาช่วยเติมข้อมูลที่พี่เองก็เพิ่งทราบ ขอบคุณค่ะ และต้องขอบคุณน้องออยที่อภินันทนาการข้อมูลผ่านมาให้พวกเราได้ทราบกันนะคะ

พี่ว่าการได้ทราบเรื่องราวความหลากหลายของวิถีชีวิต ทำให้เราย้อนกลับมาดูตัวเอง ว่าเราก็เป็นแค่ส่วนหนึ่งในความหลากหลายที่มีในโลก แต่ละสังคมก็มีวิธีการที่สั่งสมมาจากความเชื่อและการมีชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติในแบบที่ต่างจากเรา แม้ว่าบางเรื่องเช่นเรื่องนี่ออกจะดูโหดๆ สำหรับเรา แต่สำหรับชาวธิเบตนั่นคือการกลับไปเป็นส่วนหนึ่งกับธรรมชาติด้วยความเคารพ การตายไม่ใช่เรื่องที่ต้องมาเศร้าโศกพิไรรำพัน แต่เป็นสัจธรรมในธรรมชาติที่ทุกคนต้องประสบ

ทราบแล้วก็ปลงดีค่ะ

 สวัสดีครับคุณพี่นุชP

  • เข้ามาอ่านแล้วครับ
  • ได้ความกระจ่างขึ้นมาเยอะทีเดียว
  • น้ำที่ธิเบตคงจะหายาก ถ้าซื้อขายก็คงจะแพงน่าดู
  • แล้วน้ำดื่มนี้เขาเอามาจากน้ำฝนหรือเปล่าครับ
  • ประเทศไทยน้ำเยอะ ปล่อยทิ้งลงทะเลหมด ไม่ใช้ให้เกิดประโยชน์ แต่กลับไปซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจากประเทศลาวมาใช้  เฮ่อ...คิดแล้วเศร้า

ขอบคุณครับ

น้องออยเขาเพิ่มเติมให้อีกนิดค่ะ ว่าทางอินเดียเขาจะทุบกระโหลกผู้ตายด้วย เพราะเชื่อว่าต้องปลดปล่อยอาตมันหรือวิญญาณของผู้ตายให้เป็นอิสระจากร่าง

พอศาสนาเผยแพร่มาถึงเมืองไทย คนไทยรู้สึกว่าพิธีกรรมนี้มันเป็นการทำร้ายจิตใจของญาติไปหน่อย จึงทุบกะลามะพร้าวแทนกะโหลกศพ แล้วน้ำมะพร้าวมันก็ตกใส่ตัวใส่หน้า จนกลายมาเป็นธรรมเนียมทุบกะลามะพร้าวเพื่อเอาน้ำมาล้างหน้า และภายหลังเมื่อความเชื่อดั้งเดิมถูกลืมเลือนไป ก็พยายามแต่งเรื่องเพื่ออธิบายพิธีกรรมใหม่ว่า มะพร้าวน้ำหอมนั้นหอมและเป็นสิ่งสะอาด ทำเพื่อลดกลิ่นและชำระให้บริสุทธิ์ ซึ่งมันไม่ถูก และเป็นการอธิบายสิ่งที่ไม่รู้ให้สอดคล้องตามพิธีกรรมที่เพี้ยนไป

ของดั้งเดิมคือทำเพื่อการปลดปล่อยวิญญาณผู้ตายเท่านั้น กาลเวลาและระยะทางทำให้ธรรมเนียมเปลี่ยนจากทั้งความหมายและวิธีปฎิบัติค่ะ ตอนนี้ถามไปคนทำก็ไม่รู้ว่าทุบมะพร้าวจริงๆ แล้วเพื่ออะไร รู้แค่ว่าต้องทำ และคนเอื่นเขาทำก็เลยทำต่อๆ กันไป หรือไม่ก็อธิบายอย่างที่เล่าข้างต้นให้ฟังค่ะ

สวัสดีค่ะคุณแตงP ดูพี่ซิคะหลงข้ามตอบคุณไปซะอย่างนั้นแหละ ขอโทษค่ะ

แสดงว่าคุณแม่ของคุณแตงเป็นนักอนุรักษ์เข้าใจถึงคุณค่าความสำคัญของน้ำ ดีมากๆเลยที่คุณแตงได้รับการซึมซับจำเรื่องนี้ได้ค่ะ นี่ละเขาถึงบอกว่าต้องปลูกฝังเรื่องดีๆตั้งแต่เด็กๆ

ถิ่นฐานที่คนธิเบตอยู่อาจหนาวมาก หนาวนาน และน้ำก็คงไม่ได้หาได้ง่ายนักเขาจึงมีวิธีคิดเช่นนั้น ก็ไม่ได้ทราบเรื่องละเอียดนักหรอกค่ะ หากทราบอะไรเพิ่มเติมและน่าสนใจจะนำมาเล่าอีกค่ะ

 

ดีใจที่คุณPสะ-มะ-นึ-กะ  ได้มาอ่านแล้ว จะได้หายสงสัยนะคะ ก็ไม่ทราบว่าน้ำหายากขนาดไหน แต่ดูในหนังสือ ในแถบชายขอบที่ราบสูงธิเบตมีทะเลสาปหลายแห่ง แต่บนที่สูงๆอย่างที่ธิเบตเองไม่ทราบว่าเขาเอาน้ำมาจากไหน คิดเอาว่าน่าจะมาจากหิมะที่ละลายมาจากภูเขา เอาไว้มีคำตอบจะมาบอกนะคะ

คนที่มีอะไรเหลือเฟือมักไม่ค่อยเห็นคุณค่าของสิ่งที่มี ใช้ทิ้งๆขว้างๆ หากคนไทยยังมีความคิดว่าแม่น้ำ ไม่ใช่แค่สายน้ำแต่เป็นที่สถิตย์ของพระแม่คงคา คงมีความเคารพในการใช้แหล่งน้ำ ไม่ต้องถึงขนาดคนธิเบตหรอกนะคะ

น้องซูซานPและน้องออยนี่ผู้รู้ตัวจริงเลย ขอบคุณอีกครั้งค่ะ ดีจังเขียนบันทึกนี้แล้วได้เรียนรู้อีกเยอะเลยนะคะ

กาลเวลาและระยะทางทำให้ธรรมเนียมเปลี่ยนจากทั้งความหมายและวิธีปฎิบัติ.....

ใช่เลยค่ะ เพราะไม่มีอะไรที่ต้านทานการเปลี่ยนแปลงได้ การเปลี่ยนแปลงนั้นจะมาถึงไม่ช้าก็เร็ว และเป็นไปตามเหตุปัจจัย เช่นนั้นเอง....

สวัสดีค่ะ

 เน็ตเล่นได้ดีหรือยังคะ จะได้คุยกันทุกวัน คิดถึง ขอบคุณที่ให้ข้อมูลธิเบต แต่ประเทศที่อยากไปมาก สักครั้งหนึ่งในชีวิตคือ ภูฎาณค่ะ

สวัสดีค่ะคุณบุญรุ่งP ที่จริงพิมพ์ตอบตั้งแต่เมื่อเช้า แล้วมีปัญหานิดหน่อย คือชั่วโมงเน็ตหมดไม่รู้ตัวเลยส่งไม่ได้ค่ะ

บ่ายวันนี้เพิ่งไปรับอุปกรณ์ติดตั้งอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงมาแล้ว เขาบอกว่าอีกราวสี่วันจะเชื่อมสัญญาณได้ เลยต้องซื้อชั่วโมงมาใช้ต่อ แต่ก็พอไหวค่ะ

คิดถึงเช่นกัน ขอบคุณในความคิดถึงที่น้องมีให้นะคะ

ภูฏานก็เป็นประเทศที่คิดว่าเมื่อพร้อมจะไปซักครั้งหนึ่งค่ะ ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูงเพราะเขามีระเบียบในการคัดกรองคนที่จะเข้าประเทศเขาดีมาก ไม่ได้เห็นแก่การสร้างรายได้เข้าประเทศมากๆ เร็วๆ เหมือนเรา ที่แทบจะอุ้มนักท่องเที่ยวลงจากเครื่องบินนะคะ

  • สวัสดีค่ะ พี่นุช..

ต้อมไม่มีความรู้เกี่ยวกับธิเบตเลย  รู้แต่ว่าอยากไปสักครั้งหนึ่งในชีวิต  นอกจาก อียิปต์และเนปาล   เพราะอะไรก็ไม่รู้  

ไม่รู้จะได้มีโอกาสไปหรือเปล่า  งั้นเอาแค่ฟังเสียงพระธิเบตสวดทุก ๆ เช้า ก่อนก็พอเน้อ   ^_^  

สวัสดีค่ะคุณต้อมP สงสัยเป็นคนชอบผจญภัยและความลึกลับแห่งธรรมชาตินะคะ แฮ่ะ แฮ่ะ พี่นั้นประจักษ์ในความสามารถของสังขาร ขอตัดธิเบตออกจากลิสต์เลย อียิปต์กับเนปาลพอไหว ก็คุณต้อมชื่อ เนปาลี จะต้องเริ่มด้วยการไปเนปาลก่อนนะคะ ไปไหนก็ได้ตอนที่ร่างกายยังแข็งแรงอยู่ อายุยังน้อยๆ ปีหลังๆนี่พี่รู้สึกเลยค่ะว่าพอลำบากซักนิด แม้ใจไหว แต่สังขารไม่เล่นด้วย

ขอให้แรงบุญจากการฟังเสียงพระธิเบตสวดมนต์ ส่งให้คุณต้อมได้ไปฟังของจริงนะคะ

  • สวัสดีเช้าวันสุขค่ะ  พี่นุชขา..

สาธุ๊ (( พนมมือแต้ ))  ขอให้สมพรปากพี่นุชทีเถอะค่า  ^_^

คุณต้อมP ขอให้สมปรารถนาในทุกสิ่งดีงามที่น้องคิดไว้เลยค่ะ

มาเยี่ยม  คุณนายดอกเตอร์

อ่านแล้วนึกถึงช่วงยูมิไปงานแต่งงานที่เมืองหลวงของเนปาล  เจ้าบ่าวเป็นหนุ่มธิเบต  สาวเป็นชาวอังกฤษ  แม่เธอชาวยิ่ปุ่นพ่อเป็นชาวอังกฤษ  เธอมาเที่ยวที่อินเดิย  เราได้พบคุยกัน  ผมก็ต้องการฝึกพูดภาษากับเธอ  แล้วเธอก็เชิญไปร่วมพิธีแต่งงานดังกล่าว...ชาวธิเบตที่อยู่ในเมืองเขาก็ปรับตัวการอาบน้ำเป็นไปตามสังคมและชอบที่จะแต่งงานกับชาวต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีอำนาจทั้งหลายทางตะวันตก...

 

สวัสดีค่ะ Pคุณนายดอกเตอร์

* ได้อ่าน BLOG คุณนายแล้วมีความรู่เพิ่มขึ้นอีกมากโดยเฉพาะความรู้ในต่างแดน

* ขอบคุณนะค๊ะที่สรรหามาฝากสมาชิก

* แล้วจะรออ่านสิ่งดี ๆ มีประโยชน์ต่อไปค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ยูมิP ขอโทษอาจารย์นะคะที่มาตอบช้า ไปเชียงใหม่สามสี่วันด้วยธุระนิดหน่อย เพิ่งกลับถึงบ้านเมื่อคืนนี้ค่ะ

ขอบคุณที่อาจารย์แวะมาเยี่ยมเรื่อยๆ พร้อมกับเรื่องราวที่มาช่วยเติมความรู้ให้อีกด้วย สงสัยหนุ่มธิเบตคงมีเสน่ห์ไม่น้อย เคยอ่านสารคดีที่สาวฝรั่ง ไม่แน่ใจว่าเป็นคนอเมริกันหรือเปล่า (อ่านนานแล้วค่ะ)แต่งกับหนุ่มธิเบต วัฒนธรรมที่ต่างกันมากก็ต้องปรับตัวกันสุดๆเลยนะคะ

 

สวัสดีค่ะคุณPpepra ขอบคุณที่มาแวะเยี่ยมอ่านบันทึกและฝากคำชมด้วยค่ะ มีเรื่องอะไรดีๆน่าสนใจที่จะนำมาฝากอีกเยอะค่ะ แล้วมาติดตามแวะเยี่ยมกันอีกนะคะ 
  • แวะมาสนับสนุนคะ
  • ว่าน้ำมีความสำคัญกับมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตายคะ
  • น้ำที่สะอาดดื่มได้มีน้อยลงทุกทีแล้วนะคะ

ค่ะอาจารย์Pนารีรัตน์ คนที่เป็นชาวบ้าน ชาวเผ่าที่มีชีวิตผูกพันกับธรรมชาติ จะเข้าใจคุณค่าของธรรมชาติ ไม่ว่าดิน น้ำ หรืออากาศ เขาลึกซึ้งกว่าคนสมัยใหม่อีกนะคะ

น้ำที่สะอาดดื่มได้นั้นในบางที่มีค่ามหาศาลจริงๆค่ะ ของที่เรามีเยอะ หาง่าย เรามักไม่เห็นคุณค่า

  • ตามมาหาความรู้
  • ได้ความรู้ใหม่จริงๆๆด้วย
  • พี่นุชสบายดีหรือเปล่าครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิตP พี่สบายดีค่ะ เพียงแต่หมู่นี้มีธุระโน่นนิดนี่หน่อยต้องออกนอกบ้าน ไม่ค่อยได้เข้าไปอ่านและแสดงความเห็นไว้

ความรู้แบบอ่านพอเพลินๆ เปลี่ยนบรรยากาศจากงานวิชาการที่เคร่งเครียดได้บ้างนะคะ

  • ตามมาขอบคุณพี่นุชครับ
  • ที่ สวทช เชิญไปบรรยาย
  • ตามที่พี่แนะนำแล้วครับ
  • ผมจะได้แวะไปทักทายพี่ชิว (ดร. บัญชา) ด้วย
  • ดีใจจังเลยครับ
  • ขอบพระคุณมากครับที่แนะนำผมแก่ สวทช
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท