อัลตร้าซาวด์


การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง

"สวัสดีครับพี่แก้ม วันนี้มาจ๊อกกิ้งกะเค้าด้วยเหรอ กี่รอบแล้วครับเนี่ย  เสียงหมอวิธานทักมาแต่ไกล จากมุมโค้งทางวิ่งริมแม่น้ำน่านที่ร่มรื่นไปด้วยต้นไม้ใหญ่เช่นหางนกยูง ชงโค ทองหลาง หรือไม้หอมเช่นลีลาวดีหลากหลายสีสันสวยงาม

        "เพิ่งมาค่ะหมอ ยังวิ่งได้ไม่ถึงรอบเลย หมอมากับใครคะ สาวใหญ่ใจกว้างนามว่าแก้ม ตอบอย่างหอบๆ

       มาคนเดียวครับพี่ โสดนี่ครับ โห พี่ทำไมเหนื่อยขนาดนั้น หยุดคุยกันก่อนก็ได้ นี่พี่เพิ่งมาวันแรกใช่ไหมครับ หมอวิธานตอบกลับยิ้มๆ

       ใช่ค่ะ ทำไมหมอรู้หละ โฮ๊ยเหนื่อยมากๆ เหมือนหัวใจจะกระโดดออกมานอกหน้าอก แก้มตอบกลับแบบเหนื่อยจัด

       นี่พี่ไม่ได้ออกกำลังกายเป็นประจำใช่ไหมครับ เมื่อเห็นแก้มพยักหน้า  หมอวิธานจึงพูดต่อ ถ้ายังงั้นพี่ต้องเริ่มจากเดินก่อนนะครับ พี่เดินจากช้าๆแล้วค่อยๆเดินเร็วขึ้น เริ่มจากวันแรกเดินสักครึ่งชั่วโมง พี่เดินยังงี้สักสามวันแล้วค่อยเริ่มวิ่งเหยาะๆ

        โห หมอให้พี่เดินสามวันสามคืนเลยเหรอ แก้มพูดพร้อมกับอมยิ้ม ถ้าพี่ทำได้ก็ดีนะครับ ที่นี่ไม่มียามเฝ้าพอดี แล้วผมก็จะคอยพี่อยู่ที่ แผนกฉุกเฉินเลยละกัน 555 แล้วทั้งสองคนก็ประสานเสียงหัวเราะแบบไม่สนใจใคร

       เออหมอคะ พี่ว่าจะถามหมอวันนั้นแล้วแต่ลืม ปีนี้บริษัทให้พี่ตรวจอัลตร้าซาวด์ช่องท้องด้วยค่ะ เค้าให้คนอายุ 35 ปีขึ้นไปตรวจทั้งผู้หญิงและผู้ชายเลย มันเป็นการตรวจยังไงคะหมอ แล้วเจ็บไหม นี่พี่ต้องตรวจแมมโมแกรมด้วยนะเนี่ย เพื่อนๆบอกว่าเจ็บมาก เล่นเอาพี่กลัวไปเลย แก้มทำหน้าแหยงๆ

        อัลตร้าซาวด์นี่เป็นการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงครับ เนื่องจาก x-ray มันมีรังสีซึ่งเป็นอันตรายต่อเรา  เค้าเลยพยายามคิดหาอะไรมาตรวจที่ไม่โดนรังสี อย่างคนตั้งท้องยังงี้ขืนเอา x-ray ไปตรวจอาจจะเป็นอันตรายกับเด็กในท้อง แต่พอมีอัลตร้าซาวด์ก็สบายเลย ใช้คลื่นเสียงตรวจปลอดภัย เพราะจากการเก็บข้อมูลมานานหลายสิบปี พบว่าอัลตร้าซาวด์ปลอดภัยแน่นอน หมอวิธานบอกอย่างอ่อนโยน

        อัลตร้าซาวด์ใช้ตรวจอวัยวะที่มีน้ำและเนื้อ แต่ไม่เหมาะสำหรับอวัยวะที่มีก๊าซ(gas) ดังนั้นอวัยวะที่เหมาะกับการตรวจที่เป็นเนื้อก็มี ต่อมทัยรอยด์ เต้านม ตับ ม้าม ไต ตับอ่อน มดลูก รังไข่ ต่อมลูกหมาก ลูกอัณฑะ ส่วนอวัยวะที่มีน้ำก็เช่น ถุงน้ำดี ลุกตา เส้นเลือด หัวใจ กระเพาะปัสสาวะหมออธิบายต่อเนื่องเรื่อยๆ พร้อมกับบอกต่อไปว่าตรวจก็สบายมากครับพี่แก้มไม่เจ็บเลย เค้าจะให้พี่นอนบนเตียงสบายๆ ทาเจลคล้ายๆกับเจลใส่ผมนั่นแหละครับสีฟ้าใสหรือสีใสๆ แล้วก็เอาหัวตรวจแบบแบนมาตรวจเต้านม แต่ถ้าตรวจท้องจะเป็นหัวโค้งๆ หรือถ้าตรวจหัวใจก็จะหัวเล็กๆ

         ขอบคุณมากค่ะหมอ พี่สบายใจไม่กลัวแล้ว เดี๋ยวพี่วิ่งไปก่อนนะคะหมอแก้มยิ้มแย้มด้วยความสบายใจแล้ววิ่งเหยาะๆออกไป

 ===============================

รูปประกอบจากคุณดา ดา www.pantown.com

คำสำคัญ (Tags): #อัลตร้าซาวด์
หมายเลขบันทึก: 140397เขียนเมื่อ 20 ตุลาคม 2007 20:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขออนุญาติมาแชร์รายละเอียดเพิ่มเติม ในเรื่องของ อัลตร้าซาวด์ค่ะ ว่ามีความปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่กำลังวตั้งครรภ์หรือไม่ค่ะ ลองมาอ่านกันดูนะคะ

แพทย์ทำการตรวจ อัลตร้าซาวด์ เมื่อใดโดยปกติ ผู้หญิงที่มีอายุครรภ์ตั้งแต่ 20 สัปดาห์ จะได้รับการตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์ ซึ่งจะช่วยให้แพทย์สามารถทราบว่ารกอยู่ในสภาพที่แข็งแรง และทารกเติบโตตามที่ควรจะเป็นหรือไม่ โดยแพทย์ยังสามารถสังเกตการเต้นของหัวใจและการเคลื่อนไหวของทารกผ่านการตรวจนี้ได้ด้วย

การตรวจด้วยอัลตราซาวด์อาจช่วยในการตรวจเพศของทารกได้ โดยคุณสามารถระบุความต้องการกับแพทย์ก่อนการตรวจ ว่าคุณอยากทราบเพศของทารก แต่ว่าก็ควรเผื่อใจไว้ด้วยว่า ผลการตรวจเพศด้วยการอัลตร้าซาวด์นี้อาจไม่แม่นยำ และไม่แน่นอน

การตรวจอัลตร้าซาวด์นั้น สามารถทำได้ 2-3 ครั้ง ในระหว่างตั้งครรภ์ โดยจุดประสงค์ของการตรวจก็จะแตกต่างกันไปตามอายุครรภ์

แพทย์อาจแนะนำให้คุณตรวจอัลตร้าซาวด์ ก่อนอายุครรภ์ 20 สัปดาห์ โดยมีจุดประสงค์ ดังนี้

ตรวจหาจำนวนทารกในมดลูกคำนวณเพื่อกำหนดวันคลอดคำนวณอายุของทารกในครรภ์ (อายุครรภ์)ในช่วงท้ายของการตั้งครรภ์ การทำอัลตร้าซาวด์อาจช่วยให้ทราบเกี่ยวกับ

สภาวะสุขภาพของทารกตำแหน่งของรกปริมาณน้ำคร่ำตำแหน่งของทารกน้ำหนักของทารกเมื่อแรกคลอดขั้นตอนการตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์ลำดับแรก คุณต้องเปลี่ยนเสื้อผ้าที่โรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ เพื่อความสะดวกในการตรวจของแพทย์ จากนั้น คุณจะต้องนอนลงบนเตียงตรวจ และแพทย์ทจะทาเจลบริเวณหน้าท้อง ซึ่งเจลนี้มีส่วนผสมของน้ำ และจะไม่ทิ้งคราบบนเสื้อผ้า

แพทย์จะค่อยๆ วางตัวแปลงสัญญาณบริเวณหน้าท้อง และคลื่นเสียงความถี่สูงจะถูกส่งจากตัวแปลงสัญญาณนี้ไปสู่โครงสร้างภายในครรภ์ และสะท้อนกลับเป็นภาพทารกบนหน้าจอ คุณจะได้ยินเสียงหัวใจของทารก และมองเห็นการเคลื่อนไหวของทารกบนหน้าจอ และภาพเหล่านี้สามารถพิมพ์ออกมาได้ด้วย

โดยปกติแล้ว ในระหว่างการทำอัลตร้าซาวด์ คุณอาจเกิดความรู้สึกไม่สบายตัว เนื่องจากแพทย์อาจสั่งให้คุณกลั้นปัสสาวะไว้ให้เต็มกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้ตรวจดูสิ่งปกติบริเวณกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายตัวนิดหน่อย นอกจากนี้ ในระหว่างการตรวจ แพทย์อาจขอให้คุณกลั้นหายใจในบางช่วง

โดยทั่วไป การตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์มักใช้เวลาประมาณ 30 นาที

การตรวจอัลตราซาวด์ขณะตั้งครรภ์ปลอดภัยหรือไม่เราต่างทราบดีว่า กระบวนการทางการแพทย์ทุกประเภท ย่อมมีความเสี่ยงทั้งสิ้น อย่างไรก็ตาม จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีหลักฐานที่ระบุว่า การตรวจครรภ์ด้วยอัลตร้าซาวด์นั้น จะส่งผลเสียต่อแม่และทารกในครรภ์ หากทำอย่างถูกวิธี ดังนั้น เพื่อความปลอดภัยของทั้งแม่และทารก ควรให้ผู้ที่ผ่านการอบรมหรือผู้เชี่ยวชาญ (sonographer) เป็นผู้ทำอัลตร้าซาวด์เท่านั้น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท